1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ระยะนี้เป็นต้นฤดูการปลูกฝ้าย เกษตรกรบางส่วนได้เตรียมดินเพาะปลูกและปลูก ฝ้ายบ้างแล้ว สำหรับพันธุ์ฝ้ายที่ทางราชการส่งเสริม ได้แก่ ศรีสำโรง 60
ส่วนการใช้พันธุ์ฝ้ายต้านทานหนอนที่เป็นฝ้าย GMOS นั้น ถือว่าเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติกักพืช
สินค้า GMOS เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ใช้มาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับสิ่งทอ แม้ว่าขณะนี้กระแสการกีดกันทางการค้ายังไม่รุนแรงเท่าสินค้าที่ใช้เพื่อการบริโภคก็ตามแต่ก็เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดส่งออก หากต่อต้านรุนแรงขึ้นก็จำเป็นต้องหาแหล่งนำเข้าฝ้ายที่ปลอด GMOS หรือพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ ราคาฝ้ายจีนสูงขึ้นกระตุ้นการเพาะปลูก
ปี 2542 จีนมีพื้นที่เพาะปลูกฝ้าย 3.86 ล้านเฮกแตร์(24.125 ล้านไร่) ลดลงจาก ปี 2541 ร้อยละ 15 เนื่องจากมาตรการปรับลดราคารับซื้อฝ้ายของรัฐบาลแต่เมื่อความต้องการใช้ฝ้ายของโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอ เพื่อส่งออกมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาฝ้ายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนเมษายน ประกอบกับจีนส่งออกฝ้ายมากขึ้น โดยมูลค่าส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 สูงขึ้นถึงร้อยละ 40 หรือมีมูลค่า 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณการว่าขณะนี้เกิดความขาดแคลนฝ้ายในประเทศ 0.5 1.5 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกฝ้ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังคงประมาณการพื้นที่ปลูกฝ้าย ปี 2543 เท่ากับปีก่อน คือ 24.125 ล้านไร่
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้ ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.59 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 50.70 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 59.45 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 51.39 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45
ราคาฝ้ายเกรด B' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 53.30 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.13 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 53.88 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2543 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 53.37 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.19 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 56.65 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 48.97 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.79
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2543--
-สส-
ระยะนี้เป็นต้นฤดูการปลูกฝ้าย เกษตรกรบางส่วนได้เตรียมดินเพาะปลูกและปลูก ฝ้ายบ้างแล้ว สำหรับพันธุ์ฝ้ายที่ทางราชการส่งเสริม ได้แก่ ศรีสำโรง 60
ส่วนการใช้พันธุ์ฝ้ายต้านทานหนอนที่เป็นฝ้าย GMOS นั้น ถือว่าเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติกักพืช
สินค้า GMOS เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ใช้มาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับสิ่งทอ แม้ว่าขณะนี้กระแสการกีดกันทางการค้ายังไม่รุนแรงเท่าสินค้าที่ใช้เพื่อการบริโภคก็ตามแต่ก็เป็นสินค้าที่จำเป็นต้องพึ่งพาตลาดส่งออก หากต่อต้านรุนแรงขึ้นก็จำเป็นต้องหาแหล่งนำเข้าฝ้ายที่ปลอด GMOS หรือพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ ราคาฝ้ายจีนสูงขึ้นกระตุ้นการเพาะปลูก
ปี 2542 จีนมีพื้นที่เพาะปลูกฝ้าย 3.86 ล้านเฮกแตร์(24.125 ล้านไร่) ลดลงจาก ปี 2541 ร้อยละ 15 เนื่องจากมาตรการปรับลดราคารับซื้อฝ้ายของรัฐบาลแต่เมื่อความต้องการใช้ฝ้ายของโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอ เพื่อส่งออกมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาฝ้ายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนเมษายน ประกอบกับจีนส่งออกฝ้ายมากขึ้น โดยมูลค่าส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 สูงขึ้นถึงร้อยละ 40 หรือมีมูลค่า 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณการว่าขณะนี้เกิดความขาดแคลนฝ้ายในประเทศ 0.5 1.5 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกฝ้ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังคงประมาณการพื้นที่ปลูกฝ้าย ปี 2543 เท่ากับปีก่อน คือ 24.125 ล้านไร่
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้ ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.59 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 50.70 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 59.45 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 51.39 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45
ราคาฝ้ายเกรด B' สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 53.30 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.13 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 53.88 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.57 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2543 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 53.37 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 46.19 บาท ราคาลดลงจากปอนด์ละ 56.65 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 48.97 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.79
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2543--
-สส-