สรุปภาวะอุตสาหกรรมระหว่างเดือน เมษายน - มิถุนายน 2544
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2544 เศรษฐกิจและการค้าของโลกมีการชะลอตัวลงมามาก หน่วยงานต่างๆมีการปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยลงอย่างมาก การขยายตัวของการส่งออกของไทยในปี 2544 ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมามีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อนื่องจากปี 2543 ถึงร้อยละ 10 ก็ต้องปรับลดลงมาหลายครั้งหลายคราวจนถึงปัจจุบันหลายฝ่ายเชื่อว่าการขยายตัวของการส่งออกในปีนี้จะลดลงมามากจนถึงระดับติดลบเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการปรับลดตัวเลขการคาดการณ์ลงเป็นอย่างมากยังคงเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งประสบกับภาวะการชะลอตัวและมีการคาดกันก่อนหน้านี้ว่า จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ก็ปรากฎชัดเจนมากขึ้นว่า จะไม่กระเตื้องขึ้นมากตามที่คาดกันไว้ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป แม้มีการพึ่งพาความต้องการภายในมากกว่าการส่งออกไปภูมิภาคอื่น ก็ต้องประสบกับการชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและมีการปรับลดตัวเลขการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจลง ประเทศต่างๆในเอเชียก็ได้รับผลกระทบมาก ในครึ่งปีแรกของปีนี้ประเทศญี่ปุ่นมีสัญญานที่จะเข้าสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย เช่น ไต้หวัน เกาหลี และสิงคโปร์ซึ่งพึ่งพาการส่งออกในอัตราสูงก็ประสบกับการชะลอตัวลงอย่างรุนแรง เนื่องจากการส่งออกมีการลดลงไปมาก จนในที่สุด หลายประเทศต้องปรับลดการคาดคะเนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเป็นอย่างมาก เมื่อสัญญานการถดถอยทางเศรษฐกิจปรากฎชัดเจนขึ้น
สำหรับเศรษฐกิจไทย หลายหน่วยงานก็ต่างพากันปรับลดการพยากรณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2544 ลง ล่าสุดในเดือนสิงหาคมทางธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2 ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานในกลางเดือนมิถุนายนว่าในไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 เป็นต้นมา โดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตรากาขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสเดียวกันนี้ และคาดคะเนว่าในปี 2544 การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะอยู่ในระดับร้อยละ 2 ถึง 3
ในภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังคงมีการขยายตัวเล็กน้อยเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index :MPI) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในลักษณะชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 2 ดัชนียังคงทรงตัวและมีค่าต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 เล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าดัชนีในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีดัชนีการผลิตลดลงมาก ได้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและยาสูบ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นคือ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มและยานยนตร์ สำหรับอุตสาหกรรมกลุ่มอื่นๆมีลักษณะค่อนข้างทรงตัว โดยทั่วไปอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเช่น ยานยนตร์ และวัสดุก่อสร้างจะมีการขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมส่งออกโดยทั่วไปแล้วจะมีการชะลอตัวลง ยกเว้นบางหมวด เช่น ยานยนตร์และอัญมณี ซึ่งยังมีการขยายตัวในการผลิตที่ดี ในส่วนของดัชนีการผลิตและดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด ซึ่งคำนวณจากผลการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่า ทั้งการผลิตและการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 2 อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของปี โดยดัชนีการผลิตโดยเฉลี่ยลดลงเล็กน้อย แต่ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และทั้งสองดัชนีนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นภายในไตรมาสเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีดัชนีการผลิตและการส่งสินค้าดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ การผลิตสุราจากมอลต์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ และการผลิตยานยนตร์ ส่วนที่ลดลงได้แก่ การผลิตเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง โดยเฉลี่ยแล้ว ดัชนีการผลิตและการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 2 ลดลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย และมีการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นภายในไตรมาสเดียวกัน
สำหรับการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 มีลักษณะทรงตัว จากการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้โดนเฉลี่ยมีเพียงร้อยละ 51.9 (55.3 หากไม่รวมสุรา) ซึ่งต่ำกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (54.7 โดยเฉลี่ย และ 58.3 หากไม่รวมสุรา) โดยอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ยังคงมีการใช้อัตรากำลังการผลิตต่ำ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงมามาก ส่วนอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและยานยนตร์มีการใช้อัตรากำลังการผลิตสูงขึ้น แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำและมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก
ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ในช่วงไตรมาสที่ 2 ยังอยู่ในช่วงทรงตัว โดยดัชนีการบริโภคที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว แต่มีค่ามากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีการใช้ไฟฟ้าและการจำหน่ายรถยนตร์และจักรยานยนตร์และเบียร์เพิ่มขึ้น และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็มีมูลค่าสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2543 แต่การลงทุนในภาคเอกชนมีลักษณะอ่อนตัวลง โดยการนำเข้าสินค้าทุนหรือเครื่องจักรอุปกรณ์มีปริมาณลดลงตามการชะลอตัวของการลงทุนและการลงทุนในกิจการใหม่มีมูลค่าน้อยลง แต่ยอดขายรถยนตร์เชิงพาณิชย์และปูนซีเมนต์ภายในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีการสำรวจโดยสำนักต่างๆก็แสดงให้เห็นว่า จนถึงช่วงกลางปี 2544 ทั้งผู้บริโภคและนักธุรกิจยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีความน่าลงทุน และนักลงทุนต่างประเทศจำนวนมากยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะดีขึ้นมาบ้าง และมีความสนใจจะลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาสินค้า ในช่วงครึ่งปีแรก ดัชนีราคาผู้บริโภคและราคาผู้ผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท และการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยในไตรมาสที่ 2 ดัชนีทั้งสองมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อแม้จะสูงขึ้นกว่าปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก คือ เฉลี่ยร้อยละ 2-3 ทั้งปี แม้ภาวะน้ำท่วมในหลายภูมิภาคของประเทศอาจมีส่วนกระทบภาวะเงินเฟ้อบ้าง
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมมีลักษณะทรงตัว โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาจากสถิติจำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบการประกันสังคม จำนวนการปิดกิจการและการเลิกจ้างแล้ว ภาวะการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 จะเลวลงกว่าไตรมาสแรกเล็กน้อย นอกจากนี้ อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการที่มีผู้เพิ่งสำเร็จการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2544 ลดน้อยลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก โดยการส่งออกในครึ่งปีแรกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.25 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.67 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกในไตรมาสที่2 ลดลงร้อยละ 2.13 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 8.84 การเกินดุลในดุลการค้าในครึ่งปีแรกของปี 2544 มีเพียง 1,184.9 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับการเกินดุลในขนาด 4,051.6 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะเห็นได้ว่าการเกินดุลในดุลการค้าลดลงไปมาก ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการเกินดุลในดุลการค้าอย่าวต่อเนื่องแต่การเกินดุลมีขนาดลดลงมาตามลำดับ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรมีการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญที่มีการขยายตัวในการส่งออกได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ยานพาหนะและชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับอุปกรณ์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า และเครื่องรับโทรทัศน์มีการส่งออกที่ลดน้อยลง การส่งออกไปตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น โดยรวมแล้วมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การส่งออกไปตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดมีมูลค่าลดลง (ลดลงร้อยละ 4.17) จากการที่การค้าในครึ่งปีแรกที่ยังคงติดลบ จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าการส่งออกในปี 2544 จะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการส่งออกจากที่มีการขยายตัวร้อยละ 0.5 ถึงลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนทางธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่างก็คาดการณ์ว่า การส่งออกไทยในปี 2544 จะมีมูลค่าคิดเป็นดอลลาร์ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ถึงร้อยละ 4 การส่งออกที่ลดน้อยลงนี้จะเป็นตัวฉุดรั้งที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หลังจากเดือนมกราคม ซึ่งมีการลงทุนสุทธิติดลบแล้ว การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม การลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปยังคงมีความสำคัญมากกว่าประเทศกลุ่มอื่นๆ และภาคอุตสาหกรรมยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมี่มีมูลค่าการลงทุนมาก ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในช่วงไตรมาสี่ 2 ยังมีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนและเงินลงทุนใกล้เคียงกับในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามภาวะการลงทุนในกิจการที่อยู่ในข่ายส่งเสริมการลงทุน ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2544 มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะโครงการที่สมัครขอรับการส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมที่มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนลดลงมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก โลหะ และเครื่องจักรกล และเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ขนส่ง ยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ ในไตรมาสที่2 ผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีการขอรับการส่งเสริมและการอนุมัติลดลงไปมาก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2544 เศรษฐกิจและการค้าของโลกมีการชะลอตัวลงมามาก