กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง โลกาภิวัฒน์กับทิศทางการต่างประเทศของไทยโดย ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.กต. วันที่ 10 เม.ย. 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ (2)
ดังนั้น กระแสโลกาภิวัตน์กับการต่างประเทศ จึงมีความชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด
ดังที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระเบียบใหม่ของโลกที่กำลังก่อตัวขึ้นเป็นกระแสหลักของโลก หลายๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่สะท้อนผลประโยชน์และค่านิยมของกลุ่มประเทศที่มีอำนาจในโลก และไม่จำเป็นจะต้องเอื้อประโยชน์ต่อไทยเสมอไป แต่ “การต่างประเทศ” จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถเจรจาต่อรอง เลือกและกรองเอาเฉพาะผลดีของโลกาภิวัตน์ เข้ามาสู่ประเทศ
หากจะเปรียบเทียบว่า กระแสโลกาภิวัตน์เป็นเสมือนม้าป่าที่กำลังคึกคนอง “การต่างประเทศ” ก็เปรียบเสมือนบังเหียน ที่เราจะต้องรู้จักใช้อย่างมีความรู้ เพื่อให้ม้าวิ่งไปใน ทิศทางที่เราต้องการหรืออย่างน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เราตกจากหลังม้าและได้รับบาดเจ็บ
ดังนั้น ทิศทางการต่างประเทศของไทย ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นี้ ควรจะมีลักษณะที่สำคัญๆ 4 ประการ
ประการแรก การต่างประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศจะต้องครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง การค้า การลงทุน การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การศึกษา สิทธิมนุษยชน รวมทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม เพราะเหตุว่า ประเทศเราเป็นประเทศเล็ก กำลังอำนาจต่อรองยังมีอยู่น้อย จำเป็นต้องรวบรวมอำนาจต่อรองในหลายๆด้านมารวมกัน และเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ สูงสุด
ประการที่สอง การดำเนินงานด้านการต่างประเทศ ต้องร่วมมือกันหลายๆหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เราต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันในการแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ที่ผ่านๆมา เรายังอ่อนในเรื่องของความเป็นเอกภาพ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามปรับปรุงให้ดีที่สุด ประการที่สาม การต่างประเทศจะต้องใกล้ชิดกับปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน ในขณะที่ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากกระแสโลกาภิวัตน์ และวิกฤตเศรษฐกิจ “การต่างประเทศ” จักต้องเป็นเครื่องมือในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้กับพี่น้องประชาชน จะต้องคำนึงถึงความพร้อมของพี่น้องของเรา ต้องคำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เราจะต้องคอยถามตัวเราอยู่เสมอว่า สิ่งที่ทำไปเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร ที่พูดเช่นนี้ ไม่ใช่สนับสนุนให้เรามีนโยบายแสวงหาประโยชน์มากที่สุดฝ่ายเดียวแต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องระลึกถึง เพราะในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ผลประโยชน์แห่งชาติ” ยังเป็นหลักการของการต่างประเทศที่ทุกประเทศยึดถือเป็น อันดับแรก
ประการที่สี่ บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ มีความสำคัญมาก แต่ก็ไม่ใช่กระทรวง เพียงหน่วยงานเดียว ต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมอย่างที่ได้กล่าวไว้ ในแง่ของกระทรวง การต่างประเทศมีบทบาทที่เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ที่สำคัญๆ 3 ด้าน
1. เป็นหน่วยงานกลางในการวิเคราะห์ ประเมิน ภาพรวมของกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนให้ policy advice และ early warning เกี่ยวกับผลกระทบของ โลกาภิวัตน์ และมาตรฐานใหม่ๆ (international standards) ต่อไทย
2. ดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อส่งเสริมอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ปัญหาของโลกาภิวัตน์สำหรับประเทศไทย คือการที่ โครงสร้างการบริหารจัดการโลกาภิวัตน์ หรือที่เรียกว่า global governance ยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่อยู่ใต้อิทธิพลของมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ กลุ่ม G8 IMF และ World Bank แม้ในเวทีองค์การสหประชาชาติเอง กระบวนการปฎิรูปเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ หรือ UNSC ก็ยังดำเนินไปอย่างล่าช้า ดังนั้นไทยต้องใช้การต่างประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือพัฒนา เครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ like-minded countries เพื่อให้ไทยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างของ global governance โดยเฉพาะในเรื่องสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ หรือ international financial architect
เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาความร่วมมือกับนานาประเทศ นอกจากอาเซียนแล้ว ในปัจจุบันผมกำลังพยายามผลักดันให้กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ร่วมกันจัดตั้ง Asia Cooperation Dialogue เพื่อให้เอเชียมีอำนาจการต่อรองมากขึ้น เมื่อเทียบกับอเมริกาและสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เป็นที่น่ายินดีว่ากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและอเมริกาใต้ จำนวน 30 ประเทศ ได้ก่อตั้งเวทีความร่วมมือที่เรียกว่า FEALAC (Forum for East Asia and Latin America Cooperation) ซึ่งผมได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศชิลี การประชุมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการ ร่วมมือระหว่างทั้งสองภูมิภาค เพื่อช่วยกันบริหารกระบวนการโลกาภิวัตน์ ให้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างทั้งสองภูมิภาค
3. การช่วยส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยการเจรจา เปิดช่องทางธุรกิจ การค้า การลงทุน กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดใหม่ รวมทั้งช่องทางการจัดตั้งเขตการค้าเสรี และการพัฒนา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจพหุภาคีกับประเทศต่างๆ
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
การสัมมนาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องกระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อไทยแล้ว ในวันที่สองของการสัมมนา คือวันพรุ่งนี้ จะมีการแบ่ง กลุ่มย่อยเพื่อให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับท่าทีของไทยต่อโลกาภิวัตน์ ซึ่งผมและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศทุกคนพร้อมที่จะน้อมรับคำแนะนำ และข้อคิดอันเป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้ประกอบการการพิจารณาทางเลือกในการกำหนดยุทธศาสตร์ของไทยต่อไป
ท้ายนี้ ในนามสโมสรสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ ผมขอขอบคุณ สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย ที่กรุณาให้การสนับสนุนการสัมมนาในครั้งนี้
ผมขออวยพรให้การสัมมนาบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอถือโอกาสนี้เปิดการสัมมนาเรื่อง “โลกาภิวัตน์กับทิศทางการต่างประเทศของไทย” ณ บัดนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
คำกล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง โลกาภิวัฒน์กับทิศทางการต่างประเทศของไทยโดย ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.กต. วันที่ 10 เม.ย. 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ (2)
ดังนั้น กระแสโลกาภิวัตน์กับการต่างประเทศ จึงมีความชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด
ดังที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระเบียบใหม่ของโลกที่กำลังก่อตัวขึ้นเป็นกระแสหลักของโลก หลายๆ เรื่อง เป็นสิ่งที่สะท้อนผลประโยชน์และค่านิยมของกลุ่มประเทศที่มีอำนาจในโลก และไม่จำเป็นจะต้องเอื้อประโยชน์ต่อไทยเสมอไป แต่ “การต่างประเทศ” จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถเจรจาต่อรอง เลือกและกรองเอาเฉพาะผลดีของโลกาภิวัตน์ เข้ามาสู่ประเทศ
หากจะเปรียบเทียบว่า กระแสโลกาภิวัตน์เป็นเสมือนม้าป่าที่กำลังคึกคนอง “การต่างประเทศ” ก็เปรียบเสมือนบังเหียน ที่เราจะต้องรู้จักใช้อย่างมีความรู้ เพื่อให้ม้าวิ่งไปใน ทิศทางที่เราต้องการหรืออย่างน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้เราตกจากหลังม้าและได้รับบาดเจ็บ
ดังนั้น ทิศทางการต่างประเทศของไทย ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นี้ ควรจะมีลักษณะที่สำคัญๆ 4 ประการ
ประการแรก การต่างประเทศและการดำเนินนโยบายต่างประเทศจะต้องครอบคลุมหลากหลายมิติ ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง การค้า การลงทุน การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การศึกษา สิทธิมนุษยชน รวมทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรม เพราะเหตุว่า ประเทศเราเป็นประเทศเล็ก กำลังอำนาจต่อรองยังมีอยู่น้อย จำเป็นต้องรวบรวมอำนาจต่อรองในหลายๆด้านมารวมกัน และเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ สูงสุด
