ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) มีวิวัฒนาการในต่างประเทศมาเป็นเวลาช้านาน โดยในสหรัฐอเมริกานั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1863 บริษัทที่เริ่มเผยแพร่ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้แก่ บริษัทซิงเกอร์ (Singer) บริษัทเจอร์เนรัล มอเตอร์ (General Motor) ในปี ค.ศ. 1898 และบริษัท Rexwall ขยายในปี ค.ศ. 1901 กิจการธุรกิจแฟรนไชส์เริ่มเฟื่องฟูในราวช่วงปี 1950 คือ Dunkin Donuts (1950) Holiday Inns (1952) McDonald's (1955) Kentucky Fried Chicken (1955) Aamco Transmission Centers (1958) โดยมีสินค้าและบริการที่แตกต่างออกไปหลายประการ
สำหรับในประเทศนั้น ระบบธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่งจะเข้ามามีบทบาทในประเทศเมื่อไม่นานมานี้เอง และธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศส่วนใหญ่มักจะเป็นประเภทกิจการโรงแรม กิจการธุรกิจอาหารแบบปรุงเร็ว (Fast Food) และกิจการร้านไอศกรีม หรือสถานีบริการน้ำมัน
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นควรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้คือ
1. จะต้องเป็นนิติสัมพันธ์ในทางพาณิชย์ระหว่างผู้ให้สิทธิกับผู้รับสิทธิ คือผู้รับสิทธิจะขายสินค้าหรือให้บริการภายใต้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการบริการ หรือชื่อทางการค้า ตามสิทธิที่ได้รับจากผู้ให้สิทธิ และผู้ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะให้สิทธิอันดังกล่าว รวมทั้งมีสิทธิของผู้ให้สิทธิในการควบคุมและดูแลการดำเนินการกิจการของผู้รับสิทธิด้วย
2. ผู้ให้สิทธิจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและแนะนำในด้านการตลาดแก่ผู้รับสิทธิ
3. ผู้รับสิทธิจะต้องชำระค่าตอบแทนจากการให้สิทธิตามสัญญานั้น
ลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะจำแนกลักษณะที่สำคัญได้ดังนี้คือ
1. จะต้องมีผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิ
2. จะต้องมีความสัมพันธ์ทางนิติกรรมสัญญา
3. การให้สิทธินั้นจะต้องเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) อันได้แก่ เครื่องหมายการค้า (Trademark) ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และชื่อทางการค้า สูตรกรรมวิธีการผลิต หรือ Know-how หรือเครื่องหมายบริการ (Service Mark) ความลับทางการค้า (Trade Secret)
4. การที่ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิต่างมีการควบคุมการดำเนินการซึ่งกันและกัน รวมตลอดถึงผู้ให้สิทธิต้องให้ความช่วยเหลืออบรมกิจการแก่ผู้รับสิทธิดังกล่าวด้วย
หากพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว สัญญาแฟรนไชส์นั้นก็ควรจะเรียกว่าเป็น "สัญญาให้สิทธิ" และเรียกผู้ที่เป็น Franchisor ว่า "ผู้ให้สิทธิ" และเรียกผู้ที่เป็น Franchisee ว่า "ผู้รับสิทธิ" เพราะการเรียกชื่อดังกล่าวน่าจะลดความขลังของธุรกิจประเภทนี้ลงจากที่มีผู้เรียกกิจการแฟรนไชส์ว่าเป็น "สัมปทานเอกชน" และก็อาจจะทำให้คนมีความสนใจในธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้นหรือถ้าหากเพื่อเอกลักษณ์ของธุรกิจประเภทนี้ก็คงจะเรียกว่าแฟรนไชส์ก็น่าที่จะไม่มีอะไรขัดข้องและเพื่อประโยชน์การอ้างอิง ขอเลือกใช้คำว่า "ผู้ให้สิทธิ" (Franchisor) และ "ผู้รับสิทธิ" (Franchisee) แต่ยังคงเรียกว่าธุรกิจหรือสัญญาแฟรนไชส์ทับศัพท์ต่อไป เพื่อไม่ให้ต้องเกิดความสับสน
โดยส่วนรวมแล้ว ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นอาจจะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น
1. การให้สิทธิในตัวสินค้า (Product Franchise)
2. การให้สิทธิทั้งระบบของธุรกิจ (System Franchise)
3. การให้สิทธิกรรมวิธีและข้อมูลในการผลิต (A Processing or Manu-facturing Franchise)
4. การให้สิทธิในฐานะกลุ่มของผู้ค้า (Group Trading)
ถ้าหากจะแบ่งประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขายสินค้า ซึ่งอาจจะรวมถึงการขายสินค้าโดยผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีสูตรกรรมวิธีการผลิต และอาจจะมีข้อกำหนดอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้น
2. ธุรกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการ ซึ่งนอกเหนือจากการให้บริการนั้นแล้วก็อาจจะให้มีการฝึกอบรม มีการให้ใช้ชื่อเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หรือชื่อทางการค้า
สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ดำรงอยู่ได้นั้น คงจะต้องคำนึงถึงสิทธิที่ผู้ให้สิทธิให้แก่ผู้รับพิจารณาสิทธินั้นว่าเป็นสิทธิที่มีกฎหมายรับรองหรือไม่ และเป็นสิทธิที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคหรือลูกค้าทั่วโลกหรือทั่วเขตใดเขตหนึ่งที่ผู้ประกอบการมีความประสงค์จะทำธุรกิจเพียงใด ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะมีความสำคัญก็คงจะต้องเป็นธุรกิจที่ผู้ให้สิทธินั้นเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการเจ้าของชื่อทางการค้า เจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของสิทธิบัตร หรือเจ้าของสูตรกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ ที่จะทำให้ลักษณะสินค้าของตนเองนั้นมีลักษณะเด่นหรือพิเศษออกมาจากของกิจการของบุคคลอื่น นอกจากนั้นแล้วผู้ให้สิทธิจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความรู้ที่จะให้สิทธิและถ่ายทอดความรู้ สูตรกรรมวิธีให้แก่ผู้รับสิทธิได้ในปัจจุบัน กล่าวโดยสรุปก็จะถือได้ว่าแนวความคิดของระบบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นก็สามารถนำไปใช้ได้นับตั้งแต่กิจการขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ อาทิเช่น การขายสินค้า การทำบัญชี การตรวจสภาพรถ การเช่ารถ การล้างรถ ธุรกิจโรงแรม การขายของโดยตรง ฯลฯ
