บทสรุปนักลงทุน
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำด้วยเซรามิกของไทยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศและทดแทนการนำเข้า ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกได้มากกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ17.5 ต่อปี ในช่วงปี 2538-2541 และเริ่มปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 9 คิดเป็นประมาณ 5,508 ล้านบาทในปี 2542 แม้ว่าภาวะการซบเซาของสภาพเศรษฐกิจได้เริ่มกระเตื้องขึ้น แต่ภาคการเงิน และภาคการลงทุนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พบว่าเป็นการปรับตัวลดลงทั้งความต้องการภายในประเทศ (การจำหน่ายในประเทศรวมนำเข้า) และการส่งออก สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7 โดยร้อยละ 80 ยังคงเป็นการส่งออก
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกมีประมาณ 90-100 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Stoneware และEarthenware ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นการผลิตที่มีเงินลงทุนไม่มาก เทคนิคการผลิตไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการความชำนาญมากนัก แต่มี Margin ที่ต่ำกว่าการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Porcelain และ Bone China
เนื้อดินซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศยกเว้นส่วนผสมบางตัวที่มีคุณสมบัติพิเศษอาจจะต้องนำเข้า เช่น เถ้ากระดูก เป็นต้น แต่ปัจจุบันผู้ผลิตโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กนิยมใช้ดินสำเร็จรูปเนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ส่วนวัตุดิบอื่นที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าได้แก่ สี และสารเคลือบ เป็นต้น ส่วนเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตทั้ง เตาเผาเซรามิกเครื่องผสมดิน เครื่องปั้น และแม่พิมพ์ สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ ส่วนแรงงานสามารถใช้แรงงานทั่วไป
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ซื้อวัตถุดิบและค่าแรงงาน เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมีระดับราคาไม่สูงนัก ส่วนค่าโสหุ้ยในการผลิตส่วนใหญ่ได้แก่พลังงาน (แก๊สหรือไฟฟ้า)สำหรับการเผาเซรามิก นอกนั้นยังมีค่าเสื่อมเครื่องจักร และดอกเบี้ยจ่ายในกรณีกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ 1. Earthenwareเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหนาละเอียด แต่มีความพรุนสามารถดูดซึมน้ำได้ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ชามตราไก่ จานข้าวแกงหรือชามก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น 2. Stoneware เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแข็งแกร่ง/หนามักจะเคลือบทึบแสง 3. Porcelain เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่า 2 ประเภทแรกและราคาสูงกว่า มีทั้งแบบเคลือบทึบและเคลือบใส มีเนื้อแข็งแกร่งไม่ดูดซึมน้ำ มักจะใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะบางและเคลือบเป็นมัน 4. Bone China เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและราคาสูงที่สุด มีความขาวและวาว เนื้อบางและเบา มีความแข็งแกร่งดีมาก โดยมีส่วนผสมของกระดูกสัตว์
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกในช่วงปี 2538-2541ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 17.5 ต่อปี ทั้งนี้พบว่าตลาดส่งออก (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75-80 ของมูลค่าตลาดโดยรวม) มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 22 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 5,151 ล้านบาทในปี 2541 แต่ตลาดในประเทศ (การจำหน่ายในประเทศรวมนำเข้า) ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 930 ล้านบาท ในปี 2542 จากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้นแต่ภาวะการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะในส่วนของโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหารยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันอำนาจซื้อของผู้บริโภคก็ลดต่ำลงเป็นผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยรวมปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,508 ล้านบาท แบ่งเป็นการจำหน่ายจากการผลิตในประเทศประมาณ 820 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 9 ในขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าคิดเป็นประมาณ 340 ตัน มูลค่า 38 ล้านบาทจากการที่มีผลิตภัณฑ์ราคาต่ำจากจีน อินโดนีเซีย มาเลเซียเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้ระดับราคานำเข้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 46
