ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเบื้องต้นเดือน ธ.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ธ.ค.43 ว่า เครื่องชี้การอุปโภคบริโภค และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว ทำให้เศรษฐกิจยังทรงตัว ขณะที่แรงกระตุ้นภาครัฐยังไม่มากพอที่จะฉุดให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ เพราะการขาดดุลภาครัฐสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) ต่างกับการส่งออกที่มีสัดส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึงร้อยละ 50 ของจีดีพี โดยขณะนี้มีเพียงภาคส่งออกเท่านั้นที่จะช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ ซึ่งการส่งออกในเดือน ธ.ค. ขยายตัวชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 9.6 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงร้อยละ 18 ซึ่งเกิดจากฐานปีก่อนสูงมากจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะเริ่มแรก อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพภายในประเทศยังคงมีอยู่ เนื่องจากแรงกดดันของเงินเฟ้อยังมีไม่มากนัก โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือน พ.ย. ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากระยะเดียวกันปี 42 สำหรับภาคการค้าต่างประเทศ การนำเข้าในเดือน ธ.ค.ขยายตัวร้อยละ 16.3 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การส่งออกที่ลดลงมากทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงเหลือเพียง 413 ล.ดอลลาร์ จากเดือน พ.ย.ที่มีจำนวน 470 ล.ดอลลาร์ (ไทยโพสต์,วัฏจักร 1)
2. ธปท.ตั้งศูนย์ Hotline เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อขาย พธบ.รัฐบาลในตลาดรอง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.ได้จัดตั้ง ศูนย์ Hotline อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อ พธบ.รัฐบาลในตลาดรอง (ศอยพ.)ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลราคา และข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนซื้อ พธบ.รัฐบาลในตลาดรอง แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ซึ่งจะเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.44 โดยขั้นแรกจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำ ศอยพ. ให้ข้อมูลทางโทรศัพท์เป็นหลัก รวมทั้งประสานงานระหว่างผู้ลงทุนรายย่อย และสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้า พธบ.ของ ธปท.ในการซื้อขาย พธบ.รัฐบาล นอกจากนี้ ศอยพ.จะให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้ การคำนวณอัตราผลตอบแทนและราคาภาษี รวมทั้งเงื่อนไขของการชำระราคา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งผู้สนใจสามารถโทรศัพท์ติดต่อ ศอยพ.ได้ที่หมายเลข 280-8445 เวลา 10.00-13.30 น. (กรุงเทพธุรกิจ 1)
4. ฐานะหนี้สินต่างประเทศในรอบ 11 เดือนปี 43 ธปท.ได้ออกรายงานฐานะหนี้สินต่างประเทศในรอบ 11 เดือนของปี 43 ระบุว่า โครงสร้างหนี้ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ระยะยาวต่อหนี้ระยะสั้นเป็น 82 ต่อ 18 สัดส่วนหนี้ภาคเอกชนต่อภาคทางการเป็น 58 ต่อ 42 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 42 ที่มีสัดส่วน 79 ต่อ 21 และ 62 ต่อ 38 ตามลำดับ ทั้งนี้ หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 ลดลงจากเดือน ต.ค.43 จำนวน 1,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระคืนหนี้ทั้งภาคเอกชนและทางการ (ผู้จัดการรายวัน 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญลงร้อยละ 0.5 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินที่มีขึ้นในวันที่ 30-31 ม.ค. 44 โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นชั่วข้ามคืน (Federal Funds rate) จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 5.5 และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) จากร้อยละ 5.5 เหลือร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย และส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหากมีความจำเป็น การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ เป็นไปตามความคาดหมายของตลาดเงิน หลังจากที่ ธ. กลางได้สร้างความประหลาดใจโดยลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมาแล้วร้อยละ 0.5 เมื่อต้นเดือน ม.ค. 44 (รอยเตอร์ 31)
2. ไตรมาสสุดท้ายของ ปี 43 เศรษฐกิจ สรอ. ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 5ปีครึ่ง รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่ที่เคยเติบโตร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 38 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าด้านรถยนต์และ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งสินค้าคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า ต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงและภาษีที่โน้มต่ำลงจะเป็นหนทางที่ช่วยตรึงภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ที่กำลังชะลอตัวไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย (รอยเตอร์ 31)
3. ธ. พาณิชย์ขนาดใหญ่ของ สรอ. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลกค้าชั้นดีลงหลังจาก ธ. กลางประกาศลดอัตราดอกเบี้ย รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 Bank of America Corp, Bank One Corp. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี( Prime rate) ลงเหลือร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 9 ต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 44 เป็นต้นไป นอกจากนั้น ธพ. ขนาดใหญ่อื่นๆก็พากันลดอัตราดอกเบี้ยตามลงด้วย การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนเงินกู้ของผู้บริโภคเพื่อซื้อรถยนต์ ดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ และต้นทุนสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคน่าจะกู้เงินเพิ่มขึ้นและส่งผลให้กำไรของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 31)
4. เดือน ธ.ค. 44 ค่าล่วงเวลาของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้างในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 ค่าล่วงเวลาของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดภาวะรายได้ที่สำคัญของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบกับเดือน ธ.ค. 42 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 และตลอดทั้งปี 43 การจ่ายค่าล่วงเวลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากปี 42 (รอยเตอร์ 31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 ม.ค.44 42.568 (42.661)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 31 ม.ค. 44