ข้อดีและข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นก็เหมือนกับเหรียญที่มีด้าน 2 ด้านที่แตกต่างกันคือ ย่อมจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การพิจารณาที่จะเลือกธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไรนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาเลือกกันเอาเอง ข้อดีและข้อเสียที่จะนำมาพิจารณาดังต่อไปนี้เป็นเพียงข้อพิจารณาประกอบที่อาจจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจะเลือกด้วยว่าตนควรจะเข้าดำเนินกิจการธุรกิจแฟรนไชส์หรือไม่ และยังอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ด้วย การแบ่งพิจารณาข้อดีและข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะต้องแบ่งพิจารณาออกไปใน 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ให้สิทธิ (Franchisor) และในด้านของผู้รับสิทธิ (Franchisee) โดยจะแยกพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
ก. ข้อดีในด้านผู้ให้สิทธิ
1. การควบคุมการดำเนินการ
โดยลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ผู้ให้สิทธิจำเป็นจะต้องดำเนินการควบคุม การดำเนินการของผู้รับสิทธิโดยการควบคุมดังกล่าวจะกำหนดไว้ในสัญญาการกำหนดในรูปแบบการดำเนินการราคาสินค้าหรือบริการ การส่งเสริมการขาย หรือการบริการ ในบางครั้งอาจมีการกำหนดควบคุมในด้านการบริหาร
2. การขยายตลาดโดยลงทุนน้อย
เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์นั้น เป็นธุรกิจที่ทำให้ผู้ให้สิทธินั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการจะขยายตลาดออกไป เพราะสามารถปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้รับสิทธิที่จะร่วมลงทุนหรือรับผิดชอบในการดำเนินการการขยายตลาดสินค้าหรือบริการออกเสียส่วนใหญ่
3. ภาระหนี้สินและความเสี่ยงภัยน้อยลง
เมื่อความจำเป็นในการที่จะร่วมลงทุนนั้นลดน้อยลง ภาระรับผิดชอบในหนี้สินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจก็คงจะต้องลดน้อยลงด้วยตามส่วน และในกรณีที่เกิดการขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจผู้ให้สิทธิก็ไม่เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว แต่ผู้รับสิทธิก็ร่วมแบ่งเบาภาระในส่วนการขาดทุนอีกด้วย
4. ผลประโยชน์ร่วมกัน
ธุรกิจแฟรนไชส์จะทำให้เกิดความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะว่าผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันจึงเกิดแรงจูงใจ ทำให้แผนงานการขยายตลาดของทั้ง 2 ฝ่าย สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประหยัดกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ผู้ให้สิทธิสามารถประหยัดทั้งกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบริหาร ตลอดจนเรื่องการเงิน การบัญชีอื่นๆได้ เพราะผู้ให้สิทธิสามารถใช้ระบบรวม และไม่ต้องส่งพนักงานไปประจำแต่ละหน่วยงานที่ไปอยู่ตามสาขาที่ตั้งอยู่ นอกจากนี้ ยังสามารถจะอบรมเจ้าหน้าที่บริหารของตนให้มีความชำนาญเฉพาะด้านได้อีกด้วย
6. บริการทั่วถึงและความชำนาญในเขตแต่ละเขต
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นผู้ให้สิทธิสามารถจะให้บริการแก่ลูกค้าเป้าหมายของตนได้อย่างทั่วถึงและได้ทันท่วงทีโดยการขยายการบริการของผู้รับสิทธิ อีกทั้งยังสามารถอาศัยความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้รับสิทธิซึ่งอยู่ในท้องถิ่นนั้น เพื่อจะทำให้การขายหรือการบริการสินค้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
7. หลีกเลี่ยงปัญหาการผลิตและปัญหาแรงงาน
การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้นผู้ให้สิทธิแทบจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การบริหาร หรือปัญหาเกี่ยวกับพนักงานของผู้รับสิทธิแต่อย่างใดเพราะต่างถือว่าเป็นเอกเทศต่อกัน ผู้ให้สิทธิจึงสามารถจะทำให้การวางแผนงานต่างๆ นั้น สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเป็นภาระและความรับผิดชอบ
ข. ข้อเสียในด้านผู้ให้สิทธิ
1. การไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญา
จากการศึกษาพบว่า ภายหลังจากที่ธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จหรือมีหลักฐานมั่นคงแล้วก็จะเกิดปัญหาที่ว่าผู้รับสิทธิอาจจะไม่มีความประสงค์ที่จะจ่ายค่าสิทธิตอบแทนให้แก่ผู้ให้สิทธิอีกต่อไป รวมทั้งผู้รับสิทธิมักจะหลีกเลี่ยงในการที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญาต่างๆ จากการควบคุมของผู้ให้สิทธิในปัญหานี้การจัดทำร่างสัญญาที่สามารถควบคุมและบังคับได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าหากเกิดความขัดแย้งกันระหว่างผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิแล้ว ธุรกิจก็ย่อมจะเกิดความเสียหายได้อย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
2. การปฏิเสธชำระค่าตอบแทน
ส่วนใหญ่แล้วผู้รับสิทธิมักจะตั้งคำถามหรือข้อสงสัยว่าเหตุใดตนยังต้องชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ให้สิทธิเมื่อกิจการประสบความสำเร็จแล้ว โดยอาจคิดว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการลงทุนและการดำเนินงานของตนแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้โดยผู้รับสิทธิมักจะไม่ได้คิดถึงพฤติกรรมหรือผลงานที่ผ่านมาของผู้ให้สิทธิแต่ประการใด
3. การควบคุมโดยกฎหมาย
ธุรกิจประเภทแฟรนไชส์นี้ ตามกฎหมายต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือออสเตรเลีย มีการออกกฎหมายที่ควบคุมกิจการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนการเปิดเผยข้อมูล การเรียกค่าตอบแทน การเลิกสัญญา และข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งต่างกับในประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นน้อยมากเพราะประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายที่จะควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์
