ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำเดือนสิงหาคม 2544 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 63 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 ดีขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการแย่ลงจากเดือนก่อน ส่วนปัจจัยด้านการจ้างงานทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 52.3 ในช่วง ต.ค.-ธ.ค. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.9 และร้อยละ 49.6 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีความเข้มงวดในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสต๊อกสินค้า โดยมีการผลิตและการส่งออกตามคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 50.0 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.1 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 40.5 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะดีขึ้นจากเดือน ส.ค. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง สำหรับค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
3.2 ภาครัฐควรเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ล่าช้า 5-6 เดือน) เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง
3.3 การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการออกสู่ตลาดของผลผลิตเกษตร จะทำให้เศรษฐกิจในภาคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีกระเตื้องขึ้นพอสมควร
3.4 ภาครัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรที่กำลังจะออกสู่ท้องตลาด เนื่องจากราคาค่อนข้างต่ำมาก โดยเฉพาะราคาข้าว
3.5 ต้นทุนสินค้าหลายตัวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
3.6 การส่งออกวัสดุก่อสร้างไป สปป.ลาว คาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกจักรยานยนต์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศจีนสามารถผลิตรถจักรยานยนต์มาขายแข่งขันในราคาถูกกว่า 2 เท่า
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 23.8 46.0 30.2 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 17.5 49.2 33.3 -
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 17.5 65.1 17.5 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 1.6 85.7 12.7 -
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.0 47.6 3.2 3.2
6. แนวโน้มการส่งออก 21.7 56.5 21.7 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 15.9 49.2 20.6 14.3
- สินค้าสำเร็จรูป 20.6 47.6 22.2 9.5
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 52.4 30.2 7.9 9.5
- ต่างประเทศ 41.4 51.7 6.9 -
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 ดีขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการแย่ลงจากเดือนก่อน ส่วนปัจจัยด้านการจ้างงานทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 52.3 ในช่วง ต.ค.-ธ.ค. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.9 และร้อยละ 49.6 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีความเข้มงวดในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสต๊อกสินค้า โดยมีการผลิตและการส่งออกตามคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 50.0 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.1 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 40.5 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะดีขึ้นจากเดือน ส.ค. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง สำหรับค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
3.2 ภาครัฐควรเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ล่าช้า 5-6 เดือน) เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง
3.3 การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการออกสู่ตลาดของผลผลิตเกษตร จะทำให้เศรษฐกิจในภาคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีกระเตื้องขึ้นพอสมควร
3.4 ภาครัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรที่กำลังจะออกสู่ท้องตลาด เนื่องจากราคาค่อนข้างต่ำมาก โดยเฉพาะราคาข้าว
3.5 ต้นทุนสินค้าหลายตัวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
3.6 การส่งออกวัสดุก่อสร้างไป สปป.ลาว คาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกจักรยานยนต์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศจีนสามารถผลิตรถจักรยานยนต์มาขายแข่งขันในราคาถูกกว่า 2 เท่า
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 23.8 46.0 30.2 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 17.5 49.2 33.3 -
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 17.5 65.1 17.5 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 1.6 85.7 12.7 -
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.0 47.6 3.2 3.2
6. แนวโน้มการส่งออก 21.7 56.5 21.7 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 15.9 49.2 20.6 14.3
- สินค้าสำเร็จรูป 20.6 47.6 22.2 9.5
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 52.4 30.2 7.9 9.5
- ต่างประเทศ 41.4 51.7 6.9 -
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-