กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (21 ธันวาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 ผู้แทน EU Troika ได้แก่ นาย Piere Vaesen เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม นาย Jose Eugenio Salarich เอกอัครราชทูตสเปน และ นาย Kluspeter Schmallenbach หัวหน้าคณะผู้แทน คณะกรรมการยุโรปประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรม องค์การระหว่างประเทศ เพื่อแสดงความห่วงใยในความปลอดภัยของกลุ่มบุคคลสัญชาติพม่า 181 ครอบครัว จำนวน 796 คน (ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงกลุ่ม 63 คนที่ถูกทางการไทยส่งกลับเมื่อ วันที่ 6 พ.ย. 2544 ด้วย) โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2544 กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้หลบหนีการสู้รบ และเผาบ้านเรือนของทหารพม่าจากบ้านทิวาโดมาอยู่ที่บ้านฮะล็อกกะนี (หมู่บ้านในเขตมอญ ที่ติดกับชายแดนไทย) และขอให้ทางการไทยรับกลุ่มผู้หลบหนีภัยดังกล่าวเข้ามาพำนักในพื้นที่ พักพิงฯ บ้านต้นยาง อ.สังขละ จ. กาญจนบุรี พร้อมทั้งได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide —memoire)
อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศได้ชี้แจงว่าไทยได้ให้การดูแลผู้หนีภัยจากการ สู้รบด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมมาโดยตลอด ซึ่งหากไทยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้หนีภัยฯ ก็คงจะไม่อนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ มาพักพิงฯ ในประเทศไทยมานานกว่า 15 ปี ปัจจุบันมีผู้หนีภัยฯ พม่าจำนวนประมาณ 108,000 คน พักพิงในพื้นที่พักพิงฯ 9 แห่ง สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่บ้านทิวาโดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 เป็นเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวเป็น ครั้งแรกในรอบ 5 ปี และปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว ดังนั้น สถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวจึงยังมีความปลอดภัย และไทยยังไม่เห็นความจำเป็นที่ชาวราษฎรพม่าที่บ้านฮะล็อกกะนีจะต้องเดินทางเข้ามายังประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ไทยเห็นว่าหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่รุนแรงขึ้น อย่างแท้จริง ไทยก็พร้อมที่จะทบทวนการประเมินสถานการณ์และรับผู้ที่หนีภัยการสู้รบตามที่ได้ มีข้อตกลงกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
นอกจากนี้ ไทยได้แสดงความเห็นว่าหากประชาคมยุโรปมีความห่วงใยความปลอดภัยของบุคคลดังกล่าว ก็ควรจะรับบุคคลเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศของตนมากขึ้น ภายใต้หลักการแบ่งเบาภาระ/ความรับผิดชอบระหว่างประเทศ (international burden/ responsibility sharing) ทั้งนี้น่าสังเกตว่าในระยะที่ผ่านมาถึงแม้ประชาคมยุโรปจะเป็นผู้บริจาคเงินที่สำคัญของ UNHCR แต่ประชาคมยุโรปรับนักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐานน้อยมาก คือราวร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาที่ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเท่านั้น
ไทยยินดีที่จะจัดการประชุมหารือระหว่างผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประชาคม ยุโรป องค์การระหว่างประเทศ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหา ผู้หนีภัยฯ พม่าในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (21 ธันวาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2544 ผู้แทน EU Troika ได้แก่ นาย Piere Vaesen เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม นาย Jose Eugenio Salarich เอกอัครราชทูตสเปน และ นาย Kluspeter Schmallenbach หัวหน้าคณะผู้แทน คณะกรรมการยุโรปประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรม องค์การระหว่างประเทศ เพื่อแสดงความห่วงใยในความปลอดภัยของกลุ่มบุคคลสัญชาติพม่า 181 ครอบครัว จำนวน 796 คน (ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงกลุ่ม 63 คนที่ถูกทางการไทยส่งกลับเมื่อ วันที่ 6 พ.ย. 2544 ด้วย) โดยเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2544 กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้หลบหนีการสู้รบ และเผาบ้านเรือนของทหารพม่าจากบ้านทิวาโดมาอยู่ที่บ้านฮะล็อกกะนี (หมู่บ้านในเขตมอญ ที่ติดกับชายแดนไทย) และขอให้ทางการไทยรับกลุ่มผู้หลบหนีภัยดังกล่าวเข้ามาพำนักในพื้นที่ พักพิงฯ บ้านต้นยาง อ.สังขละ จ. กาญจนบุรี พร้อมทั้งได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide —memoire)
อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศได้ชี้แจงว่าไทยได้ให้การดูแลผู้หนีภัยจากการ สู้รบด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมมาโดยตลอด ซึ่งหากไทยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้หนีภัยฯ ก็คงจะไม่อนุญาตให้ผู้หนีภัยฯ มาพักพิงฯ ในประเทศไทยมานานกว่า 15 ปี ปัจจุบันมีผู้หนีภัยฯ พม่าจำนวนประมาณ 108,000 คน พักพิงในพื้นที่พักพิงฯ 9 แห่ง สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่บ้านทิวาโดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2544 เป็นเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวเป็น ครั้งแรกในรอบ 5 ปี และปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว ดังนั้น สถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวจึงยังมีความปลอดภัย และไทยยังไม่เห็นความจำเป็นที่ชาวราษฎรพม่าที่บ้านฮะล็อกกะนีจะต้องเดินทางเข้ามายังประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ไทยเห็นว่าหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่รุนแรงขึ้น อย่างแท้จริง ไทยก็พร้อมที่จะทบทวนการประเมินสถานการณ์และรับผู้ที่หนีภัยการสู้รบตามที่ได้ มีข้อตกลงกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
นอกจากนี้ ไทยได้แสดงความเห็นว่าหากประชาคมยุโรปมีความห่วงใยความปลอดภัยของบุคคลดังกล่าว ก็ควรจะรับบุคคลเหล่านี้ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศของตนมากขึ้น ภายใต้หลักการแบ่งเบาภาระ/ความรับผิดชอบระหว่างประเทศ (international burden/ responsibility sharing) ทั้งนี้น่าสังเกตว่าในระยะที่ผ่านมาถึงแม้ประชาคมยุโรปจะเป็นผู้บริจาคเงินที่สำคัญของ UNHCR แต่ประชาคมยุโรปรับนักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐานน้อยมาก คือราวร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาที่ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเท่านั้น
ไทยยินดีที่จะจัดการประชุมหารือระหว่างผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประชาคม ยุโรป องค์การระหว่างประเทศ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหา ผู้หนีภัยฯ พม่าในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-