แท็ก
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ร่างพระราชบัญญัติ
ทบวงมหาวิทยาลัย
รัฐสภา
ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๕
วันพฤหัสบดีที่ ๙ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณาทบวงมหาวิทยาลัย ในส่วนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ กรมการจัดหางาน ซึ่งสรุป
สาระสำคัญ ได้ดังนี้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๙๐,๒๗๕,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๒๘,๒๖๓,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการกระจายการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราชให้กับคนด้อยโอกาสทางการศึกษาในต่างจังหวัด ควรจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและขยาย
ศูนย์บริการไปทุกภาคเพื่อประชาชนที่สนใจจะศึกษาในมหาวิทยาลียเปิด พร้อมทั้งมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการ
ทางด้านนิติศาสตร์มากยิ่งขึ้นโดยมีบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะด้านไปประจำศูนย์ต่าง ๆ เช่น อบรม
ประกาศนียบัตรกฎหมายที่ดินให้แก่ประชาชนซึ่งจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อธิการบดีชี้แจงว่า การจัดการ
ศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ซึ่งจะร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลและจะขยาย
การศึกษาต่อไป
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๖๕,๘๒๖,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๒๗,๘๖๕,๕๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๓๙๘,๐๗๙,๕๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๖๗,๗๔๖,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินงานซึ่งมีการเน้นงานหลายด้านเกินไป
ทำให้ผลการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเห็นควรใช้ความรู้ ความสามารถที่มีเฉพาะด้านให้
เกิดความเชี่ยวชาญและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เช่น การผลิต โซล่าเซลล์ หากผลิตให้มีต้นทุนต่ำ
ก็จะทำให้มีราคาถูก ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ไฟฟ้ายังไม่สามารถเข้าถึง และเป็นการสร้างรายได้
ให้แก่ประเทศด้วย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๐๘๒,๗๔๑,๑๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑๒,๖๐๐,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๒,๐๗๐,๑๔๑,๑๐๐ บาท
มีรายการปรับลดในหมวดค่าก่อสร้างอาคารปฏิบัติการคณะประมงบางเขน ๑ หลัง เนื่องจาก
ผลการดำเนินงานล่าช้า
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๑,๗๖๔,๘๖๑,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๓๑๗,๘๗๙,๓๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็น
หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการชี้นำการพัฒนาทางด้านการเกษตร จึงเห็นควรให้มีเพิ่มงบประมาณ
ให้มากขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และส่งเสริมภาคการเกษตร
ให้มีความก้าวหน้า รวมทั้งพัฒนางานด้านวิจัยให้สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างเป็น
รูปธรรมต่อไป
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มุ่งเน้นให้ความสำคัญ
ในการวิจัย พัฒนาเฉพาะเรื่องพืชเป็นอย่างมากแต่การวิจัย พัฒนาเกี่ยวกับสัตว์มีน้อย จึงเห็นควรให้ได้มีการ
ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้คณะกรรมาธิการสนับสนุนให้มีการผลิตและแปรรูป
มันสำปะหลังเป็นภาชนะบรรจุที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และให้มีการศึกษา วิจัยไบโอดีเซลล์
ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำให้กับเกษตรกร และเป็นการส่งเสริมด้านการ
ศึกษาค้นคว้าต่อไป
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๔๐,๙๒๖,๐๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑,๔๔๙,๖๐๐ บาท
คงเหลือ ๕๓๙,๔๗๖,๔๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๒๓๑,๗๐๔,๖๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๕๓๖,๔๙๗,๑๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๔,๔๒๘,๙๐๐ บาท
มีการปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ๑ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๖๔๗,๑๐๖,๔๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๑๒๑,๔๒๑,๖๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๖๓๗,๙๖๙,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๙,๑๓๖,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๒๐,๙๓๗,๖๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๒,๑๒๑,๙๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒๑๔,๐๘๑,๔๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๖,๘๕๖,๒๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณซึ่งมีการของบประมาณ
น้อยมาก และบุคลากรด้านอาจารย์ก็มีน้อยไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาจึงทำให้เกิดปัญหาการผลิต
นักศึกษาได้น้อย คณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้มีการแปรญัตติเพิ่ม
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๐,๐๖๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม ๒๐,๐๖๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
๑. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
๒. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๕,๙๔๒,๗๖๔,๑๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๒๕,๘๒๗,๕๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๔,๐๔๗,๑๐๐ บาท
คงเหลือ ๕๒๑,๗๘๐,๔๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน ๓๖๗,๗๒๘,๑๐๐ บาท
ข. แผนงานผลประโยชน์ในต่างประเทศ ๑๕๘,๐๙๙,๔๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๔๗,๕๒๑,๐๐๐ บาท
รายการปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่กำหนดไว้
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. ปัญหาแรงงานไทยในต่างแดน เป็นปัญหาที่คณะกรรมาธิการมีความห่วงใยและตั้งข้อสังเกต
แรงงานไทยที่ไปค้าแรงงานในต่างแดนนั้น จากที่มีข่าวออกมาว่าแรงงานไทยถูกปล่อยเกาะบ้าง แรงงานไทย
ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทจัดหางานบ้างนั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีแนวทางแก้ไขและป้องกัน
ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้กล่าวชี้แจงในประเด็นที่ว่า ปัญหาเรื่อง
แรงงานไทยในต่างแดนที่เกิดปัญหานั้น ส่วนมากเป็นกลุ่มแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและไม่ได้ผ่านทาง
กระทรวงแรงงานฯ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกระทรวงแรงงานฯ ก็มิได้ละเลยแรงงานเหล่านั้น กระทรวง
แรงงานฯ ได้มีการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยส่งกลับแรงงานที่ถูกปล่อยเกาะ ส่วน
ปัญหาเรื่องของบริษัทจัดหางานที่กระทำการเอารัดเอาเปรียบแรงงานที่มีการเรียกเก็บเงินค่าเดินทางแล้ว
แต่มิได้ส่งไปทำงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงานฯ ได้มีมาตรการลงโทษโดยพักใช้ใบอนุญาต และหาก
เป็นกรณีร้ายแรงก็จะยึดใบอนุญาตของบริษัทจัดหางานนั้น
๒. งบประมาณที่ถูกปรับลดย่อมมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน โดยเฉพาะแผนงานพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งเน้นพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีอันทันสมัย และที่สำคัญงบประมาณ
ที่ต้องนำมาใช้ในการวางระบบตลาดแรงงานเพื่อรองรับในเรื่องกำลังคน ซึ่งกระทรวงฯ ได้กู้เงินจากธนาคารโลก
โดยไม่เสียดอกเบี้ย เพื่อนำมาใช้ว่าจ้างบริษัทต่างประเทศในการวางระบบตลาดแรงงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
ระบบการจ้างงาน หรือระบบสวัสดิการสังคม โดยคณะกรรมาธิการเสนอแนะให้แปรญัตติของบประมาณเพิ่ม
เพื่อนำมาจัดสรรให้กับแผนงานที่มีประโยชน์ ตลอดจนการนำงบประมาณไปใช้ในแผนงานพัฒนาช่วยเหลือ
ผู้ด้วยโอกาส คนพิการ และคนชรา
๓. ปัญหาแรงงานต่างด้าว เป็นปัญหาที่กระทรวงแรงงานฯ จะต้องรับผิดชอบโดยตรง
