การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.5
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+21.8%) ผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ผู้ประกอบการเปิดสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อจำหน่ายในเดือน พฤษภาคม ศกนี้ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+8.0%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดที่สำคัญ คือ จีน เวียดนาม และสิงคโปร์ และหมวดเครื่องดื่ม (+7.7%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ โดยเฉพาะสุรา มีการผลิตสุรายี่ห้อใหม่ “สิงห์ทอง” ของบริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่แอนด์ดิสทิลเลอรี่ จำกัด
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-24.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ หมวดอาหาร (-14.2%) ลดลงตามปริมาณวัตถุดิบของน้ำตาล และอาหารทะเลแช่แข็ง และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (-9.4%) ลดลงตามการผลิตแผ่นเหล็กรีดร้อนและรีดเย็น ซึ่งมีการแข่งขันสูงทางด้านราคากับสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.1 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.6%) ซึ่งเป็นผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดเครื่องดื่ม (+7.1%) ที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.9 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.2) ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นหมวดอาหาร(29.8%) ลดลงตามการผลิตน้ำตาลที่เป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลหีบอ้อย
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (44.5%) การใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์นั่ง ที่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดโดยการออกรถยนต์รุ่นใหม่และได้รับความนิยมจากประชาชนมากด้วย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (78.6%) ผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันได้รับค่าการกลั่นสูงประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้มีการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ (84.6%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น และคอมเพรสเซอร์เพื่อส่งออกเป็นสำคัญ อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (43.8%) เพิ่มขึ้นทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ หลังจากที่ผลิตน้อยมากในช่วงที่มีวันหยุดเทศกาลหลายวันในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม การใช้กำลังการผลิตในหมวดนี้ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงไตรมาสแรกมาก และหมวดวัสดุก่อสร้าง (60.5%) ใช้กำลังการผลิตมากขึ้น ตามแนวโน้มที่ดีขึ้นของการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว และการขยายตลาดส่งออกใหม่ไปยังประเทศบังคลาเทศและอินเดีย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+21.8%) ผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ผู้ประกอบการเปิดสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อจำหน่ายในเดือน พฤษภาคม ศกนี้ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+8.0%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดที่สำคัญ คือ จีน เวียดนาม และสิงคโปร์ และหมวดเครื่องดื่ม (+7.7%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ โดยเฉพาะสุรา มีการผลิตสุรายี่ห้อใหม่ “สิงห์ทอง” ของบริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่แอนด์ดิสทิลเลอรี่ จำกัด
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-24.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ หมวดอาหาร (-14.2%) ลดลงตามปริมาณวัตถุดิบของน้ำตาล และอาหารทะเลแช่แข็ง และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (-9.4%) ลดลงตามการผลิตแผ่นเหล็กรีดร้อนและรีดเย็น ซึ่งมีการแข่งขันสูงทางด้านราคากับสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.1 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.6%) ซึ่งเป็นผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดเครื่องดื่ม (+7.1%) ที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.9 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.2) ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นหมวดอาหาร(29.8%) ลดลงตามการผลิตน้ำตาลที่เป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลหีบอ้อย
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (44.5%) การใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์นั่ง ที่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดโดยการออกรถยนต์รุ่นใหม่และได้รับความนิยมจากประชาชนมากด้วย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (78.6%) ผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนนี้โรงกลั่นน้ำมันได้รับค่าการกลั่นสูงประกอบกับการอ่อนตัวของค่าเงินบาท ทำให้มีการผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ (84.6%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น และคอมเพรสเซอร์เพื่อส่งออกเป็นสำคัญ อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (43.8%) เพิ่มขึ้นทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ หลังจากที่ผลิตน้อยมากในช่วงที่มีวันหยุดเทศกาลหลายวันในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม การใช้กำลังการผลิตในหมวดนี้ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงไตรมาสแรกมาก และหมวดวัสดุก่อสร้าง (60.5%) ใช้กำลังการผลิตมากขึ้น ตามแนวโน้มที่ดีขึ้นของการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว และการขยายตลาดส่งออกใหม่ไปยังประเทศบังคลาเทศและอินเดีย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-