บทสรุปนักลงทุน
เฟอร์นิเจอร์เหล็กส่วนใหญ่นิยมทำเป็นตู้เก็บเอกสาร โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ชั้นวางของ ฯลฯ หากเป็นตู้เก็บเอกสาร และโต๊ะทำงานมักเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในสำนักงาน แต่หากเป็นเก้าอี้และชั้นวางของมักเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในบ้านและในห้องครัว เป็นต้น
ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กภายในประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัวตามสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับผู้บริโภคมีความนิยมเฟอร์นิเจอร์เหล็กลดลง ส่งผลให้มูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศลดลง ดังจะเห็นได้จากมูลค่านำเข้าเฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยในปี 2541 ที่ลดลงจากปี 2540 ร้อยละ 69.76 คิดเป็นมูลค่า 142 ล้านบาทและมูลค่านำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 52.37 คิดเป็นมูลค่า 36 ล้านบาท
ทางด้านการส่งออกเฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับประเทศจีน ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยในปี 2541 มูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยขยายตัวจากปี 2540 เพียงร้อยละ 1.43 คิดเป็นมูลค่า 1,928 ล้านบาท และในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 มูลค่าส่งออกลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.31 คิดเป็นมูลค่า 962 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2542 มูลค่าส่งออกจะลดลงร้อยละ 1.5 เป็น 1,900 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักสำหรับเฟอร์นิเจอร์เหล็กคือญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11
ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศปี 2543 ยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังไม่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับความนิยมเฟอร์นิเจอร์เหล็กลดน้อยลงทำให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์เหล็กยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าส่งออกคาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัวเท่ากับปี 2542
อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนมีความสนใจที่จะผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กควรมีการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ให้เข้ากับความนิยมและการใช้งานของผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันนี้เฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทเก้าอี้และชั้นวางของที่ได้รับความนิยมนั้นเป็นเฟอร์นิเจอร์เหล็กที่เน้นการดีไซน์ที่สวยงามและทันสมัย ซึ่งปัจจุบันมักจะมีการผสมผสานด้วยไม้ พีวีซี หนัง หรือ พลาสติก แต่หากต้องการที่จะผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทตู้เก็บเอกสาร และโต๊ะทำงานต้องเน้นที่ความแข็งแรง คงทน ค่าใช้จ่ายในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยวัตถุดิบหลักได้แก่ แป๊บเหล็ก และแผ่นเหล็ก รองลงมาได้แก่ ค่าแรง ค่าโสหุ้ยการผลิต และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ตามลำดับ ส่วนอัตรากำไรเฉลี่ยของเฟอร์นิเจอร์เหล็กอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25 ของราคาจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนรูปแบบความนิยมจากเฟอร์นิเจอร์เหล็กเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาติเคิลบอร์ด เพราะเฟอร์นิเจอร์ไม้สามารถดัดแปลงและประกอบได้ง่ายกว่า รวมทั้งมีความหลากหลายกว่า นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบาทำให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและขนส่ง ในปี 2542 เฟอร์นิเจอร์เหล็กยังคงต้องเผชิญกับภาวะความต้องการหดตัวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สำหรับตลาดในประเทศนั้นความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2539 จากการที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นตัวนำความต้องการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศซบเซาลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย จึงทำให้การซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่มีปริมาณลดลงอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมูลค่านำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.37 เหลือ 36 ล้านบาท และมูลค่านำเข้าทั้งปี 2542 ที่คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 43.66 เป็น 80 ล้านบาท
