ปี 2542 ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดลำปางมีทิศทางการปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน หลังจากที่หดตัวตามภาวะ เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน จากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย และการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจของราคาปีก่อน ส่วนนอกภาคเกษตรแสดงทิศทางการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะ การใช้จ่ายภาคเอกชน และการผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ทางด้านเงินฝากลดลงเนื่องจากการปรับลด อัตราดอกเบี้ย ส่วนสินเชื่อลดลงตามการชะลอการให้สินเชื่อใหม่รวมทั้งมีการเร่งรัดการชำระหนี้ของธนาคาร พาณิชย์ต่อเนื่องจากปีก่อน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวตามการเร่งเบิกจ่ายเพื่อการก่อสร้างเป็นสำคัญ
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ต่อการเจริญเติบโตส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจทางด้านราคาปีก่อน ได้แก่ ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 164,516 เมตริกตัน อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เป็น 305,555 เมตริกตัน ถั่วลิสง และ ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 10.1 เป็น 15,388 เมตริกตัน และ 7,064 เมตริกตัน ตามลำดับ ส่วน กระเทียมและหอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และร้อยละ 4.9 เป็น 7,383 เมตริกตัน และ 1,769 เมตริกตัน ตามลำดับ จากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น มีเพียง ข้าวโพด ที่ลดลงร้อยละ 4.4 เหลือ 15,846 เมตริกตัน ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนได้แก่ ข้าวนาปี ราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ถั่วลิสงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.85 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 25.8 ถั่วเหลืองราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.13 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 14.5 ส่วนกระเทียมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 ข้าวโพดราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.90 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้เกษตรกรจะลดลง จากปีก่อนตามราคาพืชผลส่วนใหญ่ที่ต่ำลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
ภาคนอกเกษตรปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว จากปีก่อนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่ เซรามิก ผักผลไม้กระป๋อง ผักแช่แข็ง เป็นต้น ส่วนการผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 18.1 เหลือ 9,587 เมตริกตัน แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 54.8 เหลือ 11,702 เมตริกตันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการผลิต ทางด้านการผลิตปูนซีเมนต์แม้ว่าปริมาณ ผลผลิจะยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนตามการหดตัวของภาคก่อสร้าง แต่มีอัตราการลดลงต่ำกว่าปีก่อน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการเพื่อการส่งออกในตลาดชายแดนที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ภาคเหมืองแร่ ผลผลิต แร่ลิกไนต์ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 17.9 จากการลดปริมาณความต้องการของโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นสำคัญ หินปูนผลผลิตลดลงร้อยละ 17.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.4 ปีก่อน เนื่องจากการลดกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ส่วนผลผลิตแร่ดินขาวและบอลเคลย์ซึ่งใช้ เป็นวัตถุดิบในการผลิตเซรามิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 และร้อยละ 40.8 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับภาวะการผลิตของ อุตสาหกรรมเซรามิกที่ขยายตัวตามความต้องการเพื่อการส่งออก การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดีพิจารณา จากเครื่องชี้สำคัญได้แก่ การจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 เทียบกับลดลงร้อยละ 57.1 ปีก่อน การจด ทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 55.8 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ย เงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำทำให้ผู้ฝากบางส่วนถอนเงินออกมาใช้จ่ายมากขึ้น และแม้ว่าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคลจะลดลงร้อยละ 15.6 เหลือ 3,245 ล้านบาท แต่จากการเปิดบริการให้สินเชื่อของผู้ประกอบการ จำหน่ายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทดแทน การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้การจำหน่ายสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.8 เหลือ 341 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 ปีก่อน จากการ ปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 ปีก่อน ซึ่งแสดงถึงภาวะการค้าโดยรวมมีการขยายตัวจากปีก่อน ประกอบกับภาวะการจ้างงานมีแนวโน้ม ดีขึ้น จากจำนวนผู้ประกันตนของจังหวัดลำปางเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.0 (ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม) ส่วนสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.9 ปีก่อน ซึ่งเป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ เครื่องชี้การลงทุนส่วนใหญ่ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน แม้ว่าจำนวน โครงการจะมีทั้งสิ้น 2 โครงการ เท่ากับปีก่อน แต่มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 87.0 เทียบกับลดลงร้อยละ 85.4 ปีก่อน ได้แก่ กิจการผลิตอาหารจากธรรมชาติ และกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนเงินลงทุนของการจดทะเบียน ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ลดลงร้อยละ 46.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 51.3 ปีก่อน โดยมีการจัดตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมใหม่ที่น่าสนใจ ได้แก่ โรงงานผลิตกรอบรูป เฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา โรงงานผลิตกระดาษสา โรงงานผลิตกระเบื้องใยหินและกระเบื้องคอนกรีต และโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น สำหรับ การก่อสร้าง ภาคเอกชนมีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น จากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.1 เหลือ 29,163 ตารางเมตร เทียบกับลดลงร้อยละ 80.3 เหลือ 29,796 ตารางเมตร เมื่อแยกพิจารณาเป็นประเภท พบว่าการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ ส่วนการก่อสร้างภาครัฐยังคงเป็นการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่อเนื่องจากปีก่อนเป็นสำคัญ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำปางเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เป็น 27,975 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.8 