กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
กรณีมาเลเซียไม่ลดภาษีสินค้ารถยนต์ในอาฟต้า
ตามที่มาเลเซียไม่โอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU เข้ามาลดภาษีในอาฟต้าตามกำหนดเวลาใน วันที่ 1 มกราคม 2543 ที่ประชุมมีการถกเถียงกันมากในเรื่องจะใช้กฎระเบียบใดของอาเซียนในกรณีนี้ ซึ่งในที่สุดได้มีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่มีผลเท่ากับเป็นการที่มาเลเซียต้องการแก้ไขพันธกรณีภายใต้ ข้อตกลงอาฟต้า (CEPT Agreement) แต่เนื่องจากในข้อตกลงของอาฟต้าเองไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องนี้เอาไว้ ที่ประชุมจึงมีมติให้ใช้ข้อกำหนดของมาตรา 28 ของแกตต์เป็นพื้นฐาน โดยให้เจ้าหน้าที่ อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) จัดทำวิธีการ (Modality) เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณา คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงพันธกรณีของประเทศสมาชิกต่อไป และเสนอให้ AEM พิจารณาในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใน การประชุมครั้งนั้น AEM จะได้พิจารณากรณีมาเลเซียขอชะลอการโอนย้ายสินค้ารถยนต์จากบัญชียกเวัน ลดภาษีชั่วคราวเข้ามาสู่บัญชีลดภาษีจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2548 ด้วย โดยใช้ Modality ที่จะตกลงกัน ต่อไปเป็นกรอบในการพิจารณา สำหรับข้อกำหนดในมาตรา 28 ของแกตต์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอ ปรับปรุงแก้ไขตารางข้อลดหย่อนภาษีศุลกากร ซึ่งกำหนดว่าสมาชิกสามารถขอแก้ไขตารางข้อลดหย่อนของ ตนที่ผูกพันใน WTO ได้ โดยต้องเจรจากับสมาชิกที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลประโยชน์ชดเชย (Compensation) ซึ่งอาจเป็นไปในรูปของการลดภาษีสินค้าอื่นแทน ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ต้องการแก้ไขข้อผูกพันก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบก็มีสิทธิ เพิกถอนสิทธิประโยชน์ของตนเองที่ให้แก้ประเทศผู้ขอแก้ไขได้เช่นกัน
ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ที่ประชุมเห็นชอบกับองค์ประกอบของร่างความตกลงฯ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ด้านข้อมูล การอำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนสำหรับสินค้า และบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT goods and services) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (e-society) และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล(e-government) และให้คณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนจัดทำความตกลงในรายละเอียด เพื่อเสนอที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือน ตุลาคม 2543 และให้ผู้นำอาเซียนลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการต่อไปในเดือน พฤศจิกายน ศกนี้ สำหรับการเปิดเสรีสินค้า ICT ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่จะให้เปิดเสรีให้มากกว่า ในความตกลง ITA-1 ของ WTO โดยอาจมีขอบเขตสินค้ามากกว่าและเร่งรัดระยะเวลาให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความพร้อมของประเทศสมาชิกด้วย
การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
ที่ประชุมรับทราบ นาย Cesar E.A. Virata ประธานคณะทำงานระดับสูงอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการ วัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และระยะเวลาการเปิดเสรี ระหว่าง AFTA และ CER แล้ว เห็นว่าปัจจุบันการค้าระหว่างกันยังเล็กน้อย แต่ในระยะยาวจะมี ศักยภาพสูง รัฐมนตรีให้ความเห็นว่า อุปสรรคสำคัญของการค้าระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ คือมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (SPS และ TBI) มากกว่ามาตรการด้านภาษี จึงจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ ทางวิชาการและการปรับโครงสร้างแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และขอให้คณะทำงานฯ เน้นศึกษาประเด็น อุปสรรคด้านมิใช่ภาษี กำหนดเวลาในการปรับตัวที่แตกต่างกัน และการลดภาษีที่เกิดประโยชน์ต่ออาเซียน รวมทั้งยังได้ย้ำถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรี AFTA-CER จะต้องผ่านการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งจะ พิจารณาผลการศึกษาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีการค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
กรณีมาเลเซียไม่ลดภาษีสินค้ารถยนต์ในอาฟต้า
