กรุงเทพฯ--9 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 ตุลาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ดังนี้
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 นาย John Howard นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียได้มีหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แสดงความสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจต่อผลกระทบอันเกิดจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยนาย Howard เห็นว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบวิกฤตด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกสูงขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกลดลงอีกด้วย ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อทั้งประเทศที่ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภค
นาย Howard ยังได้แสดงความเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เรียกร้องให้ที่ประชุมระดับผู้นำว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ครั้งที่ 8 ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นที่ประเทศบูรไน ดารุสซาลาม ในเดือนพฤศจิกายน 2543 หารือเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และร่วมกันแสดงความวิตกกังวลไปยังกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียและต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม ตลอดจนเรียกร้องให้มีการผลิต น้ำมันเพิ่มขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของ ออสเตรเลียเตรียมการหารือและร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ของไทยในระหว่างการประชุมระดับผู้นำเอเปค ครั้งที่ 8 ด้วย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ยังได้มีสารกราบทูลสมเด็จ- พระราชาธิบดี สุลต่าน ฮาจี ฮัซซานัล บอลเกียห์ มูอิซซาดิน วัดเดาลาห์ แห่งบรูไน แสดงความสนับสนุนให้มีการหารือในเรื่องราคาน้ำมันระหว่างการประชุมระดับผู้นำเอเปค ครั้งที่ 8 ด้วย รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียที่มีถึงนายกรัฐมนตรีของไทยแนบมาพร้อมนี้ - อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ดร. สุรินทร์ฯ ได้ใช้พยายามในทุก ๆ ด้าน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้ยกขึ้นหารือกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในกรอบทวิภาคีและ พหุภาคี ดังต่อไปนี้
- ในช่วงการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ดร. สุรินทร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับประเทศเม็กซิโกและเวเนซุเอลา เพื่อขอให้ประเทศ เหล่านั้นยกเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำม้น
- มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เอเปค และสมาคมความร่วมมือแห่ง ภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง
- มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกโอเปคก่อนหน้าการประชุมโอเปค เพื่อร้องขอให้ประเทศสมาชิกโอเปคพิจารณาปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกในมุมกว้างและคำนึงถึงผลกระทบในทางลบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ดร.สุรินทร์ฯ ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC)
- ในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ที่นครนิวยอร์ค เมื่อเดือนกันยายน 2543 ดร. สุรินทร์ฯ ก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ เรียกร้องให้ประชาคมโลกหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย
- ในช่วงการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ สมัยที่ 55 ที่นครนิวยอร์ก ดร. สุรินทร์ฯ ได้แสดงความห่วงกังวลต่อปัญหานี้กับนางอัลไบรท์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ และในระหว่างการหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2843 ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งเลขาธิการสหประชาชาติก็ได้แสดงความเห็นด้วยกับไทยเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาดังกล่าวที่จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ และเห็นว่าควรจะมีความพยายามในการสร้างเสถียรภาพให้กับราคา น้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า การที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้มีหนังสือดังกล่าวถึงไทย ก็เพราะได้เห็นชัดเจนถึงความพยายามของไทยในการนำประชาคมโลกให้หาทางแก้ไขปัญหาวิกฤตราคาน้ำมันในตลาดโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (6 ตุลาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ดังนี้
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 นาย John Howard นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียได้มีหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แสดงความสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจต่อผลกระทบอันเกิดจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยนาย Howard เห็นว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบวิกฤตด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกสูงขึ้นและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกลดลงอีกด้วย ซึ่งย่อมไม่เป็นผลดีต่อทั้งประเทศที่ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภค
นาย Howard ยังได้แสดงความเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เรียกร้องให้ที่ประชุมระดับผู้นำว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ครั้งที่ 8 ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นที่ประเทศบูรไน ดารุสซาลาม ในเดือนพฤศจิกายน 2543 หารือเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว และร่วมกันแสดงความวิตกกังวลไปยังกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียและต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม ตลอดจนเรียกร้องให้มีการผลิต น้ำมันเพิ่มขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของ ออสเตรเลียเตรียมการหารือและร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ของไทยในระหว่างการประชุมระดับผู้นำเอเปค ครั้งที่ 8 ด้วย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ยังได้มีสารกราบทูลสมเด็จ- พระราชาธิบดี สุลต่าน ฮาจี ฮัซซานัล บอลเกียห์ มูอิซซาดิน วัดเดาลาห์ แห่งบรูไน แสดงความสนับสนุนให้มีการหารือในเรื่องราคาน้ำมันระหว่างการประชุมระดับผู้นำเอเปค ครั้งที่ 8 ด้วย รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียที่มีถึงนายกรัฐมนตรีของไทยแนบมาพร้อมนี้ - อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ดร. สุรินทร์ฯ ได้ใช้พยายามในทุก ๆ ด้าน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้ยกขึ้นหารือกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในกรอบทวิภาคีและ พหุภาคี ดังต่อไปนี้
- ในช่วงการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ดร. สุรินทร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับประเทศเม็กซิโกและเวเนซุเอลา เพื่อขอให้ประเทศ เหล่านั้นยกเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำม้น
- มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เอเปค และสมาคมความร่วมมือแห่ง ภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย เพื่อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง
- มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกโอเปคก่อนหน้าการประชุมโอเปค เพื่อร้องขอให้ประเทศสมาชิกโอเปคพิจารณาปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกในมุมกว้างและคำนึงถึงผลกระทบในทางลบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ดร.สุรินทร์ฯ ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC)
- ในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ที่นครนิวยอร์ค เมื่อเดือนกันยายน 2543 ดร. สุรินทร์ฯ ก็ได้กล่าวสุนทรพจน์ เรียกร้องให้ประชาคมโลกหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย
- ในช่วงการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ สมัยที่ 55 ที่นครนิวยอร์ก ดร. สุรินทร์ฯ ได้แสดงความห่วงกังวลต่อปัญหานี้กับนางอัลไบรท์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ และในระหว่างการหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2843 ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งเลขาธิการสหประชาชาติก็ได้แสดงความเห็นด้วยกับไทยเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาดังกล่าวที่จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ และเห็นว่าควรจะมีความพยายามในการสร้างเสถียรภาพให้กับราคา น้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า การที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียได้มีหนังสือดังกล่าวถึงไทย ก็เพราะได้เห็นชัดเจนถึงความพยายามของไทยในการนำประชาคมโลกให้หาทางแก้ไขปัญหาวิกฤตราคาน้ำมันในตลาดโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-