ค. ข้อดีในด้านผู้รับสิทธิ
1. ลดความเสี่ยง อาศัยชื่อเสียงของผู้ให้สิทธิ
ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีเงินทุนจำกัด ก็อาจจะลดภาระความเสี่ยงของตนเองโดยอาศัยความสำเร็จและชื่อเสียงของผู้ให้สิทธิรวมทั้งอาศัยความรู้ความชำนาญและความช่วยเหลือ ไม่ว่าในด้านบริหารและเงินทุนราคาถูกจากผู้ให้สิทธิได้
2. แบ่งปันผลประโยชน์โดยยังคงความเป็นเจ้าของกิจการ
ผู้รับสิทธิสามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ผู้ให้สิทธิมีอยู่ โดยเฉพาะผู้ให้สิทธิที่เป็นเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดใหญ่ และมีอาณาเขตกว้างขวางโดยผู้รับสิทธิสามารถเข้าไปมีความสัมพันธ์กับผู้ให้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นรูปของการค้นคว้า การวิจัย ความรู้ทางด้านการบริหารการเงินหรือทางด้านการตลาด โดยสามารถเขยิบฐานะตนเองให้อยู่ในฐานะเดียวกันได้กับผู้ให้สิทธิได้ นอกจากนี้แล้วผู้รับสิทธิยังสามารถดำรงความเป็นอิสระในการเป็นเจ้าของของตนเองได้พอสมควรทีเดียว
3. ประหยัดระยะเวลาสำหรับการส่งเสริมการขาย
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นธุรกิจที่แม้จะใหญ่ สามารถลงทุนแต่เพียงน้อยได้และยังใช้ระยะเวลาในการส่งเสริมการขายที่น้อยลงกว่าสินค้าหรือบริการประเภทอื่น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าสินค้าหรือบริการของผู้ให้สิทธินั้น ได้มีการส่งเสริมการขายหรือมีชื่อเสียงพร้อมอยู่แล้ว
4. ได้รับความรู้ใหม่
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้รับสิทธิยังอาจจะได้รับสูตร กรรมวิธีการผลิต การควบคุม การบริหาร และการเงินต่างๆ ซึ่งผู้ให้สิทธิมอบให้ผู้รับสิทธิซึ่งไม่เคยมีความรู้อยู่ก่อนเลย
ง. ข้อเสียในด้านผู้รับสิทธิ
1. การควบคุมโดยผู้ให้สิทธิ
ผู้รับสิทธิอาจจะไม่ประสงค์จะให้ผู้รับสิทธิสามารถควบคุมการวางแผนและนโยบายการดำเนินการของผู้รับสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับสิทธิซึ่งมีแนวความคิดที่เป็นเจ้าของของกิจการของตนเองมักจะไม่ชอบการเข้ามายุ่งเกี่ยวของผู้ให้สิทธิ
2. การชำระค่าตอบแทน
ในกรณีผู้รับสิทธิพบว่าตนเองมีความสำคัญหรือมีความชำนาญเท่าเทียมหรือมากกว่าผู้ให้สิทธิแล้วก็อาจจะเกิดปัญหาที่ว่าเหตุใดตนเองจึงยังสมควรจะต้องจ่ายค่าสิทธิหรือค่าตอบแทนต่อไปให้แก่ผู้ให้สิทธิ
3. ข้อจำกัดในการดำเนินการ
การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น มักจะมีข้อจำกัดกำหนดกฎเกณฑ์ค่อนข้างมาก และอาจจะทำให้ผู้รับสิทธิไม่สามารถมีนโยบายอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือการขายหรือการดำเนินการใหม่ ซึ่งผู้รับสิทธิคิดว่ามีความรู้ความสามารถจะแก้ไขหรือพัฒนาต่อไปได้
4. การเลิกสัญญาโดยง่าย
ในบางครั้งธุรกิจแฟรนไชส์นั้นผู้ให้สิทธิจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาภายหลังจากที่ผู้รับสัญญาได้พัฒนาหรือปรับปรุงธุรกิจของตนจนเข้าขั้นที่จะยอมรับหรือตั้งอยู่ได้ การเลิกสัญญานั้นอาจจะเป็นเนื่องจากสัญญาครอบคลุมรายละเอียดมากมายเกินไป จนทำให้ผู้รับสิทธิกลายเป็นผู้ผิดสัญญา และในบางกรณีก็อาจจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายในต่างประเทศของผู้ให้สิทธิเอง
5. ความผิดพลาดของผู้ให้สิทธิ
ผู้รับสิทธิอาจจะมีความคุ้นเคยและทราบถึงสถานะการตลาดดีกว่าผู้ให้สิทธิ แต่ในบางครั้งนั้นถ้าหากผู้ให้สิทธิวางแผนการตลาดผิดพลาดแล้ว ผู้รับสิทธิอาจจะต้องร่วมดำเนินการตามคำสั่งของผู้ให้สิทธิ ซึ่งอาจทำให้กิจการเกิดความล่าช้าและเสียหายได้
6. ค่าใช้จ่ายมาก
กิจการที่ผู้ให้สิทธิมีชื่อเสียงอยู่ในต่างประเทศนั้น ผู้รับสิทธิอาจจะต้องเสียค่าตอบแทนมาก และยังจะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในด้านการตลาดอาจจะเป็นเพราะว่าผู้ให้สิทธิมีชื่อเสียง แต่ความจริงแล้วการมีชื่อเสียงในต่างประเทศอาจจะไม่มีประโยชน์อย่างใดในประเทศไทยก็เป็นได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าทุกกิจการย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่หากจะดูในแง่ของผู้รับสัญญาแล้ว ดูเหมือนว่าผู้รับสัญญาซึ่งเป็นผู้จะเริ่มลงมือประกอบธุรกิจใหม่นั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจมากกว่าบุคคลที่ประกอบธุรกิจโดยไม่มีแฟรนไชส์ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์นั้นได้มีการพัฒนารูปแบบของตนเองมาพอสมควร ผู้ประกอบการซึ่งยังไม่มีประสบการณ์ทางการค้าเองก็น่าจะได้เรียนรู้และรับการอบรมจากผู้ให้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนในด้านการเงิน การจัดหาสิ่งของต่างๆ หรือวัตถุดิบด้วย ส่วนในแง่ของผู้ให้สิทธินั้น ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ให้สิทธิสามารถจะขยายตลาดและให้บริการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้งบลงทุนที่สูงมากนัก
ข้อพิจารณาในการเลือกผู้รับสิทธิ และผู้ให้สิทธิในธุรกิจแฟรนไชส์
การพิจารณาเลือกผู้รับสิทธิหรือผู้ให้สิทธิในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิคงจะต้องมีความเข้าใจตรงกันว่าสิทธิที่จะให้แก่ผู้รับสิทธิในระบบแฟรนไชส์นั้นจะต้องเป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะให้ได้และผู้รับสิทธิสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิและสามารถพัฒนากิจการดังกล่าวร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จของกิจการและเกิดผลกำไรได้ในที่สุด ข้อพิจารณาในการเลือกผู้รับสิทธิและผู้ให้สิทธินั้นมักจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยอาจจะแบ่งพิจารณาหลักเกณฑ์ได้ดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธินั้นเป็นใคร