เหลือ 25,862 ล้านบาทปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.6 เหลือ 13,519 ล้านบาท ส่วนเงินเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เป็น 14,456 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็น ผลจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวทำให้มีการเบิกถอน เงินจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้จ่ายมากขึ้น ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงส่งผลต่อการถอนเงินจากธนาคาร พาณิชย์มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการสำรองเงินไว้ เพื่อรองรับปัญหา Y2K ช่วงสิ้นปีทำให้มีเงินเบิกถอน สุทธิ 937 ล้านบาท เทียบกับที่มีเงินนำฝากสุทธิ 2,192 ล้านบาทปีก่อน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ของสาขา ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 17,906 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ปีก่อน เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไม่จูงใจให้มีการฝากเงิน โดยเงินฝากลดลงทั้งในเขตอำเภอเมือง และอำเภอรอบนอก ทางด้านการให้ สินเชื่อ มียอดคงค้าง 11,648 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 16.8 ปีก่อน ทั้งนี้การชะลอการให้สินเชื่อใหม่และการเร่งรัดการชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์ยังเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้สินเชื่อลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อการบริการ ส่วนสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับ ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักหัก บัญชีจังหวัดลำปางมีปริมาณเช็คเรียกเก็บใกล้เคียงกับปีก่อนคือ 358,399 ฉบับ แต่มูลค่าเช็คเรียกเก็บลดลงร้อยละ 17.9 เหลือ 23,844 ล้านบาท ส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 32.2 และ ร้อยละ 28.1 ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนของปริมาณเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 เทียบกับร้อยละ 2.2 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของ สาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,802 ราย วงเงิน 2,613.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,750 ราย วงเงิน 2,252.1 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 170 ราย วงเงิน 294.4 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,632 ราย เป็นเงิน 2,319.0 ล้านบาท
ฐานะการคลังจังหวัดลำปางปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 7,063 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับ ขาดดุล 6,349 ล้านบาทปีก่อน เนื่องจากนโยบายการเร่งรัดให้หน่วยงานราชการเร่งเบิกจ่าย งบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เป็น 8,333 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.6 เหลือ 7,722 ล้านบาท และการจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 7.5 เหลือ 1,270 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.7 เหลือ 1,373 ล้านบาท เป็นการลดลงตามการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะรายได้จากดอกเบี้ยที่ลดลงในเกณฑ์สูง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ย ลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 687 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 366 ล้านบาท ปีก่อน ทำให้เงินสดขาดดุล 7,750 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 6,715 ล้านบาทปีก่อน สำหรับการใช้จ่ายใน โครงการมิยาซาวา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีการใช้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 616 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.9 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อการจ้างงานเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ต่อการเจริญเติบโตส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจทางด้านราคาปีก่อน ได้แก่ ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 164,516 เมตริกตัน อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เป็น 305,555 เมตริกตัน ถั่วลิสง และ ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 10.1 เป็น 15,388 เมตริกตัน และ 7,064 เมตริกตัน ตามลำดับ ส่วน กระเทียมและหอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และร้อยละ 4.9 เป็น 7,383 เมตริกตัน และ 1,769 เมตริกตัน ตามลำดับ จากความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น มีเพียง ข้าวโพด ที่ลดลงร้อยละ 4.4 เหลือ 15,846 เมตริกตัน ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนได้แก่ ข้าวนาปี ราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ถั่วลิสงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.85 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 25.8 ถั่วเหลืองราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.13 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 14.5 ส่วนกระเทียมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 ข้าวโพดราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.90 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้เกษตรกรจะลดลง จากปีก่อนตามราคาพืชผลส่วนใหญ่ที่ต่ำลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
ภาคนอกเกษตรปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว จากปีก่อนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ได้แก่ เซรามิก ผักผลไม้กระป๋อง ผักแช่แข็ง เป็นต้น ส่วนการผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 18.1 เหลือ 9,587 เมตริกตัน แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 54.8 เหลือ 11,702 เมตริกตันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการผลิต ทางด้านการผลิตปูนซีเมนต์แม้ว่าปริมาณ ผลผลิจะยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนตามการหดตัวของภาคก่อสร้าง แต่มีอัตราการลดลงต่ำกว่าปีก่อน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการเพื่อการส่งออกในตลาดชายแดนที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น ภาคเหมืองแร่ ผลผลิต แร่ลิกไนต์ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 17.9 จากการลดปริมาณความต้องการของโรงงานไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นสำคัญ หินปูนผลผลิตลดลงร้อยละ 17.