ข่าวในประเทศ
1. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ผลสะท้อนจากการปรับลดดอกเบี้ยของ ธพ. รายงานข่าวจากบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.สะท้อนถึงความผิดปกติบางประการที่ยังคงอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ที่นำมาสู่ปัญหาความต้องการสินเชื่อที่หดตัว, เงินฝากไหลเข้าสู่ระบบธนาคาร, ปัญหาหนี้เสียและการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่มีความคืบหน้า และภาระกันสำรองหนี้เสีย ซึ่งไม่คุ้มกับรายได้ดอกเบี้ยและไม่เพียงพอที่จะดำเนินงานท่ามกลางอุปสรรคจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยแท้จริงน่าจะส่งผลดีต่อการกู้ยืมของภาคธุรกิจเอกชนและรัฐบาล ช่วยให้ ธพ. ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ฝากเงินที่จะได้รับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงนั้น ทางการควรช่วยเหลือด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการในช่วงปี งปม. 43 หรืออาจเพิ่มค่าลดหย่อนในการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินฝากในบัญชีประจำ ขณะเดียวกัน นรม.กล่าวว่า กำลังให้คณะทำงานศึกษารายละเอียดและกฎหมายก่อนมีการหารือกัน เนื่องจากดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากเกินไป และถือเป็นความผิดปกติทางเศรษฐกิจที่ต้องเร่งแก้ไข ในส่วนของแหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า การที่ ธพ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากนั้น ถือว่าระบบธนาคารสามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว โดยดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงจะช่วยกระตุ้นการลงทุน การอุปโภคบริโภค ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น (มติชน,วัฏจักร 13)
2. ธปท.เบิกจ่ายธนบัตรเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานการเบิกจ่ายธนบัตรใช้แลกชนิดราคาต่างๆ ในเดือน ม.ค.44 ว่า มีมูลค่าทั้งสิ้น 97,316.70 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.38 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลตรุษจีน สำหรับปริมาณธนบัตรที่ออกใช้มีมูลค่าทั้งสิ้น 460,612 ล.บาท ลดลงจากเดือนก่อน 1 ล.บาท และลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน 3,873 ล.บาท หรือร้อยละ 0.83 (วัฏจักร 13)
3. บง.ธนชาติเสนอแนะแนวทางการบริหารเอเอ็มซีแห่งชาติ บง.ธนชาติเสนอรายงานแนะแนวทางบริหารเอเอ็มซีแห่งชาติบนหลักการสำคัญ เช่น (1)ให้เอเอ็มซีฯ ซื้อหนี้ที่ราคาตามบัญชีสุทธิ(Net Book Value) คือเท่ากับมูลหนี้รวมกับดอกเบี้ยคงค้างบนบัญชีหักด้วยสำรองเผื่อหนี้สูญที่ตั้งไว้แล้ว และชำระเงินค่าซื้อหนี้ด้วยตั๋วเงินที่มีรัฐบาลค้ำประกันอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3-4 ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินผู้ขายไม่ขาดทุนหรือกำไร จึงไม่มีผลกระทบต่อเงินกองทุน ขณะที่ตั๋วเงินที่ได้รับมีรัฐบาลค้ำประกันจึงมีน้ำหนักความเสี่ยงเป็นศูนย์ ทำให้บีไอเอสของสถาบันการเงินดีขึ้น (2)ให้สถาบันการเงินของหนี้เดิมเป็นผู้ติดตามเจรจาและตกลงกับลูกหนี้ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการเอเอ็มซีแห่งชาติ โดยแบ่งลูกหนี้ออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ลูกหนี้รายใหญ่ที่ยังประกอบธุรกิจอยู่ มีเจ้าหนี้หลายรายและมีมูลหนี้ 300-500 ล.บาทให้เอเอ็มซีฯ เป็นผู้จัดการและตัดสินใจประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ประเภทที่ 2 ลูกหนี้รายย่อยและดำเนินธุรกิจอยู่ มีมูลหนี้น้อยและมีเจ้าหนี้ 1-2 ราย ให้เจ้าหนี้เดิมตัดสินใจประนอมหนี้ และประเภทที่ 3 ลูกหนี้ที่ไม่ดำเนินธุรกิจ มีมูลหนี้ทั้งมากและน้อย การบริหารเน้นที่การขายทรัพย์มาชำระหนี้ โดยใช้กฎหมายบังคับให้ประนอมหนี้ (ไทยรัฐ,กรุงเทพธุรกิจ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายเงิน งปม. ของ สรอ. จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ในปี งปม. 45 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 12 ก.พ.44 ประธานคณะกรรมาธิการสภางบประมาณของ สรอ. (นาย Pete Domenici) เปิดเผยว่า ในการทำแผน งปม. ของสภาฯ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอของประธานาธิบดีบุชที่ต้องการให้มีการปรับลดภาษีจำนวนสุทธิ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ภายในระยะเวลา 10 ปี จะทำให้การใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4 ในปี งปม.45 และอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายฯ เฉลี่ยที่ผ่านมาที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 6 โดยอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายฯ ที่ร้อยละ 4 ดังกล่าว จะเป็นการใช้จ่ายในเรื่องของการป้องกันประเทศ การศึกษา การบังคับใช้กฎหมาย ที่ดินสาธารณะและโครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินที่รัฐบาลจะต้องอนุมัติประมาณ 660 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ต่อปี ทั้งนี้ สภาฯ กำลังรอผลการพิจารณาแผนการจัด งปม. ดังกล่าวจากรัฐบาล (รอยเตอร์ 12)
