เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยการสนับสนุนของมูลนิธิอาเชีย ได้จัดการสัมมนาเรื่อง การพัฒนาสังคมไปสู่ e-Society : การพัฒนาประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ (Digital Divide) ณ โรงแรม รอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 100 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรอิสระต่างๆ สรุปผลการสัมมนาได้ ดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสังคมมนุษย์อย่างมากมาย อย่างไรก็ดี แม้เทคโนโลยีจะมีคุณประโยชน์อนันต์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เทคโนโลยีและการสื่อสารอาจเป็นปัจจัยเร่งประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นระดับนานาประเทศ ระดับระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา หรือระดับภายในประเทศระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท โดยเป็นผลมาจาก ความเหลื่อมล้ำในด้านความสามารถและโอกาสของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลให้เกิดช่องว่างระหว่าง 'ผู้มีข่าวสาร' และ 'ผู้ไร้ข่าวสาร' โดยที่ปรากฏการณ์ดังกล่าวรู้จักกันภายใต้คำศัพท์ที่ว่า 'ช่องว่างทางดิจิตัล' หรือ 'Digital Divide' หรือโดยนัยก็คือ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้นั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้นั้น พอสรุปได้เป็นกลุ่มปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ
ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เช่น โอกาสในการใช้ไฟฟ้า การใช้โทรศัพท์ และโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ และการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ปัจจัยเกี่ยวกับความแตกต่างของลักษณะของประชากร เช่น รายได้ ระดับการศึกษา เชื้อชาติและวัฒนธรรม เพศ/อายุ โครงสร้างครอบครัว และพื้นฐานภาษาที่ใช้ เป็นต้น
ปัจจัยด้านนโยบาย นโยบายรัฐเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการเพิ่ม หรือลดระดับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ เช่น นโยบายด้านการเปิดเสรีเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการด้านสารสนเทศลดต่ำลง ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีโอกาสเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น และนโยบายเกี่ยวกับภาษี เป็นต้น
ประเทศไทยมีข้อจำกัด คือเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาพัฒนาต่อเป็นเทคโนโลยีที่นำเข้า แม้จะเป็นเทคโนโลยีง่ายๆ ก็ไม่มีการคิดค้นประดิษฐ์เอง จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีและไม่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
หากคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางด้านกลุ่มประชาชนและประเภทของข้อมูลข่าวสารหรือความรู้แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยอย่างอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ยังคงมีเทคโนโลยีอื่นที่อาจเป็นทางเลือก อาทิ เทคโนโลยีสื่อสารแบบดั้งเดิมเช่น วิทยุและโทรทัศน์ ที่ยังมีศักยภาพพอควรที่จะนำความรู้และสารสนเทศที่สำคัญเข้าสู่ประชาชน อีกทั้งมีความง่ายในการใช้ การลงทุนที่ไม่สูงนัก และการใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นสื่อ หากแต่ศักยภาพเหล่านี้อาจจะไม่ได้นำมาใช้อย่างเต็มที่ ดังนั้น แนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย จึงไม่ควรละเลยเทคโนโลยีทางเลือกนี้
การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ไม่ใช่เป็นประเด็นเฉพาะด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกกับการพัฒนาด้านอื่นๆของสังคม รวมทั้งปัญหาของประเทศ อาทิ ความยากจน การศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ปัญหาของการบริหารจัดการเศรษฐกิจ ปัญหาคอรัปชั่น ดังนั้น หากประเทศไทยนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง เทคโนโลยีจะเป็นการลดความยากจนชนิดเก่า แต่เพิ่มความยากจนชนิดใหม่ให้
ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และการใช้งาน จะช่วยไม่ให้เกิดการสูญเปล่า หรือค่าใช้จ่ายที่สูงเกินเหตุ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีแผนแม่บทที่ชัดเจน ลำดับความสำคัญเร่งด่วน วางกลยุทธ์ให้เกิดผล จะต้องรู้ว่าจะได้ หรือเสียอะไรบ้าง พัฒนาภูมิปัญญาของเราเอง มีต้นแบบที่เหมาะสม นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะในการสร้างโอกาสให้กว้างขึ้น โดยให้สถาบันการศึกษาที่มีอยู่ร่วมกันสร้างเนื้อหาในการสอนผ่านสื่อ/เทคโนโลยีสารสนเทศ (Virtual Education)
