1. สถานการณ์การผลิต
อียูเข้มงวดนำเข้ากุ้งจากเอเซีย
รายงานข่าวจากวารสารเครือเจริญโภคภัณฑ์ว่า ข่าวในหนังสือพิมพ์บิลด์ (Bild) ของเยอรมันเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 พบว่าสารปฏิชีวนะคลอแรมฟินิคอล (Chloramphenical) ในกุ้งที่มาจากประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสารนี้สามารถก่อปัญหาสุขภาพให้ผู้บริโภคโดยไปกดไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือด ทำให้ผลิตภัณฑ์กุ้งต่าง ๆ ที่พบในซุปเปอร์มาเก็ตหลายแห่งถูกเก็บออกจากชั้นวางผลิตภัณฑ์ที่มีการตรวจพบคลอแรมฟินิดอล ได้แก่กุ้งที่มีตรา “คิง พรอน” (King Prawns) “พิงค์ชริมป์” (Pink Shrimp) และเอเซียน เพิร์ล โฟรเซ่น ชริมป์ (Asian Prarl Frozen Shrimp) ในผลิตภัณฑ์ 2 รายการหลังเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบในซุปเปอร์มาเก็ตสำหรับชาวเอเซียเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาบรรจุหีบห่อใหม่ (Repack) ในประเทศฮอลแลนด์แต่เป็นกุ้งที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม การที่เยอรมันซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารของคนเยอรมันและได้มีการรณรงค์ไม่ให้บริโภคกุ้งจากประเทศในเอเซียจึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องในการผลิตกุ้งไทยทั้งหมดให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของอาหาร Food Safety มากยิ่งขึ้น ในฐานะผู้ผลิต โดยให้มีส่วนร่วมในการผลิตกุ้งให้สวยสดสะอาด รสชาดดี ไม่มีสารตกค้างและมีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขอให้ถือปฏิบัติกันต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้กุ้งไทย ผงาดเป็นจ้าวยุทธจักรในการผลิตกุ้งต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8-14 ตุลาคม 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,036.01 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 531.99 ตัน สัตว์น้ำจืด 504.02 ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.79 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.43 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.37 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.67 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 37.42 ตัน 2. สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.88 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 227.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 230.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ240.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 240.63 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ19.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.17 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 8-12 ตค. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.78 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 8-14 ต.ค. 2544--
-สส-
อียูเข้มงวดนำเข้ากุ้งจากเอเซีย
รายงานข่าวจากวารสารเครือเจริญโภคภัณฑ์ว่า ข่าวในหนังสือพิมพ์บิลด์ (Bild) ของเยอรมันเมื่อเดือนสิงหาคม 2544 พบว่าสารปฏิชีวนะคลอแรมฟินิคอล (Chloramphenical) ในกุ้งที่มาจากประเทศในกลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสารนี้สามารถก่อปัญหาสุขภาพให้ผู้บริโภคโดยไปกดไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือด ทำให้ผลิตภัณฑ์กุ้งต่าง ๆ ที่พบในซุปเปอร์มาเก็ตหลายแห่งถูกเก็บออกจากชั้นวางผลิตภัณฑ์ที่มีการตรวจพบคลอแรมฟินิดอล ได้แก่กุ้งที่มีตรา “คิง พรอน” (King Prawns) “พิงค์ชริมป์” (Pink Shrimp) และเอเซียน เพิร์ล โฟรเซ่น ชริมป์ (Asian Prarl Frozen Shrimp) ในผลิตภัณฑ์ 2 รายการหลังเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบในซุปเปอร์มาเก็ตสำหรับชาวเอเซียเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาบรรจุหีบห่อใหม่ (Repack) ในประเทศฮอลแลนด์แต่เป็นกุ้งที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม การที่เยอรมันซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารของคนเยอรมันและได้มีการรณรงค์ไม่ให้บริโภคกุ้งจากประเทศในเอเซียจึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องในการผลิตกุ้งไทยทั้งหมดให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของอาหาร Food Safety มากยิ่งขึ้น ในฐานะผู้ผลิต โดยให้มีส่วนร่วมในการผลิตกุ้งให้สวยสดสะอาด รสชาดดี ไม่มีสารตกค้างและมีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขอให้ถือปฏิบัติกันต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้กุ้งไทย ผงาดเป็นจ้าวยุทธจักรในการผลิตกุ้งต่อไป
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8-14 ตุลาคม 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,036.01 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 531.99 ตัน สัตว์น้ำจืด 504.02 ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.79 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.43 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.37 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 33.67 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 37.42 ตัน 2. สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.88 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 227.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 230.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ240.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 240.63 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ19.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.13 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.38 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.17 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 8-12 ตค. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.58 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.78 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 8-14 ต.ค. 2544--
-สส-