ส่วนมูลค่าการส่งออกในปี 2542 คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 9.7 เป็น 4,650ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาด้านปริมาณพบว่าลดลงเพียงร้อยละ 1 เป็น 58,800 ตัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันในตลาดส่งออกที่สูงขึ้น เป็นผลให้ระดับราคาส่งออกคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนราวร้อยละ 9 ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 36 ของมูลค่าส่งออกโดยรวมเป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Porcelainและ Bone China ซึ่งพบว่าระดับราคามีการปรับตัวลดลงมากกว่าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท EarthenwareและStoneware ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 64 จากการที่ผู้ผลิตมีการปรับปรุงรูปแบบและคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดระดับกลางและบน ตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่นออสเตรเลีย และประเทศในสหภาพยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี เป็นต้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7 เป็น 5,900ล้านบาท ทั้งนี้มูลค่ากว่าร้อยละ 80 ยังคงเป็นการส่งออกซึ่งคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.5 เป็นประมาณ 5,000 ล้านบาทจากการที่ผู้ผลิตมีการปรับปรุงรูปแบบและคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นและมีการขยายไปสู่ตลาดส่งออกใหม่ๆมากขึ้น เช่น ตะวันออกกลาง เป็นต้น สำหรับความต้องการภายในประเทศ(การจำหน่ายจากการผลิตในประเทศรวมการนำเข้า) คาดว่าจะขยายตัวขึ้นประมาณร้อยละ 4.9 เป็นประมาณ900 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกมีประมาณ 90-100 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม ทั้งนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นการผลิตเพื่อส่งออก และส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Stoneware และ Earthenware ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นการผลิตที่มีเงินลงทุนไม่มากมีการใช้เทคนิคการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องมีความชำนาญมากนัก เมื่อเทียบกับประเภท Porcelain และ Bone China แต่มี Margin ที่ต่ำกว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งPorcelain และ Bone China ได้เพียงไม่กี่รายโดยมีรายใหญ่คือ บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน และ สยามไฟน์ ไชน่าซึ่งเป็นบริษัทในเครือปูนซีเมนต์นครหลวง และบริษัท ภัทรา ปอร์ซเลน เป็นต้น สำหรับผู้ผลิตขนาดใหญ่มักจะตั้งอยู่ในจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ เนื่องจากการคมนาคมขนส่งสะดวก ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อมจะกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในภาคเหนือแถวจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและค่าแรงต่ำ
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท สยามไฟน์ ไชน่า จำกัด 700,000,000
บริษัท ไทยเซรามิค จำกัด 422,000,000
บริษัท ภัทรา ปอร์ซเลน จำกัด 330,000,000
บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด 300,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท ไทยพอร์ซเลน จำกัด 109,000,000
บริษัท ไทย พอทเทอรี อินดัสตรี จำกัด 80,000,000
บริษัท พงษ์ไพบูลย์ อินดัสตรี จำกัด 70,000,000
บริษัท กาสะลอง เซรามิกส์ จำกัด 68,571,000
บริษัท อีสเทิร์นไชน่าแวร์ จำกัด 48,350,000
บริษัท ทูเวย์ เซรามิก จำกัด 35,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการจำหน่าย
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกสามารถแบ่งออกตามลักษณะตลาดผู้บริโภคได้ 3 ประเภท
1. ระดับล่าง ได้แก่ ร้านอาหารขนาดเล็กหรือรถเข็น และครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สูงนัก ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ Stoneware และEarthenware
2. ระดับกลาง ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคารระดับปานกลาง และครัวเรือนที่มีรายได้ระดับปานกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ Stoneware และPorcelain
3. ระดับสูง ได้แก่ โรงแรมระดับ 5 ดาว ภัตตาคารขนาดใหญ่ สายการบิน และครัวเรือนที่มีรายได้ระดับสูง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ Porcelain และ Bone China
สำหรับช่องทางการจำหน่ายในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะได้แก่
1.!จำหน่ายโดยตรงโดยเจาะกลุ่มลูกค้าหลักเช่น โรงแรมระดับ 5 ดาว ภัตตาคารขนาดใหญ่ สายการบินส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาสูง หรือสั่งทำในลักษณะเฉพาะเจาะจง เป็นต้น
2.!จำหน่ายผ่านโชว์รูมและห้างสรรพสินค้า
3.!จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก เป็นต้น ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
4.!จำหน่ายผ่านการออกบูธ หรืองานแสดงสินค้าต่างๆ
5.!จำหน่ายในรูปของแถมไปกับสินค้าประเภทอื่นๆ
สำหรับช่องทางการจำหน่ายในต่างประเทศ จะเป็นลักษณะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย หรือลูกค้าจากต่างประเทศสั่งซื้อจากโรงงานโดยตรง และในบางครั้งลูกค้าจะเป็นผู้เสนอ-ออกแบบมาให้การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่
1. เนื้อดิน ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลายประเภทในสัดส่วนที่ต่างกันตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เช่น ดินขาวหรือเกาลิน ดินขาวเหนียว หินฟันม้า หินควอทซ์ หินปูน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถหาได้ทั่วไปในจังหวัดต่างๆ เช่นจังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ระนอง ชลบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี เป็นต้นส่วนวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Bone China ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ เถ้ากระดูกโดยเฉพาะที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น โดยจะต้องนำวัตถุดิบข้างต้นมาผสมกันแล้วบดให้ละเอียดอีกครั้งด้วยเครื่อง Ball Mill เพื่อให้ได้เนื้อดินตามต้องการ แต่ในปัจจุบันมีดินผสมสำเร็จรูปจำหน่ายโดยมีให้เลือกใช้ตามผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำไปผลิตซึ่งจะสะดวกและรวดเร็วกว่าของ บริษัท คอมพาวด์ เคลย์ จำกัดบริษัท เคลย์ แอนด์ มิเนอร์รัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น โดยระดับราคาจะขึ้นกับประเภทของเนื้อดินเช่น เนื้อดินสำหรับผลิตสโตนแวร์ราคาประมาณ 5 บาท/กก. สำหรับผลิตปอร์ซเลนราคาประมาณ 15-17 บาท/กก.สำหรับผลิตโบนไช่น่าราคาประมาณ 20 บาท/กก.ขึ้นไป เป็นต้น