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.4 ปีก่อน เนื่องจากการลดกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ส่วนผลผลิตแร่ดินขาวและบอลเคลย์ซึ่งใช้ เป็นวัตถุดิบในการผลิตเซรามิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 และร้อยละ 40.8 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับภาวะการผลิตของ อุตสาหกรรมเซรามิกที่ขยายตัวตามความต้องการเพื่อการส่งออก การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดีพิจารณา จากเครื่องชี้สำคัญได้แก่ การจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 เทียบกับลดลงร้อยละ 57.1 ปีก่อน การจด ทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 55.8 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ย เงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำทำให้ผู้ฝากบางส่วนถอนเงินออกมาใช้จ่ายมากขึ้น และแม้ว่าสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคลจะลดลงร้อยละ 15.6 เหลือ 3,245 ล้านบาท แต่จากการเปิดบริการให้สินเชื่อของผู้ประกอบการ จำหน่ายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทดแทน การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้การจำหน่ายสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 12.8 เหลือ 341 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 ปีก่อน จากการ ปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.8 ปีก่อน ซึ่งแสดงถึงภาวะการค้าโดยรวมมีการขยายตัวจากปีก่อน ประกอบกับภาวะการจ้างงานมีแนวโน้ม ดีขึ้น จากจำนวนผู้ประกันตนของจังหวัดลำปางเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.0 (ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม) ส่วนสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.9 ปีก่อน ซึ่งเป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ เครื่องชี้การลงทุนส่วนใหญ่ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดยกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน แม้ว่าจำนวน โครงการจะมีทั้งสิ้น 2 โครงการ เท่ากับปีก่อน แต่มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 87.0 เทียบกับลดลงร้อยละ 85.4 ปีก่อน ได้แก่ กิจการผลิตอาหารจากธรรมชาติ และกิจการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนเงินลงทุนของการจดทะเบียน ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ลดลงร้อยละ 46.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 51.3 ปีก่อน โดยมีการจัดตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมใหม่ที่น่าสนใจ ได้แก่ โรงงานผลิตกรอบรูป เฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา โรงงานผลิตกระดาษสา โรงงานผลิตกระเบื้องใยหินและกระเบื้องคอนกรีต และโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผา เป็นต้น สำหรับ การก่อสร้าง ภาคเอกชนมีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น จากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.1 เหลือ 29,163 ตารางเมตร เทียบกับลดลงร้อยละ 80.3 เหลือ 29,796 ตารางเมตร เมื่อแยกพิจารณาเป็นประเภท พบว่าการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ ส่วนการก่อสร้างภาครัฐยังคงเป็นการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่อเนื่องจากปีก่อนเป็นสำคัญ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำปางเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เป็น 27,975 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 0.8 เหลือ 25,862 ล้านบาทปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.6 เหลือ 13,519 ล้านบาท ส่วนเงินเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เป็น 14,456 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็น ผลจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวทำให้มีการเบิกถอน เงินจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้จ่ายมากขึ้น ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงส่งผลต่อการถอนเงินจากธนาคาร พาณิชย์มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการสำรองเงินไว้ เพื่อรองรับปัญหา Y2K ช่วงสิ้นปีทำให้มีเงินเบิกถอน สุทธิ 937 ล้านบาท เทียบกับที่มีเงินนำฝากสุทธิ 2,192 ล้านบาทปีก่อน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ของสาขา ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 17,906 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ปีก่อน เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไม่จูงใจให้มีการฝากเงิน โดยเงินฝากลดลงทั้งในเขตอำเภอเมือง และอำเภอรอบนอก ทางด้านการให้ สินเชื่อ มียอดคงค้าง 11,648 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 16.8 ปีก่อน ทั้งนี้การชะลอการให้สินเชื่อใหม่และการเร่งรัดการชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์ยังเป็นปัจจัย สำคัญที่ทำให้สินเชื่อลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อการบริการ ส่วนสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับ ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักหัก บัญชีจังหวัดลำปางมีปริมาณเช็คเรียกเก็บใกล้เคียงกับปีก่อนคือ 358,399 ฉบับ แต่มูลค่าเช็คเรียกเก็บลดลงร้อยละ 17.9 เหลือ 23,844 ล้านบาท ส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 32.2 และ ร้อยละ 28.1 ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนของปริมาณเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 เทียบกับร้อยละ 2.2 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของ สาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,802 ราย วงเงิน 2,613.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,750 ราย วงเงิน 2,252.1 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 170 ราย วงเงิน 294.4 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,632 ราย เป็นเงิน 2,319.0 ล้านบาท
ฐานะการคลังจังหวัดลำปางปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 7,063 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับ ขาดดุล 6,349 ล้านบาทปีก่อน เนื่องจากนโยบายการเร่งรัดให้หน่วยงานราชการเร่งเบิกจ่าย งบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เป็น 8,333 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.6 เหลือ 7,722 ล้านบาท และการจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 7.5 เหลือ 1,270 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.7 เหลือ 1,373 ล้านบาท เป็นการลดลงตามการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเฉพาะรายได้จากดอกเบี้ยที่ลดลงในเกณฑ์สูง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ย ลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 687 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 366 ล้านบาท ปีก่อน ทำให้เงินสดขาดดุล 7,750 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 6,715 ล้านบาทปีก่อน สำหรับการใช้จ่ายใน โครงการมิยาซาวา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีการใช้จ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 616 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.9 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อการจ้างงานเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-