2. เดือน ม.ค. 44 ราคาผู้ผลิตของอังกฤษลดลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ราคาผู้ผลิตโดยรวม ลดลงร้อยละ 0.4 จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 15 ปีนับแต่เดือน พ.ค. 29 ที่ลดลงร้อยละ 0.4 เช่นกัน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปี นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่อปีต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน ราคาผู้ผลิตพื้นฐานในเดือน ม.ค. 44 ที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดนับแต่เดือน มี.ค. 43 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาผู้ผลิตในเดือนดังกล่าวลดลงมากกว่าที่คาดหมายไว้ เนื่องจากราคาผลผลิตปิโตรเลียมลดลงอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะถูกชดเชยจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์ 12)
3. ประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ DIW ของเยอรมนีคาดว่า ธ.กลางกลุ่มยูโรอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 44 ประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ DIW (Klaus Zimmermann) ของเยอรมนีแสดงความเห็นว่า ธ.กลางกลุ่มยูโรไม่มีเหตุผลใดๆที่จะคาดหมายว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรจะเพิ่มขึ้น และอาจดำเนินนโยบายตาม ธ.กลาง สรอ. โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการทำให้นโยบายค่าจ้างมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในวงจำกัด โดยเศรษฐกิจของเยอรมนียังได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วจากการที่เศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นชั่วคราวในปีที่ผ่านมา ตลอดจนค่าจ้างแรงงานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในขณะนี้ จะไม่ส่งผลต่อแรงกดดันด้านราคาสินค้าให้สูงขึ้นในกลุ่มยูโร (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 ก.พ. 44 42.581 (42.571)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3665 (42.3877) ขาย 42.6858 (42.6981)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,250) ขาย 5,350 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.05 (26.02)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ผลสะท้อนจากการปรับลดดอกเบี้ยของ ธพ. รายงานข่าวจากบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธพ.สะท้อนถึงความผิดปกติบางประการที่ยังคงอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ที่นำมาสู่ปัญหาความต้องการสินเชื่อที่หดตัว, เงินฝากไหลเข้าสู่ระบบธนาคาร, ปัญหาหนี้เสียและการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่มีความคืบหน้า และภาระกันสำรองหนี้เสีย ซึ่งไม่คุ้มกับรายได้ดอกเบี้ยและไม่เพียงพอที่จะดำเนินงานท่ามกลางอุปสรรคจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยแท้จริงน่าจะส่งผลดีต่อการกู้ยืมของภาคธุรกิจเอกชนและรัฐบาล ช่วยให้ ธพ. ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ฝากเงินที่จะได้รับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงนั้น ทางการควรช่วยเหลือด้วยการออกพันธบัตรออมทรัพย์เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการในช่วงปี งปม. 43 หรืออาจเพิ่มค่าลดหย่อนในการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้มีเงินฝากในบัญชีประจำ ขณะเดียวกัน นรม.กล่าวว่า กำลังให้คณะทำงานศึกษารายละเอียดและกฎหมายก่อนมีการหารือกัน เนื่องจากดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากเกินไป และถือเป็นความผิดปกติทางเศรษฐกิจที่ต้องเร่งแก้ไข ในส่วนของแหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า การที่ ธพ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากนั้น ถือว่าระบบธนาคารสามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว โดยดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลงจะช่วยกระตุ้นการลงทุน การอุปโภคบริโภค ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น (มติชน,วัฏจักร 13)
2. ธปท.เบิกจ่ายธนบัตรเพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.44 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานการเบิกจ่ายธนบัตรใช้แลกชนิดราคาต่างๆ ในเดือน ม.ค.44 ว่า มีมูลค่าทั้งสิ้น 97,316.70 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 55.38 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลตรุษจีน สำหรับปริมาณธนบัตรที่ออกใช้มีมูลค่าทั้งสิ้น 460,612 ล.บาท ลดลงจากเดือนก่อน 1 ล.บาท และลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน 3,873 ล.บาท หรือร้อยละ 0.83 (วัฏจักร 13)