ซึ่งปัจจุบันนี้ปัญหาดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คณะกรรมาธิการจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่ากระทรวงแรงงานฯ ควรจะหามาตรการ
ในการควบคุมจำนวนแรงงานต่างด้าวให้อยู่ภายใต้การความดูแลและถูกกฎหมาย เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ
และจากการที่รัฐบาลได้มีการขยายระยะเวลาการว่าจ้งแรงงานต่างด้าว ตามกฎหมายว่าด้วยคนต่างด้าว
ซึ่งจะสิ้นสุดการขยายเวลาในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ นี้ กระทรวงแรงงานฯ จำเป็นที่จะต้องหานโยบาย
ป้องกันการขอขยายเวลาเพิ่มจากผู้ประกอบการด้วย
กรมการจัดหางาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๗๐,๒๑๑,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน ๕๗๐,๒๑๑,๗๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๒๗,๑๐๗,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในส่วนของแผนงานควบคุมการทำงานของ
คนต่างด้าว ว่าควรทำการแปรญัตติของบประมาณเพิ่ม เพื่อนำมาใช้ดำเนินการควบคุมและตรวจสอบ
ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากงบประมาณที่ตั้งไว้ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน พร้อมกับเสนอแนะ
แนวคิดเปิดตลาดการจดทะเบียนนำเข้าแรงงานให้ภาคเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ
กรมประชาสงเคราะห์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔,๕๒๙,๑๘๒,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๓๒,๓๒๐,๑๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ๔๐๐,๑๒๕,๒๐๐ บาท
ข. แผนงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ๓,๓๑๓,๒๓๙,๗๐๐ บาท
ค. แผนงานพัฒนานิคมและส่งเสริมอาชีพ ๔๔๖,๑๙๔,๒๐๐ บาท
ง. แผนงานพัฒนาชนบท ๔๒,๔๙๑,๐๐๐ บาท
จ. แผนงานพัฒนาชาวเขา ๒๔๙,๕๘๕,๖๐๐ บาท
ฉ. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๗๗,๕๔๖,๓๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนะว่าโครงการสร้างอาชีพต่าง ๆ นั้น ควรให้มีการประสานงาน
ร่วมกับหมู่บ้านที่ได้รับกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ ล้านบาท และร่วมกับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประสานงานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับเรื่อง การเปลี่ยนเอกสิทธิ์ (นค. ๓) เป็นโฉนดที่ดิน
มีวิธีการดำเนินการอย่างไร กรมประชาสงเคราะห์ชี้แจงว่า จะต้องทำงานครบ ๕ ปี ทางกรมประชาสงเคราะห์
จะออก นค. ๓ และเมื่อได้ นค. ๓ ก็สามารถเอาไปยื่นให้กรมที่ดินเพื่อออกเป็นโฉนดที่ดินได้
๓. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับเรื่อง การถ่ายโอนอำนาจ มีการถ่ายโอนอำนาจ
กี่โครงการ และองค์กรใดเป็นผู้รับการถ่ายโอนอำนาจ กรมประชาสงเคราะห์ชี้แจงว่า องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนอำนาจ มี ๓ โครงการ ๑. โครงการถ่ายโอนอาหารเสริม (นม) ๒. โครงการ
ถ่ายโอนอาหารกลางวัน ๓. โครงการถ่ายโอนกิจกรรมเกี่ยวกับการให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ คณะ
กรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะให้กรมประชาสงเคราะห์ช่วยเหลือให้คำปรึกษาเป็นพิเศษ เพราะองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมาใหม่อาจจะดำเนินการไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๓๘๑,๔๕๓,๓๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๔,๙๗๘,๑๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๓๗๖,๔๗๕,๒๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน ๑,๓๗๗,๒๕๖,๔๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๔,๑๙๖,๙๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๗๘๖,๙๘๓,๗๐๐ บาท
มีรายการปรับลดเนื่องจากการปรับลดตามราคามาตรฐาน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีการ
ประสานงานร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรองรับคุณภาพฝีมือแรงงานมากน้อยเพียงใด
กรมแรงงานชี้แจงว่า การประสานงานร่วมกับเอกชนเป็นเรื่องสำคัญมาก ทางกรมแรงงานได้ประสานใน
