แท็ก
ศุลกากร
Harmonized System (HS) เป็นระบบการจำแนกพิกัดสินค้าที่องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization) นำมาใช้เมื่อปี 2531 แทนการจำแนกพิกัดสินค้าระบบ CCCN (Customs Cooperation Council Nomenclature) ที่ใช้อยู่เดิม เพื่อให้การจำแนกพิกัดสินค้ามีความละเอียดมากขึ้น ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท ที่ทำการซื้อขายกันในตลาดโลก ซึ่งบางชนิดเป็นสินค้าใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในระบบจำแนกพิกัดแบบเก่า และเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการค้าโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ระบบฮาร์โมไนซ์เป็นการจัดประเภทสินค้าที่ให้รายละเอียดชัดเจน และแน่นอน โดยการระบุรหัสสินค้า แต่ละประเภทตามระเบียบและโครงสร้างที่จัดไว้ เพื่อให้การจัดประเภทสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีศุลกากรของแต่ละประเทศ อีกทั้งช่วยให้การจัดเก็บ หรือค้นหาข้อมูลสถิติทางการค้าเป็นไปอย่างมีระเบียบ มีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ วิจัยและเปรียบเทียบกับสถิติทางการค้าของประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังนำระบบฮาร์โมไนซ์ไปใช้ในการระบุตัวสินค้าเพื่อดำเนินนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น การกำหนดโควตา การควบคุมราคาสินค้า และการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น ปัจจุบันระบบฮาร์โมไนซ์เป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วไปใน 177 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ครอบคลุมสินค้าประมาณ 200,000 รายการ หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 98 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมดที่ค้าขายกันระหว่างประเทศ
การจำแนกพิกัดสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์โดยทั่วไป จำแนกด้วยรหัสที่เป็นตัวเลข 6 หลักให้แก่สินค้าแต่ละชนิด โดยแบ่งสินค้าทั้งหมดออกเป็น
? 97 ตอน (Chapter) รหัสของตอนแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักแรกของรหัสสินค้า
? แต่ละตอนแบ่งเป็นประเภท (Heading) รหัสของประเภทแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักกลางของรหัสสินค้า
? แต่ละประเภทแบ่งเป็นประเภทย่อย (Sub-Heading) เพื่อให้ได้รายละเอียดของสินค้าที่ชัดเจนมากขึ้น รหัสของประเภทย่อยแสดงด้วยเลข 2 หลักสุดท้ายของรหัสสินค้า ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่อยู่หลังจุด
? สินค้าทั้งหมด 97 ตอน (Chapter) จัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ได้ทั้งหมด 21 หมวด (Section) แต่เลขที่หมวดนี้จะไม่มีปรากฏอยู่ในรหัสสินค้า
ตัวอย่างเช่น รหัสฮาร์โมไนซ์ของสินค้าไวโอลิน คือ 9202.10 เป็นสินค้าในตอนที่ 92 ประเภทที่ 2 และประเภทย่อยที่ 10 โดยไวโอลินเป็นสินค้าในหมวดที่ 18 (อุปกรณ์ที่ใช้ทางทัศนศาสตร์ การถ่ายรูป การถ่ายทำภาพยนตร์ การแพทย์ นาฬิกาชนิดคล๊อกและวอตซ์ และเครื่องดนตรี) ซึ่งเลขที่หมวดนี้ไม่ได้แสดงไว้ในรหัสสินค้า
อย่างไรก็ตาม รหัสฮาร์โมไนซ์ของบางประเทศอาจระบุด้วยตัวเลขมากกว่า 6 หลัก โดยกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ทั้งนี้องค์การศุลกากรโลกจะทำการแก้ไขเพิ่มเติมการบัญญัติพิกัดสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ในทุก 4 - 6 ปี เพื่อให้การจำแนกพิกัดสินค้าเหมาะสมกับสภาวะการค้าและชนิดของสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ--จบ--
-อน-
ระบบฮาร์โมไนซ์เป็นการจัดประเภทสินค้าที่ให้รายละเอียดชัดเจน และแน่นอน โดยการระบุรหัสสินค้า แต่ละประเภทตามระเบียบและโครงสร้างที่จัดไว้ เพื่อให้การจัดประเภทสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีศุลกากรของแต่ละประเทศ อีกทั้งช่วยให้การจัดเก็บ หรือค้นหาข้อมูลสถิติทางการค้าเป็นไปอย่างมีระเบียบ มีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการนำไปใช้วิเคราะห์ วิจัยและเปรียบเทียบกับสถิติทางการค้าของประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังนำระบบฮาร์โมไนซ์ไปใช้ในการระบุตัวสินค้าเพื่อดำเนินนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น การกำหนดโควตา การควบคุมราคาสินค้า และการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นต้น ปัจจุบันระบบฮาร์โมไนซ์เป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วไปใน 177 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ครอบคลุมสินค้าประมาณ 200,000 รายการ หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 98 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมดที่ค้าขายกันระหว่างประเทศ
การจำแนกพิกัดสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์โดยทั่วไป จำแนกด้วยรหัสที่เป็นตัวเลข 6 หลักให้แก่สินค้าแต่ละชนิด โดยแบ่งสินค้าทั้งหมดออกเป็น
? 97 ตอน (Chapter) รหัสของตอนแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักแรกของรหัสสินค้า
? แต่ละตอนแบ่งเป็นประเภท (Heading) รหัสของประเภทแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักกลางของรหัสสินค้า
? แต่ละประเภทแบ่งเป็นประเภทย่อย (Sub-Heading) เพื่อให้ได้รายละเอียดของสินค้าที่ชัดเจนมากขึ้น รหัสของประเภทย่อยแสดงด้วยเลข 2 หลักสุดท้ายของรหัสสินค้า ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่อยู่หลังจุด
? สินค้าทั้งหมด 97 ตอน (Chapter) จัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ได้ทั้งหมด 21 หมวด (Section) แต่เลขที่หมวดนี้จะไม่มีปรากฏอยู่ในรหัสสินค้า
ตัวอย่างเช่น รหัสฮาร์โมไนซ์ของสินค้าไวโอลิน คือ 9202.10 เป็นสินค้าในตอนที่ 92 ประเภทที่ 2 และประเภทย่อยที่ 10 โดยไวโอลินเป็นสินค้าในหมวดที่ 18 (อุปกรณ์ที่ใช้ทางทัศนศาสตร์ การถ่ายรูป การถ่ายทำภาพยนตร์ การแพทย์ นาฬิกาชนิดคล๊อกและวอตซ์ และเครื่องดนตรี) ซึ่งเลขที่หมวดนี้ไม่ได้แสดงไว้ในรหัสสินค้า
อย่างไรก็ตาม รหัสฮาร์โมไนซ์ของบางประเทศอาจระบุด้วยตัวเลขมากกว่า 6 หลัก โดยกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ทั้งนี้องค์การศุลกากรโลกจะทำการแก้ไขเพิ่มเติมการบัญญัติพิกัดสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์ในทุก 4 - 6 ปี เพื่อให้การจำแนกพิกัดสินค้าเหมาะสมกับสภาวะการค้าและชนิดของสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ--จบ--
-อน-