ทางด้านการส่งออก เฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอย่างจีน ที่เข้ามามีบทบาทในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นและมีความได้เปรียบไทยในด้านค่าแรงที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีพัฒนาการทางด้านเทคนิคในการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่างรวดเร็ว ทำให้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับจีนมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับล่าง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าส่งออกในช่วงปี 2538 --2541 ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี และในปี 2541 การขยายตัวของมูลค่าส่งออกชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดเหลือเพียงร้อยละ 1 คิดเป็นมูลค่า 1,928 ล้านบาท
นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 มูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์เหล็กลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.31 คิดเป็นมูลค่า 962 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 2542 จะลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.45 คิดเป็นมูลค่า 1,900 ล้านบาท ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมองตลาดให้กว้างขึ้นพร้อมทั้งเร่งหาตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น แทนที่จะหวังพึ่งแต่ตลาดส่งออกหลักอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาและต้องปรับปรุงทางด้านต้นทุนการผลิตและรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์เหล็กให้เหมาะสมกับตลาดในแต่ละประเทศ
แนวโน้มความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศปี 2543 คาดว่าจะยังคงซบเซาต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าภาครัฐจะได้มีการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมีการขยายตัวขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2542 ทำให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้มีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ตลาดเฟอร์นิเจอร์เหล็กกลับไม่ขยายตัวขึ้น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กจึงยังคงต้องมีการผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้น แม้ว่าการแข่งขันในตลาดส่งออกจะยังคงรุนแรงก็ตาม ทำให้มูลค่าส่งออกคาดว่าจะทรงตัวเท่ากับปี 2542
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
โรงงานเฟอร์นิเจอร์เหล็กที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมมีทั้งสิ้น 369 โรงงาน อยู่ในเขตกรุงเทพฯ 223 โรงงาน และอยู่ในเขตภูมิภาค (เขตปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่) 146 โรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลาง และขนาดเล็ก ส่วนโรงงานขนาดใหญ่โดยมากเป็นการร่วมทุนกับนักลงทุนต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 91,250,000
บริษัท เฟิร์สท์ อินดัสเตรียล โปรดัคส์ (1990) จำกัด 30,000,000
บริษัท ยูนีค ดีไซน์ จำกัด 59,000,000
บริษัท ไทยไทโย จำกัด 160,000,000
บริษัท เอ็มเด็ก อินเตอร์เนชั่นแนล (1991) จำกัด 60,000,000
บริษัท ลีรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด 100,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท แสงฟ้าเพ้นท์แอนด์เฟอร์นิเจอร์ จำกัด 15,000,000
บริษัท วี. เอส. อินดัสทรี่ส์ เฟอร์นิเจอร์ สมุทรสาคร จำกัด 1,000,000
บริษัท คุณากิจ เฟอร์นิเจอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด 10,000,000
บริษัท ลัคกี้เวิลด์ กรุ๊ป จำกัด 10,000,000
บริษัท รอยัล คิงดอม อินดัสตรีส์ จำกัด 12,000,000
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย
ช่องทางการจำหน่าย
การจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศมีการจำหน่ายให้กับลูกค้าในสองลักษณะคือ
1.!การจำหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตรง เช่น มีพื้นที่หน้าร้านสำหรับวางขายสินค้า เช่าโชว์รูมแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านเช่น มาบุญครอง เดอะมอลล์ โฮมโปรเป็นต้น หรือการทำ Direct Sale ให้กับองค์กรต่างๆ
2.!การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ในกรณีนี้ผู้ผลิตจะขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อไปจำหน่ายให้แก่ ผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง ซึ่งการจำหน่ายโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายนี้จะช่วยให้การกระจายสินค้าของผู้ผลิตทำได้กว้างขวางมากขึ้น อย่างไรก็ตามตัวแทนจำหน่ายก็ต้องมีโชว์รูมเพื่อแสดงสินค้าให้ลูกค้าเลือกซื้อเช่นกัน