2. สี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการผลิต เพราะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์สวยงาม ดึงดูดความสนใจ โดยจะใช้สารจำพวกออกไซด์ เขียนลายและเมื่อนำไปเผาจะทำให้เกิดสี เช่น Cobalt Oxide (ทำให้เกิดสีน้ำเงิน) Copper Oxide, Chromic Oxide (ทำให้เกิดสีเขียว) Ferric Oxide (ทำให้เกิดสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเขียวเกือบดำ) Manganes Oxide (ทำให้เกิดสีน้ำตาล) นอกจากนี้ยังสามารถใช้สีสำเร็จรูปในการผลิตซึ่งมีหลายประเภทเช่น สีใต้เคลือบ (Underglazing Colour) เป็นสีที่ใช้เขียนลวดลายแล้วนำไปตากหรืออบให้แห้งแล้วนำไปชุบน้ำยาเคลือบทับลงไป ส่วนสีบนเคลือบ (Overglazing Colour) ใช้แต่งภาชนะที่เผาเคลือบแล้วเมื่อแต่งสีแล้วจึงนำไปเผาอีกครั้งหนึ่งซึ่งจะให้สีที่สดใสกว่าสีใต้เคลือบแต่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการผลิตภาชนะสำหรับใส่อาหารบริโภค เนื่องจากสีเคลือบบางประเภทอาจจะละลายในกรดน้ำส้มได้ ผู้จำหน่ายสีสำหรับเซรามิกในปัจจุบัน เช่น บริษัท เซอร์นิก จำกัด บริษัท จักรมณเซรามิก จำกัด เป็นต้น ทั้งนี้วัตถุดิบที่ใช้ทำสีและสีสำเร็จรูปส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และประเทศในสหภาพยุโรปเป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการใช้รูปลอกชนิดพิเศษซึ่งมีทั้งชนิดที่ทำจากสีเขียนบนเคลือบและใต้เคลือบ เมื่อติดและนำไปเผาลวดลายจะละลายและติดอยู่บนผิวผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว
3. น้ำยาเคลือบ ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์เรียบ ทำความสะอาดง่าย สวยงามและช่วยป้องกันการกัดกร่อนของกรดหรือเกลือได้ โดยสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะที่ต้องการ เช่น เคลือบด้วยน้ำเคลือบ (Glaze) เคลือบฟริต (Frit) เคลือบทึบ หรือเคลือบผิวเคลือบ (จะได้ผิวด้านคล้ายเปลือกไข่ ซึ่งจะมีทั้งแบบมัน แบบด้าน และกึ่งด้าน ) โดยวิธีการเคลือบผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี เช่น การจุ่มการเทราด การชุบเคลือบ การทาด้วยแปรงหรือพู่กัน เป็นต้น แต่วิธีซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดคือการจุ่ม การเตรียมน้ำเคลือบสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และผิวที่ต้องการ แต่ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกและรวดเร็วผู้ผลิตสามารถซื้อน้ำเคลือบสำเร็จจากบริษัทผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่าย หรือนำเข้าจากต่างประเทศได้ตามคุณสมบัติตามต้องการ โดยผู้จำหน่าย เช่น บริษัท Ceramic R-US เป็นต้น
4. แบบพิมพ์สำหรับหล่อ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำนวนมากในแบบเดียวกันหรือภาชนะบางประเภทปั้นด้วยมือหรือเครื่องไม่ได้ ผู้ผลิตก็นิยมทำแบบซึ่งทำด้วยปูนพลาสเตอร์
5. จ๊อหรือหีบดินทนไฟ สำหรับใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้วเพื่อนำเข้าเตาเผา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความร้อนสม่ำเสมอรอบด้านโดยเฉพาะจากเปลวไฟจากแก๊ส หรือเตาถ่าน แต่ในปัจจุบันยังมีการใช้แผ่นรองผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า ซิลิคอน คาร์ไบด์ อีกด้วย
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 22
-! วัตถุดิบในประเทศ 65
-! วัตถุดิบนำเข้า 35
2. ค่าแรงงาน 40
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 30
4. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอื่นๆ 8
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
เตรียมเนื้อดิน /นำดินสำเร็จรูปผสมกับน้ำ
|
V
ขึ้นรูปโดยมีทั้งปั้นมือ แป้นหมุน และแบบหล่อ ตามความเหมาะสม
|
V
ทิ้งให้แห้งโดยวิธีตากลมหรือการอบ
|
V
ตกแต่ง
|
V
เผาครั้งที่ 1 (Biscuit Firing)_____ เพื่อขจัดน้ำและให้เนื้อดินแห้ง
| และแกร่งขึ้น ใช้ความร้อน
V ประมาณ
700-950 องศาเซลเซียส เวลา
เขียน / ลอกลาย
|
V
การชุบเคลือบ
|
V
เผาครั้งที่ 2 (เผาเคลือบ)____________เพื่อให้น้ำยาเคลือบหลอมเป็นเนื้อเดียว
กับภาชนะ ใช้ความร้อนประมาณ
1000-1350 องศาเซลเซียส เวลา
ตรวจสอบและคัดเลือกผลิตภัณฑ์
|
V
บรรจุหีบห่อ / ส่งขาย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกประกอบด้วย
1. เตาเผา มีทั้งเตาเผาอิฐ และเตาเผาที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน โดยเชื้อเพลิงที่ใช้มีทั้งน้ำมันเตา แก๊ส ไฟฟ้า ถ่านหิน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้และมีการส่งเสริมให้มีการใช้ในปัจจุบันได้แก่ ประเภทที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน โดยมีทั้งใช้ไฟฟ้าและแก๊สเป็นเชื้อเพลิง และเตาที่นำเข้าจะนิยมนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
2. เครื่องผสมดินและส่วนผสมต่างๆให้เข้ากัน ส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ภายในประเทศ และในปัจจุบันมีการดัดแปลงเครื่องผสมแป้งในอุตสาหกรรมขนมมาใช้ หรือมีการสั่งทำให้เหมาะสมกับความต้องการซึ่งจะมีระดับราคาไม่สูงนัก
3. เครื่องปั้น-ขึ้นรูป
