กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
บทสรุป "The Overview and the 2000 Agenda" เรื่อง นโยบายการค้าในปี 2000 และ รายงานประจำปีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเรื่องข้อตกลงการค้า จัดทำโดย USTR
รายงานของ USTR ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีของคณะบริหารงานของประธานาธิบดี คลินตันที่เสนอต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ในวาระการประชุมเรื่องนโยบายการค้าสำหรับปี 2000 Section 125 ของ Uruguay Round Implementation Act กำหนดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบของ ข้อตกลงของ WTO ต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทุกๆ 5 ปี และประโยชน์ที่สหรัฐฯ ควรได้รับจาก การเป็นสมาชิก WTO ต่อไป หลังจากการเผยแพร่รายงานของ USTR นาย Ron Paul สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่าย Republican รัฐเท็กซัส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 5 ท่าน คือ นาย John Duncan Jr. (R-TN), นาง Dana Rohrabacher (R-CA), นาย Gene Taylor (D —MS), นาย Jack Metcaff (R-WA), และนาย Duncan Hunter (R-CA) ได้เสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร ให้ สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของ WTO โดยให้เหตุผลว่า รายงานของ USTR มุ่งเน้น เฉพาะประโยชน์ที่สหรัฐฯ ได้รับจากการเป็นสมาชิก WTO และมองข้ามผลเสียต่างๆ พร้อมทั้งไม่ สามารถแยกแยะได้ว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการดำเนินการของ WTO ในการเปิดเสรีการค้าโลกหรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆ
ทั้งนี้ หลังการนำเสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีการลงมติภายใน 45 วัน ถ้าเรื่องผ่าน สภาผู้แทนราษฎรแล้วมติจะถูกส่งต่อไปยังวุฒิสภา โดยไม่ต้องให้วุฒิสมาชิกนำเสนออีก อย่างไรก็ตาม เมื่อมตินี้ผ่านความเห็นชอบจากทั้งสองสภาฯ แล้ว ประธานาธิบดีสามารถที่จะยับยั้งได้ ซึ่งสภาคองเกรสสามารถระงับการใช้สิทธิยับยั้งของประธานาธิบดีได้ ถ้าได้รับเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด โดยต้องดำเนินการภายใน 90 วันหลังจากการเผยแพร่ของรายงานของ คณะบริหารฯ หรือ 15 วัน หลังจากที่ประธานาธิบดีได้ใช้สิทธิยับยั้งรายงานของ USTR สามารถสรุปได้ดังนี้:
เนื้อหาโดยย่อ: กล่าวถึงประโยชน์ของการเปิดเสรีและระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหรัฐฯ ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 90 เช่น ในเรื่องของ การจ้างงาน มาตรฐานการครองชีพ การลงทุน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และให้คำมั่น ว่าจะดำรงไว้ด้วยการเปิดเสรีและระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อไปในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับ American Values เช่น ความโปร่งใส และความสำคัญของประชาคมโลก (Civil Society) ในการกำหนดนโยบายการค้าระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคีการดำเนินการในระดับพหุภาคี (WTO):
- กล่าวถึงความเป็นมาและประโยชน์ของ GATT/WTO เช่น การขยายกฎระเบียบทางการค้า กลไกในการระงับข้อพิพาทที่เข้มแข็ง การเปิดเสรีการค้า และการเพิ่มโอกาสสำหรับการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ
- ชี้ให้เห็นว่า WTO ได้ส่งเสริมจุดมุ่งหมายของสหรัฐอเมริกาทางด้านการค้าหลายประการ อาทิ The Building the 21st Century Economy (เช่น ความตกลงว่าด้วยเรื่องสินค้าเทคโนโลยี สารสนเทศ โทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน การบริการทางด้านการเงิน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ WTO ได้ช่วยส่งเสริมให้สหรัฐฯ เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี) การสิ้นสุดของสงครามเย็น (WTO ได้ช่วยในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของ Transitional Economies เช่น ประเทศโปแลนด์ ฮังการี และจีน) การส่งเสริมการพัฒนาและโอกาสทางเศรษฐกิจในประเทศยากจนที่สุดของโลก เช่น ในแอฟริกาและ Caribbean Basin Initiative หรือ CBI และการส่งเสริมเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก (WTO ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก และยับยั้งการใช้นโยบาย เศรษฐกิจที่กีดกันการค้า)
