เศรษฐฏิจภาคตุะวันออกเฉียงเหนือ : การค้าชายแดน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 15, 2000 11:54 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          สถานการณ์การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. ประวัติการค้าชายแดนไทย-ลาว1/
ประเทศไทยและลาวได้มีความสัมพันธ์ทางการค้ามาเป็นเวลานานในประวัติศาสตร์ในอดีตการติดต่อค้าขายระหว่างทั้งสองเป็นไป
อย่างเสรี หลังจากที่ลาวถูกปกครองโดยฝรั่งเศส นโยบายการค้าระหว่างประเทศของลาวมุ่งที่จะค้าขายกับประเทศอินโดจีน ซึ่งเป็นอาณานิคม
ของฝรั่งเศสด้วยกันเป็นหลัก โดยประเทศฝรั่งเศสได้พัฒนาเส้นทางคมนาคมติดต่อเชื่อมโยงระหว่างลาว เวียดนาม และกัมพูชา ใช้เป็นเส้นทาง
หลักในการขนถ่ายสินค้า เอื้ออำนวยการค้าระหว่างกัน ในขณะเดียวกันพยายามกีดกันการค้าจากประเทศอื่นรวมทั้งจากประเทศไทย
หลังจากที่ลาวได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1954 ตามข้อตกลงเจนีวาเกี่ยวกับสถานการณ์ในอินโดจีน ลาวเปิดประเทศมากขึ้น สินค้าออก
ของลาวส่วนหนึ่งอาศัยประเทศไทยเป็นเส้นทางส่งออกสู่นานาประเทศ ในปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 ของสินค้าออกของลาวทั้งหมด
การค้าไทย-ลาวขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากลาวที่สำคัญ คือ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ แร่ดีบุก แร่แบไรต์ ของป่าและเศษโลหะ
มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของการส่งออกของลาวทั้งหมด สินค้าที่ไทยส่งออกไปลาวส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์
ปิโตรเลียม มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของการนำเข้าทั้งหมดของลาว
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของลาวในปี ค.ศ. 1975 ทางการลาวมีนโยบายเปิดประเทศมากขึ้น ส่งผลให้การค้าระหว่างไทยและ
ลาวเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการค้าซึ่งแต่ละฝ่ายได้
พยายามปรับปรุงระเบียบและวิธีปฏิบัติให้มีความสะดวกเพื่อเอื้ออำนวยทางการค้าระหว่างกัน ตลอดจนนโยบายของทางการลาวเน้นการพัฒนา
สาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าเทียบเรือ เส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการค้าระหว่างกัน
จากความสัมพันธ์อันดีทางการค้าได้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนตามแนวชายแดน มีรายได้จากการ
ประกอบอาชีพการค้า ต่อเนื่องถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ตลอดจนประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น นำไปสู่ความเจริญ
เป็นจุดเติบโตใหม่ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะสร้างความมั่งคั่งให้กับประชาชนทั้ง 2 ประเทศ
2. นโยบายการค้าไทย-ลาว2/
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบการกำหนดนโยบายการค้ากับ สปป.ลาว เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่
สปป.ลาว ที่กำลังประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เนื่องจากการขาดดุลการค้าจำนวนมาก ตามที่คณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการค้า
ชายแดน ตามมติที่ประชุมมีมาตรการ ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว
1) เร่งรัดให้กระทรวงการคลังลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร 23 รายการ ตามพันธกรณีความตกลงการเกษตร องค์การการค้าโลก
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539
2) ลดภาษีนำเข้าสินค้าที่สำคัญของ สปป.ลาว จำนวน 39 รายการ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรและวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ
เพื่อให้ สปป.ลาว สามารถส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังไทยมากขึ้น
3) ขอผ่อนผันต่อองค์การการค้าโลกเป็นกรณีพิเศษ เรื่อง แยกโควตานำเข้าสินค้าเกษตร 23 รายการ ที่ได้ให้แก่ สปป.ลาว ออก
จากโควตานำเข้าของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ สปป.ลาว มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง
มันฝรั่ง ใบยาสูบ เนื่องจาก สปป.ลาว เป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้ ขอให้พิจารณาให้สิทธิดังกล่าวแก่ประเทศกัมพูชา และสหภาพพม่า
ซึ่งประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
2. มาตรการส่งเสริมการลงทุน
1) ให้กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ จัดทำโครงการส่งเสริมตลาดการค้าและการลงทุนสินค้าอุตสาหกรรมอาเซียน
ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกัมพูชา เวียดนาม พม่า และ สปป.ลาว โดยจัดคณะผู้แทนไทยเดินทางไปศึกษาลู่ทางการค้าและการ
ลงทุนในประเทศทั้งสี่ดังกล่าว ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวจะทำการเผยแพร่ให้แก่ภาคเอกชนไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูล
ในการตัดสินใจเข้าไปลงทุนในประเทศดังกล่าว อันจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ สปป.ลาว และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่อื่น ๆ
2) ขอความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย สนับสนุนให้สมาชิกที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าไปยัง
สปป.ลาว พิจารณาเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูปใน สปป.ลาว หรือจัดตั้งโรงงานแปรรูปวัตถุดิบเพื่อส่งกลับมายังไทย เพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ
ของ สปป.ลาว
3) การขนส่งสินค้าผ่านแดน
เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมบังคับใช้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย-ลาว ที่ลงนามไปแล้วตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2542 โดย
เร็ว ทั้งนี้ ควรให้เสร็จสิ้นก่อนการบังคับใช้ความตกลงขนส่งเสรีของอาเซียน เนื่องจาก สปป.ลาว มีความต้องการให้บังคับใช้ความตกลงดังกล่าว
เป็นอย่างมาก เพื่อจะได้ใช้ยานพาหนะของ สปป.ลาว ในการขนส่งสินค้าผ่านชายแดนไทยได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าผ่านแดนไทยของ
สปป.ลาว ลงได้มาก นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนไทยที่ต้องการขนส่งสินค้าผ่านแดน สปป.ลาว ไปยังเวียดนาม
4. การส่งเสริมการค้าด้วยเงินบาทและเงินกีบ
ไทยซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของ สปป.ลาว ควรแสดงท่าทีในการช่วยแก้ไขปัญหาค่าเงินกีบตกต่ำ โดยริเริ่มให้มีการทำการค้าด้วย
เงินบาทและเงินกีบเพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีของ สปป.ลาว ต่อไทย จึงเห็นควรขอความร่วมมือจากสมาชิกหอการค้าไทยที่เป็นผู้ประกอบการค้า
ชายแดนกับ สปป.ลาว ให้พิจารณารับชำระค่าสินค้าด้วยเงินกีบ โดยเฉพาะกับการค้ารายย่อยที่ประชาชนลาวข้ามมาซื้อสินค้าไทยตามบริเวณ
ชายแดน ทั้งนี้ อาจพิจารณาขอความร่วมมือจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยรับเงินกีบจากผู้ประกอบการฝ่ายไทยที่ขายสินค้าให้ สปป.ลาว
ใช้ชำระค่าไฟฟ้าที่ซื้อจาก สปป.ลาว ต่อไป (ปัจจุบันผู้ประกอบการค้าชายแดนของไทยไม่ยอมรับเงินกีบในการชำระค่าสินค้า ซึ่งทำให้ สปป.ลาว
มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อไทย เมื่อเปรียบเทียบกับจีนและเวียดนามที่ยอมรับชำระค่าสินค้าด้วยเงินกีบ ทั้งนี้ รัฐบาล สปป.ลาว เชื่อว่าการค้าด้วยเงินกีบ