ส่วนการส่งออกโดยมากเป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ การจำหน่ายโดยตรงให้แก่ลูกค้ามีสัดส่วนน้อย สำหรับผู้ผลิตที่ไม่เคยส่งออกมาก่อนหรือผู้ที่ส่งออกอยู่แล้วแต่ต้องการขยายตลาดส่งออกก็สามารถทำได้ด้วยการร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างโอกาสในการที่จะได้พบกับตัวแทนจำหน่ายจากประเทศต่างๆเพิ่มขึ้น
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทเก้าอี้และชั้นวางของสามารถหาได้จากในประเทศเกือบทั้งหมด วัตถุดิบสำคัญได้แก่
1.!แป๊บเหล็ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของต้นทุนการใช้วัตถุดิบ สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพผู้จัดจำหน่ายแป๊บเหล็กได้แก่ บริษัท Best Steel Pipe จำกัด และบริษัท Cotto จำกัด
2.!แผ่นเหล็ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของต้นทุนวัตถุดิบ สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพ และสามารถซื้อสำเร็จรูปจากโรงงานโดยสั่งทำตามรูปแบบที่เราต้องการ ผู้จัดจำหน่ายแผ่นเหล็ก ได้แก่ บริษัทB.C.Industrial จำกัด บริษัท Trane International จำกัด บริษัท Thai Taiyo จำกัด และบริษัท ประชาอุทิศ ค้าลวดเหล็ก จำกัด
3.!ไม้ยาง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 --15 ของการใช้วัตถุดิบทั้งหมด สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่จะมีแหล่งผลิตอยู่ที่ภาคใต้ เช่น ยะลา บริษัทผู้จัดจำหน่ายไม้ยาง ได้แก่ บริษัท P.J. 37 จำกัด
4.!ผ้าพีวีซี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของการใช้วัตถุดิบทั้งหมด สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพ และทั่วไป บริษัทผู้จัดจำหน่าย ได้แก่ บริษัท นำรุ่งเรือง จำกัด และ บริษัท Standard Rubber จำกัด
5.!ลูกยาง (พลาสติกรองขาโต๊ะ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.5 -- 1 สามารถหาซื้อได้จากผู้จัดจำหน่ายในกรุงเทพ ได้แก่ บริษัท เพนนี จำกัด เป็นต้น
6. นอกจากนั้นเป็นวัสดุอื่นๆ อีกร้อยละ 1.5-4
โครงสร้างต้นทุนการผลิต ต้นทุนในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กแบ่งเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 67ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 7 ค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 13 และค่าแรงงานร้อยละ 13
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 67
2. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 7
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 13
4. ค่าแรงงาน 13
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็ก (ประเภทชั้นวางของและเก้าอี้)
การผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆคือ การผลิตโครง การพ่นสี การประกอบ ดังรายละเอียดพอสังเขปต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการผลิตโครง เป็นการนำแป๊บเหล็กมาดัดให้เป็นโครงชั้นวางของหรือเก้าอี้
1.1 นำแป๊บเหล็กมาตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
1.2 นำแป๊บเหล็กที่ตัดแล้วมาเข้าเครื่องดัดให้ได้ลักษณะที่โค้งงอตามต้องการเจาะรูเหล็กที่ดัดแล้ว
1.3 เชื่อมเหล็กที่เจาะรูแล้วเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างของชั้นวางของหรือเก้าอี้
1.4 ใช้หมุดย้ำตามรูที่เจาะเพื่อยึดให้โครงติดกันอย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้น!
2. ขั้นตอนการพ่นสี นำโครงที่ขึ้นรูปแล้วมาพ่นสีตามต้องการ
! 3. ขั้นตอนการประกอบ นำชิ้นส่วนต่างๆเช่นแผ่นเหล็ก ไม้ ที่นั่ง พนักพิง มาประกอบเข้ากับโครงที่พ่นสีจนแห้งดีแล้ว เฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน นอกจากความสวยงามแล้ว พื้นฐานสำคัญของเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นปัจจัยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อคือความเหมาะสมและความปลอดภัยในการใช้งาน ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์เหล็กทุกชิ้นควรจะมีคุณสมบัติ ตามมาตรฐานดังต่อไปนี้
1.!ชิ้นส่วนเหล็กทุกส่วนจะต้องเคลือบป้องกันสนิมอย่างทั่วถึง
2.!ไม่มีส่วนแหลมคมหรือส่วนที่ยื่นออกมาที่อาจเป็นอันตราย
3.!หนังหรือวัสดุอื่นที่ใช้บุต้องพอดี ไม่ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ต้องไม่มีรอยขีดข่วน รอยเปื้อน
4.!ล้อต้องใช้งานได้ดี และควบคุมทิศทางได้ดี
5.!ต้องมั่นคง และมีความแข็งแรงคงทน
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทเก้าอี้และชั้นวางของที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักรในการทำโครง ประกอบด้วย
1.! เครื่องดัดเหล็ก ใช้ในการดัดโครงเก้าอี้
2.! เครื่องตัดเหล็ก ใช้ตัดเหล็กในการทำโครง
3.! เครื่องปั๊ม ใช้ในการเจาะรูโครงเก้าอี้
4.! เครื่องย้ำ ใช้ในการตอกหมุดย้ำ
การลงทุนและการเงิน
โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กควรตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม หรือในแถบปริมณฑล
กรณีการลงทุนผลิตเก้าอี้จำนวน 170 ตัวต่อเดือน และชั้นวางของ 170 ตัวต่อเดือน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 5 ล้านบาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่
- ค่าที่ดิน 1 ล้านบาท
- ค่าสิ่งปลูกสร้าง 1 ล้านบาท
ในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กอาจใช้การเช่าห้องแถวโดยมีค่าเช่าในราคาตั้งแต่ 5,000บาทต่อเดือนขึ้นไป
1.! ค่าเครื่องจักร 2 ล้านบาท ได้แก่ เครื่องดัดเหล็ก เครื่องตัดเหล็ก เครื่องปั้ม(เจาะรู) เครื่องย้ำและเครื่องเชื่อม
2.! ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (รถกระบะมือสอง 3 คัน) ราคา 5-6 แสนบาท
3.! เงินทุนหมุนเวียน 2,500,000 บาทต่อปี
บุคลากร ธุรกิจการประกอบเฟอร์นิเจอร์เหล็กขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 10 คน ซี่งแบ่งเป็น
1. พนักงานในโรงงาน
1.1 พนักงานทั่วไป 7 คน
1.2 พนักงานขับรถส่งของ 1 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร
1.1 พนักงานขาย 1 คน
1.2 พนักงานบัญชี 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.!ต้นทุนวัตถุดิบ 2,040,000 บาทต่อปี
- แป๊บเหล็ก 816,000 บาทต่อปี
- แผ่นเหล็ก 489,600 บาทต่อปี
- ไม้ยาง 204,000 บาทต่อปี
- ผ้าพีวีซี 204,000 บาทต่อปี
- ลูกยาง (พลาสติกขาโต๊ะ) 122,400 บาทต่อปี
- อื่นๆ 204,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 960,000 บาทต่อปี
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 204,000 บาทต่อปี
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 466,800 บาทต่อปี
! 4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 40,800 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 120,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 40,800 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 61,200 บาทต่อปี
4.3 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 204,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 25 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเก้าอี้เฉลี่ย 2,040 ตัว ราคาเฉลี่ย 700 บาทต่อตัว และชั้นวางของ 2,040 ตัว ราคาเฉลี่ย 1,500 บาทต่อตัว คิดเป็นรายได้รวม 4.488 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ) เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสามารถซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
ประเภทเครื่องจักร บริษัท ที่อยู่ โทร
Sheet Metal Working United Machinery 10,20 ถนนหลานหลวง บ้านบาตร 282-7140
Machinery ป้อมปราบ กรุงเทพ 10100
Thai Advanced Enterprise ซอยหมู่บ้านเศรษฐกิจ 341/13-14 421-0031
ถนนเพชรเกษม กรุงเทพ
Metal Wire, Rivets Pracha Uthit Wire & Bar 91 หมู่9 ถนนประชาอุทิศ 872-9938
ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ 10140
Laminating Machine Thai Vinyter 1769 ถนนใหม่ ยานนาวา สาทร 212-9418
กรุงเทพ 10120
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. อัตราภาษีนำเข้า อัตราภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์เหล็กได้ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 80 เหลือร้อยละ20 ในปี 2542 ส่วนภาษีนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กได้แก่ ท่อเหล็ก แผ่นเหล็กรีดร้อน และแผ่นเหล็กรีดเย็นอยู่ในอัตราร้อยละ 10-15
2. การรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน มาตรฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ได้แก่ มอก. ไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับ แต่การได้รับมาตรฐานก็เท่ากับเป็นการยกระดับสินค้า และเป็นผลดีต่อการทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการทำตลาดกับหน่วยงานราชการในประเทศนั้นได้กำหนดว่าสินค้าต้องได้รับมาตรฐาน และทางด้านการส่งออกมาตรฐานสินค้าจะเป็นตัวรับประกันว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสู้ต่างประเทศได้ เพราะหลักของการผ่านมาตรฐานนั้นได้นำเอามาตรฐานจากต่างประเทศมาปรับใช้ โดยจะเน้นในเรื่องของความคงทน ความปลอดภัย ขนาด และวัตถุดิบ
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สามารถให้คำแนะนำในการจัดตั้งโรงงาน แหล่งจำหน่ายเครื่องจักร และวัตถุดิบ และนักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสามารถสมัครเป็นสมาชิกสมาคมได้ โดยติดต่อที่ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย 1267/3 ซอยลาดพร้าว 35 แขวงลาดยาวเขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 513-6262 - 3