- กล่าวถึงนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้กรอบ WTO ในอนาคต ซึ่งจะให้ความสนใจแก่ 3 ประเด็น เป็นพิเศษ คือ 1) การพัฒนาการเจรจาต่อรอง โดยทางด้านการค้าสินค้าเกษตรจะเน้นการขจัด การอุดหนุนการส่งออก การลดภาษี การขยายโควตาภาษี การลดมาตรการบิดเบือนทางการค้า การมีวินัยและความโปร่งใสในการดำเนินการ และ มาตรฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับ สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ส่วนทางด้านการค้าบริการจะเน้นเรื่อง การลดข้อจำกัด การค้าในสาขาต่างๆ เช่น พลังงาน สิ่งแวดล้อม โสตทัศนูปกรณ์ การบริการด้านการเงิน โทรคมนาคม สุขอนามัย การศึกษา และการท่องเที่ยว และการเตรียมการในเรื่องต่างๆ สำหรับการเจรจาการค้ารอบใหม่ เช่น การเปิดตลาดสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งแวดล้อม แรงงาน การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐฯ 2) การปฏิบัติตาม ข้อตกลงต่างๆ เช่น TRIMs, TRIPS, Customs Valuation และ Industrial Subsidies 3) การปฏิรูปการดำเนินการของ WTO โดยเฉพาะในเรื่อง ความโปร่งใส การเปิดกว้างต่อ สาธารณชนและ NGO ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ WTO มากขึ้น และความโปร่งใส ในกลไกการระงับข้อพิพาทของ WTO
การดำเนินการในระดับทวิภาคี และภูมิภาค:
- จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีขึ้น เพิ่มโอกาสของความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ค่าแรงงานที่สูงขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนาแบบยั่งยืน ความมีเสถียรภาพ และการรักษาสันติภาพโลก
- จีน: สหรัฐฯ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ซึ่งหมายถึงโอกาสในการขยายการค้า การตลาดโดยไม่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ และยังสามารถควบคุม ตรวจสอบให้จีนปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ของ WTO ได้ด้วย เช่น ผ่านกระบวนการระงับ ข้อพิพาท แต่ทั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องให้สถานภาพความสัมพันธ์ทางการค้าที่ถาวร (Normal Trade Relation status) แก่จีน ส่วนการเจรจาสองฝ่ายกับจีนที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งทอ และการเกษตรเป็นพิเศษ
- ญี่ปุ่น: ในช่วงที่ผ่านมา คณะบริหารของประธานาธิบดีคลินตันได้ทำความตกลงหลายฉบับกับญี่ปุ่น ซึ่งมีผลทำให้มีการเปิดตลาดของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น เช่น ในด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีทางการแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้าการเกษตร และธุรกิจประกันภัย โดยข้อตกลงสำคัญได้แก่ U.S. —Japan Enhanced Initiative on Deregulation and Competition Policy ในปี 1997 ความตกลงการค้า ฉบับใหม่ในปี 1999 ซึ่งเกี่ยวกับการผ่อนคลายกฎระเบียบทางการค้าของญี่ปุ่น การให้สัมปทาน โทรคมนาคม การปฏิรูปโครงสร้างและกฎระเบียบการค้าของญี่ปุ่น รวมทั้งการเจรจาทวิภาคี เรื่องเหล็ก
- ประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกและ APEC: สหรัฐฯ ได้ทำความตกลงการเปิดตลาด ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ความตกลง APEC ว่าด้วยสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ความตกลง 13 ฉบับกับเกาหลีใต้ ความตกลง 20 ฉบับกับประเทศอาเซียน ความตกลงทวิภาคีด้านการพาณิชย์ กับกัมพูชาและลาว และข้อตกลงการค้ากับเวียดนาม ทั้งนี้ เห็นว่านโยบายผูกพันการเปิดเสรีการค้า ได้ช่วยบรรเทาผลของวิกฤตเศรษฐกิจโลก