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในกรณีการลงทุนการผลิตที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 60 ตัน โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 2-2.5 ล้านบาท
2.! ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง โดยพื้นที่ที่ทำการผลิตประมาณ 100-150 ตารางวา หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่า 5,000 - 10,000บาทต่อเดือน แล้วแต่ทำเล และลักษณะพื้นที่โรงงานควรเป็นแบบโล่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้
3.! ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องปั้น ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศ ควรมีประมาณ 3-4 เครื่องราคาเครื่องละ 40,000-60,000 บาท
3.2 เครื่องผสมดิน มีราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ถึงกว่า 30,000 บาท แล้วแต่ขนาด และคุณสมบัติบางครั้งอาจจะมีการจ้างทำเองตามความต้องการใช้งาน ในที่นี้จะใช้ขนาดราคาปานกลางจำนวน 1 เครื่องเป็นเงินประมาณ 10,000 บาท
3.3 เตาเผาเซรามิกโดยใช้แก๊ส หรือไฟฟ้า จำนวน 2 เตา ราคาเตาละ 350,000 บาทถึงกว่า800,000 บาท แล้วแต่ขนาด ในกรณีนี้จะใช้ขนาด 2.5 ลบ.ม ราคาประมาณ 650,000 บาท (กรณีเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงานจะอยู่ที่ประมาณ 429,000 บาท)
4.!ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 300,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 25 คนประกอบด้วย
1.! พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 20 คน ประกอบด้วย
1.1 ช่างผสมดิน
1.2 ช่างปั้น-หล่อแบบ
1.3 ช่างเขียนลาย
1.4 พนักงานขับรถส่งของ
1.5 พนักงานดูแลควบคุมเตาเผา
1.6 ตกแต่งผลิตภัณฑ์และบรรจุของ
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไปและเสมียน อีกประมาณ 3-4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 625,000 บาทต่อปี
(กรณีการผลิตที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 60 ตัน อัตราการสูญเสียประมาณร้อยละ 15)
- ดินสำเร็จรูป 300,000 บาทต่อปี
- สารเคลือบ 180,000 บาทต่อปี
- สี 110,000 บาทต่อปี
- แบบ 35,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 1,950,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 240,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 815,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 45,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าแก๊สที่ใช้ในเตาเผา (2 เตา) 450,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 45,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 35,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่าย
5.1 ค่าจ้างทำบัญชี 70,000 บาทต่อปี
5.2 ค่าดูแลเครื่องจักร 30,000 บาทต่อปี
5.3 ดอกเบี้ยจ่าย -- O/D 40,000 บาทต่อปี
5.4 ค่าใช้จ่ายทั่วไป - วัสดุสิ้นเปลือง 30,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 15- 20 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 4.5-4.75 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้การลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เนื่องจากมีการลงทุนน้อยไม่ยุ่งยาก คือ การตั้งบริษัทที่ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วไปจ้างผู้ประกอบการเซรามิกรายอื่นทำการผลิต (ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทปอร์ซเลทโดยอาจจะทำเป็นเครื่องหมายการค้าของตนเอง ซึ่งการลงทุนในลักษณะนี้จะใช้เงินลงทุนน้อยไม่เกิน 1 ล้านบาทในช่วงเริ่มแรก ข้อดีคือไม่ต้องลงทุนด้านเครื่องจักร คนงานในโรงงาน Stock วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์หรือเสี่ยงต่อการสูญเสียในการผลิต และภาวะความต้องการของตลาดที่ลดลง เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกประกอบด้วย
1.! ค่าเช่าตึกที่ใช้เป็นสำนักงานแล้วแต่ทำเล
2.! พนักงานสำหรับออกแบบชิ้นงาน ประมาณ 4-5 คน ควรจบมาทางด้าน Product Design โดยเฉพาะด้านเซรามิก ควรมีผู้มีประสบการณ์ทางด้านนี้อย่างน้อย 1 คน เงินเดือนประมาณ 20,000 - 30,000 บาท/เดือนหรืออาจจะจ้างเป็นคนนอกทำเป็นครั้งคราวก็ได้เพื่อให้ได้งานที่หลากหลายออกไป นอกจากนั้นควรมีคนทำตลาด(โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ) อย่างน้อย 1 คน
3.!เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ออกแบบเครื่องเผาเซรามิกขนาดเล็กสำหรับทำตัวอย่าง (ราคาประมาณเครื่องละ 20,000 บาท) เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานประมาณ 1-2 เครื่อง เครื่องทำสติ๊กเกอร์สำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (ราคาเครื่องละประมาณ 200,000-300,000 บาท) แต่ในกรณีที่ลงทุนในระยะแรกอาจจะยังไม่ต้องซื้อ สามารถจ้างบริษัทอื่นทำโดยเสียค่าใช้จ่ายแบบละประมาณ 10,000 บาท
4. เงินทุนหมุนเวียน จะเป็นส่วนที่มากที่สุดเนื่องจากต้องใช้ไปในการจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ตามต้องการซึ่งจะต้องมีการจ่ายมัดจำประมาณร้อยละ 30-50 ของค่าจ้างทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีค่าเปิด Mold ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์แบบใหม่โดยอยู่ในช่วง 10,000 - 100,000 ต่อแบบ แล้วแต่ความยาก-ง่ายและปริมาณการผลิต