รูปแบบการผลิตบุคลากรมีการอบรม, สัมมนา, โครงการวิจัย และจะเป็นในรูปฝึกงานในด้านต่าง ๆ
และยังมีการประสานร่วมกับกระทรวงศึกษาในเรื่องการโอนหน่วยกิจ และยังได้ประสานงานร่วมกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในการยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้ระดับมาตรฐานเหมือนกัน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๒๓,๖๘๘,๙๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารด้านและพัฒนาแรงงาน ๗๒๑,๕๖๕,๒๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๒,๑๒๓,๗๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๔๒,๑๑๗,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. แรงงานนอกระบบ ได้แก่ การจ้างงานที่ไม่ใช่กิจการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ควรได้รับ
การดูแลด้วย
๒. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานสตรีและเด็ก ได้รับการชี้แจงว่า
แรงงานเด็กและสตรีได้มีกฎหมายคุ้มครอง การจ้างแรงงานเด็กกำหนดอายุไว้ว่าต้องอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
งานนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เป็นงานกลางวัน ทำงานไม่เกิน ๔ ทุ่ม ส่วนสตรีได้รับการ
คุ้มครองโดยหากเป็นสตรีมีครรภ์ ห้ามทำงานเกิน ๔ ทุ่ม ห้ามทำงานล่วงเวลา และห้ามเลิกจ้างเพราะมี
ครรภ์ กรมฯ ได้พยามยามประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อให้เข้าใจสิทธิของตน
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความปลดภัยในการทำงานว่า กรมฯ ควรตรวจสอบ
กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดซึ่งได้รับคำชี้แจงว่า กรมฯ มี
เจ้าหน้าที่น้อยดูแลไม่ทั่วถึง จึงมีการตั้งเป็นทวิภาคีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง มีคณะกรรมการความปลอดภัย
ในการทำงาน คอยตรวจสอบดูแลความปลอดภัยในที่ทำงาน กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบอีกครั้ง
สถานประกอบการที่ปฏิบัติได้ดีจะได้รับประกาศดีเด่น ซึ่ง กรมฯ จะทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔. นายเสกสรรค์ แสนภูมิ กรรมาธิการ ขอสงวนปรับลดงบประมณ กรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงาน ๕%
สำนักงานประกันสังคม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๘,๒๑๒,๔๐๐,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานประกันสังคม ๘,๒๑๒,๔๐๐,๗๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๓๐๒,๑๙๖,๙๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องการประกันการว่างงานว่ามีการ
เตรียมการถึงขั้นไหนอย่างไร ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่า ขณะนี้มีการเตรียมการในระดับสำนักงานประกันสังคม
มีการพิจารณาหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยมีแนวทางจะเก็บเงินสมทบ ๓% แบ่งเก็บจาก
ฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องฝ่ายละ ๑% ประโยชน์ที่ให้จะเป็นเงินทดแทนให้เพียง ๕๐% และมีระยะเวลา
การให้ที่จำกัด เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนทำงาน อีกทั้งมีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่คนเหล่านี้ด้วยและ
บุคคลผู้จะได้รับเงินทดแทนนี้ต้องเป็นบุคคลผู้ถูกเลิกจ้างโดยกรณีต่าง ๆ มิใช่ออกจากงานโดยสมัครใจ
คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปี ๒๕๔๕
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กองทุนสำหรับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กองทุนสำหรับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ร่วมกัน และได้ตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ควรจะให้ความสนใจ
ผู้พิการทางสมองด้วย เพราะเป็นกลุ่มคนที่ไม่สามารถบอกความต้องการ หรือเรียกร้องใด ๆ
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องเกี่ยวกับกองทุนต่าง ๆ
ให้มาก เพื่อสร้างความเข้าใจและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มที่