จะทำให้ค่าเงินกีบมีเสถียรภาพ
3. จุดการค้าตามแนวชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พรมแดนไทยที่ติดต่อกับลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบล
ราชธานี และอำนาจเจริญ มีจุดผ่านแดนถาวร 10 จุด และจุดผ่านแดนผ่อนปรนอีก 11 จุด
จุดผ่านแดนถาวร
1. ท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย-ท่าเดื่อ แขวงกำแพงนครเวียงจันทน์
จุดผ่านแดนถาวรท่าเสด็จ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ตรงข้ามกับท่าเดื่อ แขวงกำแพงนครเวียงจันทน์ ปัจจุบันได้ลดบทบาท
ลงมากหลังจากเปิดสะพาน ให้บริการเฉพาะคน และของใช้ส่วนตัวข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเท่านั้น
2. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย แขวงกำแพงนครเวียงจันทน์
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2537 ปัจจุบันเป็นเส้นทางสำคัญในการขนถ่ายสินค้าระหว่าง
ไทย-ลาว สินค้าออกของไทยไปลาวมากกว่าครึ่งหนึ่งส่งออกทางด้านนี้ นครหลวงเวียงจันทน์เป็นตลาดใหญ่รองรับสินค้าจากไทยและมีสินค้าอีกจำนวน
หนึ่งถูกส่งออกต่อไปต่างแขวง สินค้าออกส่วนใหญ่ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและอุปกรณ์
ด้านการนำเข้าที่สำคัญ คือไม้แปรรูป
3. อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม-ท่าแขก แขวงคำม่วน
จุดผ่านแดนอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นจุดการค้าชายแดนที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของภาค อยู่ตรงข้ามกับท่าแขก แขวงคำม่วน ของ
สปป.ลาว มีด่านศุลกากรของทั้ง 2 ประเทศตั้งอยู่ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรนี้ประมาณปีละ 1,300-1,500 ล้านบาท สินค้าออกของไทยที่สำคัญ
ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ก่อสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 และถนน น้ำมันปิโตรเลียม รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ ทางด้านสินค้านำเข้าที่
สำคัญ ได้แก่ ไม้แปรรูป
การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจบนถนนหมายเลข 8 เชื่อมต่อประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านชายแดนจังหวัดนครพนม
เข้าท่าแขก ผ่านแขวงคำม่วน บริคำไซ เมืองหลักซาว สปป.ลาว และเข้าเวียดนามไปท่าเรือ Yuan Hai หรือท่าเรือ Cua Lo โดยมีระยะทาง
344 กิโลเมตร การปรับปรุงถนนหมายเลข 8 จะช่วยระบายสินค้าไทยไปยังลาวและเวียดนามและสามารถส่งต่อออกไปเอเชียตะวันออก เช่น จีน
ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง ในขณะเดียวกันสินค้าจากลาว เวียดนาม สามารถนำเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านนี้ เส้นทางนี้จะช่วยสร้างเสริมและ
สนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่าง 3 ประเทศ สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ลดต้นทุนการขนส่งและเปิดโอกาสอันดีที่จะร่วมมือกันทางด้าน
การค้า การท่องเที่ยว การลงทุน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจสาขาอื่น ๆ
4. ช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี-วังเต่า แขวงจำปาศักดิ์
การค้าที่ด่านนี้เป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดส่วนใหญ่ พ่อค้าเกือบทั้งหมดเป็นพ่อค้ารายย่อยทั้งฝั่งไทยและลาว โดยมากพ่อค้าลาวจะเดินทางมาซื้อ
สินค้าที่ฝั่งไทย ส่วนการค้าไม้แปรรูปเป็นการค้าของพ่อค้ารายใหญ่ ติดต่อซื้อขายกันเป็นมูลค่าคราวละมาก ๆ โดยใช้รถบรรทุกเป็นพาหนะในการ
ขนส่ง การชำระเงินเป็นเงินบาทและเงินดอลลาร์