(ยังมีต่อ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำด้วยเซรามิกของไทยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศและทดแทนการนำเข้า ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกได้มากกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ17.5 ต่อปี ในช่วงปี 2538-2541 และเริ่มปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 9 คิดเป็นประมาณ 5,508 ล้านบาทในปี 2542 แม้ว่าภาวะการซบเซาของสภาพเศรษฐกิจได้เริ่มกระเตื้องขึ้น แต่ภาคการเงิน และภาคการลงทุนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พบว่าเป็นการปรับตัวลดลงทั้งความต้องการภายในประเทศ (การจำหน่ายในประเทศรวมนำเข้า) และการส่งออก สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7 โดยร้อยละ 80 ยังคงเป็นการส่งออก
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกมีประมาณ 90-100 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Stoneware และEarthenware ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นการผลิตที่มีเงินลงทุนไม่มาก เทคนิคการผลิตไม่ซับซ้อนและไม่ต้องการความชำนาญมากนัก แต่มี Margin ที่ต่ำกว่าการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Porcelain และ Bone China
เนื้อดินซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศยกเว้นส่วนผสมบางตัวที่มีคุณสมบัติพิเศษอาจจะต้องนำเข้า เช่น เถ้ากระดูก เป็นต้น แต่ปัจจุบันผู้ผลิตโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กนิยมใช้ดินสำเร็จรูปเนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ส่วนวัตุดิบอื่นที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าได้แก่ สี และสารเคลือบ เป็นต้น ส่วนเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตทั้ง เตาเผาเซรามิกเครื่องผสมดิน เครื่องปั้น และแม่พิมพ์ สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ ส่วนแรงงานสามารถใช้แรงงานทั่วไป
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ซื้อวัตถุดิบและค่าแรงงาน เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตมีระดับราคาไม่สูงนัก ส่วนค่าโสหุ้ยในการผลิตส่วนใหญ่ได้แก่พลังงาน (แก๊สหรือไฟฟ้า)สำหรับการเผาเซรามิก นอกนั้นยังมีค่าเสื่อมเครื่องจักร และดอกเบี้ยจ่ายในกรณีกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ 1. Earthenwareเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหนาละเอียด แต่มีความพรุนสามารถดูดซึมน้ำได้ ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ชามตราไก่ จานข้าวแกงหรือชามก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น 2. Stoneware เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแข็งแกร่ง/หนามักจะเคลือบทึบแสง 3. Porcelain เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่า 2 ประเภทแรกและราคาสูงกว่า มีทั้งแบบเคลือบทึบและเคลือบใส มีเนื้อแข็งแกร่งไม่ดูดซึมน้ำ มักจะใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะบางและเคลือบเป็นมัน 4. Bone China เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและราคาสูงที่สุด มีความขาวและวาว เนื้อบางและเบา มีความแข็งแกร่งดีมาก โดยมีส่วนผสมของกระดูกสัตว์
มูลค่าตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกในช่วงปี 2538-2541ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 17.5 ต่อปี ทั้งนี้พบว่าตลาดส่งออก (ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 75-80 ของมูลค่าตลาดโดยรวม) มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 22 ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 5,151 ล้านบาทในปี 2541 แต่ตลาดในประเทศ (การจำหน่ายในประเทศรวมนำเข้า) ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 930 ล้านบาท ในปี 2542 จากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มกระเตื้องขึ้นแต่ภาวะการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะในส่วนของโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหารยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันอำนาจซื้อของผู้บริโภคก็ลดต่ำลงเป็นผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยรวมปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,508 ล้านบาท แบ่งเป็นการจำหน่ายจากการผลิตในประเทศประมาณ 820 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 9 ในขณะที่การนำเข้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนทั้งปริมาณและมูลค่าคิดเป็นประมาณ 340 ตัน มูลค่า 38 ล้านบาทจากการที่มีผลิตภัณฑ์ราคาต่ำจากจีน อินโดนีเซีย มาเลเซียเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้ระดับราคานำเข้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 46
ส่วนมูลค่าการส่งออกในปี 2542 คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 9.7 เป็น 4,650ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาด้านปริมาณพบว่าลดลงเพียงร้อยละ 1 เป็น 58,800 ตัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันในตลาดส่งออกที่สูงขึ้น เป็นผลให้ระดับราคาส่งออกคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากปีก่อนราวร้อยละ 9 ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 36 ของมูลค่าส่งออกโดยรวมเป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Porcelainและ Bone China ซึ่งพบว่าระดับราคามีการปรับตัวลดลงมากกว่าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท EarthenwareและStoneware ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 64 จากการที่ผู้ผลิตมีการปรับปรุงรูปแบบและคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดระดับกลางและบน ตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่นออสเตรเลีย และประเทศในสหภาพยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี เป็นต้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7 เป็น 5,900ล้านบาท ทั้งนี้มูลค่ากว่าร้อยละ 80 ยังคงเป็นการส่งออกซึ่งคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.5 เป็นประมาณ 5,000 ล้านบาทจากการที่ผู้ผลิตมีการปรับปรุงรูปแบบและคุณภาพให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นและมีการขยายไปสู่ตลาดส่งออกใหม่ๆมากขึ้น เช่น ตะวันออกกลาง เป็นต้น สำหรับความต้องการภายในประเทศ(การจำหน่ายจากการผลิตในประเทศรวมการนำเข้า) คาดว่าจะขยายตัวขึ้นประมาณร้อยละ 4.9 เป็นประมาณ900 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกมีประมาณ 90-100 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม ทั้งนี้กว่าร้อยละ 70 เป็นการผลิตเพื่อส่งออก และส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Stoneware และ Earthenware ซึ่งมีการแข่งขันค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นการผลิตที่มีเงินลงทุนไม่มากมีการใช้เทคนิคการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องมีความชำนาญมากนัก เมื่อเทียบกับประเภท Porcelain และ Bone China แต่มี Margin ที่ต่ำกว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งPorcelain และ Bone China ได้เพียงไม่กี่รายโดยมีรายใหญ่คือ บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน และ สยามไฟน์ ไชน่าซึ่งเป็นบริษัทในเครือปูนซีเมนต์นครหลวง และบริษัท ภัทรา ปอร์ซเลน เป็นต้น สำหรับผู้ผลิตขนาดใหญ่มักจะตั้งอยู่ในจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ เนื่องจากการคมนาคมขนส่งสะดวก ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อมจะกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในภาคเหนือแถวจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและค่าแรงต่ำ
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท สยามไฟน์ ไชน่า จำกัด 700,000,000
บริษัท ไทยเซรามิค จำกัด 422,000,000
บริษัท ภัทรา ปอร์ซเลน จำกัด 330,000,000
บริษัท รอยัล ปอร์ซเลน จำกัด 300,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท ไทยพอร์ซเลน จำกัด 109,000,000
บริษัท ไทย พอทเทอรี อินดัสตรี จำกัด 80,000,000
บริษัท พงษ์ไพบูลย์ อินดัสตรี จำกัด 70,000,000
บริษัท กาสะลอง เซรามิกส์ จำกัด 68,571,000
บริษัท อีสเทิร์นไชน่าแวร์ จำกัด 48,350,000
บริษัท ทูเวย์ เซรามิก จำกัด 35,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการจำหน่าย
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกสามารถแบ่งออกตามลักษณะตลาดผู้บริโภคได้ 3 ประเภท
1. ระดับล่าง ได้แก่ ร้านอาหารขนาดเล็กหรือรถเข็น และครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สูงนัก ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ Stoneware และEarthenware
2. ระดับกลาง ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคารระดับปานกลาง และครัวเรือนที่มีรายได้ระดับปานกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ Stoneware และPorcelain
3. ระดับสูง ได้แก่ โรงแรมระดับ 5 ดาว ภัตตาคารขนาดใหญ่ สายการบิน และครัวเรือนที่มีรายได้ระดับสูง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่ Porcelain และ Bone China
สำหรับช่องทางการจำหน่ายในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะได้แก่
1.!จำหน่ายโดยตรงโดยเจาะกลุ่มลูกค้าหลักเช่น โรงแรมระดับ 5 ดาว ภัตตาคารขนาดใหญ่ สายการบินส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาสูง หรือสั่งทำในลักษณะเฉพาะเจาะจง เป็นต้น
2.!จำหน่ายผ่านโชว์รูมและห้างสรรพสินค้า
3.!จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก เป็นต้น ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
4.!จำหน่ายผ่านการออกบูธ หรืองานแสดงสินค้าต่างๆ
5.!จำหน่ายในรูปของแถมไปกับสินค้าประเภทอื่นๆ
สำหรับช่องทางการจำหน่ายในต่างประเทศ จะเป็นลักษณะจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย หรือลูกค้าจากต่างประเทศสั่งซื้อจากโรงงานโดยตรง และในบางครั้งลูกค้าจะเป็นผู้เสนอ-ออกแบบมาให้การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่
1. เนื้อดิน ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลายประเภทในสัดส่วนที่ต่างกันตามประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เช่น ดินขาวหรือเกาลิน ดินขาวเหนียว หินฟันม้า หินควอทซ์ หินปูน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถหาได้ทั่วไปในจังหวัดต่างๆ เช่นจังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ระนอง ชลบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี เป็นต้นส่วนวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารประเภท Bone China ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ เถ้ากระดูกโดยเฉพาะที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น โดยจะต้องนำวัตถุดิบข้างต้นมาผสมกันแล้วบดให้ละเอียดอีกครั้งด้วยเครื่อง Ball Mill เพื่อให้ได้เนื้อดินตามต้องการ แต่ในปัจจุบันมีดินผสมสำเร็จรูปจำหน่ายโดยมีให้เลือกใช้ตามผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำไปผลิตซึ่งจะสะดวกและรวดเร็วกว่าของ บริษัท คอมพาวด์ เคลย์ จำกัดบริษัท เคลย์ แอนด์ มิเนอร์รัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น โดยระดับราคาจะขึ้นกับประเภทของเนื้อดินเช่น เนื้อดินสำหรับผลิตสโตนแวร์ราคาประมาณ 5 บาท/กก. สำหรับผลิตปอร์ซเลนราคาประมาณ 15-17 บาท/กก.สำหรับผลิตโบนไช่น่าราคาประมาณ 20 บาท/กก.ขึ้นไป เป็นต้น