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๕,๒๐๖,๖๓๑,๒๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๗,๗๙๓,๓๖๘,๘๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๕
วันพฤหัสบดีที่ ๙ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณาทบวงมหาวิทยาลัย ในส่วนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ กรมการจัดหางาน ซึ่งสรุป
สาระสำคัญ ได้ดังนี้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๙๐,๒๗๕,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๒๘,๒๖๓,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการกระจายการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราชให้กับคนด้อยโอกาสทางการศึกษาในต่างจังหวัด ควรจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและขยาย
ศูนย์บริการไปทุกภาคเพื่อประชาชนที่สนใจจะศึกษาในมหาวิทยาลียเปิด พร้อมทั้งมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการ
ทางด้านนิติศาสตร์มากยิ่งขึ้นโดยมีบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะด้านไปประจำศูนย์ต่าง ๆ เช่น อบรม
ประกาศนียบัตรกฎหมายที่ดินให้แก่ประชาชนซึ่งจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อธิการบดีชี้แจงว่า การจัดการ
ศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ซึ่งจะร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลและจะขยาย
การศึกษาต่อไป
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๖๕,๘๒๖,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๒๗,๘๖๕,๕๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๓๙๘,๐๗๙,๕๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๖๗,๗๔๖,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินงานซึ่งมีการเน้นงานหลายด้านเกินไป
ทำให้ผลการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเห็นควรใช้ความรู้ ความสามารถที่มีเฉพาะด้านให้
เกิดความเชี่ยวชาญและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เช่น การผลิต โซล่าเซลล์ หากผลิตให้มีต้นทุนต่ำ
ก็จะทำให้มีราคาถูก ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ไฟฟ้ายังไม่สามารถเข้าถึง และเป็นการสร้างรายได้
ให้แก่ประเทศด้วย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๐๘๒,๗๔๑,๑๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑๒,๖๐๐,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๒,๐๗๐,๑๔๑,๑๐๐ บาท
มีรายการปรับลดในหมวดค่าก่อสร้างอาคารปฏิบัติการคณะประมงบางเขน ๑ หลัง เนื่องจาก
ผลการดำเนินงานล่าช้า
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๑,๗๖๔,๘๖๑,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๓๑๗,๘๗๙,๓๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็น
หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการชี้นำการพัฒนาทางด้านการเกษตร จึงเห็นควรให้มีเพิ่มงบประมาณ
ให้มากขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และส่งเสริมภาคการเกษตร
ให้มีความก้าวหน้า รวมทั้งพัฒนางานด้านวิจัยให้สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างเป็น
รูปธรรมต่อไป
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มุ่งเน้นให้ความสำคัญ
ในการวิจัย พัฒนาเฉพาะเรื่องพืชเป็นอย่างมากแต่การวิจัย พัฒนาเกี่ยวกับสัตว์มีน้อย จึงเห็นควรให้ได้มีการ
ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้คณะกรรมาธิการสนับสนุนให้มีการผลิตและแปรรูป
มันสำปะหลังเป็นภาชนะบรรจุที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และให้มีการศึกษา วิจัยไบโอดีเซลล์
ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำให้กับเกษตรกร และเป็นการส่งเสริมด้านการ
ศึกษาค้นคว้าต่อไป
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๔๐,๙๒๖,๐๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑,๔๔๙,๖๐๐ บาท
คงเหลือ ๕๓๙,๔๗๖,๔๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๒๓๑,๗๐๔,๖๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๕๓๖,๔๙๗,๑๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๔,๔๒๘,๙๐๐ บาท
มีการปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ๑ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๖๔๗,๑๐๖,๔๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๑๒๑,๔๒๑,๖๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๖๓๗,๙๖๙,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๙,๑๓๖,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๒๐,๙๓๗,๖๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๒,๑๒๑,๙๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๒๑๔,๐๘๑,๔๐๐ บาท
ข. แผนงานวิจัยระดับอุดมศึกษา ๖,๘๕๖,๒๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณซึ่งมีการของบประมาณ
น้อยมาก และบุคลากรด้านอาจารย์ก็มีน้อยไม่เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาจึงทำให้เกิดปัญหาการผลิต
นักศึกษาได้น้อย คณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้มีการแปรญัตติเพิ่ม
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๐,๐๖๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม ๒๐,๐๖๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
๑. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
๒. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๕,๙๔๒,๗๖๔,๑๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๒๕,๘๒๗,๕๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๔,๐๔๗,๑๐๐ บาท
คงเหลือ ๕๒๑,๗๘๐,๔๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน ๓๖๗,๗๒๘,๑๐๐ บาท
ข. แผนงานผลประโยชน์ในต่างประเทศ ๑๕๘,๐๙๙,๔๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๔๗,๕๒๑,๐๐๐ บาท
รายการปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่กำหนดไว้
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. ปัญหาแรงงานไทยในต่างแดน เป็นปัญหาที่คณะกรรมาธิการมีความห่วงใยและตั้งข้อสังเกต
แรงงานไทยที่ไปค้าแรงงานในต่างแดนนั้น จากที่มีข่าวออกมาว่าแรงงานไทยถูกปล่อยเกาะบ้าง แรงงานไทย
ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบริษัทจัดหางานบ้างนั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีแนวทางแก้ไขและป้องกัน
ปัญหาดังกล่าวอย่างไรบ้าง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้กล่าวชี้แจงในประเด็นที่ว่า ปัญหาเรื่อง
แรงงานไทยในต่างแดนที่เกิดปัญหานั้น ส่วนมากเป็นกลุ่มแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและไม่ได้ผ่านทาง
กระทรวงแรงงานฯ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกระทรวงแรงงานฯ ก็มิได้ละเลยแรงงานเหล่านั้น กระทรวง
แรงงานฯ ได้มีการประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ช่วยส่งกลับแรงงานที่ถูกปล่อยเกาะ ส่วน
ปัญหาเรื่องของบริษัทจัดหางานที่กระทำการเอารัดเอาเปรียบแรงงานที่มีการเรียกเก็บเงินค่าเดินทางแล้ว
แต่มิได้ส่งไปทำงานในต่างประเทศ กระทรวงแรงงานฯ ได้มีมาตรการลงโทษโดยพักใช้ใบอนุญาต และหาก
เป็นกรณีร้ายแรงก็จะยึดใบอนุญาตของบริษัทจัดหางานนั้น
๒. งบประมาณที่ถูกปรับลดย่อมมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน โดยเฉพาะแผนงานพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งเน้นพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีอันทันสมัย และที่สำคัญงบประมาณ
ที่ต้องนำมาใช้ในการวางระบบตลาดแรงงานเพื่อรองรับในเรื่องกำลังคน ซึ่งกระทรวงฯ ได้กู้เงินจากธนาคารโลก
โดยไม่เสียดอกเบี้ย เพื่อนำมาใช้ว่าจ้างบริษัทต่างประเทศในการวางระบบตลาดแรงงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น
ระบบการจ้างงาน หรือระบบสวัสดิการสังคม โดยคณะกรรมาธิการเสนอแนะให้แปรญัตติของบประมาณเพิ่ม
เพื่อนำมาจัดสรรให้กับแผนงานที่มีประโยชน์ ตลอดจนการนำงบประมาณไปใช้ในแผนงานพัฒนาช่วยเหลือ
ผู้ด้วยโอกาส คนพิการ และคนชรา
๓. ปัญหาแรงงานต่างด้าว เป็นปัญหาที่กระทรวงแรงงานฯ จะต้องรับผิดชอบโดยตรง
