แท็ก
AFET
ในปี 2543 รัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการต่อเนื่องและมาตรการเสริมความ เข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพื่อรักษาระดับ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไป อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นตาข่ายรองรับความปลอดภัย (Safety Net) แก่ระบบเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
ก. มาตรการที่มีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริง
1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
- ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544
- ยกเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) สำหรับผู้ที่มีเงินได้จากการจ้างงานหรือ การประกอบอาชีพ การลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าวอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของรายได้ทั้งปี และจะขาดการลงทุน ได้ไม่เกิน 1 ปี
- การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่าย เงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2544 เท่ากับ ร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีคิดเป็นจำนวน 819.0 พันล้านบาท
- การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการประกอบอาชีพของเกษตรกร และผู้มีรายได้ น้อยโดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้กับธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (2,000 ล้านบาท) กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (2,000 ล้านบาท) และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (2,925 ล้านบาท)
- การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยภาคใต้ โดยรัฐบาลจัดสรรเงินให้ ธกส. จำนวน 982 ล้านบาท เพื่อชดเชยที่ต้องงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นเวลา 2 ปี นับแต่ปีที่ประสบภัย
2. มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
- ขยายขอบข่ายและระยะเวลาในการลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 0.01 โดยให้ครอบคลุมถึงการโอนที่ดินที่ไม่มีสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
- เพิ่มค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในการ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิม 10,000 เป็น 50,000 บาทต่อปี โดยสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ครอบคลุมถึงอาคารที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง หรือจะเป็นกรณีกู้มา refinance หนี้เก่าก็ได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543
- ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทาง การค้าหรือหากำไรจากเดิมร้อยละ 3.3 เหลือ ร้อยละ 0.01 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
- ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการเสียภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้อง นำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบธุรกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์
3. มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาค เอกชน
- มาตรการภาษี โดยการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง สินค้าทุนและสินค้าอื่นๆ จำนวน 542 และ 73 รายการ (4 กรกฎาคม 2543 และ 31 ตุลาคม 2543) ตามลำดับ
- มาตรการปรับโครงสร้างการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยจัดหาเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ การเกษตรและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) จากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 4.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม นอกจากนี้ ได้จัดทำแผนการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ในปี 2544 รวมทั้งขยายบทบาทและระยะเวลาในการดำเนินงานของศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน แก่วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และประชาชน (ศงป.) ต่อไปอีก 2 ปี ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเงินงบประมาณ
- การขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน งบประมาณปี 2541 ได้ไม่เกินสิ้นปีงบประมาณ 2544 กรณีที่มีหนี้ผูกพันงบประมาณที่ได้รับการ ช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตรา
4. การเปิดตลาดสินค้านำเข้าตาม ข้อผูกพันกับองค์การการค้าโลก
- ยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากร เพื่อให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก 23 รายการแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา
- ลดอัตราอากรให้กากถั่วเหลืองที่ นำเข้าจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม | 31 ธันวาคม 2544 และเรียกเก็บอากรพิเศษสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก
5. การส่งเสริมการส่งออก
- ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการ นำเข้าหรือการขายทองคำ ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาราเดียม เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณเพื่อการส่งออก
- ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก
6. การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และยกเว้นอากรแสตมป์แก่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะต้องเสียอากรแสตมป์
7. การยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกันที่ผู้ประกอบ อุตสาหกรรมได้จำหน่ายไปยังเรือจำหน่ายน้ำมัน กลางทะเล (Tanker) ในเขตต่อเนื่อง (12 | 24 ไมล์ทะเล) เพื่อจำหน่ายแก่ชาวประมง
8. การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ชาวประมงซื้อในเขตต่อเนื่องและน้ำมัน ที่เหลืออยู่ในถังใช้การปกติของยานพาหนะที่นำมา จากนอกราชอาณาจักรนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ของชาวประมง
ข. มาตรการรัฐวิสาหกิจ
1. อนุมัติแผนแปรรูปบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) และแนวทางการดำเนินการจำหน่ายหุ้น
2. การกำหนดหลักการและแนวทาง เพื่อให้รัฐวิสาหกิจนำส่งกำไรจากการจำหน่ายหุ้นเข้าเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยการกำหนดอัตราการนำส่งกำไรจะพิจารณาจากฐานะ การเงินและภาระการลงทุนขยายงานและเงินสด ที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income) ของ แต่ละรัฐวิสาหกิจ
3. การแปลงทุนขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท จำกัด 4 บริษัท คือ บริษัทรวมทุน (Holding Company) บริษัทองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำกัด บริษัทการสื่อสารแห่งประเทศไทย โทรคมนาคม จำกัด และบริษัทการสื่อสาร- แห่งประเทศไทยไปรษณีย์ จำกัด
4. การปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยแยกกิจการของ รฟท. ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วน รฟท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ และส่วนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัทอีก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการเดินรถ ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ และส่วนทรัพย์สิน นอกจากนี้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับ ดูแลอิสระเพื่อควบคุมดูแลการประกอบกิจการรถไฟ
5. ทบทวนแผนแปรรูปบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) เกี่ยวกับการเตรียมยุบเลิกกิจการของ บทด. ถ้าหากไม่สามารถหาผู้สนใจ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ให้ บทด. สามารถขยายการดำเนินธุรกิจได้อีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2544 เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการแปรรูปโดยการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน บทด. ควรจะดำเนินการในภาวะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เพื่อให้ภาคเอกชน มีศักยภาพและความพร้อมในการลงทุน
6. ผ่อนผันระยะเวลาการแปรรูปบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด ที่ให้ดำเนินการเพิ่มทุนโดยให้เอกชนมาถือหุ้นเพื่อแปรรูปให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ออกไปจนกว่ากฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมจะมีผลบังคับใช้
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจกู้เงิน ในประเทศ เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2542 และเพื่อใช้เป็นเงินบาทสมทบ โครงการเงินกู้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2542 (เพิ่มเติม) รวมทั้งสิ้น 14,383 ล้านบาท ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. การอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปา นครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ วงเงินรวมทั้งสิ้น 17,010 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นเงินบาท สมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศประจำปี งบประมาณ 2543
3. การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถึงกำหนดชำระคืนวันที่ 31 สิงหาคม จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยวิธี Re-open พันธบัตรรุ่นเดิมรวม 2 รุ่น ในวงเงิน 19,836 ล้านบาท และนำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืน ต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ จำนวน 164 ล้านบาท มาชำระคืนเงินกู้ ระยะสั้น (Bridge Loan) จากธนาคารออมสิน ที่นำไปไถ่ถอนพันธบัตรเดิมที่ถึงกำหนดชำระคืน
4. การปรับปรุงแผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2543 (ครั้งที่ 1) โดยมีวงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 5,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ประกอบด้วยโครงการหลัก 21 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 2,295.18 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยไม่มีโครงการสำรอง นอกจากนี้ ได้มีการปรับ โครงการเงินกู้จากต่างประเทศของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาเป็นการกู้เงินในประเทศแทน จำนวน 6 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 101.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. แผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปี งบประมาณ 2544 โดยมีวงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วย โครงการ รัฐบาลกู้โดยตรง 7 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 625.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการรัฐบาลค้ำประกัน 5 โครงการวงเงินเทียบเท่า 1,140.75 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีภาระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศสามารถบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ได้เองเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง
6. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณประจำปี 2544 ภายในวงเงินไม่เกิน 105,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามอัตราตลาดและอายุตราสารไม่เกิน 20 ปี
7. การกู้เงินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มในระหว่าง ปีงบประมาณ 2544 | 2548 จำนวน 5 ลำ ในวงเงิน 31,544 ล้านบาท และให้ทำการ Refinance เงินกู้เดิมในช่วงระหว่าง 5 ปี เป็น วงเงิน 11,063 ล้านบาท
ง. มาตรการสถาบันการเงิน
1. การออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2543 แก่ธนาคารพาณิชย์ จำนวน 19,920 ล้านบาท
2. การออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2543 แก่บริษัทเงินทุน 319 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์ จำนวน 4,733 ล้านบาท
3. มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะอากรแสตมป์แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์สำหรับการโอนทรัพย์สินกลับคืนไปยังสถาบันการเงิน และให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด ในกรณีสถาบันการเงินรับโอนสินทรัพย์กลับคืน จากบริษัทบริหารสินทรัพย์เหลือร้อยละ 0.01 เป็นพิเศษ โดยมีระยะเวลาจนถึง 30 มิถุนายน 2545
- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์แก่ลูกหนี้สถาบันการเงินสำหรับเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิได้เป็น เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน
- การขยายเวลาการยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์แก่บริษัทมหาชน จำกัด หรือบริษัท จำกัด สำหรับ มูลค่าของฐานภาษีรายรับหรือการกระทำตราสาร ในการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันออกไปอีก 1 ปี ให้ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 พร้อมทั้งได้ ขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับกรณีปรับปรุง โครงสร้างองค์กร โดยการโอนกิจการบางส่วนระหว่างกันออกไปอีก 1 ปี ให้ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ก. มาตรการที่มีผลต่อภาคเศรษฐกิจจริง
