ข่าวในประเทศ
1. เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 45 หากสถานการณ์ใน สรอ. ยังยืดเยื้อ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการเสวนา "แนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยไทย" ว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในปี 45 หากสถานการณ์ใน สรอ. ยังยืดเยื้อต่อไป และคาดว่าการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 44 จะปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 43 โดยเฉพาะ 1 ปีหลังจากนี้คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลต้องเร่งการใช้จ่ายในไตรมาสที่ 4 มากขึ้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ภายในประเทศยังคงเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงกว่าไตรมาสที่ 1 ถึงร้อยละ 0.9 จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว ด้านสถานการณ์ดอกเบี้ยยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังเห็นสมควรจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (ข่าวสด, ไทยโพสต์, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ 20)
2. ก.คลังเตรียมหาแผนกลยุทธ์เร่งใช้ งปม. ปี 45 รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงบประมาณใน 3 ประเด็นคือ 1) หาวิธีการที่จะทำให้การเบิกจ่าย งปม. ปี 45 มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำแผนเพื่อนำไปปฏิบัติ 2) หาวิธีการทำให้โครงการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมมีการขอจากงบฉุกเฉินวงเงิน 58,000 ล.บาท และเงินกู้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้ สศช. และคณะทำงานที่ตั้งขึ้นเข้าไปมีส่วนในการปรับปรุงโครงการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น 3) ปรับเป้าหมายกรอบยุทธศาสตร์ลงตามการปรับประมาณการเศรษฐกิจของ สศช. ที่ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 1.5-2 โดยให้ที่ปรึกษา รมว.คลัง และหน่วยงานที่รับผิดชอบการร่างแผนกลยุทธ์ฯ ของรัฐบาลปรับปรุงแผนภายใต้ 2 สถานการณ์คือ 1) หากเหตุการณ์ที่เกิดจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. ไม่ยืดเยื้อ และ 2) หากเหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป เพื่อเตรียมหามาตรการมารองรับ (ไทยรัฐ, ข่าวสด, โลกวันนี้ 20)
3. ก.คลังลงนามในข้อตกลงผ่อนปรนภาระหนี้เงินกู้กับยูเสด รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการลงนามในข้อตกลงผ่อนปรนภาระหนี้เงินกู้จากรัฐบาล สรอ. กับเอกอัครราชทูต สรอ. ประจำประเทศไทยว่า สรอ. ได้อนุมัติลดหนี้ให้ไทยจากโครงการเงินกู้ของยูเสดที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้จำนวน 11 สัญญา รวม 23,861,423 ดอลลาร์ สรอ. ลงประมาณร้อยละ 5 ของยอดหนี้คงค้างคิดเป็นเงิน 1,193,021 ดอลลาร์ ทำให้รัฐบาลประหยัดต้นทุนด้านดอกเบี้ยลงประมาณ 511,766 ดอลลาร์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,704,840 ดอลลาร์ หรือประมาณ 76.72 ล.บาท (โลกวันนี้, ไทยรัฐ 20)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 19 ก.ย. 44 ก. พาณิชย์ เปิดเผยว่า สรอ. ขาดดุลการค้าประมาณ 28.83 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.ค. 44 ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขหลังปรับที่ขาดดุลฯ จำนวน 29.07 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 44 และลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 43 ที่ขาดดุลฯจำนวน 32.03 พัน ล. ดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกและการนำเข้าลดลงท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทั้งใน สรอ. และต่างประเทศ โดยในเดือน ก.ค. 44 การส่งออกมีจำนวน 83.73 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากจำนวน 85.90 และ 89.52 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 44 และ ก.ค. 43 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน การนำเข้ามีจำนวน 112.56 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากจำนวน 114.97 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน มิ.ย. 44 และ 121.55 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 43 ที่มีจำนวน 111.4 พัน ล. ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม แม้การขาดดุลฯในเดือน ก.ค. 44 จะลดลง แต่ สรอ. ขาดดุลฯกับยุโรปตะวันตกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 8.6 พัน ล. ดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 42 และขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 5.9 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 5 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย.44 โดย สรอ. ส่งสินค้าออกไปยังญี่ปุ่นลดลงเหลือจำนวน 4.32 พัน ล. ดอลลาร์นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 42 (รอยเตอร์19)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 47.2 ในเดือน ส.