ต่างฝ่ายต่างจะต้องตรวจสอบสถานภาพว่าผู้ให้สิทธิ และผู้รับสิทธินั้นต่างมีรายละเอียด และมีประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้า การเงิน การลงทุนอย่างไร เพื่อพิจารณาดูว่าสิทธิดังกล่าวจะสามารถประสบความสำเร็จได้หรือไม่ และมีสิทธิที่จะได้ตามสัญญาหรือไม่ และเมื่อรับสิทธิไปแล้วผู้รับสิทธิสามารถที่จะพัฒนาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ให้สิทธิประสบความสำเร็จได้หรือไม่ การที่จะศึกษาดูประวัติของผู้รับสิทธิและผู้ให้สิทธินั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การตรวจสอบอาจจะตรวจสอบประวัติจากธนาคารที่ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิเป็นลูกค้าอยู่ ตรวจสอบจากระบบจดทะเบียน เช่น ทะเบียนบริษัท และทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือทะเบียนสิทธิบัตรก็ได้
2. ผู้ให้สิทธิควรมีความรู้ความชำนาญเหนือหรือดีกว่าผู้รับสิทธิ
ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธินั้นต่างจะต้องมีผู้บริหารที่มีความรู้ความชำนาญเท่าเทียมกัน หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกัน และพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และผู้ให้สิทธิควรจะมีสิทธิในความรู้ของด้านกิจการหรือธุรกิจที่ให้สิทธิดีกว่าผู้รับสิทธิ เพื่อจะได้สามารถถ่ายทอดความรู้และได้ใช้สิทธิของตนให้ได้ เพราะถ้าหากปรากฏว่าผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธิมีความสามารถเท่าเทียมกัน คงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมีการทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะต่างคนต่างก็สามารถประกอบกิจการของตนเองได้อยู่แล้ว
3. เครื่องมือเครื่องใช้ สินค้า การฝึกอบรม
เครื่องมือเครื่องใช้และแหล่งที่มาของสินค้า ระบบการควบคุมคุณภาพ ไม่ว่าระบบการค้าหรือการให้บริการนั้นควรจะต้องพิจารณาในหลายรูปแบบทั้งของผู้รับสิทธิ และผู้ให้สิทธิ สำหรับผู้รับสิทธิเองคงจะต้องดูว่า เครื่องมือเครื่องใช้หรือว่าสินค้าที่จะมอบให้ของผู้ให้สิทธิในการดำเนินกิจการในด้านการขายหรือบริการนั้นเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงพอหรือไม่ ในฐานะผู้ให้สิทธินั้นก็คงจะต้องดูว่าผู้รับสิทธิในกรณีที่มีเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เองแล้ว แหล่งที่มาของสินค้าของผู้ให้สิทธิก็คงจะต้องตรวจสอบด้วยว่าทรัพย์สินของผู้รับสิทธิเข้าขั้นมาตรฐานหรือไม่
4. การตลาดและส่วนแบ่งการตลาดและการเป็นที่ยอมรับ
การตลาดและส่วนแบ่งการตลาดในข้อนี้ในแง่ของผู้ให้สิทธิเองจะต้องดูว่าผู้รับสิทธินั้นสามารถจะสร้างสภาวะการตลาด หรือขยายตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการของตนเองออกได้หรือไม่ เพราะถ้ามีผู้รับสิทธิให้เลือกหลายรายก็ควรจะเลือกผู้รับสิทธิที่มีทีท่าว่าจะขยายตลาดออกไปได้หรืออย่างน้อยก็เคยอยู่ในธุรกิจประเภทเดียวกันมาก่อน ส่วนผู้รับสิทธิก็เช่นกันคงต้องพิจารณาด้วยว่า ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตนเองเข้าไปลงทุนขอสิทธิมานั้นสินค้าหรือว่าบริการดังกล่าวจากผู้ให้สิทธินั้นจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่เท่าไร เพราะถ้าหากมีส่วนแบ่งการตลาดที่กว้างขวางอยู่แล้ว ก็คงจะยากสำหรับผู้รับสิทธิที่จะมาขยายการตลาดเพิ่มเติมอีก มีข้อที่น่าสังเกตว่าหากใช้หลักเกณฑ์นี้พิจารณาผู้ประกอบธุรกิจเล็กๆ ก็คงจะยากที่จะประสบความสำเร็จในการที่จะไปขอระบบธุรกิจแฟรนไชส์จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง ผลจึงอาจมีว่าธุรกิจใหม่จึงย่อมจะยอมเสี่ยงภัยให้กับผู้รับสิทธิซึ่งเป็นหน้าใหม่ ในขณะเดียวกันผู้ให้สิทธิเก่าก็คงจะต้องคำนึงถึงว่า ผู้รับสิทธินั้นจะต้องเป็นคนหน้าเก่าเช่นเดียวกัน
5. การขัดผลประโยชน์
ในการเลือกผู้รับสิทธินั้นผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิคงจะต้องต่างฝ่ายต่างต้องดูว่าการให้สิทธิหรือการรับสิทธิของตนเข้ามาแล้วก่อให้เกิดข้อขัดแย้งหรือขัดผลประโยชน์ของลูกค้าของตนที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่เดิมหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นไปได้เหมือนกันว่าในกรณีที่ผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธินั้นเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในทางการค้า และมีลูกค้าของตนเองอยู่เดิม การที่จะจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นมาก็เท่ากับเป็นการแย่งส่วนแบ่งการตลาดของลูกค้าของตนที่มีอยู่เดิม ดังนั้น เพื่อที่จะไม่เกิดสภาวะเช่นนี้จึงต้องมีการสำรวจกำหนดขอบเขตอาณาเขตที่จะให้สิทธิแฟรนไชส์ไว้
6. ประวัติการเงิน ผลงานการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการ
ประวัติทางการเงิน การทำงาน หรือความสามารถในการดำเนินธุรกิจการวิจัยและการพัฒนา ก็คงจะต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาทั้งสองประการ ในแง่ของผู้รับสิทธิเองก็คงจะต้องดูว่าผู้ให้สิทธินั้นมีสถานะทางการเงินหรือประสบการณ์ทางธุรกิจเข้มแข็งเพียงใด และสามารถที่จะให้การอบรมวิจัยพัฒนาระบบธุรกิจต่อไปได้เรื่อยๆ หรือไม่ เพราะถ้าหากว่าธุรกิจของผู้ให้สิทธิไม่สามารถจะขยายตัวไปได้นั้นก็คงจะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาร่วมเข้าทำสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน ส่วนผู้ให้สิทธิก็เช่นกันก็คงจะต้องพิจารณาว่าผู้รับสิทธินั้นมีประวัติการดำเนินธุรกิจอย่างไร สามารถที่จะรับการถ่ายทอดและเป็นผู้ที่รักษาคำมั่นสัญญามากน้อยเพียงไรเหมือนกัน ประการที่สำคัญก็คือ การพิจารณาของผู้รับสิทธินั้นในฐานะผู้ดำเนินการก็คงจะต้องดูว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ชื่อทางการค้า สูตรกรรม วิธีการผลิต ระบบการฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ นั้น มีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร และมีสิทธิแค่ไหนเพียงไรที่จะสามารถให้ผู้รับสิทธิได้รับความรู้และความชำนาญดังกล่าวจากผู้ให้สิทธิ เพราะว่าการได้รับสิทธิจากบุคคลที่ไม่มีอำนาจนั้น ย่อมอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลแก่ผู้รับสิทธิได้เช่นเดียวกัน การเจรจาเข้าทำสัญญาที่กำหนดรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องครอบคลุมให้หมด--จบ--
