ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก
ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2543 เป็นร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรกของปี 2544 และอยู่ภายในเป้าหมายของนโยบายการเงิน
ร้อยละ 0 - 3.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 2.4 ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 หากเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของ
ปี 2543 ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 โดยเป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและ เครื่องดื่มร้อยละ
0.6 และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.5 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
สุดท้ายของปี 2543 ร้อยละ 0.4 และ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0
สาเหตุสำคัญในการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในไตรมาสแรกของปี 2544 จากไตรมาสก่อนเป็นผลจาก
1.1 การปรับขึ้นราคาสินค้าหมวดผัก และผลไม้ ตามความต้องการที่สูงขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับปริมาณผลผลิตเข้า
สู่ตลาดลดลง เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล
1.2 การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต ไฟฟ้า ส่งผลให้ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ปรับ
สูงขึ้นร้อยละ 11
1.3 การปรับขึ้นราคาค่าโดยสารรถประจำทาง ปรับอากาศ (ขสมก.) ตามต้นทุนราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกและน้ำมันขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มลดลงในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2544
ทำให้แรงกดดันต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคผ่อนคลายลงบ้าง
ดัชนีราคาผู้บริโภค
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน)
2543 2543 2544
ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core) (%yoy) 0.7 0.2 1.0 0.8 0.8 1.0
(%qoq) - 0.2 0.2 0.2 0.3 0.4
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline) (%yoy) 1.6 0.9 1.7 2.2 1.6 1.4
(%qoq) - 0.8 -0.1 0.9 0.0 0.6
- หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (%yoy) -1.1 -1.7 -1.5 -0.5 -0.7 -0.4
(%qoq) - 0.3 -0.8 0.5 -0.6 0.6
- หมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม (%yoy) 3.2 2.5 3.6 3.7 3.0 2.4
(%qoq) - 1.1 0.4 1.0 0.5 0.5
ดัชนีราคาผู้ผลิต (%yoy) 3.8 2.0 3.7 5.5 4.5 2.8
(%qoq) - 1.3 0.7 1.7 0.8 -0.3
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : % qoq หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน
: % yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
สังเกตได้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างทรงตัวมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี 2543 ซึ่งสะท้อนให้ เห็นว่าผลของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ส่งผลทางอ้อมต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ เพียง เล็กน้อย ส่วนหนึ่งเกิดจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัวไม่มากนักทำให้อัตรา
การใช้กำลัง
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปเริ่มมีแนวโน้ม
ปรับตัวเข้าหากัน เนื่องจากราคาหมวดอาหารสดและพลังงานเริ่มทรงตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น
ตารางแสดงความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้าและอัตราแลกเปลี่ยน
2543 2543 2544
ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
น้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) 26.16 24.39 25.04 27.68 27.50 23.70
น้ำมันเบนซิน 95 (บาท/ลิตร) 15.64 14.63 14.94 16.43 16.53 16.18
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาท/ลิตร) 12.93 11.71 11.87 13.66 14.47 13.25
ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย) 1/ 2.07 2.02 2.07 2.07 2.08 2.58
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์ สรอ.) 40.16 37.65 38.66 40.99 43.34 42.22
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
1/ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงการคำนวณค่าไฟฟ้าในตะกร้า CPI จากเดิมที่คำนวณจาก
ค่าไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระดับ 100 หน่วยต่อเดือน มาเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของประเภทไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
และประเภท เกิน 150 หน่วยต่อเดือน โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจการใช้ไฟฟ้าของประชาชนทั่วไป
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 และลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2543
ร้อยละ 0.3 โดยเป็นผลจากการลดลงของราคา สินค้า ในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.6 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง
และหมวดผลผลิตเกษตรกรรมราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 0.2 ตามลำดับ สำหรับประเทศในภูมิภาคใน 3 เดือนแรกของปี 2544 อัตรา
เงินเฟ้อของประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ปรับตัว สูงขึ้นเนื่องจากสกุลเงินของประเทศเหล่านี้อ่อนค่าลง ขณะที่ประเทศ
มาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มีอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับไทย ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศไต้หวันกลับลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2544
ส่วนหนึ่งเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนในปี 2543 ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ เทียบกับในปี 2544 ที่ตรงกับเดือนมกราคม และประเทศฮ่องกงอัตรา
เงินเฟ้อยังคงติดลบมาเป็นเวลา 29 เดือนติดต่อกัน
ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศในภูมิภาค
(อัตราเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน)
2543 2543 2544
ทั้งปี ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4 ม.ค. ก.พ. มี.ค.
