วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนปี 2540 ได้สร้างโอกาสให้แก่กองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge funds) เข้ามาโจมตีค่าเงินบาทหลายครั้ง จนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องเข้าปกป้องค่าเงินบาทมิให้อ่อนตัวลงตามแรงเก็งกำไร แต่ไม่อาจต่อสู้ได้เพราะปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนน้อยและร่อยหรอลง ดังนั้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธปท.จึงประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (managed float) แทนระบบตะกร้าเงิน (basket of currencies) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการเก็งกำไรค่าเงินบาท การส่งออกที่หดตัวลงอย่างรุนแรง ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดแก่นักลงทุนต่างประเทศ ผลจากการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนใหม่นี้ค่าเงินบาทจึงอ่อนตัวลงเป็นลำดับ แม้ว่าในบางช่วงค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นได้ แต่ก็ยังอ่อนกว่าในช่วงก่อนวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นอันมาก การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั้งในแง่บวกและลบระคนกันไป ดังนั้นการทราบแนวโน้มของค่าเงินบาทจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจนในปัจจุบันนี้
ภาวะวิกฤติก่อนลอยตัวค่าเงินบาท
ในอดีตที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ไทยได้ประกาศลดค่าเงินบาทมาแล้วหลายครั้งจนสามารถผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจมาได้ ในที่สุดจึงมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินซึ่งใช้เงินสกุลหลักของโลก 7 สกุลที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมาคำนวณ การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินนี้ได้สร้างความมั่นใจต่อนักธุรกิจโดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ เพราะค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ทำให้สามารถคาดคะเนผลกระทบหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินนี้ไม่สามารถใช้ต่อไปได้ เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยที่เคยขยายตัวอยู่ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆโดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นมาก การกู้ยืมก็เป็นการกู้ยืมระยะสั้นแต่กลับนำมาลงทุนระยะยาว แผนการชำระหนี้คืนจึงไม่สอดคล้องกัน เมื่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงอย่างรุนแรง การส่งออกที่เคยขยายตัวสูงก็ตกต่ำลง รายได้ในรูปของดอลลาร์สรอ.ที่เคยเพิ่มขึ้นมากก็หดตัวลง จึงเกิดภาวะสภาพคล่องทางการเงินตึงตัวอย่างรุนแรง ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ประสบปัญหาทางการเงิน หุ้นราคาตกอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็มีการสั่งระงับการดำเนินธุรกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
2. การเก็งกำไรค่าเงินบาท วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้น ทำให้กองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge funds) เห็นว่าไทยมีความจำเป็นต้องลดค่าเงินบาทอย่างแน่นอน แม้ว่ารัฐบาลจะออกมายืนยันว่า ไม่มีความจำเป็นต้องลดค่าเงินบาทเพราะเศรษฐกิจของประเทศยังคงดำเนินต่อไปได้ด้วยดี อีกทั้งเงินสำรองระหว่างประเทศก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก นักลงทุนต่างประเทศจึงเข้ามาโจมตีค่าเงินบาทเป็นระลอกๆ เงินบาทจึงอ่อนค่าลงเป็นลำดับ
3. การปกป้องค่าเงินบาทของ ธปท. การเข้ามาโจมตีค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างประเทศนั้น ธปท.ใช้วิธีปกป้องค่าเงินบาทโดยการขายดอลลาร์สรอ. ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยร่อยหรอลงเป็นอันมาก แต่กลับไม่สามารถปกป้องค่าเงินบาทได้ ดังนั้น ธปท.จึงต้องประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแทนระบบตะกร้าเงินเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ค่าเงินบาทหลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวลงเป็นลำดับหลังจาก ธปท.ประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว แม้ว่าในช่วงต้นได้เกิดกระแสเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก เพราะการอ่อนค่าของเงินบาท หมายถึงการซื้อหุ้นได้ในราคาถูกลง แต่เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปได้ในระดับหนึ่งก็มีการขายหุ้นออกมาทำกำไร และนำเงินออกนอกประเทศ ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดเงินยังคงตึงตัวมาก อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 20 การปิดกิจการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 56 แห่งในตอนปลายปี 2540 ยังซ้ำเติมให้สภาพคล่องในระบบการเงินตึงตัวอย่างรุนแรง เพราะธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ถูกตัดเงินให้สินเชื่อ และหนี้ของภาคธุรกิจก็กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศกลับหดตัวลงในปี 2540 ซึ่งนับเป็นปีแรกในหลายๆปีที่เศรษฐกิจขยายตัวสูง รวมทั้งมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สรอ.