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 20 ก.ย.44 ก. คลังรายงานว่า เดือน ส.ค.44 ยอดเกินดุลการค้าก่อนปรับฤดูกาลมีจำนวน 320.25 พัน ล.เยน (2.72 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 47.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ที่ยอดเกินดุลฯ มีจำนวน 606.28 พัน ล.เยน โดยการส่งออกมีจำนวน 3.833 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 8.8 การนำเข้ามีจำนวน 3.513 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ เดือน ส.ค.44 ยอดเกินดุลการค้ากับ สรอ.ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบต่อปี ขณะที่เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 41.0 และเกินดุลฯ กับประเทศในแถบเอเชียลดลงร้อยละ 71.9 จากตัวเลขดุลการค้าโดยรวมที่ลดลงแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกดดันต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่น ส่วนการนำเข้าที่ลดลงนั้นสะท้อนถึงการขาดอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 10 ปี (รอยเตอร์ 20)
3. คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของเยอรมนีลดลงร้อยละ 5.2 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 19 ก.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า เดือน ก.ค.44 คำสั่งเพื่อการก่อสร้างลดลงในร้อยละ 5.2 ตามราคาแท้จริง เมื่อเทียบต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในเดือน มิ.ย.44 สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 44 คำสั่งฯ เทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 5.1 ตามราคาที่แท้จริง ทั้งนี้ ภาคการก่อสร้างของเยอรมนีอยู่ในภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี นับตั้งแต่การรวมเป็นประเทศเดียวกันตั้งแต่ปี 33 (รอยเตอร์ 19)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.ย. 44 44.205 (44.188)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.ย. 44ซื้อ 43.9862 (43.9777) ขาย 44.2864 (44.2672)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,000) 6,100 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.99 (24.97)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.89 (16.89) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 45 หากสถานการณ์ใน สรอ. ยังยืดเยื้อ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการเสวนา "แนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยไทย" ว่า เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในปี 45 หากสถานการณ์ใน สรอ. ยังยืดเยื้อต่อไป และคาดว่าการส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 44 จะปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 43 โดยเฉพาะ 1 ปีหลังจากนี้คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลต้องเร่งการใช้จ่ายในไตรมาสที่ 4 มากขึ้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์ภายในประเทศยังคงเป็นบวก และอยู่ในระดับสูงกว่าไตรมาสที่ 1 ถึงร้อยละ 0.9 จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว ด้านสถานการณ์ดอกเบี้ยยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพ ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังเห็นสมควรจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (ข่าวสด, ไทยโพสต์, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ 20)
2. ก.คลังเตรียมหาแผนกลยุทธ์เร่งใช้ งปม. ปี 45 รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงบประมาณใน 3 ประเด็นคือ 1) หาวิธีการที่จะทำให้การเบิกจ่าย งปม. ปี 45 มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปจัดทำแผนเพื่อนำไปปฏิบัติ 2) หาวิธีการทำให้โครงการต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมมีการขอจากงบฉุกเฉินวงเงิน 58,000 ล.บาท และเงินกู้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้ สศช. และคณะทำงานที่ตั้งขึ้นเข้าไปมีส่วนในการปรับปรุงโครงการต่าง ๆ ให้ดีขึ้น 3) ปรับเป้าหมายกรอบยุทธศาสตร์ลงตามการปรับประมาณการเศรษฐกิจของ สศช. ที่ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 1.5-2 โดยให้ที่ปรึกษา รมว.คลัง และหน่วยงานที่รับผิดชอบการร่างแผนกลยุทธ์ฯ ของรัฐบาลปรับปรุงแผนภายใต้ 2 สถานการณ์คือ 1) หากเหตุการณ์ที่เกิดจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. ไม่ยืดเยื้อ และ 2) หากเหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป เพื่อเตรียมหามาตรการมารองรับ (ไทยรัฐ, ข่าวสด, โลกวันนี้ 20)