ซึ่งปัจจุบันนี้ปัญหาดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คณะกรรมาธิการจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่ากระทรวงแรงงานฯ ควรจะหามาตรการ
ในการควบคุมจำนวนแรงงานต่างด้าวให้อยู่ภายใต้การความดูแลและถูกกฎหมาย เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ
และจากการที่รัฐบาลได้มีการขยายระยะเวลาการว่าจ้งแรงงานต่างด้าว ตามกฎหมายว่าด้วยคนต่างด้าว
ซึ่งจะสิ้นสุดการขยายเวลาในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ นี้ กระทรวงแรงงานฯ จำเป็นที่จะต้องหานโยบาย
ป้องกันการขอขยายเวลาเพิ่มจากผู้ประกอบการด้วย
กรมการจัดหางาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๗๐,๒๑๑,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน ๕๗๐,๒๑๑,๗๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๒๗,๑๐๗,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในส่วนของแผนงานควบคุมการทำงานของ
คนต่างด้าว ว่าควรทำการแปรญัตติของบประมาณเพิ่ม เพื่อนำมาใช้ดำเนินการควบคุมและตรวจสอบ
ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากงบประมาณที่ตั้งไว้ไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน พร้อมกับเสนอแนะ
แนวคิดเปิดตลาดการจดทะเบียนนำเข้าแรงงานให้ภาคเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ
กรมประชาสงเคราะห์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔,๕๒๙,๑๘๒,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๓๒,๓๒๐,๑๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ๔๐๐,๑๒๕,๒๐๐ บาท
ข. แผนงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ๓,๓๑๓,๒๓๙,๗๐๐ บาท
ค. แผนงานพัฒนานิคมและส่งเสริมอาชีพ ๔๔๖,๑๙๔,๒๐๐ บาท
ง. แผนงานพัฒนาชนบท ๔๒,๔๙๑,๐๐๐ บาท
จ. แผนงานพัฒนาชาวเขา ๒๔๙,๕๘๕,๖๐๐ บาท
ฉ. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๗๗,๕๔๖,๓๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการมีข้อเสนอแนะว่าโครงการสร้างอาชีพต่าง ๆ นั้น ควรให้มีการประสานงาน
ร่วมกับหมู่บ้านที่ได้รับกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ ล้านบาท และร่วมกับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ประสานงานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับเรื่อง การเปลี่ยนเอกสิทธิ์ (นค. ๓) เป็นโฉนดที่ดิน
มีวิธีการดำเนินการอย่างไร กรมประชาสงเคราะห์ชี้แจงว่า จะต้องทำงานครบ ๕ ปี ทางกรมประชาสงเคราะห์
จะออก นค. ๓ และเมื่อได้ นค. ๓ ก็สามารถเอาไปยื่นให้กรมที่ดินเพื่อออกเป็นโฉนดที่ดินได้
๓. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับเรื่อง การถ่ายโอนอำนาจ มีการถ่ายโอนอำนาจ
กี่โครงการ และองค์กรใดเป็นผู้รับการถ่ายโอนอำนาจ กรมประชาสงเคราะห์ชี้แจงว่า องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนอำนาจ มี ๓ โครงการ ๑. โครงการถ่ายโอนอาหารเสริม (นม) ๒. โครงการ
ถ่ายโอนอาหารกลางวัน ๓. โครงการถ่ายโอนกิจกรรมเกี่ยวกับการให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ คณะ
กรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะให้กรมประชาสงเคราะห์ช่วยเหลือให้คำปรึกษาเป็นพิเศษ เพราะองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมาใหม่อาจจะดำเนินการไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๓๘๑,๔๕๓,๓๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๔,๙๗๘,๑๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๓๗๖,๔๗๕,๒๐๐ บาท
ก. แผนงานบริหารและพัฒนาแรงงาน ๑,๓๗๗,๒๕๖,๔๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๔,๑๙๖,๙๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๗๘๖,๙๘๓,๗๐๐ บาท
มีรายการปรับลดเนื่องจากการปรับลดตามราคามาตรฐาน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีการ
ประสานงานร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรองรับคุณภาพฝีมือแรงงานมากน้อยเพียงใด
กรมแรงงานชี้แจงว่า การประสานงานร่วมกับเอกชนเป็นเรื่องสำคัญมาก ทางกรมแรงงานได้ประสานใน
รูปแบบการผลิตบุคลากรมีการอบรม, สัมมนา, โครงการวิจัย และจะเป็นในรูปฝึกงานในด้านต่าง ๆ