อินโดนีเซีย 3.8 -0.5 1.2 5.8 8.8 8.3 9.1 10.6
ฟิลิปปินส์ 4.4 3.0 3.9 4.5 5.8 6.9 6.7 6.7
มาเลเซีย 1.6 1.5 1.4 1.5 1.8 1.5 1.6 1.5
สิงคโปร์ 1.3 1.1 0.8 1.5 2.0 2.0 1.3 1.8
ไทย 1.6 0.9 1.6 2.2 1.6 1.3 1.5 1.4
จีน 0.4 0.1 0.1 0.3 0.9 1.5 1.6 1.1
ฮ่องกง -3.7 -5.1 -4.5 -2.8 -2.2 -1.2 -2.1 -1.3
ไต้หวัน 1.3 0.9 1.4 1.1 1.6 2.4 -1.0 0.4
เกาหลีใต้ 2.3 1.5 1.4 3.2 2.9 4.2 4.2 4.4
ที่มา : หน่วยราชการประเทศต่าง ๆ และ CEIC (China Economic Information Center)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2543 เป็นร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรกของปี 2544 และอยู่ภายในเป้าหมายของนโยบายการเงิน
ร้อยละ 0 - 3.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 2.4 ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 หากเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของ
ปี 2543 ดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 โดยเป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและ เครื่องดื่มร้อยละ
0.6 และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.5 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
สุดท้ายของปี 2543 ร้อยละ 0.4 และ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0
สาเหตุสำคัญในการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปในไตรมาสแรกของปี 2544 จากไตรมาสก่อนเป็นผลจาก
1.1 การปรับขึ้นราคาสินค้าหมวดผัก และผลไม้ ตามความต้องการที่สูงขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับปริมาณผลผลิตเข้า
สู่ตลาดลดลง เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล
1.2 การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิต ไฟฟ้า ส่งผลให้ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ปรับ
สูงขึ้นร้อยละ 11
1.3 การปรับขึ้นราคาค่าโดยสารรถประจำทาง ปรับอากาศ (ขสมก.) ตามต้นทุนราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันในตลาดโลกและน้ำมันขายปลีกในประเทศมีแนวโน้มลดลงในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2544
ทำให้แรงกดดันต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคผ่อนคลายลงบ้าง
ดัชนีราคาผู้บริโภค
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน)
2543 2543 2544
ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core) (%yoy) 0.7 0.2 1.0 0.8 0.8 1.0
(%qoq) - 0.2 0.2 0.2 0.3 0.4
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline) (%yoy) 1.6 0.9 1.7 2.2 1.6 1.4
(%qoq) - 0.8 -0.1 0.9 0.0 0.6
- หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (%yoy) -1.1 -1.7 -1.5 -0.5 -0.7 -0.4
(%qoq) - 0.3 -0.8 0.5 -0.6 0.6
- หมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม (%yoy) 3.2 2.5 3.6 3.7 3.0 2.4
(%qoq) - 1.1 0.4 1.0 0.5 0.5
ดัชนีราคาผู้ผลิต (%yoy) 3.8 2.0 3.7 5.5 4.5 2.8
(%qoq) - 1.3 0.7 1.7 0.8 -0.3
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : % qoq หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน
: % yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
สังเกตได้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานค่อนข้างทรงตัวมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปี 2543 ซึ่งสะท้อนให้ เห็นว่าผลของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ส่งผลทางอ้อมต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆ เพียง เล็กน้อย ส่วนหนึ่งเกิดจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัวไม่มากนักทำให้อัตรา
การใช้กำลัง
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปเริ่มมีแนวโน้ม
ปรับตัวเข้าหากัน เนื่องจากราคาหมวดอาหารสดและพลังงานเริ่มทรงตัวและมีเสถียรภาพมากขึ้น
ตารางแสดงความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้าและอัตราแลกเปลี่ยน
2543 2543 2544
ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
น้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) 26.16 24.39 25.04 27.68 27.50 23.70
น้ำมันเบนซิน 95 (บาท/ลิตร) 15.64 14.63 14.94 16.43 16.53 16.18
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาท/ลิตร) 12.93 11.71 11.87 13.66 14.47 13.25
ค่าไฟฟ้า (บาท/หน่วย) 1/ 2.07 2.02 2.07 2.07 2.08 2.58
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์ สรอ.) 40.16 37.65 38.66 40.99 43.34 42.22
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
1/ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงการคำนวณค่าไฟฟ้าในตะกร้า CPI จากเดิมที่คำนวณจาก
ค่าไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระดับ 100 หน่วยต่อเดือน มาเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของประเภทไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
และประเภท เกิน 150 หน่วยต่อเดือน โดยอาศัยข้อมูลการสำรวจการใช้ไฟฟ้าของประชาชนทั่วไป
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 และลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2543
ร้อยละ 0.3 โดยเป็นผลจากการลดลงของราคา สินค้า ในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.6 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง
และหมวดผลผลิตเกษตรกรรมราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 0.2 ตามลำดับ สำหรับประเทศในภูมิภาคใน 3 เดือนแรกของปี 2544 อัตรา
เงินเฟ้อของประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ปรับตัว สูงขึ้นเนื่องจากสกุลเงินของประเทศเหล่านี้อ่อนค่าลง ขณะที่ประเทศ
มาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มีอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับไทย ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศไต้หวันกลับลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2544
ส่วนหนึ่งเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนในปี 2543 ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ เทียบกับในปี 2544 ที่ตรงกับเดือนมกราคม และประเทศฮ่องกงอัตรา
เงินเฟ้อยังคงติดลบมาเป็นเวลา 29 เดือนติดต่อกัน
ดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศในภูมิภาค
(อัตราเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน)
2543 2543 2544
ทั้งปี ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4 ม.ค. ก.พ. มี.ค.
อินโดนีเซีย 3.8 -0.5 1.2 5.8 8.8 8.3 9.1 10.6
ฟิลิปปินส์ 4.4 3.0 3.9 4.5 5.8 6.9 6.7 6.7
มาเลเซีย 1.6 1.5 1.4 1.5 1.8 1.5 1.6 1.5
สิงคโปร์ 1.3 1.1 0.8 1.5 2.0 2.0 1.3 1.8
ไทย 1.6 0.9 1.6 2.2 1.6 1.3 1.5 1.4
จีน 0.4 0.1 0.1 0.3 0.9 1.5 1.6 1.1
ฮ่องกง -3.7 -5.1 -4.5 -2.8 -2.2 -1.2 -2.1 -1.3
ไต้หวัน 1.3 0.9 1.4 1.1 1.6 2.4 -1.0 0.4
เกาหลีใต้ 2.3 1.5 1.4 3.2 2.9 4.2 4.2 4.4
ที่มา : หน่วยราชการประเทศต่าง ๆ และ CEIC (China Economic Information Center)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-