กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Regional Security Dialogue (RSD) ไทย-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 3 เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤษภาคม 2544 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายชูชัย เกษมศานติ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้า คณะผู้แทนฝ่ายไทย และนาย Alan Thomas รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนออสเตรเลีย โดยมีผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมอยู่ในคณะผู้แทนไทยด้วย เนื่องจากในปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับภัยคุกคามความมั่นคงในภูมิภาคที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความหลากหลายเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากภัยคุกคามด้านการใช้กำลังทหาร มาเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่มีเครือข่ายทั่วโลก กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาร่วมประชุมในครั้งนี้
ประเทศไทยและออสเตรเลียได้ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือเกี่ยวกับความ มั่นคงในระดับรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายของ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานด้านความมั่นคงของทั้งสามประเทศได้พบปะ ทำความรู้จักคุ้นเคย หารือแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข้อคิดเห็นกันในประเด็นด้านการเมือง การทหาร และความ มั่นคง รวมทั้งสถานการณ์ที่สำคัญๆ ในภูมิภาค โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นเป็นครั้งแรกที่ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 และออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อเดือน มกราคม 2543 ที่กรุงแคนเบอร์รา
ประเด็นที่สองฝ่ายได้ยกขึ้นหารือครอบคลุมเรื่องบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมหาอำนาจในภูมิภาค บทบาทของ ARF ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พัฒนาการล่าสุด ในอินโดนีเซีย พม่า ติมอร์ตะวันออก คาบสมุทรเกาหลี ทะเลจีนใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวัน พัฒนาการและความคืบหน้าของสถานการณ์ทางด้านความมั่นคงในแปซิฟิกใต้ การลดอาวุธนิวเคลียร์ นโยบายด้านการทหาร และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (อาทิ การลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก การ ลักลอบค้ามนุษย์ และปัญหาการฟอกเงิน เป็นต้น) ซึ่งนับว่าเป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จอย่างดี ยิ่งและช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลียด้านความมั่นคงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
การประชุม RSD เป็นกลไกความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นมิตรประเทศที่มีท่าทีและผลประโยชน์ระหว่างประเทศ สอดคล้องกับไทย และที่ผ่านมาออสเตรเลียก็ให้ความร่วมมือช่วยเหลือและสนับสนุนไทยในเรื่องต่างๆ มาโดยตลอด อาทิ การเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO ของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ การสนับสนุน กิจกรรมและบทบาทของไทยในอาเซียน และ ARF การส่งเสริมบทบาทของทหารไทยในการรักษาสันติภาพ ในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น ความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับออสเตรเลียข้างต้นนี้ล้วนแต่เป็นผลมาจากการ หารือและประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
การประชุม RSD ครั้งนี้ทำให้ไทยมีพันธมิตรที่ใกล้ชิดด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ ช่วยสนับสนุนบทบาทของไทยในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินโดนีเซีย พม่า ติมอร์ตะวันออก คาบสมุทรเกาหลี ทะเลจีนใต้ และประเด็นความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน นอกจากนี้ออสเตรเลียจะช่วย ประสานงานให้ข้อมูล และให้ความร่วมมือกับไทยในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติด การก่อการร้ายระหว่างประเทศ การลักลอบค้ามนุษย์
การประชุมครั้งต่อไปจะมีที่ประเทศออสเตรเลียในปี 2545
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Regional Security Dialogue (RSD) ไทย-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 3 เมื่อวันอังคารที่ 15 พฤษภาคม 2544 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายชูชัย เกษมศานติ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้า คณะผู้แทนฝ่ายไทย และนาย Alan Thomas รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนออสเตรเลีย โดยมีผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมอยู่ในคณะผู้แทนไทยด้วย เนื่องจากในปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับภัยคุกคามความมั่นคงในภูมิภาคที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความหลากหลายเพิ่มมากยิ่งขึ้นจากภัยคุกคามด้านการใช้กำลังทหาร มาเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่มีเครือข่ายทั่วโลก กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาร่วมประชุมในครั้งนี้
ประเทศไทยและออสเตรเลียได้ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือเกี่ยวกับความ มั่นคงในระดับรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายของ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานด้านความมั่นคงของทั้งสามประเทศได้พบปะ ทำความรู้จักคุ้นเคย หารือแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข้อคิดเห็นกันในประเด็นด้านการเมือง การทหาร และความ มั่นคง รวมทั้งสถานการณ์ที่สำคัญๆ ในภูมิภาค โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นเป็นครั้งแรกที่ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 และออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อเดือน มกราคม 2543 ที่กรุงแคนเบอร์รา
ประเด็นที่สองฝ่ายได้ยกขึ้นหารือครอบคลุมเรื่องบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมหาอำนาจในภูมิภาค บทบาทของ ARF ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พัฒนาการล่าสุด ในอินโดนีเซีย พม่า ติมอร์ตะวันออก คาบสมุทรเกาหลี ทะเลจีนใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวัน พัฒนาการและความคืบหน้าของสถานการณ์ทางด้านความมั่นคงในแปซิฟิกใต้ การลดอาวุธนิวเคลียร์ นโยบายด้านการทหาร และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (อาทิ การลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็ก การ ลักลอบค้ามนุษย์ และปัญหาการฟอกเงิน เป็นต้น) ซึ่งนับว่าเป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จอย่างดี ยิ่งและช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลียด้านความมั่นคงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
การประชุม RSD เป็นกลไกความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับออสเตรเลีย เนื่องจากออสเตรเลียเป็นมิตรประเทศที่มีท่าทีและผลประโยชน์ระหว่างประเทศ สอดคล้องกับไทย และที่ผ่านมาออสเตรเลียก็ให้ความร่วมมือช่วยเหลือและสนับสนุนไทยในเรื่องต่างๆ มาโดยตลอด อาทิ การเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่ของ WTO ของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ การสนับสนุน กิจกรรมและบทบาทของไทยในอาเซียน และ ARF การส่งเสริมบทบาทของทหารไทยในการรักษาสันติภาพ ในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น ความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับออสเตรเลียข้างต้นนี้ล้วนแต่เป็นผลมาจากการ หารือและประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างทั้งสองฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ
การประชุม RSD ครั้งนี้ทำให้ไทยมีพันธมิตรที่ใกล้ชิดด้านการเมืองระหว่างประเทศที่ ช่วยสนับสนุนบทบาทของไทยในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินโดนีเซีย พม่า ติมอร์ตะวันออก คาบสมุทรเกาหลี ทะเลจีนใต้ และประเด็นความขัดแย้งจีน-ไต้หวัน นอกจากนี้ออสเตรเลียจะช่วย ประสานงานให้ข้อมูล และให้ความร่วมมือกับไทยในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติด การก่อการร้ายระหว่างประเทศ การลักลอบค้ามนุษย์
การประชุมครั้งต่อไปจะมีที่ประเทศออสเตรเลียในปี 2545
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-