2. สี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการผลิต เพราะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์สวยงาม ดึงดูดความสนใจ โดยจะใช้สารจำพวกออกไซด์ เขียนลายและเมื่อนำไปเผาจะทำให้เกิดสี เช่น Cobalt Oxide (ทำให้เกิดสีน้ำเงิน) Copper Oxide, Chromic Oxide (ทำให้เกิดสีเขียว) Ferric Oxide (ทำให้เกิดสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเขียวเกือบดำ) Manganes Oxide (ทำให้เกิดสีน้ำตาล) นอกจากนี้ยังสามารถใช้สีสำเร็จรูปในการผลิตซึ่งมีหลายประเภทเช่น สีใต้เคลือบ (Underglazing Colour) เป็นสีที่ใช้เขียนลวดลายแล้วนำไปตากหรืออบให้แห้งแล้วนำไปชุบน้ำยาเคลือบทับลงไป ส่วนสีบนเคลือบ (Overglazing Colour) ใช้แต่งภาชนะที่เผาเคลือบแล้วเมื่อแต่งสีแล้วจึงนำไปเผาอีกครั้งหนึ่งซึ่งจะให้สีที่สดใสกว่าสีใต้เคลือบแต่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการผลิตภาชนะสำหรับใส่อาหารบริโภค เนื่องจากสีเคลือบบางประเภทอาจจะละลายในกรดน้ำส้มได้ ผู้จำหน่ายสีสำหรับเซรามิกในปัจจุบัน เช่น บริษัท เซอร์นิก จำกัด บริษัท จักรมณเซรามิก จำกัด เป็นต้น ทั้งนี้วัตถุดิบที่ใช้ทำสีและสีสำเร็จรูปส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และประเทศในสหภาพยุโรปเป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการใช้รูปลอกชนิดพิเศษซึ่งมีทั้งชนิดที่ทำจากสีเขียนบนเคลือบและใต้เคลือบ เมื่อติดและนำไปเผาลวดลายจะละลายและติดอยู่บนผิวผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว
3. น้ำยาเคลือบ ทำให้ผิวของผลิตภัณฑ์เรียบ ทำความสะอาดง่าย สวยงามและช่วยป้องกันการกัดกร่อนของกรดหรือเกลือได้ โดยสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะที่ต้องการ เช่น เคลือบด้วยน้ำเคลือบ (Glaze) เคลือบฟริต (Frit) เคลือบทึบ หรือเคลือบผิวเคลือบ (จะได้ผิวด้านคล้ายเปลือกไข่ ซึ่งจะมีทั้งแบบมัน แบบด้าน และกึ่งด้าน ) โดยวิธีการเคลือบผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกได้หลายวิธี เช่น การจุ่มการเทราด การชุบเคลือบ การทาด้วยแปรงหรือพู่กัน เป็นต้น แต่วิธีซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดคือการจุ่ม การเตรียมน้ำเคลือบสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และผิวที่ต้องการ แต่ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกและรวดเร็วผู้ผลิตสามารถซื้อน้ำเคลือบสำเร็จจากบริษัทผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่าย หรือนำเข้าจากต่างประเทศได้ตามคุณสมบัติตามต้องการ โดยผู้จำหน่าย เช่น บริษัท Ceramic R-US เป็นต้น
4. แบบพิมพ์สำหรับหล่อ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำนวนมากในแบบเดียวกันหรือภาชนะบางประเภทปั้นด้วยมือหรือเครื่องไม่ได้ ผู้ผลิตก็นิยมทำแบบซึ่งทำด้วยปูนพลาสเตอร์
5. จ๊อหรือหีบดินทนไฟ สำหรับใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้วเพื่อนำเข้าเตาเผา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความร้อนสม่ำเสมอรอบด้านโดยเฉพาะจากเปลวไฟจากแก๊ส หรือเตาถ่าน แต่ในปัจจุบันยังมีการใช้แผ่นรองผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า ซิลิคอน คาร์ไบด์ อีกด้วย
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 22
-! วัตถุดิบในประเทศ 65
-! วัตถุดิบนำเข้า 35
2. ค่าแรงงาน 40
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 30
4. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอื่นๆ 8
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
เตรียมเนื้อดิน /นำดินสำเร็จรูปผสมกับน้ำ
|
V
ขึ้นรูปโดยมีทั้งปั้นมือ แป้นหมุน และแบบหล่อ ตามความเหมาะสม
|
V
ทิ้งให้แห้งโดยวิธีตากลมหรือการอบ
|
V
ตกแต่ง
|
V
เผาครั้งที่ 1 (Biscuit Firing)_____ เพื่อขจัดน้ำและให้เนื้อดินแห้ง
| และแกร่งขึ้น ใช้ความร้อน
V ประมาณ
700-950 องศาเซลเซียส เวลา
เขียน / ลอกลาย
|
V
การชุบเคลือบ
|
V
เผาครั้งที่ 2 (เผาเคลือบ)____________เพื่อให้น้ำยาเคลือบหลอมเป็นเนื้อเดียว
กับภาชนะ ใช้ความร้อนประมาณ
1000-1350 องศาเซลเซียส เวลา
ตรวจสอบและคัดเลือกผลิตภัณฑ์
|
V
บรรจุหีบห่อ / ส่งขาย
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกประกอบด้วย
1. เตาเผา มีทั้งเตาเผาอิฐ และเตาเผาที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน โดยเชื้อเพลิงที่ใช้มีทั้งน้ำมันเตา แก๊ส ไฟฟ้า ถ่านหิน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้และมีการส่งเสริมให้มีการใช้ในปัจจุบันได้แก่ ประเภทที่ใช้ไฟเบอร์เป็นฉนวนกันความร้อน โดยมีทั้งใช้ไฟฟ้าและแก๊สเป็นเชื้อเพลิง และเตาที่นำเข้าจะนิยมนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
2. เครื่องผสมดินและส่วนผสมต่างๆให้เข้ากัน ส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ภายในประเทศ และในปัจจุบันมีการดัดแปลงเครื่องผสมแป้งในอุตสาหกรรมขนมมาใช้ หรือมีการสั่งทำให้เหมาะสมกับความต้องการซึ่งจะมีระดับราคาไม่สูงนัก
3. เครื่องปั้น-ขึ้นรูป
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกควรตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือตลาดจำหน่ายสินค้า ในกรณีการลงทุนการผลิตที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 60 ตัน โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ โดยประมาณดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นประมาณ 2-2.5 ล้านบาท
