นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการใช้สิทธิพิเศษภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(CEPT) ซึ่งได้รวบรวมจากสำเนาฟอร์ม D ที่ออกให้ผู้ส่งออกในช่วงเดือนมกราคม — มิถุนายน 2544 ว่ามีมูลค่าทั้งสิ้น 507.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 ซึ่งมีมูลค่า 336.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.61 โดยไทยได้ใช้สิทธิภายใต้ CEPT กับมาเลเซียมากที่สุด มีมูลค่า 185. 62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 36.58 รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมูลค่าใช้สิทธิ 167.35 และ 112.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
สำหรับสินค้าส่งออกภายใต้ CEPT สูง 10 อันดับแรกในปี 2544 ได้แก่ แชมพู เครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ขับเคลื่อนยานบก ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ของยานยนต์ น้ำรวมถึงน้ำแร่และน้ำอัดลม อาหารปรุงแต่ง เส้นใยสั้นเทียมทำด้วยวิสโคส ตู้เย็น โพลิโพรพิลีน กระดาษอนามัยและกระดาษผ้าอ้อม และเครื่องรับโทรทัศน์สี
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และไทย ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนที่เรียกว่า AISP ( ASEAN Integration System of Preferences ) โดยประเทศไทยได้พิจารณาให้สิทธิพิเศษฯแก่ประเทศเวียดนาม 19 รายการ พม่า 30 รายการ ลาว 24 รายการ ส่วนกัมพูชาอยู่ในระหว่างการพิจารณา ทั้งนี้ไทยยังไม่มีการใช้สิทธิฯภายใต้ CEPT กับลาวและกัมพูชา เนื่องจากสินค้าที่ได้รับสิทธิฯเป็นสินค้าคนละรายการกับสินค้าที่มีการส่งออกปกติ รวมทั้งลาวมีรายการที่ลดภาษี (Inclusion List) หรือที่เรียกว่า IL จำนวนน้อย ส่วนกัมพูชารายการลดภาษี (IL) มีอัตราเท่ากับอัตราภาษีปกติในช่วงปีแรกๆ ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT ครั้งที่ 22 เมื่อเดือนสิงหาคม 2544 จึงมีมติให้เร่งลดภาษีศุลกากรในบัญชีสินค้า IL ดังนี้
เวียดนาม ให้ลดภาษี 76.79% ของรายการลดภาษี (IL) มีอัตราภาษี 0 — 5 % ในปี 2546 และเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2549
ลาวและพม่าให้ลดภาษี 86.90% และ 83.43% ของรายการลดภาษี (IL) มีอัตราภาษี 0 — 5% ในปี 2548 และเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2551
กัมพูชา ให้ลดภาษี 91.94% ของรายการลดภาษี (IL) มีอัตราภาษี 0 — 5% ในปี 2550 และเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2553
-กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2544--
-อน-
สำหรับสินค้าส่งออกภายใต้ CEPT สูง 10 อันดับแรกในปี 2544 ได้แก่ แชมพู เครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ขับเคลื่อนยานบก ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ของยานยนต์ น้ำรวมถึงน้ำแร่และน้ำอัดลม อาหารปรุงแต่ง เส้นใยสั้นเทียมทำด้วยวิสโคส ตู้เย็น โพลิโพรพิลีน กระดาษอนามัยและกระดาษผ้าอ้อม และเครื่องรับโทรทัศน์สี
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และไทย ให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนที่เรียกว่า AISP ( ASEAN Integration System of Preferences ) โดยประเทศไทยได้พิจารณาให้สิทธิพิเศษฯแก่ประเทศเวียดนาม 19 รายการ พม่า 30 รายการ ลาว 24 รายการ ส่วนกัมพูชาอยู่ในระหว่างการพิจารณา ทั้งนี้ไทยยังไม่มีการใช้สิทธิฯภายใต้ CEPT กับลาวและกัมพูชา เนื่องจากสินค้าที่ได้รับสิทธิฯเป็นสินค้าคนละรายการกับสินค้าที่มีการส่งออกปกติ รวมทั้งลาวมีรายการที่ลดภาษี (Inclusion List) หรือที่เรียกว่า IL จำนวนน้อย ส่วนกัมพูชารายการลดภาษี (IL) มีอัตราเท่ากับอัตราภาษีปกติในช่วงปีแรกๆ ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT ครั้งที่ 22 เมื่อเดือนสิงหาคม 2544 จึงมีมติให้เร่งลดภาษีศุลกากรในบัญชีสินค้า IL ดังนี้
เวียดนาม ให้ลดภาษี 76.79% ของรายการลดภาษี (IL) มีอัตราภาษี 0 — 5 % ในปี 2546 และเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2549
ลาวและพม่าให้ลดภาษี 86.90% และ 83.43% ของรายการลดภาษี (IL) มีอัตราภาษี 0 — 5% ในปี 2548 และเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2551
กัมพูชา ให้ลดภาษี 91.94% ของรายการลดภาษี (IL) มีอัตราภาษี 0 — 5% ในปี 2550 และเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2553
-กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2544--
-อน-