เนื่องจาก ANDEAN Trade Preference Act (ATPA) ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษด้านการค้าที่สหรัฐฯ ให้กับกลุ่มประเทศ ANDEAN จะหมดอายุลงในสิ้นปีนี้ สหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มที่จะต่ออายุสิทธิพิเศษนี้ออกไป ซึ่งอาจสร้างผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันของสินค้าส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้ต่อไปในอนาคต
การจัดทำ ANDEAN Trade Preference Act ของสหรัฐฯ ในครั้งแรกมีเป้าหมายเพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจสำหรับประเทศในกลุ่ม ANDEAN ซึ่งได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู เพื่อเป็นการจูงใจให้ประเทศเหล่านี้ลดปริมาณการผลิต ยาเสพติด และเป็นการช่วยลดแพร่กระจายของยาเสพติดจากแหล่งดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ ATPA มี ผลบังคับในปี 2534 และจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2544
ในบทบัญญัติของ ATPA สหรัฐฯ จะยกเลิกหรือลดอัตราภาษีนำเข้าจากกลุ่ม ANDEAN เพื่อกระตุ้นให้ประเทศดังกล่าวให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ มากขึ้น ปัจจุบัน ATPA มีผลครอบคลุมร้อยละ 40 ของสินค้าส่งออกจากกลุ่ม ANDEAN
ในรายงานผลการดำเนินการตาม ATPA ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นำเสนอต่อสภาคองเกรสระบุว่า ในช่วงระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (2534-2543) ปริมาณการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศทั้งสี่ดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัว ปริมาณการส่งออกของสหรัฐฯ ไปยังกลุ่ม ANDEAN ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 และการนำเข้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าวขยายตัวขึ้นร้อยละ 98
เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าสิทธิพิเศษตาม ANDEAN Trade Preference Act เป็นสิ่งที่สร้างผลดีมากกว่าผลเสียให้กับสหรัฐฯ ดังนั้น ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี Bush จึงได้ดำเนินการร่วมกับสภาคองเกรสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น US State Department และ USTR ในการพิจารณาเรื่องการต่ออายุและขยายสิทธิประโยชน์ของ ATPA ออกไป โดยจะนำเอาประเด็นข้อเสนอจากทั้ง 4 ประเทศมาพิจารณาด้วย ซึ่งคาดว่า ATPA จะสามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ก่อนสิ้นปี 2544
ข้อเสนอของกลุ่มประเทศทั้ง 4 นี้คือการให้ยืดอายุและขยายสิทธิประโยชน์ของ ATPA ให้สามารถครอบคลุมสินค้าอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น (เดิมครอบคลุมเพียงร้อยละ 40) ซึ่งได้เสนอไว้ว่า สหรัฐฯ ควรให้สิทธิพิเศษได้เท่าเทียมกับกลุ่มแคริบเบียนและอัฟริกาใต้ตามที่ได้รับจาก Trade and Development Act of 2000 นอกจากนี้กลุ่มประเทศทั้ง 4 ได้เสนอให้รวมประเทศเวเนซุเอลาเข้ามาอยู่ในกลุ่มที่ได้รับสิทธิตาม ATPA ด้วย (เนื่องจากเวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในกลุ่มกติกาสัญญา ANDEAN หรือ ANDEAN PACT ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่มีสมาชิก 5 ประเทศคือ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และเวเนซุเอลา)
สินค้าส่วนใหญ่ที่ประเทศทั้ง 4 เรียกร้องให้ขยายสิทธิพิเศษ ได้แก่ สินค้าเสื้อผ้าและ สิ่งทอ เช่น เปรูต้องการที่จะให้สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอ โคลัมเบียต้องการให้ขยายสิทธิพิเศษให้ในเรื่องของ duty-free และ quota-free สำหรับสินค้าเสื้อผ้า ซึ่งได้มีการเสนอให้ขยายสิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น โคลัมเบียเสนอให้ครอบคลุมสินค้ารองเท้า เครื่องหนัง นาฬิกา และน้ำตาล ส่วนเอกวาดอร์ต้องการให้ขยายการให้สิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง เป็นต้น
ภาวะการค้าของประเทศกลุ่ม ANDEAN กับสหรัฐฯ
ประเทศในกลุ่ม ANDEAN นี้ หากไม่นับเวเนซุเอลาที่ยังไม่ได้รับสิทธิ ATPA ประเทศโคลัมเบียจะเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่เปรู เอกวาดอร์ และโบลิเวีย ในระหว่างปี 2534-2540 มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม ANDEAN (รวมประเทศ เวเนซุเอลา) เฉลี่ยประมาณ 36 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่ในช่วงปี 2541-2542 มูลค่าการค้ากลับลดลงเหลือประมาณ 31 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และในปี 2543 มูลค่าการค้าได้กลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งจำแนกเป็นการส่งออกจากกลุ่ม ANDEAN ไปยังสหรัฐฯ 27 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าส่งออกสำคัญของกลุ่ม ANDEAN ไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ น้ำมันดิบ สินค้าเกษตร เช่น กาแฟ กล้วย ดอกไม้ ปลา กุ้ง และสินค้าประเภทสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ
หากการต่ออายุและการขยายสิทธิประโยชน์ของ ANDEAN Trade Preference Act เป็นไปตามที่ได้มีการวางแผนไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยได้ในบางรายการ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เป็นสินค้า ส่งออกที่สำคัญ และมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดของกลุ่ม ANDEAN และหากประเทศในกลุ่ม ANDEAN ได้รับสิทธิพิเศษ โดยสามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ในรูป duty-free หรือ quota-free ซึ่งนอกจากสิทธิพิเศษต่างๆ แล้ว ประเทศเหล่านี้ก็ยังมีต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนมีระยะเวลาและค่าขนส่งสินค้าที่ใกล้และประหยัดกว่าสินค้าไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ได้ในอนาคต