3. ก.คลังลงนามในข้อตกลงผ่อนปรนภาระหนี้เงินกู้กับยูเสด รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการลงนามในข้อตกลงผ่อนปรนภาระหนี้เงินกู้จากรัฐบาล สรอ. กับเอกอัครราชทูต สรอ. ประจำประเทศไทยว่า สรอ. ได้อนุมัติลดหนี้ให้ไทยจากโครงการเงินกู้ของยูเสดที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้จำนวน 11 สัญญา รวม 23,861,423 ดอลลาร์ สรอ. ลงประมาณร้อยละ 5 ของยอดหนี้คงค้างคิดเป็นเงิน 1,193,021 ดอลลาร์ ทำให้รัฐบาลประหยัดต้นทุนด้านดอกเบี้ยลงประมาณ 511,766 ดอลลาร์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,704,840 ดอลลาร์ หรือประมาณ 76.72 ล.บาท (โลกวันนี้, ไทยรัฐ 20)
ข่าวต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 19 ก.ย. 44 ก. พาณิชย์ เปิดเผยว่า สรอ. ขาดดุลการค้าประมาณ 28.83 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.ค. 44 ลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขหลังปรับที่ขาดดุลฯ จำนวน 29.07 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 44 และลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. 43 ที่ขาดดุลฯจำนวน 32.03 พัน ล. ดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกและการนำเข้าลดลงท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทั้งใน สรอ. และต่างประเทศ โดยในเดือน ก.ค. 44 การส่งออกมีจำนวน 83.73 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากจำนวน 85.90 และ 89.52 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย. 44 และ ก.ค. 43 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน การนำเข้ามีจำนวน 112.56 พัน ล. ดอลลาร์ ลดลงจากจำนวน 114.97 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน มิ.ย. 44 และ 121.55 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 43 ที่มีจำนวน 111.4 พัน ล. ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม แม้การขาดดุลฯในเดือน ก.ค. 44 จะลดลง แต่ สรอ. ขาดดุลฯกับยุโรปตะวันตกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 8.6 พัน ล. ดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 42 และขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 5.9 พัน ล. ดอลลาร์ จากจำนวน 5 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน มิ.ย.44 โดย สรอ. ส่งสินค้าออกไปยังญี่ปุ่นลดลงเหลือจำนวน 4.32 พัน ล. ดอลลาร์นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 42 (รอยเตอร์19)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 47.2 ในเดือน ส.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 20 ก.ย.44 ก. คลังรายงานว่า เดือน ส.ค.44 ยอดเกินดุลการค้าก่อนปรับฤดูกาลมีจำนวน 320.25 พัน ล.เยน (2.72 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 47.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ที่ยอดเกินดุลฯ มีจำนวน 606.28 พัน ล.เยน โดยการส่งออกมีจำนวน 3.833 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 8.8 การนำเข้ามีจำนวน 3.513 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ เดือน ส.ค.44 ยอดเกินดุลการค้ากับ สรอ.ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบต่อปี ขณะที่เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 41.0 และเกินดุลฯ กับประเทศในแถบเอเชียลดลงร้อยละ 71.9 จากตัวเลขดุลการค้าโดยรวมที่ลดลงแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกดดันต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่น ส่วนการนำเข้าที่ลดลงนั้นสะท้อนถึงการขาดอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นใกล้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 10 ปี (รอยเตอร์ 20)
3. คำสั่งเพื่อการก่อสร้างของเยอรมนีลดลงร้อยละ 5.2 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 19 ก.ย.44 สำนักสถิติกลางรายงานว่า เดือน ก.ค.44 คำสั่งเพื่อการก่อสร้างลดลงในร้อยละ 5.2 ตามราคาแท้จริง เมื่อเทียบต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในเดือน มิ.ย.44 สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 44 คำสั่งฯ เทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 5.1 ตามราคาที่แท้จริง ทั้งนี้ ภาคการก่อสร้างของเยอรมนีอยู่ในภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปี นับตั้งแต่การรวมเป็นประเทศเดียวกันตั้งแต่ปี 33 (รอยเตอร์ 19)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.ย. 44 44.205 (44.188)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 19 ก.ย. 44ซื้อ 43.9862 (43.9777) ขาย 44.2864 (44.2672)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,000) 6,100 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.99 (24.97)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.89 (16.89) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-