กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนดังนี้
1. การประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM Retreat)
ที่ประชุมได้หารือเรื่องการแสดงว่าอาเซียนยังมีความเป็นปึกแผ่นและมีความหมายที่ประเทศต่างๆ จะให้ความสนใจทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจและตอบรับข้อเสนอของฝ่ายไทยซึ่งให้พิจารณาความสัมพันธ์ภายในและภายนอกอาเซียนเป็นอย่างดี โดยในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในอาเซียนที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าควรสนับสนุนให้กลไกความร่วมมือที่มีอยู่เดิมเข้มแข็งขึ้น เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการร่วมลงทุนต่างๆ รวมทั้งการช่วยประเทศสมาชิกใหม่ของ อาเซียนให้ผสานเข้ากับประเทศสมาชิกเดิมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อาเซียนมีความ แข็งแกร่ง
กรณีปัญหาการเงินเพื่อดำเนินการตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for Asean Integration - IAI) ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เสนอให้ประเทศสมาชิกอาเซียน เพิ่มเงินบริจาคและอาจพิจารณานำเงินจากสำนักเลขาธิการอาเซียนมาทดรองใช้ก่อน รวมทั้งเสนอให้แต่ละประเทศสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญเหมือนกันร่วมมือกัน โดยแสวงหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกไปพร้อมๆ กัน
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายนอกอาเซียน ได้มีการเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC) มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการหารือและความร่วมมือระหว่างประเทศและปัญหาข้ามชาติต่างๆ ส่วนที่ประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) ก็ควรหารือเรื่องความมั่นคงต่อไป
ผู้เข้าร่วมการประชุมหลายคนเห็นพ้องกับแนวความคิดของไทยเรื่องการประชุมความร่วมมือในเอเซีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งว่าไทยยินดีหาก อาเซียนจะพิจารณารับข้อเสนอนี้ของไทย เป็นข้อเสนอของอาเซียน เพราะจะแสดงให้เห็นความริเริ่มที่สร้างสรรค์และบทบาทที่ชัดเจน รวมทั้งวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องสถานการณ์การเมืองของอินโดนีเซีย และรับฟังการบรรยายสรุปโดยผู้แทนอินโดนีเซีย ทั้งนี้ อาเซียนยังคงยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น รัฐบาลไทยยินดีที่อินโดนีเซียมีประธานาธิบดีคนใหม่ และปัญหาการเมืองภายในของอินโดนีเซียได้รับการแก้ไขโดยสันติวิธีภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ไทยพร้อมจะให้ความร่วมมือกับประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนใหม่
2. การหารือกับนาย Teofisto T. Guingona Jr. รองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการส่งเสริมและกระชับความร่วมมือที่ใกล้ชิดอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงในเร็วๆ นี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-ฟิลิปปินส์โดยเร็ว รวมทั้งเร่งดำเนินการเรื่องความตกลงด้านการท่องเที่ยวและความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนเพื่อจะได้มีการลงนามระหว่างที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์
3. การหารือกับอู วิน อ่อง (U Win Aung) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า
ฝ่ายไทยแสดงความยินดีต่อการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของพม่า และ แจ้งว่าออสเตรเลียสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายพม่าเห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยเรื่องความร่วมมือสามฝ่าย ไทย พม่า และอินเดีย เพื่อพัฒนาเส้นทางเดินเรือและถนนเชื่อมสามประเทศ ทั้งสองฝ่ายตกลงว่ารัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสามจะร่วมกันพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป ซึ่งนับเป็นข้อเสนอใหม่ที่สร้างสรรค์และเป็นนิมิตหมายที่ดี
พม่ายืนยันการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสี่ฝ่ายด้านยาเสพติด ฝ่ายไทยแจ้งเรื่องที่จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดทั้งการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับนายกรัฐมนตรีเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งไทยพร้อมจะให้การสนับสนุน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนดังนี้
1. การประชุมหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM Retreat)
ที่ประชุมได้หารือเรื่องการแสดงว่าอาเซียนยังมีความเป็นปึกแผ่นและมีความหมายที่ประเทศต่างๆ จะให้ความสนใจทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจและตอบรับข้อเสนอของฝ่ายไทยซึ่งให้พิจารณาความสัมพันธ์ภายในและภายนอกอาเซียนเป็นอย่างดี โดยในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในอาเซียนที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าควรสนับสนุนให้กลไกความร่วมมือที่มีอยู่เดิมเข้มแข็งขึ้น เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และการร่วมลงทุนต่างๆ รวมทั้งการช่วยประเทศสมาชิกใหม่ของ อาเซียนให้ผสานเข้ากับประเทศสมาชิกเดิมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อาเซียนมีความ แข็งแกร่ง
กรณีปัญหาการเงินเพื่อดำเนินการตามความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for Asean Integration - IAI) ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เสนอให้ประเทศสมาชิกอาเซียน เพิ่มเงินบริจาคและอาจพิจารณานำเงินจากสำนักเลขาธิการอาเซียนมาทดรองใช้ก่อน รวมทั้งเสนอให้แต่ละประเทศสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญเหมือนกันร่วมมือกัน โดยแสวงหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกไปพร้อมๆ กัน
ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายนอกอาเซียน ได้มีการเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC) มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการหารือและความร่วมมือระหว่างประเทศและปัญหาข้ามชาติต่างๆ ส่วนที่ประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) ก็ควรหารือเรื่องความมั่นคงต่อไป
ผู้เข้าร่วมการประชุมหลายคนเห็นพ้องกับแนวความคิดของไทยเรื่องการประชุมความร่วมมือในเอเซีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งว่าไทยยินดีหาก อาเซียนจะพิจารณารับข้อเสนอนี้ของไทย เป็นข้อเสนอของอาเซียน เพราะจะแสดงให้เห็นความริเริ่มที่สร้างสรรค์และบทบาทที่ชัดเจน รวมทั้งวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องสถานการณ์การเมืองของอินโดนีเซีย และรับฟังการบรรยายสรุปโดยผู้แทนอินโดนีเซีย ทั้งนี้ อาเซียนยังคงยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น รัฐบาลไทยยินดีที่อินโดนีเซียมีประธานาธิบดีคนใหม่ และปัญหาการเมืองภายในของอินโดนีเซียได้รับการแก้ไขโดยสันติวิธีภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ไทยพร้อมจะให้ความร่วมมือกับประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนใหม่
2. การหารือกับนาย Teofisto T. Guingona Jr. รองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องการส่งเสริมและกระชับความร่วมมือที่ใกล้ชิดอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงในเร็วๆ นี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-ฟิลิปปินส์โดยเร็ว รวมทั้งเร่งดำเนินการเรื่องความตกลงด้านการท่องเที่ยวและความตกลงยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนเพื่อจะได้มีการลงนามระหว่างที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์
3. การหารือกับอู วิน อ่อง (U Win Aung) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า
ฝ่ายไทยแสดงความยินดีต่อการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของพม่า และ แจ้งว่าออสเตรเลียสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการความร่วมมือป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายพม่าเห็นพ้องกับข้อเสนอของไทยเรื่องความร่วมมือสามฝ่าย ไทย พม่า และอินเดีย เพื่อพัฒนาเส้นทางเดินเรือและถนนเชื่อมสามประเทศ ทั้งสองฝ่ายตกลงว่ารัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสามจะร่วมกันพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป ซึ่งนับเป็นข้อเสนอใหม่ที่สร้างสรรค์และเป็นนิมิตหมายที่ดี
พม่ายืนยันการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสี่ฝ่ายด้านยาเสพติด ฝ่ายไทยแจ้งเรื่องที่จีนจะเป็นเจ้าภาพจัดทั้งการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับนายกรัฐมนตรีเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งไทยพร้อมจะให้การสนับสนุน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-