- Western Hemisphere: ข้อตกลงที่สำคัญได้แก่ ข้อตกลง NAFTA และ ข้อตกลงทวิภาคีกับ ประเทศคู่ค้าของ NAFTA,ข้อตกลงกับกลุ่ม Carribean Basin Initiative และการเจรจาในเรื่อง การจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งอเมริกา (Free Trade of the Amerrica หรือ FTAA) ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการร่างข้อตกลงต่างๆ และประเด็นสำคัญคือ การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ความกังวล ของประชาสังคมโลก และเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- ทวีปแอฟริกา: ข้อตกลงหรือมาตรการที่สหรัฐฯ ได้จัดทำขึ้นหรือมีส่วนร่วม เพื่อช่วย ส่งเสริมการค้า การปฏิรูปภายในและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในทวีปนี้ ได้แก่ ข้อตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreements) กับแอฟริกาใต้ กานา และไนจีเรีย African Growth and Opportunity Act ในปี 2000 แผนยกเว้นหนี้ และการให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศแอฟริกาในการเข้าไป มีบทบาทใน WTO เช่น ผ่าน Integrated Framework Program
- ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ: ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในทวีปนี้ดำเนินการผ่าน Duty-Free Programs เป็นส่วนใหญ่ เช่น U.S.-Israel FTA, Qualifying Industrial Zone Program กับประเทศจอร์แดนและอิสราเอล และข้อตกลงทวิภาคีผ่าน Trade and Investment Councils และ Trade and Investment Framework Agreements นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของโอมาน ซาอุดิอาระเบีย และเลบานอน
- ยุโรปตะวันตก: แม้ว่า EU จะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ แต่ EU ก็เป็นคู่กรณีทางการค้า รายใหญ่ของสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน อาทิ ในเรื่องกล้วยหอม เนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยฮอร์โมน และบทบัญญัติในกฎหมายภาษีของสหรัฐฯเรื่องของ Foreign Sales Corporation Provision แต่อย่างไรก็ตาม EU และสหรัฐฯ ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าให้มากขึ้น ดังปรากฏในข้อตกลงหลายฉบับ เช่น Mutual Recognition Agreement (MRA) U.S.-EU Transatlantic Economic Partnership (TEP) และข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ ความร่วมมือ ว่าด้วยกฎระเบียบทางการค้า (Transatlantic regulatory cooperation)
- ยุโรปตอนกลางและรัฐที่ได้รับอิสระใหม่: สหรัฐฯ ได้สนับสนุนการเปิดเสรีการค้าและการ ปฏิรูปตลาดของประเทศในเขตนี้ โดยผ่านข้อตกลงระดับทวิภาคีและสนธิสัญญาการลงทุน การสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิก WTO และ Southeast Europe Trade Preference Act (SETPA)
เรื่องอื่นๆ
คณะบริหารของประธานาธิบดีคลินตันได้พยายามปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าที่ได้กำหนดไว้ ในทุกระดับ และส่งเสริมปรัชญาของสหรัฐฯ ในระบบการค้าโลก เช่น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งสหรัฐฯ ได้ช่วยจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม (Committee on Trade and Environment) ภายใต้ WTO APEC และ FTAA และจัดให้มีการประชุมระดับสูงครั้งแรก ในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมใน WTO (High-Level Symposium on Trade and Environment) สิทธิและมาตรฐานแรงงาน ซึ่งสหรัฐฯ ได้เสนอให้มีการร่วมมือระหว่าง WTO และ ILO รวมทั้งการจัดตั้งคณะทำงานของ WTO เพื่อดูแลเรื่องการค้าและแรงงาน และการคุ้มครอง สิทธิแรงงานโดยผ่านการใช้ GSP การคุ้มครองผู้บริโภค และ การปกครองที่ดีในสถาบันทางการค้า (Good governance in Trade Institutions) คือ สหรัฐฯ ได้สนับสนุนให้มีการปฏิรูปการดำเนินงาน ของ WTO และการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาสังคม พร้อมทั้งช่วยจัดตั้ง คณะกรรมการประชาคม (Civil Society Committee) ใน FTAA และคณะทำงานเพื่อดูแลธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้ APEC