โครงการพัฒนาช่องเม็ก พัฒนาพื้นที่บริเวณด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือเป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยวเกี่ยวกับประเทศกลุ่มอินโดจีน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงกับ
พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย ทั้งนี้ เพราะด่านช่องเม็กเป็นจุดผ่านพรมแดนไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ที่อำเภอ
สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตรงกับเมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีมูลค่าสินค้าผ่านเข้าออกหลายร้อย
ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โครงการนี้จะทำให้อำเภอสิรินธรเป็นศูนย์กลางการค้าชายแดน เป็นตลาดที่สำคัญของอินโดจีน เป็นจุด
เติบโตใหม่ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะมีผลให้อำเภอและจังหวัดใกล้เคียงเจริญเติบโตตามไปด้วย
5. อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร-เมืองคันทะบุรี แขวงสะหวันเขต
ปริมาณการค้าที่จุดนี้มากเป็นอันดับสองรองจากจุดผ่านแดน สะพานมิตรภาพไทยลาวที่จังหวัดหนองคาย การค้าปี 2541 มีมูลค่า
1,577.8 ล้านบาท สินค้าออกของไทยที่สำคัญ คือ วัสดุก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำมันปิโตรเลียม สินค้านำเข้าที่สำคัญ คือ
ไม้แปรรูป และของป่า
จุดผ่านแดนถาวรมุกดาหาร-เมืองคันทะบุรี สามารถเชื่อมต่อประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับ สปป.ลาว บนถนน
หมายเลข 9 ผ่านสะหวันเขตเข้าสู่เวียดนาม และออกทะเลเวียดนามที่ดานัง ซึ่งเป็นเขตที่มีการพัฒนาและการลงทุนด้านต่าง ๆ สูง นอกจากนี้
จังหวัดมุกดาหารสามารถผ่านขอนแก่น พิษณุโลก สุโขทัย เชื่อมประเทศพม่าที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ถนนหมายเลข 9 นี้ จะผลักดันให้การค้า
ชายแดนที่จังหวัดมุกดาหารขยายตัวขึ้น และจะผลักดันให้จังหวัดมุกดาหารและบริเวณใกล้เคียงเจริญขึ้นเป็นจุดเติบโตใหม่ของภาคฯ และของ
ประเทศในอนาคต
6. กิ่งอำเภอนาตาล อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี-เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน
ปริมาณการค้าค่อนข้างน้อย สินค้านำเข้าหลักเป็นโค-กระบือมีชีวิต และของป่าทางด้านการส่งออกสินค้าหลัก คือ รถไถเดินตาม และ
ปุ๋ยเคมี อำเภอเขมราฐ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการขนส่งและอยู่ใกล้กับจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งสามารถค้าขายสินค้าตามแนวชายแดนได้สะดวกกว่า
ศักยภาพในการพัฒนาต่ำกว่าจุดผ่านแดนอื่น ๆ
7. อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย-เมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ
จุดผ่านแดนนี้เปิดใช้เป็นการถาวรเมื่อ 29 มกราคม 2536 ตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบลิคำไซของ สปป.ลาว ปัจจุบันใช้แพขนาน
ยนต์ในการขนส่งสินค้าและผู้คนที่ต้องการเดินทางไป สปป.ลาว เนื่องจากแขวงบลิคำไซอยู่ห่างจากเมืองหลวงของ สปป.ลาว ซึ่งเป็นศูนย์กลางใน
การซื้อขายค่อนข้างมาก ประกอบกับการคมนาคมระหว่างแขวงของ สปป.ลาว ยังไม่สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายสูง การเปิดจุดผ่านแดนนี้จะส่งผลให้
แขวงบลิคำไซ มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางอำเภอบึงกาฬมากยิ่งขึ้น สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ที่ด่านบึงกาฬ ได้แก่ ไม้แปรรูป ชัน และของป่า
สินค้าส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทอะไหล่รถจักรยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องกระป๋อง เครื่องสุขภัณฑ์
8. บ้านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย-เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี
จุดผ่านแดนถาวร บ้านปากห้วย ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 6 ตำบลหนองผือ ทางทิศเหนือของตัวอำเภอ มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอประมาณ
10 กิโลเมตร ฝั่งตรงข้าม สปป.ลาว คือ บ้านดอนผึ้ง เมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี จุดผ่านแดนนี้มีด่านศุลกากรของทั้งฝ่ายไทยและสปป.ลาวตั้งอยู่
การส่งออกและนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ทำการขนส่งผ่านจุดการค้านี้ โดยในฤดูแล้งรถบรรทุกสามารถข้ามไปมาได้ สำหรับในฤดูฝนจะใช้เรือหางยาว
บรรทุกสินค้าข้ามแม่น้ำเหืองแล้ว ทำการขนถ่ายสินค้าโดยรถบรรทุกอีกต่อหนึ่ง จุดการค้านี้เป็นจุดที่ได้เตรียมการจะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหือง
เพื่อความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า
ผู้ประกอบการค้ามีผู้นำเข้าไม้รายใหญ่ประมาณ 8-10 ราย ผู้นำเข้าพืชไร่รายย่อยประมาณ 20 ราย และผู้ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค
รายย่อยประมาณ 10 ราย สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ นอกจากนี้ จะมีการนำเข้าผลผลิตพืชไร่ ซึ่งจะออกตามฤดูกาล ได้แก่ ปอสา
ฝ้าย งาขาว ถั่วแดง ถั่วลิสง และของป่า เช่น หวาย เห็ด และหน่อไม้ เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปลาว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ได้
แก่ ผลิตภัณฑ์นม โยเกิต ไอสครีม ข้าวสาร เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลา ผงชูรส น้ำมันพืช รองเท้าแตะ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
นอกจากนี้ ยังมีสินค้าทุน ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรขนาดเล็ก และน้ำมันเชื้อเพลิง
9. อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย-เมืองสานะคาม แขวงไชยะบุรี
จุดผ่านแดนอำเภอเชียงคานตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์ ปริมาณการค้าในแต่ละปีไม่มากนักเมื่อเทียบกับชายแดน
ด้านอื่น ๆ สินค้าที่ค้าขายส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย และไม้แปรรูปจากฝั่งลาว
ลักษณะการค้า จะมีพ่อค้า 2-3 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทแปรรูปไม้นำไม้เข้ามา โดยส่วนใหญ่ขนส่งไม้โดยการล่องเรือมาจาก
เมืองปากลาย แขวงไชยบุรี มาขึ้นที่ท่าเชียงคาน ทางด้านการส่งออกส่วนใหญ่คนลาวจะเข้ามาซื้อสินค้าที่อำเภอเชียงคานคราวละไม่มากนัก
หรือสั่งซื้อสินค้าโดยฝากข้อมูลการสั่งซื้อมากับเรือรับจ้างขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งมีผู้ค้าส่งออกรับคำสั่งซื้อที่อำเภอเชียงคาน 2-3 ราย ซึ่ง
ผู้ค้าทั้ง 2 ฝ่าย มีความคุ้นเคยกันพอสมควร
เส้นทางจากเชียงคานเข้าสู่ประเทศลาวตามลำน้ำโขง สามารถเดินทางไปถึงแขวงหลวงพระบางทางตอนเหนือของลาวได้ ซึ่งตลอด
แนวทางลำน้ำโขงสามารถขนส่งสินค้าต่าง ๆ มายังท่าเรือเชียงคาน ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างค่อนข้างสะดวก สามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวใน
เส้นทางแต่ละอนุภาค เป็นการสร้างทางเลือกการท่องเที่ยวอีสานตอนบน ตลอดจนภายในประเทศลาวให้หลากหลายขึ้น ซึ่งจะเป็นจุดเปิดการท่อง
เที่ยวอินโดจีนที่สำคัญในอนาคต
10. บ้านคกไผ่ อำเภอปากชม จังหวัดเลย-เมืองสานะคาม แขวงกำแพงนครเวียงจันทน์
จุดผ่านแดนบ้านคกไผ่ อำเภอปากชม อยู่ตรงข้ามกับเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์ เปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวร เมื่อวันที่ 23 กันยายน
2536 ปริมาณการค้าในแต่ละปีค่อนข้างน้อย สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ด้านการนำเข้าเป็นของป่าและไม้แปรรูปจากฝั่งลาว