ก็ไม่กระเตื้องขึ้น แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลง จึงทำให้ในช่วงต้นปี 2541 ค่าเงินบาทจึงอ่อนลงอย่างรวดเร็วมาอยู่เหนือระดับ 50.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทกลับโน้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 40.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 เนื่องจาก ธปท.ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินมาเป็นแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินและช่วยลดภาระดอกเบี้ยแก่ภาคธุรกิจ รวมทั้งทำให้การปรับโครงสร้างหนี้ทำได้ง่ายขึ้น นักลงทุนจึงมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเกิดความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปลายไตรมาสสามของปี 2541 ธนาคารกลางสหรัฐฯก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น ค่าเงินบาทที่มีทีท่าจะอ่อนตัวลงก็กลับมาแข็งขึ้นอีกครั้งมาอยู่ในระดับใกล้ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในตอนปลายปี 2541
ค่าเงินบาทในปี 2542-2543 โน้มอ่อนลง
แม้ว่าบริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือแก่ไทยและสถาบันการเงินของไทย ซึ่งส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ทำให้เงินบาทมีค่าทรงตัวอยู่ในระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ได้เท่านั้น หลังจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวอ่อนลงเพราะนักลงทุนขายหุ้นออกมาทำกำไรและนำเงินออกนอกประเทศ ค่าเงินบาทก็โน้มอ่อนลงเป็นลำดับ เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของระบบสถาบันการเงินอยู่ในระดับสูง และลดลงอย่างเชื่องช้า ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนอ่อนตัวลง และธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2541 ค่าเงินบาทจึงอ่อนตัวลงมาอยู่เหนือระดับ 38.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในตอนปลายปี 2542
สำหรับค่าเงินบาทในปี 2543 ยังคงโน้มอ่อนตัวลง เนื่องจากนักลงทุนหวั่นวิตกเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ชัดเจน ตัวเลขหนี้ NPLs ของระบบสถาบันการเงินลดลงช้า โดยเฉพาะกรณีหนี้ของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) ที่ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปด้วยความล่าช้า ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น การปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยผ่านดัชนี MSCI ของบริษัทมอร์แกน สแตนเลย์ แคปปิตอล อินเตอร์เนชั่นแนล ภาวะการเมืองภายในประเทศมีความไม่แน่นอน รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง และค่าเงินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนอ่อนตัวลงโดยเฉพาะเงินรูเปี๊ยะห์อินโดนีเซียและเปโซฟิลิปปินส์ แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 1 และ 2 ขยายตัวถึงร้อยละ 5.3 และ 6.6 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สรอ.ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงก็ตาม แต่ไม่สามารถช่วยหนุนค่าเงินบาทได้ เงินบาทจึงมีค่าอ่อนลงมาอยู่เหนือระดับ 43.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในตอนปลายปี 2543
แนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2544 ยังคงอ่อนตัว
ในปี 2542 และ 2543 ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สรอ.เท่ากับ 37.9618 และ 40.30 บาท ตามลำดับ สำหรับในปี 2544 ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สรอ.มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากปีก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เนื่องจาก
1. ภาวะเศรษฐกิจในปี 2544 จะชะลอตัวลงจากปีก่อน โดยตัวเลข GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เพราะมีปัญหาหลายประการที่รุมเร้าอยู่ อาทิ ตัวเลขหนี้ NPLs ลดลงช้า ธนาคารพาณิชย์ยังไม่กล้าปล่อยสินเชื่อสู่ระบบ ราคาพืชผลทางการเกษตรอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
2. การเกินดุลการค้ามีแนวโน้มลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง อันจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก นอกจากนี้การกีดกันทางการค้าในยุโรปและการแข่งขันทางการค้าจากคู่แข่งก็ทวีความรุนแรงขึ้น ขณะที่การนำเข้ากลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาทรงตัวอยู่ในระดับสูง