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เฟอร์นิเจอร์เหล็กส่วนใหญ่นิยมทำเป็นตู้เก็บเอกสาร โต๊ะทำงาน เก้าอี้ ชั้นวางของ ฯลฯ หากเป็นตู้เก็บเอกสาร และโต๊ะทำงานมักเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในสำนักงาน แต่หากเป็นเก้าอี้และชั้นวางของมักเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในบ้านและในห้องครัว เป็นต้น
ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กภายในประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศชะลอตัวตามสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับผู้บริโภคมีความนิยมเฟอร์นิเจอร์เหล็กลดลง ส่งผลให้มูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศลดลง ดังจะเห็นได้จากมูลค่านำเข้าเฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยในปี 2541 ที่ลดลงจากปี 2540 ร้อยละ 69.76 คิดเป็นมูลค่า 142 ล้านบาทและมูลค่านำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 52.37 คิดเป็นมูลค่า 36 ล้านบาท
ทางด้านการส่งออกเฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับประเทศจีน ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยในปี 2541 มูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยขยายตัวจากปี 2540 เพียงร้อยละ 1.43 คิดเป็นมูลค่า 1,928 ล้านบาท และในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 มูลค่าส่งออกลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.31 คิดเป็นมูลค่า 962 ล้านบาท คาดว่าทั้งปี 2542 มูลค่าส่งออกจะลดลงร้อยละ 1.5 เป็น 1,900 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักสำหรับเฟอร์นิเจอร์เหล็กคือญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11
ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศปี 2543 ยังมีแนวโน้มที่ชะลอตัว เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังไม่ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับความนิยมเฟอร์นิเจอร์เหล็กลดน้อยลงทำให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์เหล็กยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าส่งออกคาดว่าจะอยู่ในระดับทรงตัวเท่ากับปี 2542
อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนมีความสนใจที่จะผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กควรมีการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ให้เข้ากับความนิยมและการใช้งานของผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันนี้เฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทเก้าอี้และชั้นวางของที่ได้รับความนิยมนั้นเป็นเฟอร์นิเจอร์เหล็กที่เน้นการดีไซน์ที่สวยงามและทันสมัย ซึ่งปัจจุบันมักจะมีการผสมผสานด้วยไม้ พีวีซี หนัง หรือ พลาสติก แต่หากต้องการที่จะผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทตู้เก็บเอกสาร และโต๊ะทำงานต้องเน้นที่ความแข็งแรง คงทน ค่าใช้จ่ายในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยวัตถุดิบหลักได้แก่ แป๊บเหล็ก และแผ่นเหล็ก รองลงมาได้แก่ ค่าแรง ค่าโสหุ้ยการผลิต และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ตามลำดับ ส่วนอัตรากำไรเฉลี่ยของเฟอร์นิเจอร์เหล็กอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25 ของราคาจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนรูปแบบความนิยมจากเฟอร์นิเจอร์เหล็กเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาติเคิลบอร์ด เพราะเฟอร์นิเจอร์ไม้สามารถดัดแปลงและประกอบได้ง่ายกว่า รวมทั้งมีความหลากหลายกว่า นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักเบาทำให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและขนส่ง ในปี 2542 เฟอร์นิเจอร์เหล็กยังคงต้องเผชิญกับภาวะความต้องการหดตัวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สำหรับตลาดในประเทศนั้นความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2539 จากการที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นธุรกิจที่เป็นตัวนำความต้องการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศซบเซาลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย จึงทำให้การซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่มีปริมาณลดลงอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมูลค่านำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.37 เหลือ 36 ล้านบาท และมูลค่านำเข้าทั้งปี 2542 ที่คาดว่าจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 43.66 เป็น 80 ล้านบาท
