แท็ก
อัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 เท่ากับร้อยละ 0.9 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารร้อยละ 2.5 ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ —1.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นบวกตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2542 (ร้อยละ 0.1) หลังจากที่ติดลบต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2542 ในอัตราร้อยละ —0.5 และร้อยละ —1.0 ตามลำดับ สาเหตุสำคัญในการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกของปี 2543 สามารถสรุป ได้ดังนี้
อัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
ดัชนีราคาผู้บริโภค(%qoq) 0.0 -0.9 0.3 0.6 0.8
(% yoy) 2.6 -0.5 -1.0 0.1 0.9
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม(%qoq)-0.1 -1.0 -0.6 -0.4 0.3
(% yoy) 3.0 -1.2 -2.9 -2.1 -1.7
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร (% qoq) 0.1 -0.7 0.9 1.1 1.1
(% yoy) 2.4 0.0 0.2 1.4 2.5
หมายเหตุ : %qoq หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน
%yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ประการแรก ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรกปี 2543 เทียบกับร้อยละ 1.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสินค้าในหมวดนี้ปรับสูงขึ้น ได้แก่
1.1 ผลต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงภายในประเทศ ประกอบด้วยราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลภายในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 12.6 ในไตรมาสแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ตามลำดับ
1.2 การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนราคาค่าเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าปรับตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2542
ตารางแสดงความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า
2542 2543
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
น้ำมันดิบโอมาน (ดอลลาร์ สรอ./บาเรล) 21.53 23.29 24.26 24.31 25.34 25.64
น้ำมันเบนซิน 95 (บาท/ลิตร) 13.38 13.41 13.66 13.93 14.62 15.41
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาท/ลิตร) 10.26 10.25 10.65 11.10 11.56 12.43
ค่าไฟฟ้า (บาท/ยูนิต) 1.82 1.82 2.02 2.02 2.02 2.02
ประการที่สอง การชะลอตัวของอุปทานสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสารหอมมะลิ สัตว์น้ำ และผลไม้บางประเภท ส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาค ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ ฮ่องกง มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ สิงคโปร์ จีน และไต้หวัน อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประเทศไทย
เงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาค
(อัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคจากระยะเดียวกันปีก่อน)
ต.ค.42 พ.ย.42 ธ.ค.42 ม.ค.43 ก.พ.43 มี.ค.43
อินโดนีเซีย 1.4 1.6 1.9 0.3 -0.9 -
ฟิลิปินส์ 5.3 3.9 4.2 2.6 3.0 -
มาเลเซีย 2.1 1.6 2.5 1.6 1.5 -
เกาหลีใต้ 1.2 1.4 1.4 1.6 1.4 -
สิงคโปร์ 1.4 1.3 1.4 1.5 2.0 -
ไต้หวัน 0.4 -0.9 0.1 0.5 0.9 -
ไทย -0.5 0.0 0.7 0.5 0.9 1.1
จีน -0.6 -0.9 -1.0 -0.2 0.7 -
ฮ่องกง -4.2 -4.1 -4.0 -5.3 -5.1 -
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภค โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับมาเป็นบวกในไตรมาสแรกของปี 2543 เท่ากับร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ -1.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
อัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส
2542 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1
ดัชนีราคาผู้บริโภค(%qoq) 0.0 -0.9 0.3 0.6 0.8
(% yoy) 2.6 -0.5 -1.0 0.1 0.9
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม(%qoq)-0.1 -1.0 -0.6 -0.4 0.3
(% yoy) 3.0 -1.2 -2.9 -2.1 -1.7
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร (% qoq) 0.1 -0.7 0.9 1.1 1.1
(% yoy) 2.4 0.0 0.2 1.4 2.5
หมายเหตุ : %qoq หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน
%yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ประการแรก ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรกปี 2543 เทียบกับร้อยละ 1.4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสินค้าในหมวดนี้ปรับสูงขึ้น ได้แก่
1.1 ผลต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงภายในประเทศ ประกอบด้วยราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลภายในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 8.7 และร้อยละ 12.6 ในไตรมาสแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ตามลำดับ
1.2 การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนราคาค่าเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาค่าไฟฟ้าปรับตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2542
ตารางแสดงความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า
2542 2543
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.
น้ำมันดิบโอมาน (ดอลลาร์ สรอ./บาเรล) 21.53 23.29 24.26 24.31 25.34 25.64
น้ำมันเบนซิน 95 (บาท/ลิตร) 13.38 13.41 13.66 13.93 14.62 15.41
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาท/ลิตร) 10.26 10.25 10.65 11.10 11.56 12.43
ค่าไฟฟ้า (บาท/ยูนิต) 1.82 1.82 2.02 2.02 2.02 2.02
ประการที่สอง การชะลอตัวของอุปทานสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสารหอมมะลิ สัตว์น้ำ และผลไม้บางประเภท ส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาค ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ ฮ่องกง มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ สิงคโปร์ จีน และไต้หวัน อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประเทศไทย
เงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาค
(อัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคจากระยะเดียวกันปีก่อน)
ต.ค.42 พ.ย.42 ธ.ค.42 ม.ค.43 ก.พ.43 มี.ค.43
อินโดนีเซีย 1.4 1.6 1.9 0.3 -0.9 -
ฟิลิปินส์ 5.3 3.9 4.2 2.6 3.0 -
มาเลเซีย 2.1 1.6 2.5 1.6 1.5 -
เกาหลีใต้ 1.2 1.4 1.4 1.6 1.4 -
สิงคโปร์ 1.4 1.3 1.4 1.5 2.0 -
ไต้หวัน 0.4 -0.9 0.1 0.5 0.9 -
ไทย -0.5 0.0 0.7 0.5 0.9 1.1
จีน -0.6 -0.9 -1.0 -0.2 0.7 -
ฮ่องกง -4.2 -4.1 -4.0 -5.3 -5.1 -
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภค โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับมาเป็นบวกในไตรมาสแรกของปี 2543 เท่ากับร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ -1.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-