1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
มะนาว : ราคาตกต่ำ
กลุ่มตัวแทนสหกรณ์ผู้ปลูกมะนาว อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี ได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือราคามะนาวในท้องตลาดตกต่ำเหลือผลละ 15 สตางค์ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกขาดทุน โดยต้นทุนการผลิตผลละ 42 สตางค์ และคาดว่าราคาจะมีแนวโน้มต่ำลงอีก เนื่องจากผลผลิตมะนาวจะออกสู่ตลาดมากในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี โดยในปี 2543 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 175,300 ตัน สูงกว่าปีที่แล้วประมาณร้อยละ 3 ในขณะที่ราคามะนาวสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2543 ผลละ 22.67 สตางค์ ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2543 ซึ่งมีราคาผลละ 30.18 สตางค์ หรือลดลงร้อยละ 25
แนวทางแก้ไขปัญหา
1) ควรให้หน่วยงานรัฐ โดย อคส. ออกไปรับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร แล้วนำไปจำหน่ายนอกแหล่งผลิต
2) จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไปรับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในราคานำตลาด เพื่อแปรรูปเป็นมะนาวดอง น้ำมะนาว
3) หาแนวทางในการนำเทคโนโลยีเพื่อผลิตมะนาวนอกฤดู และยืดอายุการเก็บรักษามะนาวมาใช้
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ลำไย : มาตรการแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำ
ตามที่ได้ประมาณการว่าผลผลิตลำไย ปี 2543 จะมีจำนวนประมาณ 350,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2.5 เท่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับมีการใช้สารโปตัสเซียมคลอเรทกระตุ้นให้ลำไยออกดอกและติดผลทั้งในฤดูและนอกฤดูมากขึ้น ทำให้ราคาลำไยในปีนี้อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในช่วงผลผลิตออกมาก โดยราคาลำไยสดชนิดคละที่เกษตรกรขายได้(นอกฤดู) มีแนวโน้มลดลงจากกิโลกรัมละ 33.71 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 เหลือกิโลกรัมละ 20.00 บาทในขณะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูปกติ และคาดว่าราคาจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นระยะที่ผลผลิตออกมาก
จากปัญหาดังกล่าว แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จะมีมาตรการแทรกแซงตลาดลำไย ปี 2543 โดยขออนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท โดยการรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งและลำไยกระป๋องในราคานำตลาด ซึ่งคาดว่าสามารถพยุงราคาได้ในระดับหนึ่งก็ตาม แต่ก็ยังมีเกษตรกรร้องเรียนขอให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะขอให้รัฐเข้าไปรับจำนำลำไยอบแห้งจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้เกษตรกร/สถาบันเกษตรกรสามารถจำหน่ายลำไยให้มากขึ้นในราคาที่เหมาะสม มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำลำไยอบแห้ง และสามารถชะลอการขายลำไยอบแห้งออกไปได้อีกระยะหนึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก (ศกอ.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และกรมการค้า-ภายใน ได้ร่วมกันจัดทำโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2543 ขึ้น โดย ธ.ก.ส. เป็นผู้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่ อ.ต.ก. ออกให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรคิดเป็นวงเงินสินเชื่อประมาณ 2,000 ล้านบาท จำนวนลำไยอบแห้ง 34,000 ตัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 45 ล้านบาท อยู่ระหว่างนำเสนอ คชก. เพื่อพิจารณาอนุมัติ อนึ่ง มีรายงานว่าเกษตรกรชาวสวนลำไยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ได้ชุมนุมและเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือสนับสนุนเงินเพิ่มเติมจากที่รัฐได้ดำเนินการอยู่แล้ว พร้อมทั้งได้ส่งตัวแทนเข้าพบนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ณ ทำเนียบรัฐบาลและได้ร่วมประชุมในเรื่องนี้ ผลการประชุม สรุปว่ารองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ได้อนุมัติในหลักการในการรับจำนำลำไยอบแห้ง จำนวนเงิน 2,000 ล้านบาท ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง โดยจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2543 นี้
2.2 มันสำปะหลัง : แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
มูลนิธิกองทุนมันสำปะหลังได้จัดให้มีการประชุมโต๊ะกลมเรื่อง "ปลูกมัน-สำปะหลังให้อยู่รอดใน 5 ปีข้างหน้า" เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล เอกชน และเกษตรกรเข้าร่วมสัมมนา ซึ่งผลการสัมมนาสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการผลิตโดยเฉพาะในเรื่องพันธุ์มันสำปะหลังก็ได้พัฒนาในระดับหนึ่งแล้วโดยได้มีการกระจายพันธุ์ดี ได้แก่ พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 ถึงร้อยละ 60 - 65 ของพื้นที่ปลูก แต่ยังมีปัญหาหลายประการ ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ค่อนข้างต่ำประมาณไร่ละ 2.6 ตัน เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การถ่ายทอดเทคโนโลให้แก่เกษตรกรตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวยังมีน้อยและไม่ทั่วถึง นอกจากนั้น เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในบางส่วนยังขาดการยอมรับ
2. ขาดเงินทุนในการจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมี และแรงงานในการกำจัดวัชพืช ฯลฯ
3. เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังก่อนอายุที่เหมาะสม (9 - 12 เดือน) เพราะ
1) ราคาหัวมันสำปะหลังในปีใดที่อยู่ในเกณฑ์สูง เกษตรกรก็จะเร่งขุดหัวมัน
2) กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังให้สูงขึ้นซึ่งจะทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขึ้น อันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ และทำให้ลดต้นทุนวัตถุดิบมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาเหรรมต่อเนื่องต่อไป ที่ประชุมมีความเห็นว่า นอกจากจะพิจารณาปัจจัยทางด้านการผลิตแล้ว เป็นควรพิจารณาด้านการตลาดและการแปรรูปด้วย เนื่องจากเป็นส่วนที่เอื้อให้ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนในการดูแลรักษาต้นมันสำปะหลัง เช่น การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช ฯลฯ เพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้
การผลิต
1. จัดทำ Profile ด้านการผลิตให้ชัดเจน เช่น พื้นที่เพาะปลูก ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ จำนวนเกษตรกร เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ถูกต้องและเหมาะสม
2. การวิจัยเทคโนโลยีในด้านการผลิต จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นความเหมาะสมในแต่ละแหล่งปลูกทั้งในเรื่องพันธุ์ การดูแลการจัดการ และการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน
3. เร่งกระจายพันธุ์มันสำหลังพันธุ์ดีรวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยจะต้องกระทำแบบเป็นหนัก และมีการติดตามประเมินผล
4. จัดระบบการผลิตมันสำปะหลังร่วมกับพืชอื่น (Cropping System) เพื่อ กระจายความเสี่ยงของเกษตรกร
5. ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ-เกษตร โดยเกษตรกรรายใดไม่สามารถชำระหนี้ก็ขอเลื่อนระยะเวลาการชำระหนี้โดยธนาคารจะต้องไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
ด้านการแปรรูป
1. ปรับปรุงคุณภาพหัวมันสำปหลัง รวมทั้งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
2. สนับสนุนการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบมากขึ้น
ด้านการตลาด
1. เร่งขยายตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งในและต่างประเทศ
2. รักษาเสถียรภาพราคาหัวมันสำปะหลัง โดย
1) จัดตั้งกองทุนมันสำปะหลัง โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในกองทุนด้วย
2) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ (Contract Farming)
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 3-9 ก.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
มะนาว : ราคาตกต่ำ
กลุ่มตัวแทนสหกรณ์ผู้ปลูกมะนาว อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี ได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือราคามะนาวในท้องตลาดตกต่ำเหลือผลละ 15 สตางค์ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกขาดทุน โดยต้นทุนการผลิตผลละ 42 สตางค์ และคาดว่าราคาจะมีแนวโน้มต่ำลงอีก เนื่องจากผลผลิตมะนาวจะออกสู่ตลาดมากในฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี โดยในปี 2543 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 175,300 ตัน สูงกว่าปีที่แล้วประมาณร้อยละ 3 ในขณะที่ราคามะนาวสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2543 ผลละ 22.67 สตางค์ ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2543 ซึ่งมีราคาผลละ 30.18 สตางค์ หรือลดลงร้อยละ 25
แนวทางแก้ไขปัญหา
1) ควรให้หน่วยงานรัฐ โดย อคส. ออกไปรับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร แล้วนำไปจำหน่ายนอกแหล่งผลิต
2) จัดสรรเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไปรับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในราคานำตลาด เพื่อแปรรูปเป็นมะนาวดอง น้ำมะนาว
3) หาแนวทางในการนำเทคโนโลยีเพื่อผลิตมะนาวนอกฤดู และยืดอายุการเก็บรักษามะนาวมาใช้
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ลำไย : มาตรการแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำ
ตามที่ได้ประมาณการว่าผลผลิตลำไย ปี 2543 จะมีจำนวนประมาณ 350,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2.5 เท่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับมีการใช้สารโปตัสเซียมคลอเรทกระตุ้นให้ลำไยออกดอกและติดผลทั้งในฤดูและนอกฤดูมากขึ้น ทำให้ราคาลำไยในปีนี้อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในช่วงผลผลิตออกมาก โดยราคาลำไยสดชนิดคละที่เกษตรกรขายได้(นอกฤดู) มีแนวโน้มลดลงจากกิโลกรัมละ 33.71 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 เหลือกิโลกรัมละ 20.00 บาทในขณะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูปกติ และคาดว่าราคาจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นระยะที่ผลผลิตออกมาก
