สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้นกุมภาพันธ์ 2543
(ข้อมูลเบื้องต้น)
จากข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นกุมภาพันธ์ 2543 สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ยอดโดยรวมของสินเชื่อยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยที่สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์มียอดคงค้าง92,306.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.7
ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 93,031.1 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 42,766.9 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 18.4 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงขึ้นร้อยละ 1.8 จากเดือนก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 43,547.9 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม 31,482.2 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 13.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 31,407.3 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง 22,096.1 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 9.5 ลดลงร้อยละ 0.5จากเดือนก่อนที่มียอดสินเชื่อ 22,206.6 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการบริการ 18,807.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 8.1 ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อน ซึ่งมีสินเชื่อ 18,936.6 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการเกษตร 10,441.1 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 4.5 ลดลงร้อยละ 0.01 จากเดือนก่อน ซึ่งมียอดสินเชื่อ 10,442.2 ล้านบาท
โดยสรุปแล้วในเดือนนี้มีสินเชื่อแยกตามประเภทธุรกรรมที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน คือ สินเชื่ออุตสาหกรรม สำหรับสินเชื่อประเภทอื่นๆ ยังคงลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ณ สิ้นกุมภาพันธ์ 2543
(ข้อมูลเบื้องต้น)
จากข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นกุมภาพันธ์ 2543 สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ยอดโดยรวมของสินเชื่อยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยที่สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์มียอดคงค้าง92,306.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.7
ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 93,031.1 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล 42,766.9 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 18.4 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงขึ้นร้อยละ 1.8 จากเดือนก่อน ซึ่งมียอดคงค้าง 43,547.9 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม 31,482.2 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 13.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 31,407.3 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง 22,096.1 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 9.5 ลดลงร้อยละ 0.5จากเดือนก่อนที่มียอดสินเชื่อ 22,206.6 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อการบริการ 18,807.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 8.1 ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อน ซึ่งมีสินเชื่อ 18,936.6 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อการเกษตร 10,441.1 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 4.5 ลดลงร้อยละ 0.01 จากเดือนก่อน ซึ่งมียอดสินเชื่อ 10,442.2 ล้านบาท
โดยสรุปแล้วในเดือนนี้มีสินเชื่อแยกตามประเภทธุรกรรมที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน คือ สินเชื่ออุตสาหกรรม สำหรับสินเชื่อประเภทอื่นๆ ยังคงลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-