2.! ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง โดยพื้นที่ที่ทำการผลิตประมาณ 100-150 ตารางวา หรือในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่า 5,000 - 10,000บาทต่อเดือน แล้วแต่ทำเล และลักษณะพื้นที่โรงงานควรเป็นแบบโล่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้
3.! ค่าเครื่องจักร ได้แก่
3.1 เครื่องปั้น ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศ ควรมีประมาณ 3-4 เครื่องราคาเครื่องละ 40,000-60,000 บาท
3.2 เครื่องผสมดิน มีราคาตั้งแต่ 5,000 บาท ถึงกว่า 30,000 บาท แล้วแต่ขนาด และคุณสมบัติบางครั้งอาจจะมีการจ้างทำเองตามความต้องการใช้งาน ในที่นี้จะใช้ขนาดราคาปานกลางจำนวน 1 เครื่องเป็นเงินประมาณ 10,000 บาท
3.3 เตาเผาเซรามิกโดยใช้แก๊ส หรือไฟฟ้า จำนวน 2 เตา ราคาเตาละ 350,000 บาทถึงกว่า800,000 บาท แล้วแต่ขนาด ในกรณีนี้จะใช้ขนาด 2.5 ลบ.ม ราคาประมาณ 650,000 บาท (กรณีเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงานจะอยู่ที่ประมาณ 429,000 บาท)
4.!ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) อย่างน้อย 1 คัน ราคา 300,000- 500,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียน เป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าแรง และใช้จ่ายในการผลิต ประมาณ 300,000 บาท
บุคลากร ธุรกิจการผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 25 คนประกอบด้วย
1.! พนักงานในโรงงาน มีทั้งสิ้น 20 คน ประกอบด้วย
1.1 ช่างผสมดิน
1.2 ช่างปั้น-หล่อแบบ
1.3 ช่างเขียนลาย
1.4 พนักงานขับรถส่งของ
1.5 พนักงานดูแลควบคุมเตาเผา
1.6 ตกแต่งผลิตภัณฑ์และบรรจุของ
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร ในกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้จัดการ-บริหารส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ และมีพนักงานดูแลงานทั่วไปและเสมียน อีกประมาณ 3-4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 625,000 บาทต่อปี
(กรณีการผลิตที่ใช้ดินสำเร็จรูปปีละประมาณ 60 ตัน อัตราการสูญเสียประมาณร้อยละ 15)
- ดินสำเร็จรูป 300,000 บาทต่อปี
- สารเคลือบ 180,000 บาทต่อปี
- สี 110,000 บาทต่อปี
- แบบ 35,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 1,950,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 240,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 815,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 45,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าแก๊สที่ใช้ในเตาเผา (2 เตา) 450,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 45,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 35,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่าย
5.1 ค่าจ้างทำบัญชี 70,000 บาทต่อปี
5.2 ค่าดูแลเครื่องจักร 30,000 บาทต่อปี
5.3 ดอกเบี้ยจ่าย -- O/D 40,000 บาทต่อปี
5.4 ค่าใช้จ่ายทั่วไป - วัสดุสิ้นเปลือง 30,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 15- 20 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 4.5-4.75 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้การลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เนื่องจากมีการลงทุนน้อยไม่ยุ่งยาก คือ การตั้งบริษัทที่ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้วไปจ้างผู้ประกอบการเซรามิกรายอื่นทำการผลิต (ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทปอร์ซเลทโดยอาจจะทำเป็นเครื่องหมายการค้าของตนเอง ซึ่งการลงทุนในลักษณะนี้จะใช้เงินลงทุนน้อยไม่เกิน 1 ล้านบาทในช่วงเริ่มแรก ข้อดีคือไม่ต้องลงทุนด้านเครื่องจักร คนงานในโรงงาน Stock วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์หรือเสี่ยงต่อการสูญเสียในการผลิต และภาวะความต้องการของตลาดที่ลดลง เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกประกอบด้วย
1.! ค่าเช่าตึกที่ใช้เป็นสำนักงานแล้วแต่ทำเล
2.! พนักงานสำหรับออกแบบชิ้นงาน ประมาณ 4-5 คน ควรจบมาทางด้าน Product Design โดยเฉพาะด้านเซรามิก ควรมีผู้มีประสบการณ์ทางด้านนี้อย่างน้อย 1 คน เงินเดือนประมาณ 20,000 - 30,000 บาท/เดือนหรืออาจจะจ้างเป็นคนนอกทำเป็นครั้งคราวก็ได้เพื่อให้ได้งานที่หลากหลายออกไป นอกจากนั้นควรมีคนทำตลาด(โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ) อย่างน้อย 1 คน
3.!เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ออกแบบเครื่องเผาเซรามิกขนาดเล็กสำหรับทำตัวอย่าง (ราคาประมาณเครื่องละ 20,000 บาท) เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานประมาณ 1-2 เครื่อง เครื่องทำสติ๊กเกอร์สำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (ราคาเครื่องละประมาณ 200,000-300,000 บาท) แต่ในกรณีที่ลงทุนในระยะแรกอาจจะยังไม่ต้องซื้อ สามารถจ้างบริษัทอื่นทำโดยเสียค่าใช้จ่ายแบบละประมาณ 10,000 บาท
4. เงินทุนหมุนเวียน จะเป็นส่วนที่มากที่สุดเนื่องจากต้องใช้ไปในการจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ตามต้องการซึ่งจะต้องมีการจ่ายมัดจำประมาณร้อยละ 30-50 ของค่าจ้างทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีค่าเปิด Mold ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์แบบใหม่โดยอยู่ในช่วง 10,000 - 100,000 ต่อแบบ แล้วแต่ความยาก-ง่ายและปริมาณการผลิต
(ยังมีต่อ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--