แท็ก
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
นางผ่องศรี ยุทธสารประสิทธิ์ อธิบดีใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้กล่าว แถลงแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา ภายหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 1 ตุลาคม 2543 แล้วว่า ปัญหาหลักของงานทรัพย์สินทางปัญญาในช่วงที่ผ่านมามีประเด็นสำคัญอยู่ที่สังคมยังมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในทางลบ โดยส่วนใหญ่ยังมีความคิดที่เห็นว่าระบบการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่มีความแข็งแรงในด้านเทคโนโลยี อาศัยเป็นเครื่องมือในการปกป้องและรักษาประโยชน์ของตนเอง ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็น ผู้เสียประโยชน์มากกว่า ดังนั้น ในการดำเนินนโยบายด้านต่าง ๆ ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงถูกต่อต้าน และถูกคัดค้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องปรามมิให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ นางผ่องศรี ยอมรับว่าปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไข โดยด่วน แม้จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และเป็นภาระที่หนักก็ตาม ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ กรมฯ คงต้องจัดสรร บุคลากร และงบประมาณ เพื่อทุ่มเทให้กับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการค้า รวมทั้งส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยด้วยกันเอง เป็นหลัก ในปัจจุบัน การประกอบธุรกิจการค้าของคนไทยทั้งในภาคการผลิต และภาคการตลาด มักจะเป็นการนำเอาทรัพย์สินทางปัญญาของคนอื่น โดยเฉพาะคนต่างชาติมาใช้ โดยคนไทยเองเป็นเสมือน ผู้รับจ้างทำของเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้จะเห็นได้จากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการค้าคนไทยส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบมาก เพราะคนต่างชาติที่เป็นเสมือนผู้ว่าจ้างได้หยุด การจ้างลง อย่างไรก็ดี นางผ่องศรี ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับการค้ายุคใหม่ที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างจะ รุนแรงว่า ในระยะยาวผู้ประกอบการค้าคนไทย จะต้องอาศัยประโยชน์จากระบบการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา ในการเพิ่มขีดความสามารถ และศักยภาพในการแข่งขันของเราเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คนไทยจะต้องหันมาให้ความสนใจในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น และต้องถือว่าทรัพย์สิน ทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนด้วย
--กรมทรัพย์สินทางปัญญา พฤศจิกายน 2543--
-อน-
--กรมทรัพย์สินทางปัญญา พฤศจิกายน 2543--
-อน-