กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สหรัฐอเมริกาได้เริ่มเจรจาทำความตกลงสองฝ่ายกับหลายประเทศเพื่อมุ่งให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ (นายบิล คลินตัน) และนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (นายหัว โก๊ะฟง) ได้ประกาศความร่วมมือจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน โดยหวังว่าความตกลงสองฝ่ายจะมีผลเร่งรัดกระบวนการเปิดเสรีการค้าของโลก (WTO) และภูมิภาค (เอเปค) ให้มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น
ในปี 2543 สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯสูงเป็นอันดับ 10 ขณะที่สหรัฐฯเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯกับสิงคโปร์มีมูลค่าเกือบ 34.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับปี 2542 และสินค้าที่สหรัฐฯส่งออกไปยังสิงคโปร์จะอยู่ในประเภทสินค้าเทคโนโลยีสูง ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ส่วนประกอบในคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงเคมีภัณฑ์ประเภทต่างๆ ในด้านการนำเข้าของสหรัฐฯ จากสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเครื่องแต่งกาย อย่างไรก็ตามอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันนับว่ามีน้อยมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของสหรัฐฯไปยังสิงคโปร์มีอัตราภาษีศูนย์หรือโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 1 %
สหรัฐฯได้กำหนดเป้าหมายในการเจรจาจัดทำความตกลง FTA กับสิงคโปร์เพื่อยกเลิกอุปสรรคในการค้าบริการสาขาต่างๆ และขยายโอกาสของสหรัฐฯในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับประเทศคู่ค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำหนดว่าจะสามารถจัดทำความตกลง FTA ที่มีผลใกล้เคียงกันกับความตกลงที่สหรัฐฯได้ทำกับจอร์แดนเมื่อปลายปี 2543 โดยผนวกเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงานไว้ในความตกลง ซึ่งความตกลงดังกล่าวระบุว่ารัฐบาลจะต้องมีการจัดทำและปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานในระดับสูง รวมทั้งจะต้องพยายามดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลอย่างจริงจัง
ในการเจรจาเมื่อวันที่ 4-21 ธันวาคม 2543 ที่กรุงวอชิงตันดีชี ผู้แทนสหรัฐฯนำโดย
นาย Ralph Ives ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ด้านเอเชีย-แปซิฟิค และฝ่ายสิงคโปร์นำโดยเอกอัคร-ราชทูต Tommy Koh ได้เริ่มเจรจาในรายละเอียด ซึ่งมีความคืบหน้าในหลายเรื่อง เรื่องที่จะบรรจุไว้ในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกัน คือ รัฐบาลสหรัฐฯต้องการให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่ธุรกิจของสหรัฐฯสนใจการลงทุนในสิงคโปร์ในสาขาบริการสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น บริการด้านสิ่งแวดล้อมวิศวกรรม การสื่อสารโทรคมนาคม การเงิน การจัดจำหน่าย การศึกษา สถาปัตยกรรม และบริการทางวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากในปี 2543 สหรัฐฯได้เปรียบดุลการค้าบริการสิงคโปร์ในมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เป็นการค้ากับบริษัทแม่ในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ก็ยังมีข้อจำกัดด้านบริการอยู่ ดังนั้นสหรัฐฯ จึงสนใจการยกเลิกข้อจำกัดด้านการค้าบริการและขยายโอกาสให้แก่ภาคธุรกิจของสหรัฐฯเพื่อลงทุนในตลาดสิงคโปร์
ทั้งสหรัฐฯและสิงคโปร์ตกลงที่จะจัดทำ FTA โดยผนวกเรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานไว้ด้วย ซึ่งสิงคโปร์เองก็มีนโยบายเคร่งครัดในเรื่องการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้กฎหมายแรงงานที่เข้มงวดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องดังกล่าวกำลังเป็นข้อขัดแย้งระหว่างพรรคริพับลีกันและพรรเดโมแครต ซึ่งเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีคลินตันลงนามร่วมกับกษัตริย์อัลดุลลาฟีแห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 ก็ได้รับการคัดค้านจากสมาชิกพรรคริพับลีกันเพราะเกรงว่าสหรัฐฯจะถือเป็นแบบอย่าง(Model) กับการทำความตกลงกับสิงคโปร์และชิลีต่อไป รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ แม้ว่าจะยังคงให้ความสำคัญในการเปิดตลาดการค้าเสรีและขยายความร่วมมือทั้งระดับภูมิภาคและระดับสองฝ่าย แต่ก็มีท่าทีผ่อนปรนในเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงาน โดยเน้นเรื่องสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนอเมริกันมากกว่า
ล่าสุดเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้รายงานว่าประธานคณะกรรมาธิการการคลัง วุฒิสมาชิก Charles Grassley (R-IA) ซึ่งเคยแสดงความคิดเห็นคัดค้านการผนวกประเด็นเรื่อง