หน่วยงานต่างๆมีการปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยลงอย่างมาก การขยายตัวของการส่งออกของไทยในปี 2544 ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมามีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายตัวอย่างต่อนื่องจากปี 2543 ถึงร้อยละ 10 ก็ต้องปรับลดลงมาหลายครั้งหลายคราวจนถึงปัจจุบันหลายฝ่ายเชื่อว่าการขยายตัวของการส่งออกในปีนี้จะลดลงมามากจนถึงระดับติดลบเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการปรับลดตัวเลขการคาดการณ์ลงเป็นอย่างมากยังคงเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งประสบกับภาวะการชะลอตัวและมีการคาดกันก่อนหน้านี้ว่า จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ก็ปรากฎชัดเจนมากขึ้นว่า จะไม่กระเตื้องขึ้นมากตามที่คาดกันไว้ เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรป แม้มีการพึ่งพาความต้องการภายในมากกว่าการส่งออกไปภูมิภาคอื่น ก็ต้องประสบกับการชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและมีการปรับลดตัวเลขการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจลง ประเทศต่างๆในเอเชียก็ได้รับผลกระทบมาก ในครึ่งปีแรกของปีนี้ประเทศญี่ปุ่นมีสัญญานที่จะเข้าสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย เช่น ไต้หวัน เกาหลี และสิงคโปร์ซึ่งพึ่งพาการส่งออกในอัตราสูงก็ประสบกับการชะลอตัวลงอย่างรุนแรง เนื่องจากการส่งออกมีการลดลงไปมาก จนในที่สุด หลายประเทศต้องปรับลดการคาดคะเนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงเป็นอย่างมาก เมื่อสัญญานการถดถอยทางเศรษฐกิจปรากฎชัดเจนขึ้น
สำหรับเศรษฐกิจไทย หลายหน่วยงานก็ต่างพากันปรับลดการพยากรณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2544 ลง ล่าสุดในเดือนสิงหาคมทางธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2 ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานในกลางเดือนมิถุนายนว่าในไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 เป็นต้นมา โดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตรากาขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสเดียวกันนี้ และคาดคะเนว่าในปี 2544 การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะอยู่ในระดับร้อยละ 2 ถึง 3
ในภาคอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังคงมีการขยายตัวเล็กน้อยเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index :MPI) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในลักษณะชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 2 ดัชนียังคงทรงตัวและมีค่าต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 เล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าดัชนีในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีดัชนีการผลิตลดลงมาก ได้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและยาสูบ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นคือ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มและยานยนตร์ สำหรับอุตสาหกรรมกลุ่มอื่นๆมีลักษณะค่อนข้างทรงตัว โดยทั่วไปอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเช่น ยานยนตร์ และวัสดุก่อสร้างจะมีการขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมส่งออกโดยทั่วไปแล้วจะมีการชะลอตัวลง ยกเว้นบางหมวด เช่น ยานยนตร์และอัญมณี ซึ่งยังมีการขยายตัวในการผลิตที่ดี ในส่วนของดัชนีการผลิตและดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด ซึ่งคำนวณจากผลการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นว่า ทั้งการผลิตและการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 2 อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของปี โดยดัชนีการผลิตโดยเฉลี่ยลดลงเล็กน้อย แต่ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และทั้งสองดัชนีนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นภายในไตรมาสเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีดัชนีการผลิตและการส่งสินค้าดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ การผลิตสุราจากมอลต์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ และการผลิตยานยนตร์ ส่วนที่ลดลงได้แก่ การผลิตเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง โดยเฉลี่ยแล้ว ดัชนีการผลิตและการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 2 ลดลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย และมีการชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นภายในไตรมาสเดียวกัน
สำหรับการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 มีลักษณะทรงตัว จากการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสนี้โดนเฉลี่ยมีเพียงร้อยละ 51.9 (55.3 หากไม่รวมสุรา) ซึ่งต่ำกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (54.7 โดยเฉลี่ย และ 58.3 หากไม่รวมสุรา) โดยอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ยังคงมีการใช้อัตรากำลังการผลิตต่ำ และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงมามาก ส่วนอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างและยานยนตร์มีการใช้อัตรากำลังการผลิตสูงขึ้น แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำและมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก
ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ในช่วงไตรมาสที่ 2 ยังอยู่ในช่วงทรงตัว โดยดัชนีการบริโภคที่จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว แต่มีค่ามากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีการใช้ไฟฟ้าและการจำหน่ายรถยนตร์และจักรยานยนตร์และเบียร์เพิ่มขึ้น และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็มีมูลค่าสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2543 แต่การลงทุนในภาคเอกชนมีลักษณะอ่อนตัวลง โดยการนำเข้าสินค้าทุนหรือเครื่องจักรอุปกรณ์มีปริมาณลดลงตามการชะลอตัวของการลงทุนและการลงทุนในกิจการใหม่มีมูลค่าน้อยลง แต่ยอดขายรถยนตร์เชิงพาณิชย์และปูนซีเมนต์ภายในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีการสำรวจโดยสำนักต่างๆก็แสดงให้เห็นว่า จนถึงช่วงกลางปี 2544 ทั้งผู้บริโภคและนักธุรกิจยังไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีความน่าลงทุน และนักลงทุนต่างประเทศจำนวนมากยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะดีขึ้นมาบ้าง และมีความสนใจจะลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาสินค้า ในช่วงครึ่งปีแรก ดัชนีราคาผู้บริโภคและราคาผู้ผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท และการเพิ่มสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต โดยในไตรมาสที่ 2 ดัชนีทั้งสองมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อแม้จะสูงขึ้นกว่าปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก คือ เฉลี่ยร้อยละ 2-3 ทั้งปี แม้ภาวะน้ำท่วมในหลายภูมิภาคของประเทศอาจมีส่วนกระทบภาวะเงินเฟ้อบ้าง
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมมีลักษณะทรงตัว โดยอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาจากสถิติจำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบการประกันสังคม จำนวนการปิดกิจการและการเลิกจ้างแล้ว ภาวะการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 จะเลวลงกว่าไตรมาสแรกเล็กน้อย นอกจากนี้ อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการที่มีผู้เพิ่งสำเร็จการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2544 ลดน้อยลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก โดยการส่งออกในครึ่งปีแรกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.25 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.67 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกในไตรมาสที่2 ลดลงร้อยละ 2.13 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 8.84 การเกินดุลในดุลการค้าในครึ่งปีแรกของปี 2544 มีเพียง 1,184.9 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับการเกินดุลในขนาด 4,051.6 ล้านเหรียญในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะเห็นได้ว่าการเกินดุลในดุลการค้าลดลงไปมาก ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการเกินดุลในดุลการค้าอย่าวต่อเนื่องแต่การเกินดุลมีขนาดลดลงมาตามลำดับ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรมีการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญที่มีการขยายตัวในการส่งออกได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ยานพาหนะและชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับอุปกรณ์และส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า และเครื่องรับโทรทัศน์มีการส่งออกที่ลดน้อยลง การส่งออกไปตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น โดยรวมแล้วมีขนาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่การส่งออกไปตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดมีมูลค่าลดลง (ลดลงร้อยละ 4.17) จากการที่การค้าในครึ่งปีแรกที่ยังคงติดลบ จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าการส่งออกในปี 2544 จะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้มีการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการส่งออกจากที่มีการขยายตัวร้อยละ 0.5 ถึงลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนทางธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่างก็คาดการณ์ว่า การส่งออกไทยในปี 2544 จะมีมูลค่าคิดเป็นดอลลาร์ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.5 ถึงร้อยละ 4 การส่งออกที่ลดน้อยลงนี้จะเป็นตัวฉุดรั้งที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หลังจากเดือนมกราคม ซึ่งมีการลงทุนสุทธิติดลบแล้ว การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม การลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปยังคงมีความสำคัญมากกว่าประเทศกลุ่มอื่นๆ และภาคอุตสาหกรรมยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมี่มีมูลค่าการลงทุนมาก ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในช่วงไตรมาสี่ 2 ยังมีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนและเงินลงทุนใกล้เคียงกับในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามภาวะการลงทุนในกิจการที่อยู่ในข่ายส่งเสริมการลงทุน ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2544 มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะโครงการที่สมัครขอรับการส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมที่มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนลดลงมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก โลหะ และเครื่องจักรกล และเครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับประเภทกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ขนส่ง ยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ ในไตรมาสที่2 ผลิตภัณฑ์เหล็กและเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมเพิ่มขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีการขอรับการส่งเสริมและการอนุมัติลดลงไปมาก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--