ทางด้านการส่งออก เฟอร์นิเจอร์เหล็กของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอย่างจีน ที่เข้ามามีบทบาทในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นและมีความได้เปรียบไทยในด้านค่าแรงที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีพัฒนาการทางด้านเทคนิคในการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่างรวดเร็ว ทำให้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับจีนมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับล่าง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าส่งออกในช่วงปี 2538 --2541 ที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี และในปี 2541 การขยายตัวของมูลค่าส่งออกชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดเหลือเพียงร้อยละ 1 คิดเป็นมูลค่า 1,928 ล้านบาท
นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 มูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์เหล็กลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.31 คิดเป็นมูลค่า 962 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 2542 จะลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.45 คิดเป็นมูลค่า 1,900 ล้านบาท ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมองตลาดให้กว้างขึ้นพร้อมทั้งเร่งหาตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น แทนที่จะหวังพึ่งแต่ตลาดส่งออกหลักอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาและต้องปรับปรุงทางด้านต้นทุนการผลิตและรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์เหล็กให้เหมาะสมกับตลาดในแต่ละประเทศ
แนวโน้มความต้องการเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศปี 2543 คาดว่าจะยังคงซบเซาต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าภาครัฐจะได้มีการช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบมีการขยายตัวขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2542 ทำให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้มีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ตลาดเฟอร์นิเจอร์เหล็กกลับไม่ขยายตัวขึ้น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กจึงยังคงต้องมีการผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้น แม้ว่าการแข่งขันในตลาดส่งออกจะยังคงรุนแรงก็ตาม ทำให้มูลค่าส่งออกคาดว่าจะทรงตัวเท่ากับปี 2542
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
โรงงานเฟอร์นิเจอร์เหล็กที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมมีทั้งสิ้น 369 โรงงาน อยู่ในเขตกรุงเทพฯ 223 โรงงาน และอยู่ในเขตภูมิภาค (เขตปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่) 146 โรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลาง และขนาดเล็ก ส่วนโรงงานขนาดใหญ่โดยมากเป็นการร่วมทุนกับนักลงทุนต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 91,250,000
บริษัท เฟิร์สท์ อินดัสเตรียล โปรดัคส์ (1990) จำกัด 30,000,000
บริษัท ยูนีค ดีไซน์ จำกัด 59,000,000
บริษัท ไทยไทโย จำกัด 160,000,000
บริษัท เอ็มเด็ก อินเตอร์เนชั่นแนล (1991) จำกัด 60,000,000
บริษัท ลีรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด 100,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท แสงฟ้าเพ้นท์แอนด์เฟอร์นิเจอร์ จำกัด 15,000,000
บริษัท วี. เอส. อินดัสทรี่ส์ เฟอร์นิเจอร์ สมุทรสาคร จำกัด 1,000,000
บริษัท คุณากิจ เฟอร์นิเจอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด 10,000,000
บริษัท ลัคกี้เวิลด์ กรุ๊ป จำกัด 10,000,000
บริษัท รอยัล คิงดอม อินดัสตรีส์ จำกัด 12,000,000
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย
ช่องทางการจำหน่าย
การจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เหล็กในประเทศมีการจำหน่ายให้กับลูกค้าในสองลักษณะคือ
1.!การจำหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตรง เช่น มีพื้นที่หน้าร้านสำหรับวางขายสินค้า เช่าโชว์รูมแสดงสินค้าตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านเช่น มาบุญครอง เดอะมอลล์ โฮมโปรเป็นต้น หรือการทำ Direct Sale ให้กับองค์กรต่างๆ
2.!การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ในกรณีนี้ผู้ผลิตจะขายให้แก่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อไปจำหน่ายให้แก่ ผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง ซึ่งการจำหน่ายโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายนี้จะช่วยให้การกระจายสินค้าของผู้ผลิตทำได้กว้างขวางมากขึ้น อย่างไรก็ตามตัวแทนจำหน่ายก็ต้องมีโชว์รูมเพื่อแสดงสินค้าให้ลูกค้าเลือกซื้อเช่นกัน