จุดผ่านแดนผ่อนปรน มีจำนวน 11 จุด คือ
1. บ้านดอนแดง อ.บ้านแพง จ.นครพนม-เมืองปากกะดิ่ง แขวงบลิคำไซ
2. อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม-เมืองหนองบก แขวงคำม่วน และเมืองไชบัวลี
แขวงสะหวันนะเขต
3. อ.ธาตุพนม จ.นครพนม-บ้านหินบูน แขวงคำม่วน
4. บ้านสองคอน อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี-แขวงละคอนเพ็ง
5. บ้านด่านเก่า อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี-แขวงจำปาศักดิ์
6. บ้านหนองแสง อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี-แขวงจำปาศักดิ์
7. หน้าที่ว่าการอำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี-เมืองละคอนเพ็ง
แขวงสาละวัน
8. บ้านนากระเซ็ง อ.ท่าลี่ จ.เลย-บ้านเมืองหมอ แขวงไชยะบุรี
9. บ้านเหมืองแพร่ อ.นาแห้ว จ.เลย-บ้านเหมืองแพร่ แขวงไชยะบุรี
10. บ้านนาข่า อ.ด่านซ้าย จ.เลย-บ้านนาข่า แขวงไชยะบุรี
11. บ้านหนองผือ อ.ท่าลี่ จ.เลย-เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี
4. ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2532-2541)
ตั้งแต่ปี 2531 รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์กับ
ประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว สูงขึ้นเป็นลำดับ จากมูลค่า 2,872.2 ล้านบาทในปี 2532 เป็น 9,726.2
ล้านบาท ในปี 2539 10,365.6 ล้านบาท ในปี 2540 และในปี 2541 มีมูลค่าการค้า 12,301.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.7
เนื่องจากการส่งออกขยายตัวขึ้นร้อยละ 28.6 แม้ว่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 28.3
จากความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่าย หลังจากที่ สปป.ลาว ได้เข้าเป็นสมาชิกภาคีอาเซียนก็ได้มี
การผ่อนปรน ยกเลิกข้อจำกัดทางการค้า แต่ละฝ่ายพยายามปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติให้มีความสะดวกเพื่อเอื้ออำนวยทางการค้าระหว่างกัน คาด
ว่าในปี 2542 การค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว จะมีมูลค่าประมาณ 15,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0
การค้าชายแดนไทย-ลาว
หน่วย : ล้านบาท
2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 E
มูลค่าการค้า 2872.20 2976.00 3496.30 3982.50 5791.50 8782.00 9984.20 9726.20 10365.60 12301.60 15500.00
-51.40 -3.60 -17.50 -13.90 -45.40 -51.60 -13.70 (-2.6) -6.60 -18.70 -26.00
ส่งออก 1673.10 1563.30 1902.90 2837.90 4130.80 6,87.1 7963.00 7811.50 8559.30 11006.50 13150.00
-30.00 (-6.6) -21.70 -49.10 -45.60 -66.50 -15.80 (-1.9) -9.60 -28.60 -19.50
นำเข้า 1199.10 1412.70 1593.40 1144.60 1660.70 1904.90 2021.20 1914.70 1806.30 1295.10 2350.00
-96.70 -17.80 -12.80 (-28.2) -45.10 -14.70 -6.10 -5.30 (-5.7) (-28.3) -81.50
ดุลการค้า 474.00 150.60 309.50 1693.30 2470.10 4972.20 5941.80 5896.80 6753.00 9711.40 10800.00
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : E = ตัวเลขประมาณการ
ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
สินค้าออก
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดจากมูลค่า 1,673.1 ล้านบาทในปี 2532 เป็น 7,811.5 ล้านบาท ในปี 2539 และเป็น 8,559.3 ล้าน
บาทในปี 2540 สำหรับปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า 11,006.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.6 เฉลี่ยในช่วงปี 2532-2541 การส่ง
ออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปี คาดว่าในปี 2542 การส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6
