ข่าวในประเทศ
1. ธปท. กำลังศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยภายหลังเฟดลดอัตราดอกเบี้ย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. กำลังติดตามผลกระทบต่อระบบการเงินของโลกและเศรษฐกิจไทย ภายหลังจาก ธ.กลาง สรอ. ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 เพื่อนำมาพิจารณาว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยโบายดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลานับเดือนในการพิจารณาผลกระทบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ ธปท. ต้องติดตามดูอัตราเงินกู้อ้างอิงระหว่างธนาคารที่อังกฤษ (ไลบอร์) ซึ่งปัจจัยต่างประเทศขณะนี้ไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จึงจำเป็นต้องดูแลปัจจัยภายในให้ดี ดังนั้นรัฐบาลและทุกหน่วยงานต้องร่วมกันกระตุ้นความต้องการภายในประเทศโดยเร่งใช้จ่ายงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจ 5.8 หมื่น ล.บาท เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 44 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 จากก่อนหน้านี้ที่ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.3-1.8 และคาดว่าในปี 45 จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 2-3 ส่วนการส่งออกปี 44 จะติดลบร้อยละ 6.4 แต่ปี 45 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 (โลกวันนี้, มติชน, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์ 9)
2. ธปท.เตรียมหารือกับ ธพ.เพื่อให้ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบมากขึ้น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการหารือร่วมกับ ธพ. ภายในเดือนนี้ เรื่องการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากเห็นว่าได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ทำให้ภาระของ ธพ.ลดน้อยลง และสามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น และจะไม่เปลี่ยนเกณฑ์การกันสำรองของ ธพ. เพื่อสร้างความเชื่อมั่น รวมทั้งเห็นว่าเอ็นพีแอลอยู่ในระดับคงที่ไม่เลวร้ายดังที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ (แนวหน้า9)
3. ก.คลังประเมินว่ามาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงานว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจปี 45 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 0.35 ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผนการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังได้ประเมินผลของมาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงานว่า จะส่งผลให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.35 ในปี 45 จากที่ ธปท.และ สศค.ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1-3 โดยผลจากการใช้ งปม.เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 11,391 ล.บาท ภายใต้โครงการ 19 โครงการ จะช่วยให้แรงงานและผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น 17,625.10 ล.บาท ช่วยให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น 13,529.23 ล.บาท และส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20 รวมกับโครงการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินภาครัฐ ที่คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 1 แสนราย รายละ 1 แสนบาท และส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15 (ข่าวสด, โลกวันนี้ 9)
4. รัฐบาลอัดฉีด งปม. 1.2 หมื่น ล.บาทช่วยเหลือเอสเอ็มอีและกระตุ้นการส่งออก รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในโครงการ 3 ประสานกู้เศรษฐกิจส่งออก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ก.คลัง ก.พาณิชย์ และก.อุตสาหกรรม โดย ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จะนำเงินเข้าสมทบในโครงการจำนวน 9 พัน ล.บาท และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) สมทบ 3 พัน ล.บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 หมื่น ล.บาท (ข่าวสด 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลงร้อยละ 0.50 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 8 พ.ย.44 ว่า Wim Duisenberg ประธาน ธ.กลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Repo rate ลงร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.25 เป็นการปรับลดในระดับเดียวกับ ธ.กลาง สรอ. (Fed) และ ธ.กลางอังกฤษ และทำให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.43 โดย ธ.กลางยุโรปเชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาระดับราคาให้มีเสถียรภาพได้ต่อไปในระยะปานกลาง สำหรับเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้แสดงความเห็นด้วยกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ แต่ก็เห็นว่าการดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจที่เหมาะสมด้วย (รอยเตอร์ 8)
2. อังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำที่สุดในรอบ37 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 8 พ.ย. 44 ธ. กลางอังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน (key repo rate) ลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 4 นับเป็นการลดลงเป็นครั้งที่ 7 ของปีนี้ และเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปีที่ลดดอกเบี้ยในอัตรามากกว่าร้อยละ 0.25 และลดลงมากกว่าที่ตลาดเงินคาดไว้ว่าจะลดเพียงร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวต่ำที่สุดในรอบ 37 ปี การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากที่ ธ. กลางยุโรปประกาศลดดอกเบี้ยลงในอัตราเดียวกัน และก่อนหน้านี้ที่ ธ. กลาง สรอ. ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 เช่นกัน การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เนื่องจากมีความกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ธ. กลางทั่วโลกต่างมีความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมากหลังจากเกิดการก่อวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา และได้พยายามผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อป้องกันเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย (รอยเตอร์8)
3. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นเดือน ก.ย.44 ลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อ 8 พ.ย.44 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 ตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนของญี่ปุ่นซึ่งใช้วัดภาวะการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 13.2 เทียบเดือนต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ซึ่งตัวเลขเดือน ก.ย.44 ลดลงมากกว่าค่ามัธยฐานตัวเลขประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์ 11 คน (สำรวจความคิดเห็นโดยรอยเตอร์) ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 9.0 ทั้งนี้ มูลค่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรดังกล่าวซึ่งไม่รวมเรือและเครื่องจักรผลิตพลังงานไฟฟ้า มีมูลค่า 879.0 พัน ล.เยน (7.26 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า ไตรมาสที่ 4/44 (ต.ค.-ธ.ค.44) ตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนจะลดลงร้อยละ 0.5 หลังจากที่ไตรมาสที่ 3/44 ลดลงร้อยละ 5.7 ส่วนคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 และคำสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 5.0 หลังจากเดือน ส.ค.44 ลดลงร้อยละ 15.7 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อเครื่องจักรโดยรวมลดลงร้อยละ 6.6 หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์ 8)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 8 พ.ย.44 44.539 (44.642)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 8 พ.ย. 44ซื้อ 44.3964 (44.4602) ขาย 44.6845 (44.7589)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,850) ขาย 5,900 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 18.67 (17.67)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.59) ดีเซลหมุนเร็ว 12.59 (12.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. กำลังศึกษาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยภายหลังเฟดลดอัตราดอกเบี้ย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. กำลังติดตามผลกระทบต่อระบบการเงินของโลกและเศรษฐกิจไทย ภายหลังจาก ธ.กลาง สรอ. ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 เพื่อนำมาพิจารณาว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยโบายดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลานับเดือนในการพิจารณาผลกระทบด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ ธปท. ต้องติดตามดูอัตราเงินกู้อ้างอิงระหว่างธนาคารที่อังกฤษ (ไลบอร์) ซึ่งปัจจัยต่างประเทศขณะนี้ไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จึงจำเป็นต้องดูแลปัจจัยภายในให้ดี ดังนั้นรัฐบาลและทุกหน่วยงานต้องร่วมกันกระตุ้นความต้องการภายในประเทศโดยเร่งใช้จ่ายงบฯ กระตุ้นเศรษฐกิจ 5.8 หมื่น ล.บาท เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 44 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 จากก่อนหน้านี้ที่ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.3-1.8 และคาดว่าในปี 45 จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2 จากเดิมที่คาดไว้ที่ร้อยละ 2-3 ส่วนการส่งออกปี 44 จะติดลบร้อยละ 6.4 แต่ปี 45 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 (โลกวันนี้, มติชน, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์ 9)
2. ธปท.เตรียมหารือกับ ธพ.เพื่อให้ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบมากขึ้น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการหารือร่วมกับ ธพ. ภายในเดือนนี้ เรื่องการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากเห็นว่าได้มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ทำให้ภาระของ ธพ.ลดน้อยลง และสามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น และจะไม่เปลี่ยนเกณฑ์การกันสำรองของ ธพ. เพื่อสร้างความเชื่อมั่น รวมทั้งเห็นว่าเอ็นพีแอลอยู่ในระดับคงที่ไม่เลวร้ายดังที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ (แนวหน้า9)
3. ก.คลังประเมินว่ามาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงานว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจปี 45 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 0.35 ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผนการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ก.คลังได้ประเมินผลของมาตรการรองรับและแก้ไขปัญหาการว่างงานว่า จะส่งผลให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.35 ในปี 45 จากที่ ธปท.และ สศค.ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1-3 โดยผลจากการใช้ งปม.เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 11,391 ล.บาท ภายใต้โครงการ 19 โครงการ จะช่วยให้แรงงานและผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น 17,625.10 ล.บาท ช่วยให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น 13,529.23 ล.บาท และส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.20 รวมกับโครงการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินภาครัฐ ที่คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 1 แสนราย รายละ 1 แสนบาท และส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15 (ข่าวสด, โลกวันนี้ 9)
