การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 2.3 หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.2
หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+31.0%) ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ รวมทั้งมีการผลิตเครื่องรับ โทรทัศน์รุ่นใหม่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ(+24.7%) ขยายตัวตามการ ส่งออกไปยังตลาดหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม หมวดที่ขยายตัวชะลอลง ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+7.2%) ซึ่งชะลอลงตามการผลิตรถยนต์นั่งที่ปรับตัวลดลง เพื่อระบายสต๊อกก่อนการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในช่วงปลายปี ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมัน และน้ำท่วมส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวด เครื่องดื่ม (-47.7) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิต ของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดวัสดุก่อสร้าง (-12.9%) ลดลงเนื่องจากภาวะการ ก่อสร้างในประเทศยังคงซบเซา ประกอบกับการ ส่งออกปูนซิเมนต์ประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (-7.0%) ลดลงอย่าง ต่อเนื่องตามการใช้น้ำมันประกอบกับโรงกลั่นน้ำมันบางจากประสบปัญหาวัตถุดิบป้อนโรงกลั่นไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 4.4 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ตามการผลิตใน หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+39.4%) และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+38.5%) ที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามภาวะการส่งออกเป็นสำคัญ ในขณะที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง(+34.7%) ขยายตัวเนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และอำนาจซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยาสูบ เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายคาดว่าทางการอาจ เพิ่มอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งจะส่งผลให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น จึงเก็บ สต๊อกไว้มาก และทำให้ โรงงานยาสูบจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น หมวดอิเล็ก ทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตเพิ่มขึ้นตามการจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ในประเทศและการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้า โดยเฉพาะการจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์จอแบนที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และ หมวด ยานยนต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามการจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ ที่ยังขยายตัวจากการส่งเสริมการขาย ประกอบกับผู้ผลิตแบตเตอรี่ รายใหญ่ที่ปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรในเดือนก่อนก็กลับมาผลิตตามปกติ
หมวดที่มีการผลิตลดลงที่สำคัญ คือ หมวดปิโตรเลียม เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันบางจากประสบปัญหาการจัดหาน้ำมันดิบ และหมวดวัสดุก่อสร้างซึ่งลดลงเนื่องจากการ ก่อสร้างที่ยังซบเซาและเป็นช่วงฤดูฝน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+31.0%) ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ รวมทั้งมีการผลิตเครื่องรับ โทรทัศน์รุ่นใหม่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ(+24.7%) ขยายตัวตามการ ส่งออกไปยังตลาดหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม หมวดที่ขยายตัวชะลอลง ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+7.2%) ซึ่งชะลอลงตามการผลิตรถยนต์นั่งที่ปรับตัวลดลง เพื่อระบายสต๊อกก่อนการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในช่วงปลายปี ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมัน และน้ำท่วมส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อ
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวด เครื่องดื่ม (-47.7) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิต ของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดวัสดุก่อสร้าง (-12.9%) ลดลงเนื่องจากภาวะการ ก่อสร้างในประเทศยังคงซบเซา ประกอบกับการ ส่งออกปูนซิเมนต์ประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (-7.0%) ลดลงอย่าง ต่อเนื่องตามการใช้น้ำมันประกอบกับโรงกลั่นน้ำมันบางจากประสบปัญหาวัตถุดิบป้อนโรงกลั่นไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 4.4 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ตามการผลิตใน หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+39.4%) และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+38.5%) ที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามภาวะการส่งออกเป็นสำคัญ ในขณะที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง(+34.7%) ขยายตัวเนื่องจาก อัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และอำนาจซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยาสูบ เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายคาดว่าทางการอาจ เพิ่มอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งจะส่งผลให้ราคาบุหรี่สูงขึ้น จึงเก็บ สต๊อกไว้มาก และทำให้ โรงงานยาสูบจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น หมวดอิเล็ก ทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตเพิ่มขึ้นตามการจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ในประเทศและการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้า โดยเฉพาะการจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์จอแบนที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และ หมวด ยานยนต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามการจำหน่ายรถยนต์พาณิชย์ ที่ยังขยายตัวจากการส่งเสริมการขาย ประกอบกับผู้ผลิตแบตเตอรี่ รายใหญ่ที่ปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรในเดือนก่อนก็กลับมาผลิตตามปกติ
หมวดที่มีการผลิตลดลงที่สำคัญ คือ หมวดปิโตรเลียม เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันบางจากประสบปัญหาการจัดหาน้ำมันดิบ และหมวดวัสดุก่อสร้างซึ่งลดลงเนื่องจากการ ก่อสร้างที่ยังซบเซาและเป็นช่วงฤดูฝน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-