จากปัญหาดังกล่าว แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จะมีมาตรการแทรกแซงตลาดลำไย ปี 2543 โดยขออนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท โดยการรับซื้อลำไยสดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปเป็นลำไยอบแห้งและลำไยกระป๋องในราคานำตลาด ซึ่งคาดว่าสามารถพยุงราคาได้ในระดับหนึ่งก็ตาม แต่ก็ยังมีเกษตรกรร้องเรียนขอให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยเฉพาะขอให้รัฐเข้าไปรับจำนำลำไยอบแห้งจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้เกษตรกร/สถาบันเกษตรกรสามารถจำหน่ายลำไยให้มากขึ้นในราคาที่เหมาะสม มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำลำไยอบแห้ง และสามารถชะลอการขายลำไยอบแห้งออกไปได้อีกระยะหนึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ผลักดันสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก (ศกอ.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และกรมการค้า-ภายใน ได้ร่วมกันจัดทำโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2543 ขึ้น โดย ธ.ก.ส. เป็นผู้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่ อ.ต.ก. ออกให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรคิดเป็นวงเงินสินเชื่อประมาณ 2,000 ล้านบาท จำนวนลำไยอบแห้ง 34,000 ตัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 45 ล้านบาท อยู่ระหว่างนำเสนอ คชก. เพื่อพิจารณาอนุมัติ อนึ่ง มีรายงานว่าเกษตรกรชาวสวนลำไยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ได้ชุมนุมและเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือสนับสนุนเงินเพิ่มเติมจากที่รัฐได้ดำเนินการอยู่แล้ว พร้อมทั้งได้ส่งตัวแทนเข้าพบนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ณ ทำเนียบรัฐบาลและได้ร่วมประชุมในเรื่องนี้ ผลการประชุม สรุปว่ารองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ได้อนุมัติในหลักการในการรับจำนำลำไยอบแห้ง จำนวนเงิน 2,000 ล้านบาท ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง โดยจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2543 นี้
2.2 มันสำปะหลัง : แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
มูลนิธิกองทุนมันสำปะหลังได้จัดให้มีการประชุมโต๊ะกลมเรื่อง "ปลูกมัน-สำปะหลังให้อยู่รอดใน 5 ปีข้างหน้า" เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล เอกชน และเกษตรกรเข้าร่วมสัมมนา ซึ่งผลการสัมมนาสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการผลิตโดยเฉพาะในเรื่องพันธุ์มันสำปะหลังก็ได้พัฒนาในระดับหนึ่งแล้วโดยได้มีการกระจายพันธุ์ดี ได้แก่ พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 ถึงร้อยละ 60 - 65 ของพื้นที่ปลูก แต่ยังมีปัญหาหลายประการ ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ค่อนข้างต่ำประมาณไร่ละ 2.6 ตัน เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การถ่ายทอดเทคโนโลให้แก่เกษตรกรตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวยังมีน้อยและไม่ทั่วถึง นอกจากนั้น เกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในบางส่วนยังขาดการยอมรับ
2. ขาดเงินทุนในการจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมี และแรงงานในการกำจัดวัชพืช ฯลฯ
3. เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังก่อนอายุที่เหมาะสม (9 - 12 เดือน) เพราะ
1) ราคาหัวมันสำปะหลังในปีใดที่อยู่ในเกณฑ์สูง เกษตรกรก็จะเร่งขุดหัวมัน
2) กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังให้สูงขึ้นซึ่งจะทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขึ้น อันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ และทำให้ลดต้นทุนวัตถุดิบมันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาเหรรมต่อเนื่องต่อไป ที่ประชุมมีความเห็นว่า นอกจากจะพิจารณาปัจจัยทางด้านการผลิตแล้ว เป็นควรพิจารณาด้านการตลาดและการแปรรูปด้วย เนื่องจากเป็นส่วนที่เอื้อให้ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนในการดูแลรักษาต้นมันสำปะหลัง เช่น การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช ฯลฯ เพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น โดยที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง ดังนี้
การผลิต
1. จัดทำ Profile ด้านการผลิตให้ชัดเจน เช่น พื้นที่เพาะปลูก ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ จำนวนเกษตรกร เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ถูกต้องและเหมาะสม
2. การวิจัยเทคโนโลยีในด้านการผลิต จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นความเหมาะสมในแต่ละแหล่งปลูกทั้งในเรื่องพันธุ์ การดูแลการจัดการ และการใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน
3. เร่งกระจายพันธุ์มันสำหลังพันธุ์ดีรวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยจะต้องกระทำแบบเป็นหนัก และมีการติดตามประเมินผล
4. จัดระบบการผลิตมันสำปะหลังร่วมกับพืชอื่น (Cropping System) เพื่อ กระจายความเสี่ยงของเกษตรกร
5. ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ-เกษตร โดยเกษตรกรรายใดไม่สามารถชำระหนี้ก็ขอเลื่อนระยะเวลาการชำระหนี้โดยธนาคารจะต้องไม่คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
ด้านการแปรรูป
1. ปรับปรุงคุณภาพหัวมันสำปหลัง รวมทั้งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
2. สนับสนุนการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบมากขึ้น
ด้านการตลาด
1. เร่งขยายตลาดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งในและต่างประเทศ
2. รักษาเสถียรภาพราคาหัวมันสำปะหลัง โดย
1) จัดตั้งกองทุนมันสำปะหลัง โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในกองทุนด้วย
2) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการ (Contract Farming)
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 26 ประจำวันที่ 3-9 ก.ค. 2543--
-สส-