นางธัญญา ศิริเวทิน รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้านบริหาร แถลงว่า คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีมติกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ของ ธปท. สำหรับปี 2544 โดยคงมุ่งที่การสร้างเสถียรภาพทางการเงินและระบบการเงิน ปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก
ในการกำหนดแผนงานของ ธปท.ในปี 2544 ธปท. ได้ทบทวนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์โดยพิจารณาปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เปลี่ยนไป รวมทั้งพิจารณาข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ธปท. สภาพแวดล้อม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเงินทั้งในและต่างประเทศ
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ ธปท. สำหรับปี 2544 ประกอบด้วย
1.เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน
2.เสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
3.เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.ปลูกฝังพฤติกรรมและค่านิยมร่วมใหม่ภายใน ธปท.
5.ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอก ธปท.
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้านบริหาร กล่าวว่า การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนและงบประมาณใหม่ของ ธปท. ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการปรับองค์กรของ ธปท.
อนึ่ง กลยุทธ์ส่วนใหญ่ จะเน้นในเรื่องการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ธปท.ได้เพิ่มเติมกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การนำเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ มาใช้ และการจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความสามารถของ ธปท.ในการดำเนินนโยบายการเงิน และเตรียมความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
ในด้านการเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ธปท. จะให้ความสำคัญกับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce ) โดยจะมีการกำหนดนโยบายทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ในระบบการเงิน กำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับระบบการชำระเงิน เพื่อสนับสนุนธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ในประเทศ รวมทั้งยกระดับความสามารถของ ธปท. ในการตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธุรกรรมทางการเงินที่เชื่อมโยงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
ในส่วนของการติดต่อสื่อสาร ธปท. จะปรับปรุงกระบวนการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอก โดยสนับสนุนให้มีการใช้ความรู้และข้อมูลข่าวสารร่วมกันภายใน ธปท. ตลอดจนปรับปรุงความสัมพันธ์ในด้านการทำงานร่วมกับสื่อมวลชนและบุคคลภายนอก เพื่อทำให้การให้ข้อมูลแก่สาธารณชนทันต่อสถานการณ์
เมื่อได้กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์ ของปี 2544 แล้ว ทุกส่วนงานภายใน ธปท. จะนำทิศทางและกลยุทธ์ดังกล่าวไปเป็นกรอบในการกำหนดแผนงาน และโครงการของส่วนงาน เพื่อเสนอคณะกรรมการ ธปท.อนุมัติพร้อมงบประมาณดำเนินการ
อนึ่ง นอกจากการปรับปรุงกระบวนการวางแผนแล้ว โครงการปรับองค์กรยังกำลังดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานในด้านอื่นๆของ ธปท. อีกดังนี้
- รื้อปรับระบบงานสายตลาดการเงิน
- รื้อปรับระบบงานสายกำกับสถาบันการเงิน
- รื้อปรับระบบงานสายออกบัตรธนาคาร
- รื้อปรับระบบงานสายเงินฝากและตราสารหนี้
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ธปท. ในด้านต่างๆ เหล่านี้ ตลอดจนให้บริการที่ดีขึ้นแก่สาธารณชน ธปท. จะแถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการปรับองค์กรของ ธปท. โดยสม่ำเสมอ ต่อไป
สำหรับโครงการปรับองค์กรนี้ ธปท. ได้ดำเนินโครงการปรับองค์กร ตั้งแต่ปี 2542 เริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก ค่านิยมร่วม และวิสัยทัศน์ รวมทั้ง ทิศทางเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ สำหรับปี 2542-2543 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนา ธปท. และเตรียม ธปท. ให้เป็นผู้นำในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ และมีความพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศได้อย่างฉับไว และทันการณ์ และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ตลอดจนรื้อปรับกระบวนการทำงานหลายด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของธปท. มีรายละเอียดดังนี้
1. เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้
1.1 ส่งเสริมให้งานวิเคราะห์วิจัยทางเศรษฐกิจมีคุณภาพสูงอยู่เสมอ
1.2 เสริมสร้างความรู้ ความสามารถในด้านการหาข้อมูลข่าวกรอง และในด้านการทำธุรกรรม (trading) ในตลาดการเงิน
1.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนตลาดตราสารหนี้ระยะยาวตลาดเงินระยะสั้นและตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1.4 นำเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ๆมาใช้
1.5 ทำงานร่วมกับสถาบันภายนอกอย่างใกล้ชิด เพื่อขจัดอุปสรรคต่อการสร้างเสถียรภาพทางการเงิน
1.6 มีแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น
2. เสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้
2.1 กำหนดวิสัยทัศน์สำหรับธุรกิจการเงิน พร้อมทั้งดำเนินการตามแผนหลักของระบบการเงิน ( Finanacial Sector Master Plan )
2.2 นำมาตรฐานสากลมาใช้ในการกำกับสถาบันการเงิน โดยมีกำหนดเวลาที่เร่งรัด
2.3 กำหนดให้สถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ และมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
2.4 ดำเนินงานร่วมกับสถาบันการเงินในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
2.5 ดูแลช่วยเหลือสถาบันการเงินที่อ่อนแอให้แข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนดนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับทางออกของสถาบันการเงิน
2.6 ป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
2.7 เตรียมความพร้อมในการจัดให้มีระบบประกันเงินฝาก
2.8 พัฒนากลไกที่จะช่วยลดความเสียหาย อันอาจเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเงิน
2.9 เสริมสร้างความรู้ความสามารถทั้งด้านกำหนดกลยุทธ์และปฏิบัติการ โดยวิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ แลกเปลี่ยนบุคลากร พัฒนาและฝึกอบรม
2.10 กำหนดนโยบายทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ในระบบการเงิน
2.11 ยกระดับความรู้ความสามารถของการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินที่เชื่อมโยงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
2.12 กำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนในระบบการชำระเงินเพื่อสนับสนุนธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)ในประเทศ
3. เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยกลยุทธ์ ดังนี้
3.1 การปฏิบัติงานจะเน้นหน้าที่หลักของธนาคารกลาง
3.2 ปรับปรุงการปฏิบัติงานภายใน โดยรื้อปรับกระบวนการทำงาน และยกระดับความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้
3.3 รื้อปรับ กฎระเบียบข้อบังคับภายใน ธปท.ทั้งหมด
3.4 ให้ความสำคัญแก่การปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลงาน
3.5 ดำเนินการตามกลยุทธ์ และปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล
3.6 ปรับปรุงความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.7 ปรับปรุงความสามารถในการบริหารองค์กร
3.8 ยกระดับความรู้ความสามารถของพนักงาน
4. ปลูกฝังพฤติกรรมและค่านิยมร่วมใหม่ภายใน ธปท. ประกอบด้วยกลยุทธ์ ดังนี้
4.1 กระตุ้นการปลูกฝังค่านิยมร่วมด้วยการให้สิ่งจูงใจ/ไม่ให้สิ่งจูงใจ
4.2 สนับสนุนให้มีการใช้ความรู้ และข้อมูลข่าวสารร่วมกัน
4.3 ดำเนินการให้มีการยอมรับพันธะที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามค่านิยมร่วมของ ธปท. ในทุกระดับ
4.4 เสริมสร้างทักษะการบริหาร / ภาวะผู้นำ
4.5 ดำเนินการโครงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร
5. ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอก ธปท.ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้
5.1 ปรับปรุงให้มีกระบวนการประสานงานและติดต่อสื่อสารทั้งภายใน และระหว่างสายงานอย่างเป็นระบบ
5.2 พัฒนาระบบที่เอื้อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ให้ทั่วถึงทั้ง ธปท.