Source : เรียบเรียงจาก THE GREAT COLLECTION : SERIES 41แฟรนไชส์ มหัศจรรย์แห่งธุรกิจ ของหนังสือพิมพ์คู่แข่งรายสัปดาห์
----สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
สำหรับในประเทศนั้น ระบบธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่งจะเข้ามามีบทบาทในประเทศเมื่อไม่นานมานี้เอง และธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศส่วนใหญ่มักจะเป็นประเภทกิจการโรงแรม กิจการธุรกิจอาหารแบบปรุงเร็ว (Fast Food) และกิจการร้านไอศกรีม หรือสถานีบริการน้ำมัน
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นควรจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้คือ
1. จะต้องเป็นนิติสัมพันธ์ในทางพาณิชย์ระหว่างผู้ให้สิทธิกับผู้รับสิทธิ คือผู้รับสิทธิจะขายสินค้าหรือให้บริการภายใต้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการบริการ หรือชื่อทางการค้า ตามสิทธิที่ได้รับจากผู้ให้สิทธิ และผู้ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะให้สิทธิอันดังกล่าว รวมทั้งมีสิทธิของผู้ให้สิทธิในการควบคุมและดูแลการดำเนินการกิจการของผู้รับสิทธิด้วย
2. ผู้ให้สิทธิจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและแนะนำในด้านการตลาดแก่ผู้รับสิทธิ
3. ผู้รับสิทธิจะต้องชำระค่าตอบแทนจากการให้สิทธิตามสัญญานั้น
ลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะจำแนกลักษณะที่สำคัญได้ดังนี้คือ
1. จะต้องมีผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิ
2. จะต้องมีความสัมพันธ์ทางนิติกรรมสัญญา
3. การให้สิทธินั้นจะต้องเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) อันได้แก่ เครื่องหมายการค้า (Trademark) ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และชื่อทางการค้า สูตรกรรมวิธีการผลิต หรือ Know-how หรือเครื่องหมายบริการ (Service Mark) ความลับทางการค้า (Trade Secret)
4. การที่ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิต่างมีการควบคุมการดำเนินการซึ่งกันและกัน รวมตลอดถึงผู้ให้สิทธิต้องให้ความช่วยเหลืออบรมกิจการแก่ผู้รับสิทธิดังกล่าวด้วย
หากพิจารณาองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว สัญญาแฟรนไชส์นั้นก็ควรจะเรียกว่าเป็น "สัญญาให้สิทธิ" และเรียกผู้ที่เป็น Franchisor ว่า "ผู้ให้สิทธิ" และเรียกผู้ที่เป็น Franchisee ว่า "ผู้รับสิทธิ" เพราะการเรียกชื่อดังกล่าวน่าจะลดความขลังของธุรกิจประเภทนี้ลงจากที่มีผู้เรียกกิจการแฟรนไชส์ว่าเป็น "สัมปทานเอกชน" และก็อาจจะทำให้คนมีความสนใจในธุรกิจนี้เพิ่มมากขึ้นหรือถ้าหากเพื่อเอกลักษณ์ของธุรกิจประเภทนี้ก็คงจะเรียกว่าแฟรนไชส์ก็น่าที่จะไม่มีอะไรขัดข้องและเพื่อประโยชน์การอ้างอิง ขอเลือกใช้คำว่า "ผู้ให้สิทธิ" (Franchisor) และ "ผู้รับสิทธิ" (Franchisee) แต่ยังคงเรียกว่าธุรกิจหรือสัญญาแฟรนไชส์ทับศัพท์ต่อไป เพื่อไม่ให้ต้องเกิดความสับสน
โดยส่วนรวมแล้ว ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นอาจจะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น
1. การให้สิทธิในตัวสินค้า (Product Franchise)
2. การให้สิทธิทั้งระบบของธุรกิจ (System Franchise)
3. การให้สิทธิกรรมวิธีและข้อมูลในการผลิต (A Processing or Manu-facturing Franchise)
4. การให้สิทธิในฐานะกลุ่มของผู้ค้า (Group Trading)
ถ้าหากจะแบ่งประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขายสินค้า ซึ่งอาจจะรวมถึงการขายสินค้าโดยผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีสูตรกรรมวิธีการผลิต และอาจจะมีข้อกำหนดอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้น
2. ธุรกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการ ซึ่งนอกเหนือจากการให้บริการนั้นแล้วก็อาจจะให้มีการฝึกอบรม มีการให้ใช้ชื่อเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หรือชื่อทางการค้า
สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ดำรงอยู่ได้นั้น คงจะต้องคำนึงถึงสิทธิที่ผู้ให้สิทธิให้แก่ผู้รับพิจารณาสิทธินั้นว่าเป็นสิทธิที่มีกฎหมายรับรองหรือไม่ และเป็นสิทธิที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคหรือลูกค้าทั่วโลกหรือทั่วเขตใดเขตหนึ่งที่ผู้ประกอบการมีความประสงค์จะทำธุรกิจเพียงใด ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะมีความสำคัญก็คงจะต้องเป็นธุรกิจที่ผู้ให้สิทธินั้นเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการเจ้าของชื่อทางการค้า เจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของสิทธิบัตร หรือเจ้าของสูตรกรรมวิธีการผลิตอื่นๆ ที่จะทำให้ลักษณะสินค้าของตนเองนั้นมีลักษณะเด่นหรือพิเศษออกมาจากของกิจการของบุคคลอื่น นอกจากนั้นแล้วผู้ให้สิทธิจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความรู้ที่จะให้สิทธิและถ่ายทอดความรู้ สูตรกรรมวิธีให้แก่ผู้รับสิทธิได้ในปัจจุบัน กล่าวโดยสรุปก็จะถือได้ว่าแนวความคิดของระบบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นก็สามารถนำไปใช้ได้นับตั้งแต่กิจการขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ อาทิเช่น การขายสินค้า การทำบัญชี การตรวจสภาพรถ การเช่ารถ การล้างรถ ธุรกิจโรงแรม การขายของโดยตรง ฯลฯ