1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
- ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544
- ยกเว้นและลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ได้จากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) สำหรับผู้ที่มีเงินได้จากการจ้างงานหรือ การประกอบอาชีพ การลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าวอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของรายได้ทั้งปี และจะขาดการลงทุน ได้ไม่เกิน 1 ปี
- การกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่าย เงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2544 เท่ากับ ร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีคิดเป็นจำนวน 819.0 พันล้านบาท
- การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการประกอบอาชีพของเกษตรกร และผู้มีรายได้ น้อยโดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้กับธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (2,000 ล้านบาท) กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (2,000 ล้านบาท) และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (2,925 ล้านบาท)
- การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและสมาชิกสถาบันเกษตรกรที่ประสบภัยภาคใต้ โดยรัฐบาลจัดสรรเงินให้ ธกส. จำนวน 982 ล้านบาท เพื่อชดเชยที่ต้องงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นเวลา 2 ปี นับแต่ปีที่ประสบภัย
2. มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
- ขยายขอบข่ายและระยะเวลาในการลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 0.01 โดยให้ครอบคลุมถึงการโอนที่ดินที่ไม่มีสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
- เพิ่มค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในการ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิม 10,000 เป็น 50,000 บาทต่อปี โดยสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ครอบคลุมถึงอาคารที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 หลัง หรือจะเป็นกรณีกู้มา refinance หนี้เก่าก็ได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543
- ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทาง การค้าหรือหากำไรจากเดิมร้อยละ 3.3 เหลือ ร้อยละ 0.01 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
- ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่น รายการเสียภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้อง นำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นเงินได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบธุรกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์
3. มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาค เอกชน
- มาตรการภาษี โดยการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง สินค้าทุนและสินค้าอื่นๆ จำนวน 542 และ 73 รายการ (4 กรกฎาคม 2543 และ 31 ตุลาคม 2543) ตามลำดับ
- มาตรการปรับโครงสร้างการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยจัดหาเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ การเกษตรและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) จากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 4.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม นอกจากนี้ ได้จัดทำแผนการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ในปี 2544 รวมทั้งขยายบทบาทและระยะเวลาในการดำเนินงานของศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงิน แก่วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และประชาชน (ศงป.) ต่อไปอีก 2 ปี ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนเงินงบประมาณ
- การขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน งบประมาณปี 2541 ได้ไม่เกินสิ้นปีงบประมาณ 2544 กรณีที่มีหนี้ผูกพันงบประมาณที่ได้รับการ ช่วยเหลือตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตรา
4. การเปิดตลาดสินค้านำเข้าตาม ข้อผูกพันกับองค์การการค้าโลก
- ยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากร เพื่อให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก 23 รายการแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา
- ลดอัตราอากรให้กากถั่วเหลืองที่ นำเข้าจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม | 31 ธันวาคม 2544 และเรียกเก็บอากรพิเศษสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก
5. การส่งเสริมการส่งออก
- ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการ นำเข้าหรือการขายทองคำ ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาราเดียม เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณเพื่อการส่งออก
- ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก
6. การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และยกเว้นอากรแสตมป์แก่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน การดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะต้องเสียอากรแสตมป์
7. การยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกันที่ผู้ประกอบ อุตสาหกรรมได้จำหน่ายไปยังเรือจำหน่ายน้ำมัน กลางทะเล (Tanker) ในเขตต่อเนื่อง (12 | 24 ไมล์ทะเล) เพื่อจำหน่ายแก่ชาวประมง
8. การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ชาวประมงซื้อในเขตต่อเนื่องและน้ำมัน ที่เหลืออยู่ในถังใช้การปกติของยานพาหนะที่นำมา จากนอกราชอาณาจักรนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ของชาวประมง
ข. มาตรการรัฐวิสาหกิจ
1. อนุมัติแผนแปรรูปบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (บกท.) และแนวทางการดำเนินการจำหน่ายหุ้น
2. การกำหนดหลักการและแนวทาง เพื่อให้รัฐวิสาหกิจนำส่งกำไรจากการจำหน่ายหุ้นเข้าเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยการกำหนดอัตราการนำส่งกำไรจะพิจารณาจากฐานะ การเงินและภาระการลงทุนขยายงานและเงินสด ที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income) ของ แต่ละรัฐวิสาหกิจ
3. การแปลงทุนขององค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท จำกัด 4 บริษัท คือ บริษัทรวมทุน (Holding Company) บริษัทองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำกัด บริษัทการสื่อสารแห่งประเทศไทย โทรคมนาคม จำกัด และบริษัทการสื่อสาร- แห่งประเทศไทยไปรษณีย์ จำกัด
4. การปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยแยกกิจการของ รฟท. ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วน รฟท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ และส่วนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัทอีก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการเดินรถ ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ และส่วนทรัพย์สิน นอกจากนี้มีการจัดตั้งองค์กรกำกับ ดูแลอิสระเพื่อควบคุมดูแลการประกอบกิจการรถไฟ
5. ทบทวนแผนแปรรูปบริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) เกี่ยวกับการเตรียมยุบเลิกกิจการของ บทด. ถ้าหากไม่สามารถหาผู้สนใจ ซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ให้ บทด. สามารถขยายการดำเนินธุรกิจได้อีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2544 เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินการแปรรูปโดยการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน บทด. ควรจะดำเนินการในภาวะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เพื่อให้ภาคเอกชน มีศักยภาพและความพร้อมในการลงทุน
6. ผ่อนผันระยะเวลาการแปรรูปบริษัท อินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด ที่ให้ดำเนินการเพิ่มทุนโดยให้เอกชนมาถือหุ้นเพื่อแปรรูปให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ออกไปจนกว่ากฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมจะมีผลบังคับใช้
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจกู้เงิน ในประเทศ เพื่อทดแทนเงินกู้ต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2542 และเพื่อใช้เป็นเงินบาทสมทบ โครงการเงินกู้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2542 (เพิ่มเติม) รวมทั้งสิ้น 14,383 ล้านบาท ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. การอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปา นครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ วงเงินรวมทั้งสิ้น 17,010 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นเงินบาท สมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศประจำปี งบประมาณ 2543
3. การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ถึงกำหนดชำระคืนวันที่ 31 สิงหาคม จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยวิธี Re-open พันธบัตรรุ่นเดิมรวม 2 รุ่น ในวงเงิน 19,836 ล้านบาท และนำเงินจากกองทุนเพื่อการชำระคืน ต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ จำนวน 164 ล้านบาท มาชำระคืนเงินกู้ ระยะสั้น (Bridge Loan) จากธนาคารออมสิน ที่นำไปไถ่ถอนพันธบัตรเดิมที่ถึงกำหนดชำระคืน
4. การปรับปรุงแผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2543 (ครั้งที่ 1) โดยมีวงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 5,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ประกอบด้วยโครงการหลัก 21 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 2,295.18 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยไม่มีโครงการสำรอง นอกจากนี้ ได้มีการปรับ โครงการเงินกู้จากต่างประเทศของการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาเป็นการกู้เงินในประเทศแทน จำนวน 6 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 101.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. แผนก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปี งบประมาณ 2544 โดยมีวงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประกอบด้วย โครงการ รัฐบาลกู้โดยตรง 7 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 625.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการรัฐบาลค้ำประกัน 5 โครงการวงเงินเทียบเท่า 1,140.75 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีภาระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศสามารถบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ได้เองเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ยกเว้นธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อค่าเงินบาทโดยตรง
6. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณประจำปี 2544 ภายในวงเงินไม่เกิน 105,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามอัตราตลาดและอายุตราสารไม่เกิน 20 ปี
7. การกู้เงินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มในระหว่าง ปีงบประมาณ 2544 | 2548 จำนวน 5 ลำ ในวงเงิน 31,544 ล้านบาท และให้ทำการ Refinance เงินกู้เดิมในช่วงระหว่าง 5 ปี เป็น วงเงิน 11,063 ล้านบาท
ง. มาตรการสถาบันการเงิน
1. การออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2543 แก่ธนาคารพาณิชย์ จำนวน 19,920 ล้านบาท
2. การออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2543 แก่บริษัทเงินทุน 319 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์ จำนวน 4,733 ล้านบาท
3. มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะอากรแสตมป์แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์สำหรับการโอนทรัพย์สินกลับคืนไปยังสถาบันการเงิน และให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด ในกรณีสถาบันการเงินรับโอนสินทรัพย์กลับคืน จากบริษัทบริหารสินทรัพย์เหลือร้อยละ 0.01 เป็นพิเศษ โดยมีระยะเวลาจนถึง 30 มิถุนายน 2545
- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์แก่ลูกหนี้สถาบันการเงินสำหรับเงินได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิได้เป็น เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินเพื่อนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน
- การขยายเวลาการยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์แก่บริษัทมหาชน จำกัด หรือบริษัท จำกัด สำหรับ มูลค่าของฐานภาษีรายรับหรือการกระทำตราสาร ในการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันออกไปอีก 1 ปี ให้ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544 พร้อมทั้งได้ ขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับกรณีปรับปรุง โครงสร้างองค์กร โดยการโอนกิจการบางส่วนระหว่างกันออกไปอีก 1 ปี ให้ไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-