กรุงเทพฯ--2 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นาง Mary Robinson ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเดินทาง มาเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อร่วมเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิก ครั้งที่ 9 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ณ กรุงเทพฯ ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ทั้งในด้านการเป็นแบบอย่างแก่ประเทศต่างๆ และการให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ และสหประชาชาติ
ในการเข้าพบหารือกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นเวลากว่า 50 นาที ในช่วงระหว่างการแถลงนโยบาย ณ รัฐสภา นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดความยากจน การส่งเสริมให้ประชาสังคม องค์กรท้องถิ่น และองค์การเอกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการตรวจสอบ ติดตามผลการปฏิบัติงานของภาครัฐ การแก้ปัญหาความแออัดในเรือนจำ ปัญหายาเสพติด ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ผู้หนีภัยการสู้รบที่เข้ามาพักพิงอยู่ในประเทศ รวมทั้งปัญหาการลักลอบการค้าเด็กและสตรีในภูมิภาค
นอกจากนี้ สุนทรพจน์ของ ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในพิธีเปิดการประชุม ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นที่จะยึดมั่นในหลักการของสิทธิมนุษยชน พันธกรณีของไทยต่ออนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี การส่งเสริมประชาธิปไตย บทบาทขององค์การเอกชนในการช่วยพิทักษ์สิทธิของประชาชน รวมทั้งสิทธิในการพัฒนา และความเป็นธรรมในสังคม
ในโอกาสที่เข้าร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติ และข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้ลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอสแคป) เพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ประจำสำนักงาน เอสแคป ณ กรุงเทพฯ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวแสดงความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดใหม่จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศอื่นๆ พร้อมกับแสดงความเห็นด้วยกับการให้ความสำคัญแก่ปัญหาความยากจน และการพัฒนาชนบทซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
อนึ่ง ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ยังได้พบปะหารือกับดร. บุญทัน ดอกไธสงค์ รองประธานวุฒิสภา พร้อมทั้งผู้แทนคณะกรรมาธิการต่างๆ ของวุฒิสภา คณะบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทย และประธานศาลฎีกา โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับ การดำเนินการอย่างเป็นอิสระขององค์กรที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมทั้งการเสนอให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้แสดงความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาการลักลอบค้าเด็กและสตรีในภูมิภาค และแสดงความสนใจที่จะหารือในเรื่องดังกล่าวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย หลังจากนั้น จะเดินทางไปเยี่ยมชมบ้านเกร็ดตระการ จ. นนทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ให้ที่ พักพิงแก่เด็กที่ถูกลักลอบค้าและได้รับการช่วยเหลือ ในวันที่ 1 มีนาคม 2544 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ในการแก้ปัญหาการลักลอบค้าเด็กและสตรีในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
นาง Mary Robinson ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเดินทาง มาเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อร่วมเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคเอเชีย — แปซิฟิก ครั้งที่ 9 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ณ กรุงเทพฯ ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค ทั้งในด้านการเป็นแบบอย่างแก่ประเทศต่างๆ และการให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ และสหประชาชาติ
ในการเข้าพบหารือกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นเวลากว่า 50 นาที ในช่วงระหว่างการแถลงนโยบาย ณ รัฐสภา นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดความยากจน การส่งเสริมให้ประชาสังคม องค์กรท้องถิ่น และองค์การเอกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และการตรวจสอบ ติดตามผลการปฏิบัติงานของภาครัฐ การแก้ปัญหาความแออัดในเรือนจำ ปัญหายาเสพติด ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ผู้หนีภัยการสู้รบที่เข้ามาพักพิงอยู่ในประเทศ รวมทั้งปัญหาการลักลอบการค้าเด็กและสตรีในภูมิภาค
นอกจากนี้ สุนทรพจน์ของ ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในพิธีเปิดการประชุม ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นที่จะยึดมั่นในหลักการของสิทธิมนุษยชน พันธกรณีของไทยต่ออนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี การส่งเสริมประชาธิปไตย บทบาทขององค์การเอกชนในการช่วยพิทักษ์สิทธิของประชาชน รวมทั้งสิทธิในการพัฒนา และความเป็นธรรมในสังคม
ในโอกาสที่เข้าร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติ และข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้ลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอสแคป) เพื่อแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ประจำสำนักงาน เอสแคป ณ กรุงเทพฯ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้ให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวแสดงความมั่นใจว่ารัฐบาลชุดใหม่จะให้ความสำคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศอื่นๆ พร้อมกับแสดงความเห็นด้วยกับการให้ความสำคัญแก่ปัญหาความยากจน และการพัฒนาชนบทซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
อนึ่ง ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ยังได้พบปะหารือกับดร. บุญทัน ดอกไธสงค์ รองประธานวุฒิสภา พร้อมทั้งผู้แทนคณะกรรมาธิการต่างๆ ของวุฒิสภา คณะบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทย และประธานศาลฎีกา โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับ การดำเนินการอย่างเป็นอิสระขององค์กรที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมทั้งการเสนอให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้แสดงความสนใจเป็นพิเศษต่อปัญหาการลักลอบค้าเด็กและสตรีในภูมิภาค และแสดงความสนใจที่จะหารือในเรื่องดังกล่าวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย หลังจากนั้น จะเดินทางไปเยี่ยมชมบ้านเกร็ดตระการ จ. นนทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ให้ที่ พักพิงแก่เด็กที่ถูกลักลอบค้าและได้รับการช่วยเหลือ ในวันที่ 1 มีนาคม 2544 เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ในการแก้ปัญหาการลักลอบค้าเด็กและสตรีในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-