ตามที่มาเลเซียไม่โอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU เข้ามาลดภาษีในอาฟต้าตามกำหนดเวลาใน วันที่ 1 มกราคม 2543 ที่ประชุมมีการถกเถียงกันมากในเรื่องจะใช้กฎระเบียบใดของอาเซียนในกรณีนี้ ซึ่งในที่สุดได้มีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่มีผลเท่ากับเป็นการที่มาเลเซียต้องการแก้ไขพันธกรณีภายใต้ ข้อตกลงอาฟต้า (CEPT Agreement) แต่เนื่องจากในข้อตกลงของอาฟต้าเองไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องนี้เอาไว้ ที่ประชุมจึงมีมติให้ใช้ข้อกำหนดของมาตรา 28 ของแกตต์เป็นพื้นฐาน โดยให้เจ้าหน้าที่ อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) จัดทำวิธีการ (Modality) เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณา คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงพันธกรณีของประเทศสมาชิกต่อไป และเสนอให้ AEM พิจารณาในการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใน การประชุมครั้งนั้น AEM จะได้พิจารณากรณีมาเลเซียขอชะลอการโอนย้ายสินค้ารถยนต์จากบัญชียกเวัน ลดภาษีชั่วคราวเข้ามาสู่บัญชีลดภาษีจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2548 ด้วย โดยใช้ Modality ที่จะตกลงกัน ต่อไปเป็นกรอบในการพิจารณา สำหรับข้อกำหนดในมาตรา 28 ของแกตต์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอ ปรับปรุงแก้ไขตารางข้อลดหย่อนภาษีศุลกากร ซึ่งกำหนดว่าสมาชิกสามารถขอแก้ไขตารางข้อลดหย่อนของ ตนที่ผูกพันใน WTO ได้ โดยต้องเจรจากับสมาชิกที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลประโยชน์ชดเชย (Compensation) ซึ่งอาจเป็นไปในรูปของการลดภาษีสินค้าอื่นแทน ในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ต้องการแก้ไขข้อผูกพันก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ประเทศที่ได้รับผลกระทบก็มีสิทธิ เพิกถอนสิทธิประโยชน์ของตนเองที่ให้แก้ประเทศผู้ขอแก้ไขได้เช่นกัน
ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ที่ประชุมเห็นชอบกับองค์ประกอบของร่างความตกลงฯ ซึ่งประกอบด้วยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ด้านข้อมูล การอำนวยความสะดวกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนสำหรับสินค้า และบริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT goods and services) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (e-society) และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล(e-government) และให้คณะทำงานระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนจัดทำความตกลงในรายละเอียด เพื่อเสนอที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือน ตุลาคม 2543 และให้ผู้นำอาเซียนลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการต่อไปในเดือน พฤศจิกายน ศกนี้ สำหรับการเปิดเสรีสินค้า ICT ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่จะให้เปิดเสรีให้มากกว่า ในความตกลง ITA-1 ของ WTO โดยอาจมีขอบเขตสินค้ามากกว่าและเร่งรัดระยะเวลาให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความพร้อมของประเทศสมาชิกด้วย
การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
ที่ประชุมรับทราบ นาย Cesar E.A. Virata ประธานคณะทำงานระดับสูงอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ รายงานผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการ วัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และระยะเวลาการเปิดเสรี ระหว่าง AFTA และ CER แล้ว เห็นว่าปัจจุบันการค้าระหว่างกันยังเล็กน้อย แต่ในระยะยาวจะมี ศักยภาพสูง รัฐมนตรีให้ความเห็นว่า อุปสรรคสำคัญของการค้าระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ คือมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (SPS และ TBI) มากกว่ามาตรการด้านภาษี จึงจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ ทางวิชาการและการปรับโครงสร้างแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน และขอให้คณะทำงานฯ เน้นศึกษาประเด็น อุปสรรคด้านมิใช่ภาษี กำหนดเวลาในการปรับตัวที่แตกต่างกัน และการลดภาษีที่เกิดประโยชน์ต่ออาเซียน รวมทั้งยังได้ย้ำถึงการจัดตั้งเขตการค้าเสรี AFTA-CER จะต้องผ่านการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งจะ พิจารณาผลการศึกษาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและรัฐมนตรีการค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-