ประการที่สอง การดำเนินงานด้านการต่างประเทศ ต้องร่วมมือกันหลายๆหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เราต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันในการแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ที่ผ่านๆมา เรายังอ่อนในเรื่องของความเป็นเอกภาพ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันจะพยายามปรับปรุงให้ดีที่สุด ประการที่สาม การต่างประเทศจะต้องใกล้ชิดกับปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน ในขณะที่ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากกระแสโลกาภิวัตน์ และวิกฤตเศรษฐกิจ “การต่างประเทศ” จักต้องเป็นเครื่องมือในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้กับพี่น้องประชาชน จะต้องคำนึงถึงความพร้อมของพี่น้องของเรา ต้องคำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เราจะต้องคอยถามตัวเราอยู่เสมอว่า สิ่งที่ทำไปเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร ที่พูดเช่นนี้ ไม่ใช่สนับสนุนให้เรามีนโยบายแสวงหาประโยชน์มากที่สุดฝ่ายเดียวแต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องระลึกถึง เพราะในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ “ผลประโยชน์แห่งชาติ” ยังเป็นหลักการของการต่างประเทศที่ทุกประเทศยึดถือเป็น อันดับแรก
ประการที่สี่ บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ มีความสำคัญมาก แต่ก็ไม่ใช่กระทรวง เพียงหน่วยงานเดียว ต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมอย่างที่ได้กล่าวไว้ ในแง่ของกระทรวง การต่างประเทศมีบทบาทที่เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ที่สำคัญๆ 3 ด้าน
1. เป็นหน่วยงานกลางในการวิเคราะห์ ประเมิน ภาพรวมของกระแสโลกาภิวัตน์ ตลอดจนให้ policy advice และ early warning เกี่ยวกับผลกระทบของ โลกาภิวัตน์ และมาตรฐานใหม่ๆ (international standards) ต่อไทย
2. ดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อส่งเสริมอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ปัญหาของโลกาภิวัตน์สำหรับประเทศไทย คือการที่ โครงสร้างการบริหารจัดการโลกาภิวัตน์ หรือที่เรียกว่า global governance ยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่อยู่ใต้อิทธิพลของมหาอำนาจ ทางเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ กลุ่ม G8 IMF และ World Bank แม้ในเวทีองค์การสหประชาชาติเอง กระบวนการปฎิรูปเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ หรือ UNSC ก็ยังดำเนินไปอย่างล่าช้า ดังนั้นไทยต้องใช้การต่างประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือพัฒนา เครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ like-minded countries เพื่อให้ไทยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างของ global governance โดยเฉพาะในเรื่องสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ หรือ international financial architect
เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาความร่วมมือกับนานาประเทศ นอกจากอาเซียนแล้ว ในปัจจุบันผมกำลังพยายามผลักดันให้กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ร่วมกันจัดตั้ง Asia Cooperation Dialogue เพื่อให้เอเชียมีอำนาจการต่อรองมากขึ้น เมื่อเทียบกับอเมริกาและสหภาพยุโรป นอกจากนี้ เป็นที่น่ายินดีว่ากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและอเมริกาใต้ จำนวน 30 ประเทศ ได้ก่อตั้งเวทีความร่วมมือที่เรียกว่า FEALAC (Forum for East Asia and Latin America Cooperation) ซึ่งผมได้เข้าร่วมการประชุมครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศชิลี การประชุมดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการ ร่วมมือระหว่างทั้งสองภูมิภาค เพื่อช่วยกันบริหารกระบวนการโลกาภิวัตน์ ให้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างทั้งสองภูมิภาค
3. การช่วยส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจไทย ด้วยการเจรจา เปิดช่องทางธุรกิจ การค้า การลงทุน กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดใหม่ รวมทั้งช่องทางการจัดตั้งเขตการค้าเสรี และการพัฒนา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจพหุภาคีกับประเทศต่างๆ
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ
การสัมมนาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องกระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อไทยแล้ว ในวันที่สองของการสัมมนา คือวันพรุ่งนี้ จะมีการแบ่ง กลุ่มย่อยเพื่อให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับท่าทีของไทยต่อโลกาภิวัตน์ ซึ่งผมและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศทุกคนพร้อมที่จะน้อมรับคำแนะนำ และข้อคิดอันเป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้ประกอบการการพิจารณาทางเลือกในการกำหนดยุทธศาสตร์ของไทยต่อไป
ท้ายนี้ ในนามสโมสรสราญรมย์ กระทรวงการต่างประเทศ ผมขอขอบคุณ สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย ที่กรุณาให้การสนับสนุนการสัมมนาในครั้งนี้
ผมขออวยพรให้การสัมมนาบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ และขอถือโอกาสนี้เปิดการสัมมนาเรื่อง “โลกาภิวัตน์กับทิศทางการต่างประเทศของไทย” ณ บัดนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-