3. บง.ธนชาติเสนอแนะแนวทางการบริหารเอเอ็มซีแห่งชาติ บง.ธนชาติเสนอรายงานแนะแนวทางบริหารเอเอ็มซีแห่งชาติบนหลักการสำคัญ เช่น (1)ให้เอเอ็มซีฯ ซื้อหนี้ที่ราคาตามบัญชีสุทธิ(Net Book Value) คือเท่ากับมูลหนี้รวมกับดอกเบี้ยคงค้างบนบัญชีหักด้วยสำรองเผื่อหนี้สูญที่ตั้งไว้แล้ว และชำระเงินค่าซื้อหนี้ด้วยตั๋วเงินที่มีรัฐบาลค้ำประกันอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3-4 ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินผู้ขายไม่ขาดทุนหรือกำไร จึงไม่มีผลกระทบต่อเงินกองทุน ขณะที่ตั๋วเงินที่ได้รับมีรัฐบาลค้ำประกันจึงมีน้ำหนักความเสี่ยงเป็นศูนย์ ทำให้บีไอเอสของสถาบันการเงินดีขึ้น (2)ให้สถาบันการเงินของหนี้เดิมเป็นผู้ติดตามเจรจาและตกลงกับลูกหนี้ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการเอเอ็มซีแห่งชาติ โดยแบ่งลูกหนี้ออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ลูกหนี้รายใหญ่ที่ยังประกอบธุรกิจอยู่ มีเจ้าหนี้หลายรายและมีมูลหนี้ 300-500 ล.บาทให้เอเอ็มซีฯ เป็นผู้จัดการและตัดสินใจประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ประเภทที่ 2 ลูกหนี้รายย่อยและดำเนินธุรกิจอยู่ มีมูลหนี้น้อยและมีเจ้าหนี้ 1-2 ราย ให้เจ้าหนี้เดิมตัดสินใจประนอมหนี้ และประเภทที่ 3 ลูกหนี้ที่ไม่ดำเนินธุรกิจ มีมูลหนี้ทั้งมากและน้อย การบริหารเน้นที่การขายทรัพย์มาชำระหนี้ โดยใช้กฎหมายบังคับให้ประนอมหนี้ (ไทยรัฐ,กรุงเทพธุรกิจ 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายเงิน งปม. ของ สรอ. จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4 ในปี งปม. 45 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 12 ก.พ.44 ประธานคณะกรรมาธิการสภางบประมาณของ สรอ. (นาย Pete Domenici) เปิดเผยว่า ในการทำแผน งปม. ของสภาฯ เพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอของประธานาธิบดีบุชที่ต้องการให้มีการปรับลดภาษีจำนวนสุทธิ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ภายในระยะเวลา 10 ปี จะทำให้การใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4 ในปี งปม.45 และอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายฯ เฉลี่ยที่ผ่านมาที่ขยายตัวมากกว่าร้อยละ 6 โดยอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายฯ ที่ร้อยละ 4 ดังกล่าว จะเป็นการใช้จ่ายในเรื่องของการป้องกันประเทศ การศึกษา การบังคับใช้กฎหมาย ที่ดินสาธารณะและโครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินที่รัฐบาลจะต้องอนุมัติประมาณ 660 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ต่อปี ทั้งนี้ สภาฯ กำลังรอผลการพิจารณาแผนการจัด งปม. ดังกล่าวจากรัฐบาล (รอยเตอร์ 12)
2. เดือน ม.ค. 44 ราคาผู้ผลิตของอังกฤษลดลงต่ำสุดในรอบ 15 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ราคาผู้ผลิตโดยรวม ลดลงร้อยละ 0.4 จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบเกือบ 15 ปีนับแต่เดือน พ.ค. 29 ที่ลดลงร้อยละ 0.4 เช่นกัน และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปี นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่อปีต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 42 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน ราคาผู้ผลิตพื้นฐานในเดือน ม.ค. 44 ที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดนับแต่เดือน มี.ค. 43 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาผู้ผลิตในเดือนดังกล่าวลดลงมากกว่าที่คาดหมายไว้ เนื่องจากราคาผลผลิตปิโตรเลียมลดลงอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะถูกชดเชยจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นก็ตาม (รอยเตอร์ 12)
3. ประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ DIW ของเยอรมนีคาดว่า ธ.กลางกลุ่มยูโรอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 44 ประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ DIW (Klaus Zimmermann) ของเยอรมนีแสดงความเห็นว่า ธ.กลางกลุ่มยูโรไม่มีเหตุผลใดๆที่จะคาดหมายว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรจะเพิ่มขึ้น และอาจดำเนินนโยบายตาม ธ.กลาง สรอ. โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 ในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนในการทำให้นโยบายค่าจ้างมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในวงจำกัด โดยเศรษฐกิจของเยอรมนียังได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วจากการที่เศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นชั่วคราวในปีที่ผ่านมา ตลอดจนค่าจ้างแรงงานที่ยังคงทรงตัวอยู่ในขณะนี้ จะไม่ส่งผลต่อแรงกดดันด้านราคาสินค้าให้สูงขึ้นในกลุ่มยูโร (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 ก.พ. 44 42.581 (42.571)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 ก.พ. 44
ซื้อ 42.3665 (42.3877) ขาย 42.6858 (42.6981)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,250) ขาย 5,350 (5,350)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.05 (26.02)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 13.34 (13.34)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-