ข้อดีและข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นก็เหมือนกับเหรียญที่มีด้าน 2 ด้านที่แตกต่างกันคือ ย่อมจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การพิจารณาที่จะเลือกธุรกิจแฟรนไชส์อย่างไรนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาเลือกกันเอาเอง ข้อดีและข้อเสียที่จะนำมาพิจารณาดังต่อไปนี้เป็นเพียงข้อพิจารณาประกอบที่อาจจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจะเลือกด้วยว่าตนควรจะเข้าดำเนินกิจการธุรกิจแฟรนไชส์หรือไม่ และยังอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ด้วย การแบ่งพิจารณาข้อดีและข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะต้องแบ่งพิจารณาออกไปใน 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ให้สิทธิ (Franchisor) และในด้านของผู้รับสิทธิ (Franchisee) โดยจะแยกพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
ก. ข้อดีในด้านผู้ให้สิทธิ
1. การควบคุมการดำเนินการ
โดยลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ผู้ให้สิทธิจำเป็นจะต้องดำเนินการควบคุม การดำเนินการของผู้รับสิทธิโดยการควบคุมดังกล่าวจะกำหนดไว้ในสัญญาการกำหนดในรูปแบบการดำเนินการราคาสินค้าหรือบริการ การส่งเสริมการขาย หรือการบริการ ในบางครั้งอาจมีการกำหนดควบคุมในด้านการบริหาร
2. การขยายตลาดโดยลงทุนน้อย
เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์นั้น เป็นธุรกิจที่ทำให้ผู้ให้สิทธินั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในการจะขยายตลาดออกไป เพราะสามารถปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้รับสิทธิที่จะร่วมลงทุนหรือรับผิดชอบในการดำเนินการการขยายตลาดสินค้าหรือบริการออกเสียส่วนใหญ่
3. ภาระหนี้สินและความเสี่ยงภัยน้อยลง
เมื่อความจำเป็นในการที่จะร่วมลงทุนนั้นลดน้อยลง ภาระรับผิดชอบในหนี้สินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจก็คงจะต้องลดน้อยลงด้วยตามส่วน และในกรณีที่เกิดการขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจผู้ให้สิทธิก็ไม่เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว แต่ผู้รับสิทธิก็ร่วมแบ่งเบาภาระในส่วนการขาดทุนอีกด้วย
4. ผลประโยชน์ร่วมกัน
ธุรกิจแฟรนไชส์จะทำให้เกิดความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะว่าผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันจึงเกิดแรงจูงใจ ทำให้แผนงานการขยายตลาดของทั้ง 2 ฝ่าย สามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประหยัดกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ผู้ให้สิทธิสามารถประหยัดทั้งกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบริหาร ตลอดจนเรื่องการเงิน การบัญชีอื่นๆได้ เพราะผู้ให้สิทธิสามารถใช้ระบบรวม และไม่ต้องส่งพนักงานไปประจำแต่ละหน่วยงานที่ไปอยู่ตามสาขาที่ตั้งอยู่ นอกจากนี้ ยังสามารถจะอบรมเจ้าหน้าที่บริหารของตนให้มีความชำนาญเฉพาะด้านได้อีกด้วย
6. บริการทั่วถึงและความชำนาญในเขตแต่ละเขต
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นผู้ให้สิทธิสามารถจะให้บริการแก่ลูกค้าเป้าหมายของตนได้อย่างทั่วถึงและได้ทันท่วงทีโดยการขยายการบริการของผู้รับสิทธิ อีกทั้งยังสามารถอาศัยความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้รับสิทธิซึ่งอยู่ในท้องถิ่นนั้น เพื่อจะทำให้การขายหรือการบริการสินค้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
7. หลีกเลี่ยงปัญหาการผลิตและปัญหาแรงงาน
การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้นผู้ให้สิทธิแทบจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การบริหาร หรือปัญหาเกี่ยวกับพนักงานของผู้รับสิทธิแต่อย่างใดเพราะต่างถือว่าเป็นเอกเทศต่อกัน ผู้ให้สิทธิจึงสามารถจะทำให้การวางแผนงานต่างๆ นั้น สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเป็นภาระและความรับผิดชอบ
ข. ข้อเสียในด้านผู้ให้สิทธิ
1. การไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญา
จากการศึกษาพบว่า ภายหลังจากที่ธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จหรือมีหลักฐานมั่นคงแล้วก็จะเกิดปัญหาที่ว่าผู้รับสิทธิอาจจะไม่มีความประสงค์ที่จะจ่ายค่าสิทธิตอบแทนให้แก่ผู้ให้สิทธิอีกต่อไป รวมทั้งผู้รับสิทธิมักจะหลีกเลี่ยงในการที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญาต่างๆ จากการควบคุมของผู้ให้สิทธิในปัญหานี้การจัดทำร่างสัญญาที่สามารถควบคุมและบังคับได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าหากเกิดความขัดแย้งกันระหว่างผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิแล้ว ธุรกิจก็ย่อมจะเกิดความเสียหายได้อย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
2. การปฏิเสธชำระค่าตอบแทน
ส่วนใหญ่แล้วผู้รับสิทธิมักจะตั้งคำถามหรือข้อสงสัยว่าเหตุใดตนยังต้องชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ให้สิทธิเมื่อกิจการประสบความสำเร็จแล้ว โดยอาจคิดว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการลงทุนและการดำเนินงานของตนแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้โดยผู้รับสิทธิมักจะไม่ได้คิดถึงพฤติกรรมหรือผลงานที่ผ่านมาของผู้ให้สิทธิแต่ประการใด
3. การควบคุมโดยกฎหมาย
ธุรกิจประเภทแฟรนไชส์นี้ ตามกฎหมายต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือออสเตรเลีย มีการออกกฎหมายที่ควบคุมกิจการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนการเปิดเผยข้อมูล การเรียกค่าตอบแทน การเลิกสัญญา และข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งต่างกับในประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นน้อยมากเพราะประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายที่จะควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์
ค. ข้อดีในด้านผู้รับสิทธิ
1. ลดความเสี่ยง อาศัยชื่อเสียงของผู้ให้สิทธิ
ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีเงินทุนจำกัด ก็อาจจะลดภาระความเสี่ยงของตนเองโดยอาศัยความสำเร็จและชื่อเสียงของผู้ให้สิทธิรวมทั้งอาศัยความรู้ความชำนาญและความช่วยเหลือ ไม่ว่าในด้านบริหารและเงินทุนราคาถูกจากผู้ให้สิทธิได้