และยังมีการประสานร่วมกับกระทรวงศึกษาในเรื่องการโอนหน่วยกิจ และยังได้ประสานงานร่วมกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในการยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้ระดับมาตรฐานเหมือนกัน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๒๓,๖๘๘,๙๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารด้านและพัฒนาแรงงาน ๗๒๑,๕๖๕,๒๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๒,๑๒๓,๗๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๔๒,๑๑๗,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
๑. แรงงานนอกระบบ ได้แก่ การจ้างงานที่ไม่ใช่กิจการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ควรได้รับ
การดูแลด้วย
๒. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานสตรีและเด็ก ได้รับการชี้แจงว่า
แรงงานเด็กและสตรีได้มีกฎหมายคุ้มครอง การจ้างแรงงานเด็กกำหนดอายุไว้ว่าต้องอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป
งานนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เป็นงานกลางวัน ทำงานไม่เกิน ๔ ทุ่ม ส่วนสตรีได้รับการ
คุ้มครองโดยหากเป็นสตรีมีครรภ์ ห้ามทำงานเกิน ๔ ทุ่ม ห้ามทำงานล่วงเวลา และห้ามเลิกจ้างเพราะมี
ครรภ์ กรมฯ ได้พยามยามประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อให้เข้าใจสิทธิของตน
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความปลดภัยในการทำงานว่า กรมฯ ควรตรวจสอบ
กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัดซึ่งได้รับคำชี้แจงว่า กรมฯ มี
เจ้าหน้าที่น้อยดูแลไม่ทั่วถึง จึงมีการตั้งเป็นทวิภาคีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง มีคณะกรรมการความปลอดภัย
ในการทำงาน คอยตรวจสอบดูแลความปลอดภัยในที่ทำงาน กรมฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบอีกครั้ง
สถานประกอบการที่ปฏิบัติได้ดีจะได้รับประกาศดีเด่น ซึ่ง กรมฯ จะทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔. นายเสกสรรค์ แสนภูมิ กรรมาธิการ ขอสงวนปรับลดงบประมณ กรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงาน ๕%
สำนักงานประกันสังคม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๘,๒๑๒,๔๐๐,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานประกันสังคม ๘,๒๑๒,๔๐๐,๗๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน ๓๐๒,๑๙๖,๙๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องการประกันการว่างงานว่ามีการ
เตรียมการถึงขั้นไหนอย่างไร ซึ่งได้รับคำชี้แจงว่า ขณะนี้มีการเตรียมการในระดับสำนักงานประกันสังคม
มีการพิจารณาหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยมีแนวทางจะเก็บเงินสมทบ ๓% แบ่งเก็บจาก
ฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องฝ่ายละ ๑% ประโยชน์ที่ให้จะเป็นเงินทดแทนให้เพียง ๕๐% และมีระยะเวลา
การให้ที่จำกัด เพื่อเป็นการสนับสนุนให้คนทำงาน อีกทั้งมีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่คนเหล่านี้ด้วยและ
บุคคลผู้จะได้รับเงินทดแทนนี้ต้องเป็นบุคคลผู้ถูกเลิกจ้างโดยกรณีต่าง ๆ มิใช่ออกจากงานโดยสมัครใจ
คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปี ๒๕๔๕
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กองทุนสำหรับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กองทุนสำหรับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ร่วมกัน และได้ตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ควรจะให้ความสนใจ
ผู้พิการทางสมองด้วย เพราะเป็นกลุ่มคนที่ไม่สามารถบอกความต้องการ หรือเรียกร้องใด ๆ
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องเกี่ยวกับกองทุนต่าง ๆ
ให้มาก เพื่อสร้างความเข้าใจและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างเต็มที่
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๕,๒๐๖,๖๓๑,๒๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๗,๗๙๓,๓๖๘,๘๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