ระดับราคา : ในปี 2543 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 และยังอยู่ภายใต้เป้าหมายของนโยบายการเงินร้อยละ 0-3.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.2 ในขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.1 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7
สาเหตุสำคัญในการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2543 เป็นผลจาก
1.1 การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 10 ปี และส่งผลให้ราคา น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวสูงขึ้น โดยราคา น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 และ 44.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ค่ากระแสไฟฟ้าได้ปรับ เพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต
1.2 การอ่อนตัวต่อเนื่องของค่าเงินบาท โดยค่าเงินอ่อนตัวลงจากเฉลี่ย 37.84 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2542 เป็น 40.16 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2543 ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทปรับสูงขึ้น
1.3 การปรับขึ้นค่าตรวจรักษาและค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาลในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2543
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วงเวลาดังกล่าว ยังปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก สาเหตุสำคัญเนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากระยะ เดียวกันปีก่อนต่อเนื่องตลอดปี ตามปริมาณผลผลิตเกษตรบางประเภทที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น อาทิ ผัก ผลไม้ ไข่ ไก่สด และหมูเนื้อแดง เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดราคาอาหารที่ซื้อจากตลาดบางชนิดอย่างต่อเนื่องในปี 2543 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมัน นอกจากนั้นแล้วสังเกตได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างทรงตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทางอ้อมต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นเพียงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี และใยสังเคราะห์ และยานพาหนะและอุปกรณ์ ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินบาท ที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนสินค้าบางประเภทปรับเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศในภูมิภาค ในปี 2543 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1|2 ใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน ในขณะที่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2-5 ส่วนจีนมีอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับและ ฮ่องกง มีอัตราเงินเฟ้อติดลบ เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาผู้บริโภคของทุกประเทศ สังเกตได้ว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.2 ในขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.1 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7
สาเหตุสำคัญในการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ในปี 2543 เป็นผลจาก
1.1 การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 10 ปี และส่งผลให้ราคา น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวสูงขึ้น โดยราคา น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 และ 44.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ค่ากระแสไฟฟ้าได้ปรับ เพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต
1.2 การอ่อนตัวต่อเนื่องของค่าเงินบาท โดยค่าเงินอ่อนตัวลงจากเฉลี่ย 37.84 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2542 เป็น 40.16 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2543 ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทปรับสูงขึ้น
1.3 การปรับขึ้นค่าตรวจรักษาและค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาลในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2543
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วงเวลาดังกล่าว ยังปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก สาเหตุสำคัญเนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากระยะ เดียวกันปีก่อนต่อเนื่องตลอดปี ตามปริมาณผลผลิตเกษตรบางประเภทที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น อาทิ ผัก ผลไม้ ไข่ ไก่สด และหมูเนื้อแดง เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดราคาอาหารที่ซื้อจากตลาดบางชนิดอย่างต่อเนื่องในปี 2543 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมัน นอกจากนั้นแล้วสังเกตได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างทรงตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทางอ้อมต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นเพียงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าประเภท ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี และใยสังเคราะห์ และยานพาหนะและอุปกรณ์ ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และค่าเงินบาท ที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนสินค้าบางประเภทปรับเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศในภูมิภาค ในปี 2543 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1|2 ใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน ในขณะที่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2-5 ส่วนจีนมีอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับและ ฮ่องกง มีอัตราเงินเฟ้อติดลบ เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาผู้บริโภคของทุกประเทศ สังเกตได้ว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-