2. แบ่งปันผลประโยชน์โดยยังคงความเป็นเจ้าของกิจการ
ผู้รับสิทธิสามารถเข้าไปมีส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ผู้ให้สิทธิมีอยู่ โดยเฉพาะผู้ให้สิทธิที่เป็นเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดใหญ่ และมีอาณาเขตกว้างขวางโดยผู้รับสิทธิสามารถเข้าไปมีความสัมพันธ์กับผู้ให้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นรูปของการค้นคว้า การวิจัย ความรู้ทางด้านการบริหารการเงินหรือทางด้านการตลาด โดยสามารถเขยิบฐานะตนเองให้อยู่ในฐานะเดียวกันได้กับผู้ให้สิทธิได้ นอกจากนี้แล้วผู้รับสิทธิยังสามารถดำรงความเป็นอิสระในการเป็นเจ้าของของตนเองได้พอสมควรทีเดียว
3. ประหยัดระยะเวลาสำหรับการส่งเสริมการขาย
ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นธุรกิจที่แม้จะใหญ่ สามารถลงทุนแต่เพียงน้อยได้และยังใช้ระยะเวลาในการส่งเสริมการขายที่น้อยลงกว่าสินค้าหรือบริการประเภทอื่น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าสินค้าหรือบริการของผู้ให้สิทธินั้น ได้มีการส่งเสริมการขายหรือมีชื่อเสียงพร้อมอยู่แล้ว
4. ได้รับความรู้ใหม่
การทำธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้รับสิทธิยังอาจจะได้รับสูตร กรรมวิธีการผลิต การควบคุม การบริหาร และการเงินต่างๆ ซึ่งผู้ให้สิทธิมอบให้ผู้รับสิทธิซึ่งไม่เคยมีความรู้อยู่ก่อนเลย
ง. ข้อเสียในด้านผู้รับสิทธิ
1. การควบคุมโดยผู้ให้สิทธิ
ผู้รับสิทธิอาจจะไม่ประสงค์จะให้ผู้รับสิทธิสามารถควบคุมการวางแผนและนโยบายการดำเนินการของผู้รับสิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับสิทธิซึ่งมีแนวความคิดที่เป็นเจ้าของของกิจการของตนเองมักจะไม่ชอบการเข้ามายุ่งเกี่ยวของผู้ให้สิทธิ
2. การชำระค่าตอบแทน
ในกรณีผู้รับสิทธิพบว่าตนเองมีความสำคัญหรือมีความชำนาญเท่าเทียมหรือมากกว่าผู้ให้สิทธิแล้วก็อาจจะเกิดปัญหาที่ว่าเหตุใดตนเองจึงยังสมควรจะต้องจ่ายค่าสิทธิหรือค่าตอบแทนต่อไปให้แก่ผู้ให้สิทธิ
3. ข้อจำกัดในการดำเนินการ
การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น มักจะมีข้อจำกัดกำหนดกฎเกณฑ์ค่อนข้างมาก และอาจจะทำให้ผู้รับสิทธิไม่สามารถมีนโยบายอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือการขายหรือการดำเนินการใหม่ ซึ่งผู้รับสิทธิคิดว่ามีความรู้ความสามารถจะแก้ไขหรือพัฒนาต่อไปได้
4. การเลิกสัญญาโดยง่าย
ในบางครั้งธุรกิจแฟรนไชส์นั้นผู้ให้สิทธิจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาภายหลังจากที่ผู้รับสัญญาได้พัฒนาหรือปรับปรุงธุรกิจของตนจนเข้าขั้นที่จะยอมรับหรือตั้งอยู่ได้ การเลิกสัญญานั้นอาจจะเป็นเนื่องจากสัญญาครอบคลุมรายละเอียดมากมายเกินไป จนทำให้ผู้รับสิทธิกลายเป็นผู้ผิดสัญญา และในบางกรณีก็อาจจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงนโยบายในต่างประเทศของผู้ให้สิทธิเอง
5. ความผิดพลาดของผู้ให้สิทธิ
ผู้รับสิทธิอาจจะมีความคุ้นเคยและทราบถึงสถานะการตลาดดีกว่าผู้ให้สิทธิ แต่ในบางครั้งนั้นถ้าหากผู้ให้สิทธิวางแผนการตลาดผิดพลาดแล้ว ผู้รับสิทธิอาจจะต้องร่วมดำเนินการตามคำสั่งของผู้ให้สิทธิ ซึ่งอาจทำให้กิจการเกิดความล่าช้าและเสียหายได้
6. ค่าใช้จ่ายมาก
กิจการที่ผู้ให้สิทธิมีชื่อเสียงอยู่ในต่างประเทศนั้น ผู้รับสิทธิอาจจะต้องเสียค่าตอบแทนมาก และยังจะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในด้านการตลาดอาจจะเป็นเพราะว่าผู้ให้สิทธิมีชื่อเสียง แต่ความจริงแล้วการมีชื่อเสียงในต่างประเทศอาจจะไม่มีประโยชน์อย่างใดในประเทศไทยก็เป็นได้
กล่าวโดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่าทุกกิจการย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่หากจะดูในแง่ของผู้รับสัญญาแล้ว ดูเหมือนว่าผู้รับสัญญาซึ่งเป็นผู้จะเริ่มลงมือประกอบธุรกิจใหม่นั้นมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจมากกว่าบุคคลที่ประกอบธุรกิจโดยไม่มีแฟรนไชส์ เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์นั้นได้มีการพัฒนารูปแบบของตนเองมาพอสมควร ผู้ประกอบการซึ่งยังไม่มีประสบการณ์ทางการค้าเองก็น่าจะได้เรียนรู้และรับการอบรมจากผู้ให้สิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนในด้านการเงิน การจัดหาสิ่งของต่างๆ หรือวัตถุดิบด้วย ส่วนในแง่ของผู้ให้สิทธินั้น ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ให้สิทธิสามารถจะขยายตลาดและให้บริการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้งบลงทุนที่สูงมากนัก
ข้อพิจารณาในการเลือกผู้รับสิทธิ และผู้ให้สิทธิในธุรกิจแฟรนไชส์
การพิจารณาเลือกผู้รับสิทธิหรือผู้ให้สิทธิในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิคงจะต้องมีความเข้าใจตรงกันว่าสิทธิที่จะให้แก่ผู้รับสิทธิในระบบแฟรนไชส์นั้นจะต้องเป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะให้ได้และผู้รับสิทธิสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิและสามารถพัฒนากิจการดังกล่าวร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จของกิจการและเกิดผลกำไรได้ในที่สุด ข้อพิจารณาในการเลือกผู้รับสิทธิและผู้ให้สิทธินั้นมักจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน โดยอาจจะแบ่งพิจารณาหลักเกณฑ์ได้ดังต่อไปนี้คือ
1. ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธินั้นเป็นใคร
ต่างฝ่ายต่างจะต้องตรวจสอบสถานภาพว่าผู้ให้สิทธิ และผู้รับสิทธินั้นต่างมีรายละเอียด และมีประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้า การเงิน การลงทุนอย่างไร เพื่อพิจารณาดูว่าสิทธิดังกล่าวจะสามารถประสบความสำเร็จได้หรือไม่ และมีสิทธิที่จะได้ตามสัญญาหรือไม่ และเมื่อรับสิทธิไปแล้วผู้รับสิทธิสามารถที่จะพัฒนาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้ให้สิทธิประสบความสำเร็จได้หรือไม่ การที่จะศึกษาดูประวัติของผู้รับสิทธิและผู้ให้สิทธินั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การตรวจสอบอาจจะตรวจสอบประวัติจากธนาคารที่ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิเป็นลูกค้าอยู่ ตรวจสอบจากระบบจดทะเบียน เช่น ทะเบียนบริษัท และทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือทะเบียนสิทธิบัตรก็ได้
