กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียนกับสหภาพยุโรปกำหนดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (AEMM) ครั้งที่ 13 ที่เวียงจันทร์ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2543 ที่โรงแรม Lao Plaza โดยจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม ศกนี้ ที่โรงแรมล้านช้าง
2. การประชุม AEMM จะประกอบด้วยการหารือใน Plenary ในเรื่องการเมืองและ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารกลางวันในหัวข้อ Futrre of ASEAN-EU Relations
3. ประเทศไทยได้เป็นประเทศผู้ประสานงานอาเซียนกับสหภาพยุโรป เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (สิงหาคม 2540-กรกฎาคม 2543) และได้พยายามผลักดันจนสำเร็จให้มีการจัดการประชุม AEMM ครั้งนี้หลังจากที่ได้หยุดชะงักมา 3 ปี นับตั้งแต่การประชุม AEMM ครั้งที่ 12 ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2540 ซึ่งในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งอาเซียนและสหภาพยุโรปได้มีการกระชับและขยายความร่วมมือในกลุ่มของตน รวมทั้งขยายสมาชิกใหม่ ซึ่งในส่วนของอาเซียน ได้รับลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกในปี 2542 ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงจะเป็นการประชุมครั้งแรกที่ประเทศอาเซียน 10 ประเทศได้เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว
4. ในการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของฝ่ายอาเซียนจะไปร่วมการประชุมด้วยทุกประเทศส่วนสหภาพยุโรป จะมีทั้งระดับรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสเข้าร่วม ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐมนตรีหลายประเทศติดการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเวลาต่อเนื่องกัน ดังมีรายละเอียด ดังนี้
ระดับ รมว.กต. เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก ฟินแลนด์
ระดับรัฐมนตรี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
ระดับ รมช.กต. สหราชอาณิจักร อิตาลี สวีเดน โปรตุเกส กรีซ ไอร์แลนด์
ระดับ ปลัด กต. สเปน เดนมาร์ก
ผู้แทนพิเศษ (ออท.) ออสเตรีย
คณะกรรมาธิการยุโรป อธิบดีฝ่ายความสัมพันธ์ต่างประเทศ
5. ที่ประชุมจะพิจารณารับรอง Joint Declaration ของการประชุม ซึ่งมีสาระครอบคลุมประเด็นที่จะหารือกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ซึ่งทั้งสองฝ่ายกำลังพิจารณาร่างดังกล่าวอยู่
6. ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวตอบในเรื่อง WTO, International Financial Architecture, Digital Divede ภายใต้ระเบียบวาระเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7. ทั้งนี้ คาดว่าการประชุมครั้งนี้กำหนดทิศทางความร่วมมือระหว่างกันในสหัสวรรษใหม่ โดยจะใช้เอกสาร "New Dynamic" in EU-ASEAN Relations Work Programme ซึ่งได้มีการรับรองโดยที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป เมื่อเดินพฤษภาคม 2542 เป็นพื้นฐาน และไทยจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการส่งเสริมและสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนในด้านต่างๆ ซึ่งที่รปะชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง--จบ--
-ยก-
1. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียนกับสหภาพยุโรปกำหนดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (AEMM) ครั้งที่ 13 ที่เวียงจันทร์ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2543 ที่โรงแรม Lao Plaza โดยจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างวันที่ 8-9 ธันวาคม ศกนี้ ที่โรงแรมล้านช้าง
2. การประชุม AEMM จะประกอบด้วยการหารือใน Plenary ในเรื่องการเมืองและ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาหารกลางวันในหัวข้อ Futrre of ASEAN-EU Relations
3. ประเทศไทยได้เป็นประเทศผู้ประสานงานอาเซียนกับสหภาพยุโรป เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (สิงหาคม 2540-กรกฎาคม 2543) และได้พยายามผลักดันจนสำเร็จให้มีการจัดการประชุม AEMM ครั้งนี้หลังจากที่ได้หยุดชะงักมา 3 ปี นับตั้งแต่การประชุม AEMM ครั้งที่ 12 ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2540 ซึ่งในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งอาเซียนและสหภาพยุโรปได้มีการกระชับและขยายความร่วมมือในกลุ่มของตน รวมทั้งขยายสมาชิกใหม่ ซึ่งในส่วนของอาเซียน ได้รับลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกในปี 2542 ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงจะเป็นการประชุมครั้งแรกที่ประเทศอาเซียน 10 ประเทศได้เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว
4. ในการประชุมครั้งนี้รัฐมนตรีต่างประเทศของฝ่ายอาเซียนจะไปร่วมการประชุมด้วยทุกประเทศส่วนสหภาพยุโรป จะมีทั้งระดับรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ และรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสเข้าร่วม ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐมนตรีหลายประเทศติดการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเวลาต่อเนื่องกัน ดังมีรายละเอียด ดังนี้
ระดับ รมว.กต. เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก ฟินแลนด์
ระดับรัฐมนตรี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์
ระดับ รมช.กต. สหราชอาณิจักร อิตาลี สวีเดน โปรตุเกส กรีซ ไอร์แลนด์
ระดับ ปลัด กต. สเปน เดนมาร์ก
ผู้แทนพิเศษ (ออท.) ออสเตรีย
คณะกรรมาธิการยุโรป อธิบดีฝ่ายความสัมพันธ์ต่างประเทศ
5. ที่ประชุมจะพิจารณารับรอง Joint Declaration ของการประชุม ซึ่งมีสาระครอบคลุมประเด็นที่จะหารือกันทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ซึ่งทั้งสองฝ่ายกำลังพิจารณาร่างดังกล่าวอยู่
6. ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กล่าวตอบในเรื่อง WTO, International Financial Architecture, Digital Divede ภายใต้ระเบียบวาระเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7. ทั้งนี้ คาดว่าการประชุมครั้งนี้กำหนดทิศทางความร่วมมือระหว่างกันในสหัสวรรษใหม่ โดยจะใช้เอกสาร "New Dynamic" in EU-ASEAN Relations Work Programme ซึ่งได้มีการรับรองโดยที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป เมื่อเดินพฤษภาคม 2542 เป็นพื้นฐาน และไทยจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการส่งเสริมและสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนในด้านต่างๆ ซึ่งที่รปะชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง--จบ--
-ยก-