5.3 ปรับปรุงความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน และการทำงานเป็นทีมระหว่าง ธปท. กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายนอก
5.4 ปรับปรุงความสัมพันธ์กับสื่อต่าง ๆ
5.5 ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และทันสถานการณ์แก่สาธารณชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/4 กันยายน 2543--
-ยก-
ในการกำหนดแผนงานของ ธปท.ในปี 2544 ธปท. ได้ทบทวนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์โดยพิจารณาปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เปลี่ยนไป รวมทั้งพิจารณาข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ธปท. สภาพแวดล้อม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเงินทั้งในและต่างประเทศ
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของ ธปท. สำหรับปี 2544 ประกอบด้วย
1.เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน
2.เสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
3.เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.ปลูกฝังพฤติกรรมและค่านิยมร่วมใหม่ภายใน ธปท.
5.ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอก ธปท.
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยด้านบริหาร กล่าวว่า การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนและงบประมาณใหม่ของ ธปท. ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการปรับองค์กรของ ธปท.
อนึ่ง กลยุทธ์ส่วนใหญ่ จะเน้นในเรื่องการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ธปท.ได้เพิ่มเติมกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การนำเครื่องมือทางการเงินใหม่ๆ มาใช้ และการจัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความสามารถของ ธปท.ในการดำเนินนโยบายการเงิน และเตรียมความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก
ในด้านการเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ธปท. จะให้ความสำคัญกับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce ) โดยจะมีการกำหนดนโยบายทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ในระบบการเงิน กำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนสำหรับระบบการชำระเงิน เพื่อสนับสนุนธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ในประเทศ รวมทั้งยกระดับความสามารถของ ธปท. ในการตรวจสอบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะธุรกรรมทางการเงินที่เชื่อมโยงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
ในส่วนของการติดต่อสื่อสาร ธปท. จะปรับปรุงกระบวนการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอก โดยสนับสนุนให้มีการใช้ความรู้และข้อมูลข่าวสารร่วมกันภายใน ธปท. ตลอดจนปรับปรุงความสัมพันธ์ในด้านการทำงานร่วมกับสื่อมวลชนและบุคคลภายนอก เพื่อทำให้การให้ข้อมูลแก่สาธารณชนทันต่อสถานการณ์
เมื่อได้กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์ ของปี 2544 แล้ว ทุกส่วนงานภายใน ธปท. จะนำทิศทางและกลยุทธ์ดังกล่าวไปเป็นกรอบในการกำหนดแผนงาน และโครงการของส่วนงาน เพื่อเสนอคณะกรรมการ ธปท.อนุมัติพร้อมงบประมาณดำเนินการ
อนึ่ง นอกจากการปรับปรุงกระบวนการวางแผนแล้ว โครงการปรับองค์กรยังกำลังดำเนินการปรับปรุงกระบวนการทำงานในด้านอื่นๆของ ธปท. อีกดังนี้
- รื้อปรับระบบงานสายตลาดการเงิน
- รื้อปรับระบบงานสายกำกับสถาบันการเงิน
- รื้อปรับระบบงานสายออกบัตรธนาคาร
- รื้อปรับระบบงานสายเงินฝากและตราสารหนี้
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ธปท. ในด้านต่างๆ เหล่านี้ ตลอดจนให้บริการที่ดีขึ้นแก่สาธารณชน ธปท. จะแถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการปรับองค์กรของ ธปท. โดยสม่ำเสมอ ต่อไป
สำหรับโครงการปรับองค์กรนี้ ธปท. ได้ดำเนินโครงการปรับองค์กร ตั้งแต่ปี 2542 เริ่มต้นด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก ค่านิยมร่วม และวิสัยทัศน์ รวมทั้ง ทิศทางเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ สำหรับปี 2542-2543 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนา ธปท. และเตรียม ธปท. ให้เป็นผู้นำในเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ และมีความพร้อมที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศได้อย่างฉับไว และทันการณ์ และได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ตลอดจนรื้อปรับกระบวนการทำงานหลายด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของธปท. มีรายละเอียดดังนี้
1. เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้
1.1 ส่งเสริมให้งานวิเคราะห์วิจัยทางเศรษฐกิจมีคุณภาพสูงอยู่เสมอ
1.2 เสริมสร้างความรู้ ความสามารถในด้านการหาข้อมูลข่าวกรอง และในด้านการทำธุรกรรม (trading) ในตลาดการเงิน
1.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนตลาดตราสารหนี้ระยะยาวตลาดเงินระยะสั้นและตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1.4 นำเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ๆมาใช้
1.5 ทำงานร่วมกับสถาบันภายนอกอย่างใกล้ชิด เพื่อขจัดอุปสรรคต่อการสร้างเสถียรภาพทางการเงิน
1.6 มีแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น
2. เสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้
2.1 กำหนดวิสัยทัศน์สำหรับธุรกิจการเงิน พร้อมทั้งดำเนินการตามแผนหลักของระบบการเงิน ( Finanacial Sector Master Plan )
2.2 นำมาตรฐานสากลมาใช้ในการกำกับสถาบันการเงิน โดยมีกำหนดเวลาที่เร่งรัด
2.3 กำหนดให้สถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ และมีการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
2.4 ดำเนินงานร่วมกับสถาบันการเงินในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
2.5 ดูแลช่วยเหลือสถาบันการเงินที่อ่อนแอให้แข็งแกร่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนดนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับทางออกของสถาบันการเงิน
2.6 ป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
2.7 เตรียมความพร้อมในการจัดให้มีระบบประกันเงินฝาก
2.8 พัฒนากลไกที่จะช่วยลดความเสียหาย อันอาจเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเงิน
2.9 เสริมสร้างความรู้ความสามารถทั้งด้านกำหนดกลยุทธ์และปฏิบัติการ โดยวิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ แลกเปลี่ยนบุคลากร พัฒนาและฝึกอบรม
2.10 กำหนดนโยบายทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ในระบบการเงิน
2.11 ยกระดับความรู้ความสามารถของการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินที่เชื่อมโยงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
2.12 กำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนในระบบการชำระเงินเพื่อสนับสนุนธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)ในประเทศ
3. เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยกลยุทธ์ ดังนี้
3.1 การปฏิบัติงานจะเน้นหน้าที่หลักของธนาคารกลาง
3.2 ปรับปรุงการปฏิบัติงานภายใน โดยรื้อปรับกระบวนการทำงาน และยกระดับความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้
3.3 รื้อปรับ กฎระเบียบข้อบังคับภายใน ธปท.ทั้งหมด
3.4 ให้ความสำคัญแก่การปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นผลงาน
3.5 ดำเนินการตามกลยุทธ์ และปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล
3.6 ปรับปรุงความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.7 ปรับปรุงความสามารถในการบริหารองค์กร
3.8 ยกระดับความรู้ความสามารถของพนักงาน
4. ปลูกฝังพฤติกรรมและค่านิยมร่วมใหม่ภายใน ธปท. ประกอบด้วยกลยุทธ์ ดังนี้
4.1 กระตุ้นการปลูกฝังค่านิยมร่วมด้วยการให้สิ่งจูงใจ/ไม่ให้สิ่งจูงใจ
4.2 สนับสนุนให้มีการใช้ความรู้ และข้อมูลข่าวสารร่วมกัน
4.3 ดำเนินการให้มีการยอมรับพันธะที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามค่านิยมร่วมของ ธปท. ในทุกระดับ
4.4 เสริมสร้างทักษะการบริหาร / ภาวะผู้นำ
4.5 ดำเนินการโครงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร
5. ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอก ธปท.ประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้
5.1 ปรับปรุงให้มีกระบวนการประสานงานและติดต่อสื่อสารทั้งภายใน และระหว่างสายงานอย่างเป็นระบบ
5.2 พัฒนาระบบที่เอื้อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ให้ทั่วถึงทั้ง ธปท.
5.3 ปรับปรุงความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน และการทำงานเป็นทีมระหว่าง ธปท. กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายนอก
5.4 ปรับปรุงความสัมพันธ์กับสื่อต่าง ๆ
5.5 ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และทันสถานการณ์แก่สาธารณชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/4 กันยายน 2543--
-ยก-