การประเมินรายงานของ USTR
วุฒิสมาชิก Paul กล่าวถูกที่ว่า รายงาน USTR ฉบับนี้ได้ให้ความสนใจแก่ประโยชน์มากกว่า ผลเสียที่สหรัฐฯ ได้รับจากการเป็นสมาชิกของ WTO และไม่มีหลักฐานพอที่จะชี้ว่าสหรัฐฯ ได้รับ ผลประโยชน์มากน้อยเพียงใดจาก WTO อนึ่ง USTR ได้อ้างถึงประโยชน์ต่างๆ ในเชิงทฤษฎี มากกว่าการอ้างอิงตัวเลขจริง นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ก็ไม่ได้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง ความเจริญทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากับการที่สหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกของ WTO อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม คงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จะลงมติให้สหรัฐฯถอนตัว ออกจากการเป็นสมาชิก WTO โดยยึดรายงานฉบับนี้เป็นพื้นฐานการพิจารณา เนื่องจาก 1) แม้ว่ารายงานฉบับนี้จะมีจุดอ่อน แต่สหรัฐฯก็จะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของ WTO มากกว่าที่จะถอนตัวออก หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการค้าโลกในปัจจุบัน 2) สหรัฐฯ จำเป็นต้องคำนึงถึงการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯสามารถขยาย การค้าและการลงทุนในตลาดโลกได้เป็นอย่างมาก และ 3) สหรัฐฯ จะสามารถคุ้มครอง ผลประโยชน์ทางการค้า และเงื่อนไขของตนเองได้ โดยเฉพาะในขณะนี้ประเทศกำลังพัฒนา มีบทบาทเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากใน WTO การมีส่วนร่วมใน WTO จะทำให้สหรัฐฯได้รับประโยชน์ จากการที่ยังคงเป็นสมาชิกของ WTO
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
บทสรุป "The Overview and the 2000 Agenda" เรื่อง นโยบายการค้าในปี 2000 และ รายงานประจำปีของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในเรื่องข้อตกลงการค้า จัดทำโดย USTR
รายงานของ USTR ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีของคณะบริหารงานของประธานาธิบดี คลินตันที่เสนอต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ในวาระการประชุมเรื่องนโยบายการค้าสำหรับปี 2000 Section 125 ของ Uruguay Round Implementation Act กำหนดให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบของ ข้อตกลงของ WTO ต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทุกๆ 5 ปี และประโยชน์ที่สหรัฐฯ ควรได้รับจาก การเป็นสมาชิก WTO ต่อไป หลังจากการเผยแพร่รายงานของ USTR นาย Ron Paul สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่าย Republican รัฐเท็กซัส ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 5 ท่าน คือ นาย John Duncan Jr. (R-TN), นาง Dana Rohrabacher (R-CA), นาย Gene Taylor (D —MS), นาย Jack Metcaff (R-WA), และนาย Duncan Hunter (R-CA) ได้เสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร ให้ สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของ WTO โดยให้เหตุผลว่า รายงานของ USTR มุ่งเน้น เฉพาะประโยชน์ที่สหรัฐฯ ได้รับจากการเป็นสมาชิก WTO และมองข้ามผลเสียต่างๆ พร้อมทั้งไม่ สามารถแยกแยะได้ว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการดำเนินการของ WTO ในการเปิดเสรีการค้าโลกหรือเกิดจากปัจจัยอื่นๆ