4. รัฐบาลอัดฉีด งปม. 1.2 หมื่น ล.บาทช่วยเหลือเอสเอ็มอีและกระตุ้นการส่งออก รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในโครงการ 3 ประสานกู้เศรษฐกิจส่งออก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ก.คลัง ก.พาณิชย์ และก.อุตสาหกรรม โดย ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จะนำเงินเข้าสมทบในโครงการจำนวน 9 พัน ล.บาท และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) สมทบ 3 พัน ล.บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 หมื่น ล.บาท (ข่าวสด 9)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลงร้อยละ 0.50 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 8 พ.ย.44 ว่า Wim Duisenberg ประธาน ธ.กลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Repo rate ลงร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.25 เป็นการปรับลดในระดับเดียวกับ ธ.กลาง สรอ. (Fed) และ ธ.กลางอังกฤษ และทำให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.43 โดย ธ.กลางยุโรปเชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาระดับราคาให้มีเสถียรภาพได้ต่อไปในระยะปานกลาง สำหรับเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้แสดงความเห็นด้วยกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ แต่ก็เห็นว่าการดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจที่เหมาะสมด้วย (รอยเตอร์ 8)
2. อังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงต่ำที่สุดในรอบ37 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 8 พ.ย. 44 ธ. กลางอังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน (key repo rate) ลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 4 นับเป็นการลดลงเป็นครั้งที่ 7 ของปีนี้ และเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปีที่ลดดอกเบี้ยในอัตรามากกว่าร้อยละ 0.25 และลดลงมากกว่าที่ตลาดเงินคาดไว้ว่าจะลดเพียงร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวต่ำที่สุดในรอบ 37 ปี การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้เกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากที่ ธ. กลางยุโรปประกาศลดดอกเบี้ยลงในอัตราเดียวกัน และก่อนหน้านี้ที่ ธ. กลาง สรอ. ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 เช่นกัน การลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เนื่องจากมีความกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ธ. กลางทั่วโลกต่างมีความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมากหลังจากเกิดการก่อวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา และได้พยายามผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อป้องกันเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย (รอยเตอร์8)
3. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นเดือน ก.ย.44 ลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อ 8 พ.ย.44 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 ตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนของญี่ปุ่นซึ่งใช้วัดภาวะการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 13.2 เทียบเดือนต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ซึ่งตัวเลขเดือน ก.ย.44 ลดลงมากกว่าค่ามัธยฐานตัวเลขประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์ 11 คน (สำรวจความคิดเห็นโดยรอยเตอร์) ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 9.0 ทั้งนี้ มูลค่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรดังกล่าวซึ่งไม่รวมเรือและเครื่องจักรผลิตพลังงานไฟฟ้า มีมูลค่า 879.0 พัน ล.เยน (7.26 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นคาดการณ์ว่า ไตรมาสที่ 4/44 (ต.ค.-ธ.ค.44) ตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชนจะลดลงร้อยละ 0.5 หลังจากที่ไตรมาสที่ 3/44 ลดลงร้อยละ 5.7 ส่วนคำสั่งซื้อเครื่องจักรภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 และคำสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 5.0 หลังจากเดือน ส.ค.44 ลดลงร้อยละ 15.7 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อเครื่องจักรโดยรวมลดลงร้อยละ 6.6 หลังจากเดือน ส.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์ 8)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 8 พ.ย.44 44.539 (44.642)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 8 พ.ย. 44ซื้อ 44.3964 (44.4602) ขาย 44.6845 (44.7589)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,850) ขาย 5,900 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 18.67 (17.67)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.59) ดีเซลหมุนเร็ว 12.59 (12.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-