รายได้ รายได้รวมของรัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9 เนื่องจากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร โดยในเดือนพฤศจิกายน 2543 มีสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเพียงแห่งเดียวที่นำส่งรายได้จำนวน 0.3 พันล้านบาท ขณะที่ ปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายโรงงานสุรา และที่ดินราชพัสดุ ขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตเริ่มทรงตัว นอกจากนี้ ภาษีจากการนำเข้าชะลอตัวมากเนื่องจากฐานปีก่อนค่อนข้างสูง เพราะมีการเร่งนำเข้ามากในช่วงก่อนสิ้นปี 2542 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Y2K อย่างไร ก็ตาม ภาษีที่มีฐานการจัดเก็บจากรายได้ปรับสูงขึ้นมาก คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปรับสูงขึ้นร้อยละ 42.6 ส่วนหนึ่ง เนื่องจากกรมสรรพากรได้เรียกนำส่งเพิ่มเติมภาษี หัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงานการบินไทย จากความผิดพลาดในการประเมินฐานภาษีในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับ สูงขึ้นถึงร้อยละ 44.6 จากการที่ฐานปีก่อนต่ำ เนื่องจากการ ผ่อนผันภาษีกลางปีสำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่มีรอบระยะเวลาบัญชี เม.ย. - มี.ค. สำหรับงวดปี 2542
รายจ่าย
รายจ่ายรัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 โดยเป็นการลดลงของรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน (carry over) ร้อยละ 22.6 และเป็นการลดลงของรายจ่ายจาก งบประมาณปัจจุบันร้อยละ 7.3 เนื่องจากรายจ่ายที่สำคัญได้เร่งเบิกจ่ายไปในเดือนตุลาคมแล้ว อาทิ รายจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และรายจ่ายให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง โดย รายจ่ายที่สำคัญในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ รายจ่ายให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 12.0 พันล้านบาท รายจ่ายให้การท่าเรือฯ โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง 2.7 พันล้านบาทและรายจ่ายให้องค์การสวนยางในโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา 2.1 พันล้านบาท
ดุลเงินสด
เดือนพฤศจิกายนขาดดุล 24.1 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 32.9 พันล้านบาท เนื่องจาก รายจ่ายได้ปรับลดลงจากปีก่อน อย่างไรก็ตาม การขาดดุล ได้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ มีการชดเชยโดยการกู้ยืมในประเทศสุทธิจำนวน 30.2 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกตั๋วเงินคลัง ทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น 5.5 พันล้านบาท เป็น 35.0 พันล้านบาท
--ทีมวิเคราะห์การคลัง/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายจ่าย
รายจ่ายรัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 โดยเป็นการลดลงของรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน (carry over) ร้อยละ 22.6 และเป็นการลดลงของรายจ่ายจาก งบประมาณปัจจุบันร้อยละ 7.3 เนื่องจากรายจ่ายที่สำคัญได้เร่งเบิกจ่ายไปในเดือนตุลาคมแล้ว อาทิ รายจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และรายจ่ายให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง โดย รายจ่ายที่สำคัญในเดือนพฤศจิกายน ได้แก่ รายจ่ายให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 12.0 พันล้านบาท รายจ่ายให้การท่าเรือฯ โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง 2.7 พันล้านบาทและรายจ่ายให้องค์การสวนยางในโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา 2.1 พันล้านบาท
ดุลเงินสด
เดือนพฤศจิกายนขาดดุล 24.1 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 32.9 พันล้านบาท เนื่องจาก รายจ่ายได้ปรับลดลงจากปีก่อน อย่างไรก็ตาม การขาดดุล ได้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ มีการชดเชยโดยการกู้ยืมในประเทศสุทธิจำนวน 30.2 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกตั๋วเงินคลัง ทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น 5.5 พันล้านบาท เป็น 35.0 พันล้านบาท
--ทีมวิเคราะห์การคลัง/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-