ในปี 2543 ผลผลิตสับปะรดสดลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.6 เนื่องจากราคาสับปะรดตกต่ำจึงไม่จูงใจให้เกษตรกรบำรุงดูแล ผลผลิตสับปะรดกระป๋องในปีนี้จึงลดลงร้อยละ 11 ตามปริมาณวัตถุดิบ สำหรับผลผลิตสับปะรดเฉลี่ยต่อไร่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ในช่วง 3.5 — 3.9 ตันต่อไร่ ในขณะที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยผลิตได้เฉลี่ย 5.3 ตันต่อไร่ (ในช่วงปี 2537 — 2541)
การส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยในปี 2543 มีปริมาณและมูลค่าลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.9 และ 31.1 ตามการหดตัวของวัตถุดิบสับปะรดสด ประกอบกับประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นสามารถขยายตลาดส่งออกไปแข่งขันกับสินค้าไทยได้มาก และในราคาที่ต่ำกว่าไทย ทั้งนี้ ในปี 2543 ไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก มีสัดส่วนมูลค่าส่งออกร้อยละ 22 ใกล้เคียงกับมูลค่าส่งออกในปี 2542 แต่ก็ลดลง เนื่องจากปัญหาการแข่งขันดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการส่งออกนี้ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2540 และปี 2541 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 14 และ 11 เนื่องจากอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping — AD) ของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทยได้ลดลงมาก (สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากผู้ผลิตและส่งออกสับปะรดกระป๋องจากไทยตั้งแต่ปี 2537 ในอัตราร้อยละ 1.73 — 51.16 และในปี 2542 ลดลงเหลือร้อยละ 0.37 — 24.64) และขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพิจารณาทบทวนการเก็บภาษี AD สับปะรดกระป๋องของไทย ทั้งนี้ คาดว่าจะทราบผลว่าจะยกเลิกภาษีนี้หรือไม่ในเดือนพฤษภาคม 2544 สำหรับปริมาณส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยในปี 2544 คาดว่าจะลดลงจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 5
ปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย ได้แก่ วัตถุดิบสับปะรดสดมีคุณภาพต่ำและมีขนาดไม่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานต้องการ นอกจากนี้ การส่งออกสับปะรดกระป๋องยังมีปัญหาถูกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้านี้ไปยังตลาดสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก และทำให้ประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เข้ามาแทนที่ในตลาดสหรัฐฯ แต่เนื่องจากในช่วงปี 2538 — 2541 เกิดปัญหาอุปทานสับปะรดกระป๋องในตลาดโลกขาดแคลน สับปะรดกระป๋องของไทยจึงสามารถขยายตลาดในสหภาพยุโรปได้มากขึ้น โดยเข้าไปทดแทนช่องว่างที่ประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ย้ายตลาดบางส่วนไปสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ทำให้สับปะรดกระป๋องของไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในสหภาพยุโรปสูงกว่าประเทศคู่แข่ง จึงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศคู่แข่งไปบางส่วน เป็นการซ้ำเติมปัญหาด้านการตลาดให้รุนแรงมากขึ้น
ในการแก้ไขปัญหาการส่งออกสับปะรดกระป๋อง ภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต ทั้งวัตถุดิบสับปะรด และผลผลิตสับปะรดกระป๋องที่ส่งออก นอกจากนี้ ภาคเอกชนต้องปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่เพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับรูปแบบการค้าใหม่ๆ เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยในปี 2543 มีปริมาณและมูลค่าลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.9 และ 31.1 ตามการหดตัวของวัตถุดิบสับปะรดสด ประกอบกับประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นสามารถขยายตลาดส่งออกไปแข่งขันกับสินค้าไทยได้มาก และในราคาที่ต่ำกว่าไทย ทั้งนี้ ในปี 2543 ไทยส่งออกสับปะรดกระป๋องไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก มีสัดส่วนมูลค่าส่งออกร้อยละ 22 ใกล้เคียงกับมูลค่าส่งออกในปี 2542 แต่ก็ลดลง เนื่องจากปัญหาการแข่งขันดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการส่งออกนี้ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2540 และปี 2541 ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 14 และ 11 เนื่องจากอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping — AD) ของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทยได้ลดลงมาก (สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากผู้ผลิตและส่งออกสับปะรดกระป๋องจากไทยตั้งแต่ปี 2537 ในอัตราร้อยละ 1.73 — 51.16 และในปี 2542 ลดลงเหลือร้อยละ 0.37 — 24.64) และขณะนี้สหรัฐฯ กำลังพิจารณาทบทวนการเก็บภาษี AD สับปะรดกระป๋องของไทย ทั้งนี้ คาดว่าจะทราบผลว่าจะยกเลิกภาษีนี้หรือไม่ในเดือนพฤษภาคม 2544 สำหรับปริมาณส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทยในปี 2544 คาดว่าจะลดลงจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 5
ปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย ได้แก่ วัตถุดิบสับปะรดสดมีคุณภาพต่ำและมีขนาดไม่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานต้องการ นอกจากนี้ การส่งออกสับปะรดกระป๋องยังมีปัญหาถูกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้านี้ไปยังตลาดสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก และทำให้ประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เข้ามาแทนที่ในตลาดสหรัฐฯ แต่เนื่องจากในช่วงปี 2538 — 2541 เกิดปัญหาอุปทานสับปะรดกระป๋องในตลาดโลกขาดแคลน สับปะรดกระป๋องของไทยจึงสามารถขยายตลาดในสหภาพยุโรปได้มากขึ้น โดยเข้าไปทดแทนช่องว่างที่ประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ย้ายตลาดบางส่วนไปสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ทำให้สับปะรดกระป๋องของไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในสหภาพยุโรปสูงกว่าประเทศคู่แข่ง จึงสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศคู่แข่งไปบางส่วน เป็นการซ้ำเติมปัญหาด้านการตลาดให้รุนแรงมากขึ้น
ในการแก้ไขปัญหาการส่งออกสับปะรดกระป๋อง ภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต ทั้งวัตถุดิบสับปะรด และผลผลิตสับปะรดกระป๋องที่ส่งออก นอกจากนี้ ภาคเอกชนต้องปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่เพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับรูปแบบการค้าใหม่ๆ เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-