บทสรุปสำหรับนักลงทุน
ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่ให้เป็นคลื่นเสียงที่มนุษย์เราสามารถได้ยิน ใช้มากในการผลิตวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุติดรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ แหล่งที่ตั้งของโรงงานผลิตลำโพงมีกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในแถบกรุงเทพฯและปริมณฑล
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำโพงประมาณ 60 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลาง-เล็ก และเป็นผู้ประกอบการคนไทย ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่มีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตต่างชาติ ซึ่งหากเป็นผู้ผลิตรายเล็กมักจะเน้นตลาดในประเทศ ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่มักจะเน้นตลาดส่งออก
ในปี 2542 ภาวะธุรกิจลำโพงในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะถดถอย ทำให้ความต้องการลำโพงในประเทศเพิ่มขึ้น พิจารณาได้จากมูลค่านำเข้าลำโพงในปี 2542 ที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 เป็น 3,269 ล้านบาท และการนำเข้ายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2543 เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 นี้มูลค่านำเข้าลำโพงขยายตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 83.9 เป็น 1,091 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่านำเข้าทั้งปี 2543 จะขยายตัวขึ้นร้อยละ 52.5 เป็น 4,988ล้านบาท
ทางด้านมูลค่าส่งออกลำโพงก็ขยายตัวขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.1 เป็น 5,354 ล้านบาท แม้ว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2541 ที่ขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 28 มูลค่าส่งออกลำโพงคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2543 เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 มูลค่าส่งออกขยายตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36 เป็น 1,697 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 2543 จะขยายตัวขึ้นร้อยละ 26.7 เป็น 6,783 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจของตลาดส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ตลาดส่งออกหลักของลำโพง ของไทยคือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 36.5 ของมูลค่าส่งออกในปี 2542 รองลงมาคือมาเลเซีย และ ปานามา ร้อยละ 11.5 และ 5.5 ตามลำดับ
ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมลำโพงพบว่า เป็นธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและเครื่องจักรมาก เนื่องจากการผลิตลำโพงเป็นขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบมาประกอบ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ และไม่ใช้เทคโนโลยีสูง ดังนั้นนักลงทุนที่สนใจทำธุรกิจนี้ควรมีความพร้อมทางด้านเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างดี โดยกรณีการลงทุนประกอบลำโพงประมาณ 125,000 คู่ต่อปี ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 6 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนด้านโรงงานเพียง 2 ล้านบาท ค่าเครื่องจักรประมาณ 3 ล้านบาท แต่ที่สำคัญคือต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบมาประกอบลำโพงประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน ทางด้านโครงสร้างต้นทุนการผลิตลำโพงส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 55 ของต้นทุนทั้งหมด ค่าแรงงานร้อยละ 25 ค่าโสหุ้ยร้อยละ 10 และ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 10
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่ให้เป็นคลื่นเสียงที่มนุษย์เราสามารถได้ยิน ใช้มากในการผลิตวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุติดรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ แหล่งที่ตั้งของโรงงานผลิตลำโพงมีกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในแถบกรุงเทพฯและปริมณฑล
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำโพงประมาณ 60 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลาง-เล็ก และเป็นผู้ประกอบการคนไทย ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่มีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตต่างชาติ ซึ่งหากเป็นผู้ผลิตรายเล็กมักจะเน้นตลาดในประเทศ ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่มักจะเน้นตลาดส่งออก
ในปี 2542 ภาวะธุรกิจลำโพงในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะถดถอย ทำให้ความต้องการลำโพงในประเทศเพิ่มขึ้น พิจารณาได้จากมูลค่านำเข้าลำโพงในปี 2542 ที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 เป็น 3,269 ล้านบาท และการนำเข้ายังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2543 เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 นี้มูลค่านำเข้าลำโพงขยายตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 83.9 เป็น 1,091 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่านำเข้าทั้งปี 2543 จะขยายตัวขึ้นร้อยละ 52.5 เป็น 4,988ล้านบาท
ทางด้านมูลค่าส่งออกลำโพงก็ขยายตัวขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.1 เป็น 5,354 ล้านบาท แม้ว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากปี 2541 ที่ขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 28 มูลค่าส่งออกลำโพงคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2543 เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 มูลค่าส่งออกขยายตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36 เป็น 1,697 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 2543 จะขยายตัวขึ้นร้อยละ 26.7 เป็น 6,783 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจของตลาดส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ตลาดส่งออกหลักของลำโพง ของไทยคือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 36.5 ของมูลค่าส่งออกในปี 2542 รองลงมาคือมาเลเซีย และ ปานามา ร้อยละ 11.5 และ 5.5 ตามลำดับ
ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมลำโพงพบว่า เป็นธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและเครื่องจักรมาก เนื่องจากการผลิตลำโพงเป็นขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบมาประกอบ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ และไม่ใช้เทคโนโลยีสูง ดังนั้นนักลงทุนที่สนใจทำธุรกิจนี้ควรมีความพร้อมทางด้านเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างดี โดยกรณีการลงทุนประกอบลำโพงประมาณ 125,000 คู่ต่อปี ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 6 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนด้านโรงงานเพียง 2 ล้านบาท ค่าเครื่องจักรประมาณ 3 ล้านบาท แต่ที่สำคัญคือต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบมาประกอบลำโพงประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน ทางด้านโครงสร้างต้นทุนการผลิตลำโพงส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 55 ของต้นทุนทั้งหมด ค่าแรงงานร้อยละ 25 ค่าโสหุ้ยร้อยละ 10 และ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 10
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--