ส่วนการส่งออกโดยมากเป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ การจำหน่ายโดยตรงให้แก่ลูกค้ามีสัดส่วนน้อย สำหรับผู้ผลิตที่ไม่เคยส่งออกมาก่อนหรือผู้ที่ส่งออกอยู่แล้วแต่ต้องการขยายตลาดส่งออกก็สามารถทำได้ด้วยการร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างโอกาสในการที่จะได้พบกับตัวแทนจำหน่ายจากประเทศต่างๆเพิ่มขึ้น
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทเก้าอี้และชั้นวางของสามารถหาได้จากในประเทศเกือบทั้งหมด วัตถุดิบสำคัญได้แก่
1.!แป๊บเหล็ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของต้นทุนการใช้วัตถุดิบ สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพผู้จัดจำหน่ายแป๊บเหล็กได้แก่ บริษัท Best Steel Pipe จำกัด และบริษัท Cotto จำกัด
2.!แผ่นเหล็ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของต้นทุนวัตถุดิบ สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพ และสามารถซื้อสำเร็จรูปจากโรงงานโดยสั่งทำตามรูปแบบที่เราต้องการ ผู้จัดจำหน่ายแผ่นเหล็ก ได้แก่ บริษัทB.C.Industrial จำกัด บริษัท Trane International จำกัด บริษัท Thai Taiyo จำกัด และบริษัท ประชาอุทิศ ค้าลวดเหล็ก จำกัด
3.!ไม้ยาง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 --15 ของการใช้วัตถุดิบทั้งหมด สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่จะมีแหล่งผลิตอยู่ที่ภาคใต้ เช่น ยะลา บริษัทผู้จัดจำหน่ายไม้ยาง ได้แก่ บริษัท P.J. 37 จำกัด
4.!ผ้าพีวีซี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของการใช้วัตถุดิบทั้งหมด สามารถหาซื้อได้ในกรุงเทพ และทั่วไป บริษัทผู้จัดจำหน่าย ได้แก่ บริษัท นำรุ่งเรือง จำกัด และ บริษัท Standard Rubber จำกัด
5.!ลูกยาง (พลาสติกรองขาโต๊ะ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.5 -- 1 สามารถหาซื้อได้จากผู้จัดจำหน่ายในกรุงเทพ ได้แก่ บริษัท เพนนี จำกัด เป็นต้น
6. นอกจากนั้นเป็นวัสดุอื่นๆ อีกร้อยละ 1.5-4
โครงสร้างต้นทุนการผลิต ต้นทุนในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กแบ่งเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 67ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 7 ค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 13 และค่าแรงงานร้อยละ 13
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 67
2. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 7
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 13
4. ค่าแรงงาน 13
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็ก (ประเภทชั้นวางของและเก้าอี้)
การผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆคือ การผลิตโครง การพ่นสี การประกอบ ดังรายละเอียดพอสังเขปต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการผลิตโครง เป็นการนำแป๊บเหล็กมาดัดให้เป็นโครงชั้นวางของหรือเก้าอี้
1.1 นำแป๊บเหล็กมาตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
1.2 นำแป๊บเหล็กที่ตัดแล้วมาเข้าเครื่องดัดให้ได้ลักษณะที่โค้งงอตามต้องการเจาะรูเหล็กที่ดัดแล้ว
1.3 เชื่อมเหล็กที่เจาะรูแล้วเข้าด้วยกันให้เป็นรูปร่างของชั้นวางของหรือเก้าอี้
1.4 ใช้หมุดย้ำตามรูที่เจาะเพื่อยึดให้โครงติดกันอย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้น!
2. ขั้นตอนการพ่นสี นำโครงที่ขึ้นรูปแล้วมาพ่นสีตามต้องการ
! 3. ขั้นตอนการประกอบ นำชิ้นส่วนต่างๆเช่นแผ่นเหล็ก ไม้ ที่นั่ง พนักพิง มาประกอบเข้ากับโครงที่พ่นสีจนแห้งดีแล้ว เฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน นอกจากความสวยงามแล้ว พื้นฐานสำคัญของเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นปัจจัยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อคือความเหมาะสมและความปลอดภัยในการใช้งาน ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์เหล็กทุกชิ้นควรจะมีคุณสมบัติ ตามมาตรฐานดังต่อไปนี้
1.!ชิ้นส่วนเหล็กทุกส่วนจะต้องเคลือบป้องกันสนิมอย่างทั่วถึง
2.!ไม่มีส่วนแหลมคมหรือส่วนที่ยื่นออกมาที่อาจเป็นอันตราย
3.!หนังหรือวัสดุอื่นที่ใช้บุต้องพอดี ไม่ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ต้องไม่มีรอยขีดข่วน รอยเปื้อน
4.!ล้อต้องใช้งานได้ดี และควบคุมทิศทางได้ดี
5.!ต้องมั่นคง และมีความแข็งแรงคงทน
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กประเภทเก้าอี้และชั้นวางของที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักรในการทำโครง ประกอบด้วย
1.! เครื่องดัดเหล็ก ใช้ในการดัดโครงเก้าอี้
2.! เครื่องตัดเหล็ก ใช้ตัดเหล็กในการทำโครง
3.! เครื่องปั๊ม ใช้ในการเจาะรูโครงเก้าอี้
4.! เครื่องย้ำ ใช้ในการตอกหมุดย้ำ
การลงทุนและการเงิน
โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กควรตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม หรือในแถบปริมณฑล
