แท็ก
เงินบาท
ค่าเงินบาทโน้มอ่อนตัวลงเล็กน้อยในไตรมาสแรก โดยมีค่าเฉลี่ย 37.35 37.71 และ 37.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ
ในเดือนมกราคม ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจต่อเงินสกุลในภูมิภาคและค่าเงินบาท ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามายังภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งมอบดอลลาร์ สรอ. ตามสัญญา swap ที่ครบกำหนดในเดือนมกราคม และมีความต้องการเงินมากขึ้นสำหรับเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวและอัตราดอกเบี้ยเงินบาททั้งในและต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับทางสภาพัฒน์คาดการณ์ว่าในปี 2543 การส่งออกของไทยจะขยายตัวร้อยละ 6.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้แสดงถึงเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศของเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเดือนเงินบาทได้ปรับตัวอ่อนลงบ้างตามการอ่อนตัวของค่าเงินเยน
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง โดยมีสาเหตุจาก นาย Hubert Neiss ได้แสดงความเห็นว่า ปัจจัยถ่วงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คือขาดการปรับโครงสร้างภาคการเงินแบบเบ็ดเสร็จของไทย โดยความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้ตลาด สูญเสียความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเงินบาทยังได้รับผลกระทบเชิงลบจากการ อ่อนตัวของค่าเงินเยนซึ่งปรับตัวอ่อนลงสู่ระดับอ่อนสุดที่ระดับ 111.2 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. และการอ่อนตัวของค่าเงินสำคัญในภูมิภาค อาทิ ดอลลาร์สิงคโปร์ นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจาก 477.57 จุด ณ สิ้นมกราคม เป็น 374.32 จุด ณ สิ้นกุมภาพันธ์ ได้ส่งผลต่อการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ในเดือนมีนาคม เงินบาทได้รับผลกระทบเชิงลบจากกรณี TPI ซึ่งการเจรจาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงต้นเดือนและได้ส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากบริษัท TPI เป็นลูกหนี้รายใหญ่ของประเทศประกอบกับมีการซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศและส่งผลกำไรกลับประเทศในระหว่างเดือนมีนาคม เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 1999/2000 ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในระหว่างเดือน ส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากระแสข่าวที่ MSCI (Morgan Stanley Capital Index) ได้ปรับลดน้ำหนักการ ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และข่าวที่ผู้บริหาร Tiger Fund อาจยุบ Jaguar Fund ซึ่งกองทุนได้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่หลังจากประสบปัญหาขาดทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ก่อให้เกิด sentiment เชิงลบต่อค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาท
กล่าวโดยสรุป ถึงแม้ค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบในเชิงลบบ้างในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 แต่ก็ไม่มากนักโดยการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทเกิดจากความล่าช้าของการปรับโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จภาคเอกชน และการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของค่าเงินบาทเป็นไปในสัดส่วนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากไทยยังคงมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในเดือนมกราคม ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นจากสิ้นปีก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจต่อเงินสกุลในภูมิภาคและค่าเงินบาท ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามายังภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งมอบดอลลาร์ สรอ. ตามสัญญา swap ที่ครบกำหนดในเดือนมกราคม และมีความต้องการเงินมากขึ้นสำหรับเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวและอัตราดอกเบี้ยเงินบาททั้งในและต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับทางสภาพัฒน์คาดการณ์ว่าในปี 2543 การส่งออกของไทยจะขยายตัวร้อยละ 6.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.0 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้แสดงถึงเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศของเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเดือนเงินบาทได้ปรับตัวอ่อนลงบ้างตามการอ่อนตัวของค่าเงินเยน
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง โดยมีสาเหตุจาก นาย Hubert Neiss ได้แสดงความเห็นว่า ปัจจัยถ่วงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คือขาดการปรับโครงสร้างภาคการเงินแบบเบ็ดเสร็จของไทย โดยความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้ตลาด สูญเสียความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเงินบาทยังได้รับผลกระทบเชิงลบจากการ อ่อนตัวของค่าเงินเยนซึ่งปรับตัวอ่อนลงสู่ระดับอ่อนสุดที่ระดับ 111.2 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. และการอ่อนตัวของค่าเงินสำคัญในภูมิภาค อาทิ ดอลลาร์สิงคโปร์ นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจาก 477.57 จุด ณ สิ้นมกราคม เป็น 374.32 จุด ณ สิ้นกุมภาพันธ์ ได้ส่งผลต่อการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ในเดือนมีนาคม เงินบาทได้รับผลกระทบเชิงลบจากกรณี TPI ซึ่งการเจรจาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงต้นเดือนและได้ส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากบริษัท TPI เป็นลูกหนี้รายใหญ่ของประเทศประกอบกับมีการซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศและส่งผลกำไรกลับประเทศในระหว่างเดือนมีนาคม เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 1999/2000 ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในระหว่างเดือน ส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากระแสข่าวที่ MSCI (Morgan Stanley Capital Index) ได้ปรับลดน้ำหนักการ ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และข่าวที่ผู้บริหาร Tiger Fund อาจยุบ Jaguar Fund ซึ่งกองทุนได้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่หลังจากประสบปัญหาขาดทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ก่อให้เกิด sentiment เชิงลบต่อค่าเงินในภูมิภาคและค่าเงินบาท
กล่าวโดยสรุป ถึงแม้ค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบในเชิงลบบ้างในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 แต่ก็ไม่มากนักโดยการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทเกิดจากความล่าช้าของการปรับโครงสร้างหนี้แบบเบ็ดเสร็จภาคเอกชน และการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของค่าเงินบาทเป็นไปในสัดส่วนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากไทยยังคงมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-