3. ปัญหาค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ เงินรูเปี๊ยะห์ของอินโดนีเซีย รวมทั้งค่าเงินหยวนของจีนที่มีโอกาสอ่อนลงเพื่อเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (WTO)
อย่างไรก็ตาม การที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง จึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น คงจะเป็นปัจจัยช่วยหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาได้บ้าง
Source : เรียบเรียงจากบทวิเคราะห์ของนายสุรชัย สุพรประสิทธิ์ ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
ภาวะวิกฤติก่อนลอยตัวค่าเงินบาท
ในอดีตที่ผ่านมาก่อนที่จะมีการประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ไทยได้ประกาศลดค่าเงินบาทมาแล้วหลายครั้งจนสามารถผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจมาได้ ในที่สุดจึงมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินซึ่งใช้เงินสกุลหลักของโลก 7 สกุลที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมาคำนวณ การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินนี้ได้สร้างความมั่นใจต่อนักธุรกิจโดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ เพราะค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ทำให้สามารถคาดคะเนผลกระทบหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงินนี้ไม่สามารถใช้ต่อไปได้ เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยที่เคยขยายตัวอยู่ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆโดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นมาก การกู้ยืมก็เป็นการกู้ยืมระยะสั้นแต่กลับนำมาลงทุนระยะยาว แผนการชำระหนี้คืนจึงไม่สอดคล้องกัน เมื่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงอย่างรุนแรง การส่งออกที่เคยขยายตัวสูงก็ตกต่ำลง รายได้ในรูปของดอลลาร์สรอ.ที่เคยเพิ่มขึ้นมากก็หดตัวลง จึงเกิดภาวะสภาพคล่องทางการเงินตึงตัวอย่างรุนแรง ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ประสบปัญหาทางการเงิน หุ้นราคาตกอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็มีการสั่งระงับการดำเนินธุรกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
2. การเก็งกำไรค่าเงินบาท วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้น ทำให้กองทุนบริหารความเสี่ยง (hedge funds) เห็นว่าไทยมีความจำเป็นต้องลดค่าเงินบาทอย่างแน่นอน แม้ว่ารัฐบาลจะออกมายืนยันว่า ไม่มีความจำเป็นต้องลดค่าเงินบาทเพราะเศรษฐกิจของประเทศยังคงดำเนินต่อไปได้ด้วยดี อีกทั้งเงินสำรองระหว่างประเทศก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก นักลงทุนต่างประเทศจึงเข้ามาโจมตีค่าเงินบาทเป็นระลอกๆ เงินบาทจึงอ่อนค่าลงเป็นลำดับ
3. การปกป้องค่าเงินบาทของ ธปท. การเข้ามาโจมตีค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างประเทศนั้น ธปท.ใช้วิธีปกป้องค่าเงินบาทโดยการขายดอลลาร์สรอ. ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยร่อยหรอลงเป็นอันมาก แต่กลับไม่สามารถปกป้องค่าเงินบาทได้ ดังนั้น ธปท.จึงต้องประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแทนระบบตะกร้าเงินเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ค่าเงินบาทหลังวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวลงเป็นลำดับหลังจาก ธปท.ประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว แม้ว่าในช่วงต้นได้เกิดกระแสเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก เพราะการอ่อนค่าของเงินบาท หมายถึงการซื้อหุ้นได้ในราคาถูกลง แต่เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปได้ในระดับหนึ่งก็มีการขายหุ้นออกมาทำกำไร และนำเงินออกนอกประเทศ ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดเงินยังคงตึงตัวมาก อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 20 การปิดกิจการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 56 แห่งในตอนปลายปี 2540 ยังซ้ำเติมให้สภาพคล่องในระบบการเงินตึงตัวอย่างรุนแรง เพราะธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ถูกตัดเงินให้สินเชื่อ และหนี้ของภาคธุรกิจก็กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศกลับหดตัวลงในปี 2540 ซึ่งนับเป็นปีแรกในหลายๆปีที่เศรษฐกิจขยายตัวสูง รวมทั้งมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สรอ.ก็ไม่กระเตื้องขึ้น แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลง จึงทำให้ในช่วงต้นปี 2541 ค่าเงินบาทจึงอ่อนลงอย่างรวดเร็วมาอยู่เหนือระดับ 50.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทกลับโน้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 40.