กรณีการลงทุนผลิตเก้าอี้จำนวน 170 ตัวต่อเดือน และชั้นวางของ 170 ตัวต่อเดือน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 5 ล้านบาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่
- ค่าที่ดิน 1 ล้านบาท
- ค่าสิ่งปลูกสร้าง 1 ล้านบาท
ในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กอาจใช้การเช่าห้องแถวโดยมีค่าเช่าในราคาตั้งแต่ 5,000บาทต่อเดือนขึ้นไป
1.! ค่าเครื่องจักร 2 ล้านบาท ได้แก่ เครื่องดัดเหล็ก เครื่องตัดเหล็ก เครื่องปั้ม(เจาะรู) เครื่องย้ำและเครื่องเชื่อม
2.! ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (รถกระบะมือสอง 3 คัน) ราคา 5-6 แสนบาท
3.! เงินทุนหมุนเวียน 2,500,000 บาทต่อปี
บุคลากร ธุรกิจการประกอบเฟอร์นิเจอร์เหล็กขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 10 คน ซี่งแบ่งเป็น
1. พนักงานในโรงงาน
1.1 พนักงานทั่วไป 7 คน
1.2 พนักงานขับรถส่งของ 1 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร
1.1 พนักงานขาย 1 คน
1.2 พนักงานบัญชี 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.!ต้นทุนวัตถุดิบ 2,040,000 บาทต่อปี
- แป๊บเหล็ก 816,000 บาทต่อปี
- แผ่นเหล็ก 489,600 บาทต่อปี
- ไม้ยาง 204,000 บาทต่อปี
- ผ้าพีวีซี 204,000 บาทต่อปี
- ลูกยาง (พลาสติกขาโต๊ะ) 122,400 บาทต่อปี
- อื่นๆ 204,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 960,000 บาทต่อปี
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 204,000 บาทต่อปี
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 466,800 บาทต่อปี
! 4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 40,800 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 120,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 40,800 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 61,200 บาทต่อปี
4.3 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 204,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 25 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเก้าอี้เฉลี่ย 2,040 ตัว ราคาเฉลี่ย 700 บาทต่อตัว และชั้นวางของ 2,040 ตัว ราคาเฉลี่ย 1,500 บาทต่อตัว คิดเป็นรายได้รวม 4.488 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ) เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสามารถซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
ประเภทเครื่องจักร บริษัท ที่อยู่ โทร
Sheet Metal Working United Machinery 10,20 ถนนหลานหลวง บ้านบาตร 282-7140
Machinery ป้อมปราบ กรุงเทพ 10100
Thai Advanced Enterprise ซอยหมู่บ้านเศรษฐกิจ 341/13-14 421-0031
ถนนเพชรเกษม กรุงเทพ
Metal Wire, Rivets Pracha Uthit Wire & Bar 91 หมู่9 ถนนประชาอุทิศ 872-9938
ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพ 10140
Laminating Machine Thai Vinyter 1769 ถนนใหม่ ยานนาวา สาทร 212-9418
กรุงเทพ 10120
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. อัตราภาษีนำเข้า อัตราภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์เหล็กได้ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 80 เหลือร้อยละ20 ในปี 2542 ส่วนภาษีนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กได้แก่ ท่อเหล็ก แผ่นเหล็กรีดร้อน และแผ่นเหล็กรีดเย็นอยู่ในอัตราร้อยละ 10-15
2. การรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน มาตรฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ได้แก่ มอก. ไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับ แต่การได้รับมาตรฐานก็เท่ากับเป็นการยกระดับสินค้า และเป็นผลดีต่อการทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการทำตลาดกับหน่วยงานราชการในประเทศนั้นได้กำหนดว่าสินค้าต้องได้รับมาตรฐาน และทางด้านการส่งออกมาตรฐานสินค้าจะเป็นตัวรับประกันว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสู้ต่างประเทศได้ เพราะหลักของการผ่านมาตรฐานนั้นได้นำเอามาตรฐานจากต่างประเทศมาปรับใช้ โดยจะเน้นในเรื่องของความคงทน ความปลอดภัย ขนาด และวัตถุดิบ
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค
สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สามารถให้คำแนะนำในการจัดตั้งโรงงาน แหล่งจำหน่ายเครื่องจักร และวัตถุดิบ และนักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กสามารถสมัครเป็นสมาชิกสมาคมได้ โดยติดต่อที่ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย 1267/3 ซอยลาดพร้าว 35 แขวงลาดยาวเขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร 513-6262 - 3
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--