สิ่งแวดล้อมและแรงงานไว้ในความตกลง FTA ได้แสดงความเห็นยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนรูปแบบการเจรจาที่รวมเรื่องทั้งสองต่อไป รวมทั้งสมาชิกเดโมแครตเองก็ยืนยันที่จะต่อต้าน หากมีการถอนประเด็นเรื่องทั้งสองออกไปจากความตกลง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สหรัฐอเมริกาได้เริ่มเจรจาทำความตกลงสองฝ่ายกับหลายประเทศเพื่อมุ่งให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ โดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ (นายบิล คลินตัน) และนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ (นายหัว โก๊ะฟง) ได้ประกาศความร่วมมือจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน โดยหวังว่าความตกลงสองฝ่ายจะมีผลเร่งรัดกระบวนการเปิดเสรีการค้าของโลก (WTO) และภูมิภาค (เอเปค) ให้มีความเคลื่อนไหวมากขึ้น
ในปี 2543 สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯสูงเป็นอันดับ 10 ขณะที่สหรัฐฯเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ มูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯกับสิงคโปร์มีมูลค่าเกือบ 34.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับปี 2542 และสินค้าที่สหรัฐฯส่งออกไปยังสิงคโปร์จะอยู่ในประเภทสินค้าเทคโนโลยีสูง ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ส่วนประกอบในคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงเคมีภัณฑ์ประเภทต่างๆ ในด้านการนำเข้าของสหรัฐฯ จากสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเทคโนโลยีชั้นสูง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเครื่องแต่งกาย อย่างไรก็ตามอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันนับว่ามีน้อยมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของสหรัฐฯไปยังสิงคโปร์มีอัตราภาษีศูนย์หรือโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 1 %
สหรัฐฯได้กำหนดเป้าหมายในการเจรจาจัดทำความตกลง FTA กับสิงคโปร์เพื่อยกเลิกอุปสรรคในการค้าบริการสาขาต่างๆ และขยายโอกาสของสหรัฐฯในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับประเทศคู่ค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำหนดว่าจะสามารถจัดทำความตกลง FTA ที่มีผลใกล้เคียงกันกับความตกลงที่สหรัฐฯได้ทำกับจอร์แดนเมื่อปลายปี 2543 โดยผนวกเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงานไว้ในความตกลง ซึ่งความตกลงดังกล่าวระบุว่ารัฐบาลจะต้องมีการจัดทำและปรับปรุงกฎหมายภายในเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานในระดับสูง รวมทั้งจะต้องพยายามดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลอย่างจริงจัง
ในการเจรจาเมื่อวันที่ 4-21 ธันวาคม 2543 ที่กรุงวอชิงตันดีชี ผู้แทนสหรัฐฯนำโดย
นาย Ralph Ives ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ด้านเอเชีย-แปซิฟิค และฝ่ายสิงคโปร์นำโดยเอกอัคร-ราชทูต Tommy Koh ได้เริ่มเจรจาในรายละเอียด ซึ่งมีความคืบหน้าในหลายเรื่อง เรื่องที่จะบรรจุไว้ในความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกัน คือ รัฐบาลสหรัฐฯต้องการให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่ธุรกิจของสหรัฐฯสนใจการลงทุนในสิงคโปร์ในสาขาบริการสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น บริการด้านสิ่งแวดล้อมวิศวกรรม การสื่อสารโทรคมนาคม การเงิน การจัดจำหน่าย การศึกษา สถาปัตยกรรม และบริการทางวิชาชีพต่างๆ เนื่องจากในปี 2543 สหรัฐฯได้เปรียบดุลการค้าบริการสิงคโปร์ในมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เป็นการค้ากับบริษัทแม่ในสหรัฐฯ และสิงคโปร์ก็ยังมีข้อจำกัดด้านบริการอยู่ ดังนั้นสหรัฐฯ จึงสนใจการยกเลิกข้อจำกัดด้านการค้าบริการและขยายโอกาสให้แก่ภาคธุรกิจของสหรัฐฯเพื่อลงทุนในตลาดสิงคโปร์
ทั้งสหรัฐฯและสิงคโปร์ตกลงที่จะจัดทำ FTA โดยผนวกเรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงานไว้ด้วย ซึ่งสิงคโปร์เองก็มีนโยบายเคร่งครัดในเรื่องการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้กฎหมายแรงงานที่เข้มงวดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องดังกล่าวกำลังเป็นข้อขัดแย้งระหว่างพรรคริพับลีกันและพรรเดโมแครต ซึ่งเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีคลินตันลงนามร่วมกับกษัตริย์อัลดุลลาฟีแห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 ก็ได้รับการคัดค้านจากสมาชิกพรรคริพับลีกันเพราะเกรงว่าสหรัฐฯจะถือเป็นแบบอย่าง(Model) กับการทำความตกลงกับสิงคโปร์และชิลีต่อไป รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ แม้ว่าจะยังคงให้ความสำคัญในการเปิดตลาดการค้าเสรีและขยายความร่วมมือทั้งระดับภูมิภาคและระดับสองฝ่าย แต่ก็มีท่าทีผ่อนปรนในเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงาน โดยเน้นเรื่องสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนอเมริกันมากกว่า
ล่าสุดเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้รายงานว่าประธานคณะกรรมาธิการการคลัง วุฒิสมาชิก Charles Grassley (R-IA) ซึ่งเคยแสดงความคิดเห็นคัดค้านการผนวกประเด็นเรื่อง
สิ่งแวดล้อมและแรงงานไว้ในความตกลง FTA ได้แสดงความเห็นยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสนับสนุนรูปแบบการเจรจาที่รวมเรื่องทั้งสองต่อไป รวมทั้งสมาชิกเดโมแครตเองก็ยืนยันที่จะต่อต้าน หากมีการถอนประเด็นเรื่องทั้งสองออกไปจากความตกลง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-