ทั้งนี้ หลังการนำเสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร จะต้องมีการลงมติภายใน 45 วัน ถ้าเรื่องผ่าน สภาผู้แทนราษฎรแล้วมติจะถูกส่งต่อไปยังวุฒิสภา โดยไม่ต้องให้วุฒิสมาชิกนำเสนออีก อย่างไรก็ตาม เมื่อมตินี้ผ่านความเห็นชอบจากทั้งสองสภาฯ แล้ว ประธานาธิบดีสามารถที่จะยับยั้งได้ ซึ่งสภาคองเกรสสามารถระงับการใช้สิทธิยับยั้งของประธานาธิบดีได้ ถ้าได้รับเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด โดยต้องดำเนินการภายใน 90 วันหลังจากการเผยแพร่ของรายงานของ คณะบริหารฯ หรือ 15 วัน หลังจากที่ประธานาธิบดีได้ใช้สิทธิยับยั้งรายงานของ USTR สามารถสรุปได้ดังนี้:
เนื้อหาโดยย่อ: กล่าวถึงประโยชน์ของการเปิดเสรีและระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหรัฐฯ ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 90 เช่น ในเรื่องของ การจ้างงาน มาตรฐานการครองชีพ การลงทุน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และให้คำมั่น ว่าจะดำรงไว้ด้วยการเปิดเสรีและระบบการค้าที่เป็นธรรมต่อไปในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับ American Values เช่น ความโปร่งใส และความสำคัญของประชาคมโลก (Civil Society) ในการกำหนดนโยบายการค้าระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคีการดำเนินการในระดับพหุภาคี (WTO):
- กล่าวถึงความเป็นมาและประโยชน์ของ GATT/WTO เช่น การขยายกฎระเบียบทางการค้า กลไกในการระงับข้อพิพาทที่เข้มแข็ง การเปิดเสรีการค้า และการเพิ่มโอกาสสำหรับการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ
- ชี้ให้เห็นว่า WTO ได้ส่งเสริมจุดมุ่งหมายของสหรัฐอเมริกาทางด้านการค้าหลายประการ อาทิ The Building the 21st Century Economy (เช่น ความตกลงว่าด้วยเรื่องสินค้าเทคโนโลยี สารสนเทศ โทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน การบริการทางด้านการเงิน และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ WTO ได้ช่วยส่งเสริมให้สหรัฐฯ เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี) การสิ้นสุดของสงครามเย็น (WTO ได้ช่วยในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของ Transitional Economies เช่น ประเทศโปแลนด์ ฮังการี และจีน) การส่งเสริมการพัฒนาและโอกาสทางเศรษฐกิจในประเทศยากจนที่สุดของโลก เช่น ในแอฟริกาและ Caribbean Basin Initiative หรือ CBI และการส่งเสริมเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก (WTO ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก และยับยั้งการใช้นโยบาย เศรษฐกิจที่กีดกันการค้า)
- กล่าวถึงนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้กรอบ WTO ในอนาคต ซึ่งจะให้ความสนใจแก่ 3 ประเด็น เป็นพิเศษ คือ 1) การพัฒนาการเจรจาต่อรอง โดยทางด้านการค้าสินค้าเกษตรจะเน้นการขจัด การอุดหนุนการส่งออก การลดภาษี การขยายโควตาภาษี การลดมาตรการบิดเบือนทางการค้า การมีวินัยและความโปร่งใสในการดำเนินการ และ มาตรฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับ สินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ส่วนทางด้านการค้าบริการจะเน้นเรื่อง การลดข้อจำกัด การค้าในสาขาต่างๆ เช่น พลังงาน สิ่งแวดล้อม โสตทัศนูปกรณ์ การบริการด้านการเงิน โทรคมนาคม สุขอนามัย การศึกษา และการท่องเที่ยว และการเตรียมการในเรื่องต่างๆ สำหรับการเจรจาการค้ารอบใหม่ เช่น การเปิดตลาดสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งแวดล้อม แรงงาน การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐฯ 2) การปฏิบัติตาม ข้อตกลงต่างๆ เช่น TRIMs, TRIPS, Customs Valuation และ Industrial Subsidies 3) การปฏิรูปการดำเนินการของ WTO โดยเฉพาะในเรื่อง ความโปร่งใส การเปิดกว้างต่อ สาธารณชนและ NGO ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของ WTO มากขึ้น และความโปร่งใส ในกลไกการระงับข้อพิพาทของ WTO
การดำเนินการในระดับทวิภาคี และภูมิภาค:
- จุดมุ่งหมาย คือ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีขึ้น เพิ่มโอกาสของความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ ค่าแรงงานที่สูงขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การพัฒนาแบบยั่งยืน ความมีเสถียรภาพ และการรักษาสันติภาพโลก