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสังคมมนุษย์อย่างมากมาย อย่างไรก็ดี แม้เทคโนโลยีจะมีคุณประโยชน์อนันต์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เทคโนโลยีและการสื่อสารอาจเป็นปัจจัยเร่งประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นระดับนานาประเทศ ระดับระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา หรือระดับภายในประเทศระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท โดยเป็นผลมาจาก ความเหลื่อมล้ำในด้านความสามารถและโอกาสของการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลให้เกิดช่องว่างระหว่าง 'ผู้มีข่าวสาร' และ 'ผู้ไร้ข่าวสาร' โดยที่ปรากฏการณ์ดังกล่าวรู้จักกันภายใต้คำศัพท์ที่ว่า 'ช่องว่างทางดิจิตัล' หรือ 'Digital Divide' หรือโดยนัยก็คือ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้นั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้นั้น พอสรุปได้เป็นกลุ่มปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ
ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เช่น โอกาสในการใช้ไฟฟ้า การใช้โทรศัพท์ และโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ และการใช้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ปัจจัยเกี่ยวกับความแตกต่างของลักษณะของประชากร เช่น รายได้ ระดับการศึกษา เชื้อชาติและวัฒนธรรม เพศ/อายุ โครงสร้างครอบครัว และพื้นฐานภาษาที่ใช้ เป็นต้น
ปัจจัยด้านนโยบาย นโยบายรัฐเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการเพิ่ม หรือลดระดับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ เช่น นโยบายด้านการเปิดเสรีเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น ราคาสินค้าและบริการด้านสารสนเทศลดต่ำลง ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีโอกาสเข้าถึงสารสนเทศได้มากขึ้น และนโยบายเกี่ยวกับภาษี เป็นต้น
ประเทศไทยมีข้อจำกัด คือเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาพัฒนาต่อเป็นเทคโนโลยีที่นำเข้า แม้จะเป็นเทคโนโลยีง่ายๆ ก็ไม่มีการคิดค้นประดิษฐ์เอง จึงเป็นส่วนหนึ่งของความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีและไม่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
หากคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางด้านกลุ่มประชาชนและประเภทของข้อมูลข่าวสารหรือความรู้แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยอย่างอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ยังคงมีเทคโนโลยีอื่นที่อาจเป็นทางเลือก อาทิ เทคโนโลยีสื่อสารแบบดั้งเดิมเช่น วิทยุและโทรทัศน์ ที่ยังมีศักยภาพพอควรที่จะนำความรู้และสารสนเทศที่สำคัญเข้าสู่ประชาชน อีกทั้งมีความง่ายในการใช้ การลงทุนที่ไม่สูงนัก และการใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นสื่อ หากแต่ศักยภาพเหล่านี้อาจจะไม่ได้นำมาใช้อย่างเต็มที่ ดังนั้น แนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย จึงไม่ควรละเลยเทคโนโลยีทางเลือกนี้
การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ไม่ใช่เป็นประเด็นเฉพาะด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกกับการพัฒนาด้านอื่นๆของสังคม รวมทั้งปัญหาของประเทศ อาทิ ความยากจน การศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ปัญหาของการบริหารจัดการเศรษฐกิจ ปัญหาคอรัปชั่น ดังนั้น หากประเทศไทยนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง เทคโนโลยีจะเป็นการลดความยากจนชนิดเก่า แต่เพิ่มความยากจนชนิดใหม่ให้
ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์และการใช้งาน จะช่วยไม่ให้เกิดการสูญเปล่า หรือค่าใช้จ่ายที่สูงเกินเหตุ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีแผนแม่บทที่ชัดเจน ลำดับความสำคัญเร่งด่วน วางกลยุทธ์ให้เกิดผล จะต้องรู้ว่าจะได้ หรือเสียอะไรบ้าง พัฒนาภูมิปัญญาของเราเอง มีต้นแบบที่เหมาะสม นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะในการสร้างโอกาสให้กว้างขึ้น โดยให้สถาบันการศึกษาที่มีอยู่ร่วมกันสร้างเนื้อหาในการสอนผ่านสื่อ/เทคโนโลยีสารสนเทศ (Virtual Education)
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-