สุกร สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้สุกรโตช้า มีน้ำหนักน้อย ส่งผลให้ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมีจำนวนไม่มาก และราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกพื้นที่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.00 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.35 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.77 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 850 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 800 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.60 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.750าท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57 ไก่เนื้อ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไก่เนื้อยังคล่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศได้รับผลกระทลจากสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้ไก่โตช้า บางแห่งที่อากาศร้อนมากก็ทำให้มีไก่ตายไปพอสมควร ส่งผลให้มีปริมาณไก่ออกสู่ตลาดน้อย ราคาจึงสูงขึ้นอย่างน่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีก
ทางด้านตลาดต่างประเทศ ความต้องการยังมีมาก เพราะผลจากการเกิดโรควัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ที่ระบาดในสหภาพยุโรป (อียู) ผู้บริโภคจึงเปลี่ยนมาบริโภคเนื้อไก่กันมากขึ้น ทำให้ราคาในตลาดต่างประเทศอย่฿ในระดับทีดี โดยราคาเนื้อน่องในตลาดญี่ปุ่นตันละ 1,450 ดอลลาร์สหรัฐ และราคาเนื้อหน้าอกลอกหนังในตลาดอียู ตันละ 2,600 - 2,700 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.03บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.02 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.06 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 28.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.02 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 7.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.05 ไข่ไก่ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ยังทรงตัวอยู่ แต่มีแนวโน้มว่าราคาจะอ่อนตัวลง เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดในขณะนี้มีขนาดเล็ก ประกอบกับความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งจะผลให้ภาวะการซื้อขายอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 148 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 142 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 140 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 149 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 153 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 158 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 165 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.24 ไข่เป็ด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 172 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 174 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 131 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 179 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 190 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 160 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 255 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
กระบือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.26 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 3-6 พ.ค. 2544--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.00 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 38.35 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.77 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 850 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 800 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.60 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.750าท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57 ไก่เนื้อ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไก่เนื้อยังคล่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยตลาดในประเทศได้รับผลกระทลจากสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้ไก่โตช้า บางแห่งที่อากาศร้อนมากก็ทำให้มีไก่ตายไปพอสมควร ส่งผลให้มีปริมาณไก่ออกสู่ตลาดน้อย ราคาจึงสูงขึ้นอย่างน่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอีก
ทางด้านตลาดต่างประเทศ ความต้องการยังมีมาก เพราะผลจากการเกิดโรควัวบ้าและโรคปากและเท้าเปื่อย ที่ระบาดในสหภาพยุโรป (อียู) ผู้บริโภคจึงเปลี่ยนมาบริโภคเนื้อไก่กันมากขึ้น ทำให้ราคาในตลาดต่างประเทศอย่฿ในระดับทีดี โดยราคาเนื้อน่องในตลาดญี่ปุ่นตันละ 1,450 ดอลลาร์สหรัฐ และราคาเนื้อหน้าอกลอกหนังในตลาดอียู ตันละ 2,600 - 2,700 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.03บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.02 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.74 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.06 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 28.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.02 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 7.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.26 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.05 ไข่ไก่ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ยังทรงตัวอยู่ แต่มีแนวโน้มว่าราคาจะอ่อนตัวลง เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดในขณะนี้มีขนาดเล็ก ประกอบกับความต้องการบริโภคที่ลดลงในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งจะผลให้ภาวะการซื้อขายอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 148 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 142 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 140 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 149 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 153 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 158 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 165 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.24 ไข่เป็ด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 172 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 174 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 131 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 179 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 190 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 160 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 255 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
กระบือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.26 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 3-6 พ.ค. 2544--
-สส-