ซื้อ 42.3908 (42.4037) ขาย 42.7070 (42.7170)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,300) ขาย 5,450 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.34 (23.51)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเบื้องต้นเดือน ธ.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ธ.ค.43 ว่า เครื่องชี้การอุปโภคบริโภค และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว ทำให้เศรษฐกิจยังทรงตัว ขณะที่แรงกระตุ้นภาครัฐยังไม่มากพอที่จะฉุดให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ เพราะการขาดดุลภาครัฐสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี) ต่างกับการส่งออกที่มีสัดส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจได้ถึงร้อยละ 50 ของจีดีพี โดยขณะนี้มีเพียงภาคส่งออกเท่านั้นที่จะช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ ซึ่งการส่งออกในเดือน ธ.ค. ขยายตัวชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 9.6 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงร้อยละ 18 ซึ่งเกิดจากฐานปีก่อนสูงมากจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะเริ่มแรก อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพภายในประเทศยังคงมีอยู่ เนื่องจากแรงกดดันของเงินเฟ้อยังมีไม่มากนัก โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือน พ.ย. ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากระยะเดียวกันปี 42 สำหรับภาคการค้าต่างประเทศ การนำเข้าในเดือน ธ.ค.ขยายตัวร้อยละ 16.3 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การส่งออกที่ลดลงมากทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงเหลือเพียง 413 ล.ดอลลาร์ จากเดือน พ.ย.ที่มีจำนวน 470 ล.ดอลลาร์ (ไทยโพสต์,วัฏจักร 1)
2. ธปท.ตั้งศูนย์ Hotline เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อขาย พธบ.รัฐบาลในตลาดรอง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.ได้จัดตั้ง ศูนย์ Hotline อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อ พธบ.รัฐบาลในตลาดรอง (ศอยพ.)ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลราคา และข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนซื้อ พธบ.รัฐบาลในตลาดรอง แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ซึ่งจะเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.44 โดยขั้นแรกจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำ ศอยพ. ให้ข้อมูลทางโทรศัพท์เป็นหลัก รวมทั้งประสานงานระหว่างผู้ลงทุนรายย่อย และสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้า พธบ.ของ ธปท.ในการซื้อขาย พธบ.รัฐบาล นอกจากนี้ ศอยพ.จะให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดตราสารหนี้ การคำนวณอัตราผลตอบแทนและราคาภาษี รวมทั้งเงื่อนไขของการชำระราคา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งผู้สนใจสามารถโทรศัพท์ติดต่อ ศอยพ.ได้ที่หมายเลข 280-8445 เวลา 10.00-13.30 น. (กรุงเทพธุรกิจ 1)
4. ฐานะหนี้สินต่างประเทศในรอบ 11 เดือนปี 43 ธปท.ได้ออกรายงานฐานะหนี้สินต่างประเทศในรอบ 11 เดือนของปี 43 ระบุว่า โครงสร้างหนี้ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ระยะยาวต่อหนี้ระยะสั้นเป็น 82 ต่อ 18 สัดส่วนหนี้ภาคเอกชนต่อภาคทางการเป็น 58 ต่อ 42 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 42 ที่มีสัดส่วน 79 ต่อ 21 และ 62 ต่อ 38 ตามลำดับ ทั้งนี้ หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือน พ.ย.43 ลดลงจากเดือน ต.ค.43 จำนวน 1,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ตามการชำระคืนหนี้ทั้งภาคเอกชนและทางการ (ผู้จัดการรายวัน 1)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญลงร้อยละ 0.5 ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินที่มีขึ้นในวันที่ 30-31 ม.ค. 44 โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นชั่วข้ามคืน (Federal Funds rate) จากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 5.5 และลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) จากร้อยละ 5.5 เหลือร้อยละ 5 ต่อปี ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย และส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหากมีความจำเป็น การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ เป็นไปตามความคาดหมายของตลาดเงิน หลังจากที่ ธ. กลางได้สร้างความประหลาดใจโดยลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมาแล้วร้อยละ 0.5 เมื่อต้นเดือน ม.ค. 44 (รอยเตอร์ 31)
2. ไตรมาสสุดท้ายของ ปี 43 เศรษฐกิจ สรอ. ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 5ปีครึ่ง รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 4 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีครึ่งนับตั้งแต่ที่เคยเติบโตร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 38 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าด้านรถยนต์และ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งสินค้าคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่า ต้นทุนสินเชื่อที่ลดลงและภาษีที่โน้มต่ำลงจะเป็นหนทางที่ช่วยตรึงภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ที่กำลังชะลอตัวไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย (รอยเตอร์ 31)
3. ธ. พาณิชย์ขนาดใหญ่ของ สรอ. ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลกค้าชั้นดีลงหลังจาก ธ. กลางประกาศลดอัตราดอกเบี้ย รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 Bank of America Corp, Bank One Corp. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี( Prime rate) ลงเหลือร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 9 ต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 44 เป็นต้นไป นอกจากนั้น ธพ. ขนาดใหญ่อื่นๆก็พากันลดอัตราดอกเบี้ยตามลงด้วย การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนเงินกู้ของผู้บริโภคเพื่อซื้อรถยนต์ ดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ และต้นทุนสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคน่าจะกู้เงินเพิ่มขึ้นและส่งผลให้กำไรของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 31)
4. เดือน ธ.ค. 44 ค่าล่วงเวลาของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้างในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 44 Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 ค่าล่วงเวลาของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดภาวะรายได้ที่สำคัญของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบกับเดือน ธ.ค. 42 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 และตลอดทั้งปี 43 การจ่ายค่าล่วงเวลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากปี 42 (รอยเตอร์ 31)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 31 ม.ค.44 42.568 (42.661)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 31 ม.ค. 44
ซื้อ 42.3908 (42.4037) ขาย 42.7070 (42.7170)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,300) ขาย 5,450 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.34 (23.51)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-