- จีน: สหรัฐฯ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ซึ่งหมายถึงโอกาสในการขยายการค้า การตลาดโดยไม่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใดๆ และยังสามารถควบคุม ตรวจสอบให้จีนปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ของ WTO ได้ด้วย เช่น ผ่านกระบวนการระงับ ข้อพิพาท แต่ทั้งนี้ สหรัฐฯ ต้องให้สถานภาพความสัมพันธ์ทางการค้าที่ถาวร (Normal Trade Relation status) แก่จีน ส่วนการเจรจาสองฝ่ายกับจีนที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งทอ และการเกษตรเป็นพิเศษ
- ญี่ปุ่น: ในช่วงที่ผ่านมา คณะบริหารของประธานาธิบดีคลินตันได้ทำความตกลงหลายฉบับกับญี่ปุ่น ซึ่งมีผลทำให้มีการเปิดตลาดของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น เช่น ในด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีทางการแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้าการเกษตร และธุรกิจประกันภัย โดยข้อตกลงสำคัญได้แก่ U.S. —Japan Enhanced Initiative on Deregulation and Competition Policy ในปี 1997 ความตกลงการค้า ฉบับใหม่ในปี 1999 ซึ่งเกี่ยวกับการผ่อนคลายกฎระเบียบทางการค้าของญี่ปุ่น การให้สัมปทาน โทรคมนาคม การปฏิรูปโครงสร้างและกฎระเบียบการค้าของญี่ปุ่น รวมทั้งการเจรจาทวิภาคี เรื่องเหล็ก
- ประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิกและ APEC: สหรัฐฯ ได้ทำความตกลงการเปิดตลาด ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ความตกลง APEC ว่าด้วยสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ความตกลง 13 ฉบับกับเกาหลีใต้ ความตกลง 20 ฉบับกับประเทศอาเซียน ความตกลงทวิภาคีด้านการพาณิชย์ กับกัมพูชาและลาว และข้อตกลงการค้ากับเวียดนาม ทั้งนี้ เห็นว่านโยบายผูกพันการเปิดเสรีการค้า ได้ช่วยบรรเทาผลของวิกฤตเศรษฐกิจโลก
- Western Hemisphere: ข้อตกลงที่สำคัญได้แก่ ข้อตกลง NAFTA และ ข้อตกลงทวิภาคีกับ ประเทศคู่ค้าของ NAFTA,ข้อตกลงกับกลุ่ม Carribean Basin Initiative และการเจรจาในเรื่อง การจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งอเมริกา (Free Trade of the Amerrica หรือ FTAA) ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการร่างข้อตกลงต่างๆ และประเด็นสำคัญคือ การอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ความกังวล ของประชาสังคมโลก และเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- ทวีปแอฟริกา: ข้อตกลงหรือมาตรการที่สหรัฐฯ ได้จัดทำขึ้นหรือมีส่วนร่วม เพื่อช่วย ส่งเสริมการค้า การปฏิรูปภายในและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในทวีปนี้ ได้แก่ ข้อตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreements) กับแอฟริกาใต้ กานา และไนจีเรีย African Growth and Opportunity Act ในปี 2000 แผนยกเว้นหนี้ และการให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศแอฟริกาในการเข้าไป มีบทบาทใน WTO เช่น ผ่าน Integrated Framework Program
- ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ: ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศในทวีปนี้ดำเนินการผ่าน Duty-Free Programs เป็นส่วนใหญ่ เช่น U.S.-Israel FTA, Qualifying Industrial Zone Program กับประเทศจอร์แดนและอิสราเอล และข้อตกลงทวิภาคีผ่าน Trade and Investment Councils และ Trade and Investment Framework Agreements นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของโอมาน ซาอุดิอาระเบีย และเลบานอน