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 เนื่องจาก ธปท.ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินมาเป็นแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในระบบการเงินและช่วยลดภาระดอกเบี้ยแก่ภาคธุรกิจ รวมทั้งทำให้การปรับโครงสร้างหนี้ทำได้ง่ายขึ้น นักลงทุนจึงมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเกิดความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปลายไตรมาสสามของปี 2541 ธนาคารกลางสหรัฐฯก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น ค่าเงินบาทที่มีทีท่าจะอ่อนตัวลงก็กลับมาแข็งขึ้นอีกครั้งมาอยู่ในระดับใกล้ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในตอนปลายปี 2541
ค่าเงินบาทในปี 2542-2543 โน้มอ่อนลง
แม้ว่าบริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือแก่ไทยและสถาบันการเงินของไทย ซึ่งส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ทำให้เงินบาทมีค่าทรงตัวอยู่ในระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ได้เท่านั้น หลังจากที่ตลาดหุ้นปรับตัวอ่อนลงเพราะนักลงทุนขายหุ้นออกมาทำกำไรและนำเงินออกนอกประเทศ ค่าเงินบาทก็โน้มอ่อนลงเป็นลำดับ เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของระบบสถาบันการเงินอยู่ในระดับสูง และลดลงอย่างเชื่องช้า ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนอ่อนตัวลง และธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2541 ค่าเงินบาทจึงอ่อนตัวลงมาอยู่เหนือระดับ 38.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในตอนปลายปี 2542
สำหรับค่าเงินบาทในปี 2543 ยังคงโน้มอ่อนตัวลง เนื่องจากนักลงทุนหวั่นวิตกเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวไม่ชัดเจน ตัวเลขหนี้ NPLs ของระบบสถาบันการเงินลดลงช้า โดยเฉพาะกรณีหนี้ของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) ที่ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปด้วยความล่าช้า ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น การปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยผ่านดัชนี MSCI ของบริษัทมอร์แกน สแตนเลย์ แคปปิตอล อินเตอร์เนชั่นแนล ภาวะการเมืองภายในประเทศมีความไม่แน่นอน รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลายครั้ง และค่าเงินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนอ่อนตัวลงโดยเฉพาะเงินรูเปี๊ยะห์อินโดนีเซียและเปโซฟิลิปปินส์ แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 1 และ 2 ขยายตัวถึงร้อยละ 5.3 และ 6.6 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สรอ.ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงก็ตาม แต่ไม่สามารถช่วยหนุนค่าเงินบาทได้ เงินบาทจึงมีค่าอ่อนลงมาอยู่เหนือระดับ 43.00 บาทต่อดอลลาร์สรอ.ในตอนปลายปี 2543
แนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2544 ยังคงอ่อนตัว
ในปี 2542 และ 2543 ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สรอ.เท่ากับ 37.9618 และ 40.30 บาท ตามลำดับ สำหรับในปี 2544 ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สรอ.มีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากปีก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เนื่องจาก
1. ภาวะเศรษฐกิจในปี 2544 จะชะลอตัวลงจากปีก่อน โดยตัวเลข GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เพราะมีปัญหาหลายประการที่รุมเร้าอยู่ อาทิ ตัวเลขหนี้ NPLs ลดลงช้า ธนาคารพาณิชย์ยังไม่กล้าปล่อยสินเชื่อสู่ระบบ ราคาพืชผลทางการเกษตรอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
2. การเกินดุลการค้ามีแนวโน้มลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง อันจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก นอกจากนี้การกีดกันทางการค้าในยุโรปและการแข่งขันทางการค้าจากคู่แข่งก็ทวีความรุนแรงขึ้น ขณะที่การนำเข้ากลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาทรงตัวอยู่ในระดับสูง
3. ปัญหาค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ เงินรูเปี๊ยะห์ของอินโดนีเซีย รวมทั้งค่าเงินหยวนของจีนที่มีโอกาสอ่อนลงเพื่อเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก (WTO)
อย่างไรก็ตาม การที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง จึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งจะกระตุ้นให้นักลงทุนต่างประเทศนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น คงจะเป็นปัจจัยช่วยหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาได้บ้าง
Source : เรียบเรียงจากบทวิเคราะห์ของนายสุรชัย สุพรประสิทธิ์ ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-