ภาวะการนำเข้า-ส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกและของเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ภาพรวมการค้ายังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยเกินดุลการค้าทั้งในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 27 แล้ว โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2542 (ตัวเลขเบื้องต้น) ไทยส่งออกคิดเป็นมูลค่ารวม 1,998,334 ล้านบาทหรือ 52,870 ล้านดอลลาร์ และนำเข้าเป็นมูลค่า 1,703,430 ล้านบาท หรือ 44,680 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เกินดุลเป็นมูลค่า 294,904 ล้านบาทหรือ 8,190 ล้านดอลลาร์
สำหรับเดือนพฤศจิกายน การส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 201,909 ล้านบาท หรือ 5,072 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 51,280 ล้านบาท โดยไทยยังคงได้ดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกา สูงสุดเป็นอันดับแรกถึง 22,222 ล้านบาท รองลงมาได้แก่กลุ่มสหภาพยุโรป 14,359 ล้านบาท และกลุ่มอาเซียน 88,141 ล้านบาท และไทยมีการขาดดุลการค้ากับประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่ากว่า 16,524 ล้านบาท
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายน ประกอบด้วย
1) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 28,370 ล้านบาท
2) เครื่องใช้ไฟฟ้า 12,656 ล้านบาท
3) แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 12,168 ล้านบาท
4) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 9,420 ล้านบาท
5) ยางและผลิตภัณฑ์ 7,711 ล้านบาท
6) ข้าว 7,323 ล้านบาท
7) อาหารทะเลกระป๋อง 6,993 ล้านบาท
8) พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 6,480 ล้านบาท
9) อัญมนีและเครื่องประดับ 6,354 ล้านบาท
10) กุ้งสดแช่แข็ง 4,167 ล้านบาท
โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าสังเกตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้น 61.51% หรือ 4,634 ล้านบาท รองลงมาเป็นอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 35.57% หรือประมาณ 1,667 ล้านบาท
ทางด้านการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนนั้น สิ่งทอมีอัตราขยายตัวของการนำเข้าสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 224.39% หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4,250 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินค้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพิ่มขี้น 63.69% หรือประมาณ 1,903 ล้านบาท และแผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 63.67% หรือประมาณ 6,519 ล้านบาท
โดย 10 อันดับแรกของสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด ประกอบด้วย
1) เครื่องจักรไฟฟ้า 20,751 ล้านบาท
2) เคมีภัณฑ์ 17,237 ล้านบาท
3) แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 16,757 ล้านบาท
4) เครื่องจักรกล 15,377 ล้านบาท
5) โลหะสามัญ 14,189 ล้านบาท
6) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 8,279 ล้านบาท
7) เหล็กและเหล็กกล้า 7,867 ล้านบาท
8) สิ่งทอ 6,144 ล้านบาท
9) รถยนต์ 5,832 ล้านบาท
10) เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 4,891 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการค้าที่กระเตื้องขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับสิทธิประโยชน์และการชดเชยภาษีอากร ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ ทั้งภายใต้ BOI, มาตรา 19 ทวิ และคลังสินค้าทัณฑ์บน รวมทั้งสิ้น 83,076 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 33.25% หรือประมาณ 20,732 ล้านบาท และมีการขอชดเชยภาษีรวมทั้งสิ้น 749 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 113.39% หรือเพิ่มขึ้น 398 ล้านบาท
โดยสินค้าที่มีการขอชดเชยภาษีเป็นมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ กุ้งสดแช่แข็ง กุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ ปรุงแต่ง กระดาษและของทำด้วยกระดาษ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรเครื่องกล และส่วนประกอบยางและผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์เยื่อไม้
ที่มา : กรมศุลกากร
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--
สำหรับเดือนพฤศจิกายน การส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 201,909 ล้านบาท หรือ 5,072 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 51,280 ล้านบาท โดยไทยยังคงได้ดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกา สูงสุดเป็นอันดับแรกถึง 22,222 ล้านบาท รองลงมาได้แก่กลุ่มสหภาพยุโรป 14,359 ล้านบาท และกลุ่มอาเซียน 88,141 ล้านบาท และไทยมีการขาดดุลการค้ากับประเทศญี่ปุ่นมีมูลค่ากว่า 16,524 ล้านบาท
สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนพฤศจิกายน ประกอบด้วย
1) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 28,370 ล้านบาท
2) เครื่องใช้ไฟฟ้า 12,656 ล้านบาท
3) แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 12,168 ล้านบาท
4) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 9,420 ล้านบาท
5) ยางและผลิตภัณฑ์ 7,711 ล้านบาท
6) ข้าว 7,323 ล้านบาท
7) อาหารทะเลกระป๋อง 6,993 ล้านบาท
8) พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 6,480 ล้านบาท
9) อัญมนีและเครื่องประดับ 6,354 ล้านบาท
10) กุ้งสดแช่แข็ง 4,167 ล้านบาท
โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าสังเกตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้น 61.51% หรือ 4,634 ล้านบาท รองลงมาเป็นอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 35.57% หรือประมาณ 1,667 ล้านบาท
ทางด้านการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนนั้น สิ่งทอมีอัตราขยายตัวของการนำเข้าสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 224.39% หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4,250 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินค้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพิ่มขี้น 63.69% หรือประมาณ 1,903 ล้านบาท และแผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่มขึ้น 63.67% หรือประมาณ 6,519 ล้านบาท
โดย 10 อันดับแรกของสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด ประกอบด้วย
1) เครื่องจักรไฟฟ้า 20,751 ล้านบาท
2) เคมีภัณฑ์ 17,237 ล้านบาท
3) แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 16,757 ล้านบาท
4) เครื่องจักรกล 15,377 ล้านบาท
5) โลหะสามัญ 14,189 ล้านบาท
6) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 8,279 ล้านบาท
7) เหล็กและเหล็กกล้า 7,867 ล้านบาท
8) สิ่งทอ 6,144 ล้านบาท
9) รถยนต์ 5,832 ล้านบาท
10) เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 4,891 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการค้าที่กระเตื้องขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับสิทธิประโยชน์และการชดเชยภาษีอากร ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ ทั้งภายใต้ BOI, มาตรา 19 ทวิ และคลังสินค้าทัณฑ์บน รวมทั้งสิ้น 83,076 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 33.25% หรือประมาณ 20,732 ล้านบาท และมีการขอชดเชยภาษีรวมทั้งสิ้น 749 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 113.39% หรือเพิ่มขึ้น 398 ล้านบาท
โดยสินค้าที่มีการขอชดเชยภาษีเป็นมูลค่าสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ กุ้งสดแช่แข็ง กุ้งและสัตว์น้ำอื่น ๆ ปรุงแต่ง กระดาษและของทำด้วยกระดาษ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรเครื่องกล และส่วนประกอบยางและผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์เยื่อไม้
ที่มา : กรมศุลกากร
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--