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
การจัดทำ ANDEAN Trade Preference Act ของสหรัฐฯ ในครั้งแรกมีเป้าหมายเพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจสำหรับประเทศในกลุ่ม ANDEAN ซึ่งได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู เพื่อเป็นการจูงใจให้ประเทศเหล่านี้ลดปริมาณการผลิต ยาเสพติด และเป็นการช่วยลดแพร่กระจายของยาเสพติดจากแหล่งดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ ATPA มี ผลบังคับในปี 2534 และจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2544
ในบทบัญญัติของ ATPA สหรัฐฯ จะยกเลิกหรือลดอัตราภาษีนำเข้าจากกลุ่ม ANDEAN เพื่อกระตุ้นให้ประเทศดังกล่าวให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ มากขึ้น ปัจจุบัน ATPA มีผลครอบคลุมร้อยละ 40 ของสินค้าส่งออกจากกลุ่ม ANDEAN
ในรายงานผลการดำเนินการตาม ATPA ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นำเสนอต่อสภาคองเกรสระบุว่า ในช่วงระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (2534-2543) ปริมาณการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศทั้งสี่ดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเกือบเท่าตัว ปริมาณการส่งออกของสหรัฐฯ ไปยังกลุ่ม ANDEAN ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 และการนำเข้าจากกลุ่มประเทศดังกล่าวขยายตัวขึ้นร้อยละ 98
เนื่องจากสหรัฐฯ เห็นว่าสิทธิพิเศษตาม ANDEAN Trade Preference Act เป็นสิ่งที่สร้างผลดีมากกว่าผลเสียให้กับสหรัฐฯ ดังนั้น ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี Bush จึงได้ดำเนินการร่วมกับสภาคองเกรสและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น US State Department และ USTR ในการพิจารณาเรื่องการต่ออายุและขยายสิทธิประโยชน์ของ ATPA ออกไป โดยจะนำเอาประเด็นข้อเสนอจากทั้ง 4 ประเทศมาพิจารณาด้วย ซึ่งคาดว่า ATPA จะสามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ก่อนสิ้นปี 2544
ข้อเสนอของกลุ่มประเทศทั้ง 4 นี้คือการให้ยืดอายุและขยายสิทธิประโยชน์ของ ATPA ให้สามารถครอบคลุมสินค้าอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น (เดิมครอบคลุมเพียงร้อยละ 40) ซึ่งได้เสนอไว้ว่า สหรัฐฯ ควรให้สิทธิพิเศษได้เท่าเทียมกับกลุ่มแคริบเบียนและอัฟริกาใต้ตามที่ได้รับจาก Trade and Development Act of 2000 นอกจากนี้กลุ่มประเทศทั้ง 4 ได้เสนอให้รวมประเทศเวเนซุเอลาเข้ามาอยู่ในกลุ่มที่ได้รับสิทธิตาม ATPA ด้วย (เนื่องจากเวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในกลุ่มกติกาสัญญา ANDEAN หรือ ANDEAN PACT ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่มีสมาชิก 5 ประเทศคือ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และเวเนซุเอลา)
สินค้าส่วนใหญ่ที่ประเทศทั้ง 4 เรียกร้องให้ขยายสิทธิพิเศษ ได้แก่ สินค้าเสื้อผ้าและ สิ่งทอ เช่น เปรูต้องการที่จะให้สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอ โคลัมเบียต้องการให้ขยายสิทธิพิเศษให้ในเรื่องของ duty-free และ quota-free สำหรับสินค้าเสื้อผ้า ซึ่งได้มีการเสนอให้ขยายสิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น โคลัมเบียเสนอให้ครอบคลุมสินค้ารองเท้า เครื่องหนัง นาฬิกา และน้ำตาล ส่วนเอกวาดอร์ต้องการให้ขยายการให้สิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง เป็นต้น
ภาวะการค้าของประเทศกลุ่ม ANDEAN กับสหรัฐฯ
ประเทศในกลุ่ม ANDEAN นี้ หากไม่นับเวเนซุเอลาที่ยังไม่ได้รับสิทธิ ATPA ประเทศโคลัมเบียจะเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่เปรู เอกวาดอร์ และโบลิเวีย ในระหว่างปี 2534-2540 มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศในกลุ่ม ANDEAN (รวมประเทศ เวเนซุเอลา) เฉลี่ยประมาณ 36 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่ในช่วงปี 2541-2542 มูลค่าการค้ากลับลดลงเหลือประมาณ 31 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และในปี 2543 มูลค่าการค้าได้กลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งเป็น 40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งจำแนกเป็นการส่งออกจากกลุ่ม ANDEAN ไปยังสหรัฐฯ 27 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าส่งออกสำคัญของกลุ่ม ANDEAN ไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ น้ำมันดิบ สินค้าเกษตร เช่น กาแฟ กล้วย ดอกไม้ ปลา กุ้ง และสินค้าประเภทสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ
หากการต่ออายุและการขยายสิทธิประโยชน์ของ ANDEAN Trade Preference Act เป็นไปตามที่ได้มีการวางแผนไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยได้ในบางรายการ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เป็นสินค้า ส่งออกที่สำคัญ และมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดของกลุ่ม ANDEAN และหากประเทศในกลุ่ม ANDEAN ได้รับสิทธิพิเศษ โดยสามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ในรูป duty-free หรือ quota-free ซึ่งนอกจากสิทธิพิเศษต่างๆ แล้ว ประเทศเหล่านี้ก็ยังมีต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนมีระยะเวลาและค่าขนส่งสินค้าที่ใกล้และประหยัดกว่าสินค้าไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ได้ในอนาคต
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-