2. ผู้ให้สิทธิควรมีความรู้ความชำนาญเหนือหรือดีกว่าผู้รับสิทธิ
ผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธินั้นต่างจะต้องมีผู้บริหารที่มีความรู้ความชำนาญเท่าเทียมกัน หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกัน และพร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และผู้ให้สิทธิควรจะมีสิทธิในความรู้ของด้านกิจการหรือธุรกิจที่ให้สิทธิดีกว่าผู้รับสิทธิ เพื่อจะได้สามารถถ่ายทอดความรู้และได้ใช้สิทธิของตนให้ได้ เพราะถ้าหากปรากฏว่าผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธิมีความสามารถเท่าเทียมกัน คงไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมีการทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะต่างคนต่างก็สามารถประกอบกิจการของตนเองได้อยู่แล้ว
3. เครื่องมือเครื่องใช้ สินค้า การฝึกอบรม
เครื่องมือเครื่องใช้และแหล่งที่มาของสินค้า ระบบการควบคุมคุณภาพ ไม่ว่าระบบการค้าหรือการให้บริการนั้นควรจะต้องพิจารณาในหลายรูปแบบทั้งของผู้รับสิทธิ และผู้ให้สิทธิ สำหรับผู้รับสิทธิเองคงจะต้องดูว่า เครื่องมือเครื่องใช้หรือว่าสินค้าที่จะมอบให้ของผู้ให้สิทธิในการดำเนินกิจการในด้านการขายหรือบริการนั้นเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยเพียงพอหรือไม่ ในฐานะผู้ให้สิทธินั้นก็คงจะต้องดูว่าผู้รับสิทธิในกรณีที่มีเครื่องมือเครื่องใช้อยู่เองแล้ว แหล่งที่มาของสินค้าของผู้ให้สิทธิก็คงจะต้องตรวจสอบด้วยว่าทรัพย์สินของผู้รับสิทธิเข้าขั้นมาตรฐานหรือไม่
4. การตลาดและส่วนแบ่งการตลาดและการเป็นที่ยอมรับ
การตลาดและส่วนแบ่งการตลาดในข้อนี้ในแง่ของผู้ให้สิทธิเองจะต้องดูว่าผู้รับสิทธินั้นสามารถจะสร้างสภาวะการตลาด หรือขยายตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการของตนเองออกได้หรือไม่ เพราะถ้ามีผู้รับสิทธิให้เลือกหลายรายก็ควรจะเลือกผู้รับสิทธิที่มีทีท่าว่าจะขยายตลาดออกไปได้หรืออย่างน้อยก็เคยอยู่ในธุรกิจประเภทเดียวกันมาก่อน ส่วนผู้รับสิทธิก็เช่นกันคงต้องพิจารณาด้วยว่า ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตนเองเข้าไปลงทุนขอสิทธิมานั้นสินค้าหรือว่าบริการดังกล่าวจากผู้ให้สิทธินั้นจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่เท่าไร เพราะถ้าหากมีส่วนแบ่งการตลาดที่กว้างขวางอยู่แล้ว ก็คงจะยากสำหรับผู้รับสิทธิที่จะมาขยายการตลาดเพิ่มเติมอีก มีข้อที่น่าสังเกตว่าหากใช้หลักเกณฑ์นี้พิจารณาผู้ประกอบธุรกิจเล็กๆ ก็คงจะยากที่จะประสบความสำเร็จในการที่จะไปขอระบบธุรกิจแฟรนไชส์จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง ผลจึงอาจมีว่าธุรกิจใหม่จึงย่อมจะยอมเสี่ยงภัยให้กับผู้รับสิทธิซึ่งเป็นหน้าใหม่ ในขณะเดียวกันผู้ให้สิทธิเก่าก็คงจะต้องคำนึงถึงว่า ผู้รับสิทธินั้นจะต้องเป็นคนหน้าเก่าเช่นเดียวกัน
5. การขัดผลประโยชน์
ในการเลือกผู้รับสิทธินั้นผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิคงจะต้องต่างฝ่ายต่างต้องดูว่าการให้สิทธิหรือการรับสิทธิของตนเข้ามาแล้วก่อให้เกิดข้อขัดแย้งหรือขัดผลประโยชน์ของลูกค้าของตนที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่เดิมหรือไม่ เพราะอาจจะเป็นไปได้เหมือนกันว่าในกรณีที่ผู้ให้สิทธิหรือผู้รับสิทธินั้นเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในทางการค้า และมีลูกค้าของตนเองอยู่เดิม การที่จะจัดตั้งธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นมาก็เท่ากับเป็นการแย่งส่วนแบ่งการตลาดของลูกค้าของตนที่มีอยู่เดิม ดังนั้น เพื่อที่จะไม่เกิดสภาวะเช่นนี้จึงต้องมีการสำรวจกำหนดขอบเขตอาณาเขตที่จะให้สิทธิแฟรนไชส์ไว้
6. ประวัติการเงิน ผลงานการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการ
ประวัติทางการเงิน การทำงาน หรือความสามารถในการดำเนินธุรกิจการวิจัยและการพัฒนา ก็คงจะต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาทั้งสองประการ ในแง่ของผู้รับสิทธิเองก็คงจะต้องดูว่าผู้ให้สิทธินั้นมีสถานะทางการเงินหรือประสบการณ์ทางธุรกิจเข้มแข็งเพียงใด และสามารถที่จะให้การอบรมวิจัยพัฒนาระบบธุรกิจต่อไปได้เรื่อยๆ หรือไม่ เพราะถ้าหากว่าธุรกิจของผู้ให้สิทธิไม่สามารถจะขยายตัวไปได้นั้นก็คงจะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาร่วมเข้าทำสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน ส่วนผู้ให้สิทธิก็เช่นกันก็คงจะต้องพิจารณาว่าผู้รับสิทธินั้นมีประวัติการดำเนินธุรกิจอย่างไร สามารถที่จะรับการถ่ายทอดและเป็นผู้ที่รักษาคำมั่นสัญญามากน้อยเพียงไรเหมือนกัน ประการที่สำคัญก็คือ การพิจารณาของผู้รับสิทธินั้นในฐานะผู้ดำเนินการก็คงจะต้องดูว่า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ชื่อทางการค้า สูตรกรรม วิธีการผลิต ระบบการฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ นั้น มีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร และมีสิทธิแค่ไหนเพียงไรที่จะสามารถให้ผู้รับสิทธิได้รับความรู้และความชำนาญดังกล่าวจากผู้ให้สิทธิ เพราะว่าการได้รับสิทธิจากบุคคลที่ไม่มีอำนาจนั้น ย่อมอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลแก่ผู้รับสิทธิได้เช่นเดียวกัน การเจรจาเข้าทำสัญญาที่กำหนดรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องครอบคลุมให้หมด--จบ--
Source : เรียบเรียงจาก THE GREAT COLLECTION : SERIES 41แฟรนไชส์ มหัศจรรย์แห่งธุรกิจ ของหนังสือพิมพ์คู่แข่งรายสัปดาห์
----สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-