- ยุโรปตะวันตก: แม้ว่า EU จะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯ แต่ EU ก็เป็นคู่กรณีทางการค้า รายใหญ่ของสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน อาทิ ในเรื่องกล้วยหอม เนื้อวัวที่เลี้ยงด้วยฮอร์โมน และบทบัญญัติในกฎหมายภาษีของสหรัฐฯเรื่องของ Foreign Sales Corporation Provision แต่อย่างไรก็ตาม EU และสหรัฐฯ ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มความสัมพันธ์ทางการค้าให้มากขึ้น ดังปรากฏในข้อตกลงหลายฉบับ เช่น Mutual Recognition Agreement (MRA) U.S.-EU Transatlantic Economic Partnership (TEP) และข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ ความร่วมมือ ว่าด้วยกฎระเบียบทางการค้า (Transatlantic regulatory cooperation)
- ยุโรปตอนกลางและรัฐที่ได้รับอิสระใหม่: สหรัฐฯ ได้สนับสนุนการเปิดเสรีการค้าและการ ปฏิรูปตลาดของประเทศในเขตนี้ โดยผ่านข้อตกลงระดับทวิภาคีและสนธิสัญญาการลงทุน การสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิก WTO และ Southeast Europe Trade Preference Act (SETPA)
เรื่องอื่นๆ
คณะบริหารของประธานาธิบดีคลินตันได้พยายามปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าที่ได้กำหนดไว้ ในทุกระดับ และส่งเสริมปรัชญาของสหรัฐฯ ในระบบการค้าโลก เช่น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งสหรัฐฯ ได้ช่วยจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม (Committee on Trade and Environment) ภายใต้ WTO APEC และ FTAA และจัดให้มีการประชุมระดับสูงครั้งแรก ในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมใน WTO (High-Level Symposium on Trade and Environment) สิทธิและมาตรฐานแรงงาน ซึ่งสหรัฐฯ ได้เสนอให้มีการร่วมมือระหว่าง WTO และ ILO รวมทั้งการจัดตั้งคณะทำงานของ WTO เพื่อดูแลเรื่องการค้าและแรงงาน และการคุ้มครอง สิทธิแรงงานโดยผ่านการใช้ GSP การคุ้มครองผู้บริโภค และ การปกครองที่ดีในสถาบันทางการค้า (Good governance in Trade Institutions) คือ สหรัฐฯ ได้สนับสนุนให้มีการปฏิรูปการดำเนินงาน ของ WTO และการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาสังคม พร้อมทั้งช่วยจัดตั้ง คณะกรรมการประชาคม (Civil Society Committee) ใน FTAA และคณะทำงานเพื่อดูแลธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้ APEC
การประเมินรายงานของ USTR
วุฒิสมาชิก Paul กล่าวถูกที่ว่า รายงาน USTR ฉบับนี้ได้ให้ความสนใจแก่ประโยชน์มากกว่า ผลเสียที่สหรัฐฯ ได้รับจากการเป็นสมาชิกของ WTO และไม่มีหลักฐานพอที่จะชี้ว่าสหรัฐฯ ได้รับ ผลประโยชน์มากน้อยเพียงใดจาก WTO อนึ่ง USTR ได้อ้างถึงประโยชน์ต่างๆ ในเชิงทฤษฎี มากกว่าการอ้างอิงตัวเลขจริง นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ก็ไม่ได้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่าง ความเจริญทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากับการที่สหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกของ WTO อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม คงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ จะลงมติให้สหรัฐฯถอนตัว ออกจากการเป็นสมาชิก WTO โดยยึดรายงานฉบับนี้เป็นพื้นฐานการพิจารณา เนื่องจาก 1) แม้ว่ารายงานฉบับนี้จะมีจุดอ่อน แต่สหรัฐฯก็จะได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของ WTO มากกว่าที่จะถอนตัวออก หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการค้าโลกในปัจจุบัน 2) สหรัฐฯ จำเป็นต้องคำนึงถึงการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯสามารถขยาย การค้าและการลงทุนในตลาดโลกได้เป็นอย่างมาก และ 3) สหรัฐฯ จะสามารถคุ้มครอง ผลประโยชน์ทางการค้า และเงื่อนไขของตนเองได้ โดยเฉพาะในขณะนี้ประเทศกำลังพัฒนา มีบทบาทเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากใน WTO การมีส่วนร่วมใน WTO จะทำให้สหรัฐฯได้รับประโยชน์ จากการที่ยังคงเป็นสมาชิกของ WTO
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-