โครงสร้างสินค้าออกไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนร้อยละ 38.0 ของสินค้าออกทั้งหมด สินค้า
สำคัญได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (ผงชูรส น้ำปลา บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ) รองลงมาเป็นสินค้าใน
หมวดทุน สัดส่วนร้อยละ 21.8 สินค้าสำคัญจะเป็นวัสดุก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม และ
น้ำมันเชื่อเพลิงอื่น เหล็กและเหล็กกล้า อุปกรณ์ตัดเย็บ ฯลฯ
สินค้าเข้า
ไทยนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด และในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.1 ต่อปี ในปี 2538 ทางการลาวมีนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ห้ามส่งออกไม้ซุงและลดการให้สัมปทานป่าไม้ ประกอบกับภาวะการก่อสร้าง
ของไทยชะลอตัวลง ทำให้การนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ชะลอลง ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าโดยรวมจากลาวชะลอตัวลงตามไปด้วย โดยในปี 2539
มูลค่านำเข้า 1,914.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ในปี 2540 มูลค่าการนำเข้า 1,806.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.7 ในปี 2541
ที่ผ่านมา การนำเข้าลดลงเห็นได้ชัดเจน มูลค่านำเข้าเพียง 1,295.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.3 เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สัดส่วนร้อยละ 66.8
มูลค่า 864.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.7 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 1,411.7 ล้านบาท ส่วนสินค้านำเข้าอื่น ๆ อาทิ หนังโค หนังกระบือ เศษโลหะ
ของป่า ฯลฯ กลับมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น มูลค่า 430.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 394.6 ล้านบาท
ดุลการค้า
ประเทศ สปป.ลาว มีความต้องการสินค้าทุนเพื่อพัฒนาประเทศ และยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคในเกณฑ์สูง ถึงแม้ว่าสปป.
ลาว พยายามที่จะผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ปริมาณการผลิตยังไม่มากพอ ประกอบกับไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทางด้านการนำเข้ารวม
ในระยะหลังมีแนวโน้มลดลงจากนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำหรับสินค้าอื่น ๆ อาทิ ของป่า เศษโลหะ โค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ถึง
แม้การนำเข้าจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีมูลค่าน้อย ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าลาวมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2541 นี้ ไทยเกินดุลการค้า สปป.ลาว ทั้ง
สิ้น 9,711.4 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 6,753.0 ล้านบาท ไทยเกินดุล สปป.ลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5
การค้าผ่านแดน
ประเทศ สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ต้องอาศัยประเทศเพื่อนบ้านเป็นประตูการค้าสู่นานาประเทศ ส่วนหนึ่งส่งสินค้า
ออกผ่านประเทศเวียดนาม และอีกส่วนหนึ่งต้องอาศัยไทยเป็นทางผ่านส่งสินค้าออก ซึ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของลาวผ่านแดนไทยที่สำคัญ คือ ประเทศ
ในแถบยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์
สินค้าลาวผ่านแดนไทย มูลค่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่า 2,170.5 ล้านบาท ในปี 2532 เป็น 14,388.0 ล้านบาทในปี 2540
และในปี 2541 นี้ การค้าของ สปป.ลาว ผ่านแดนไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 15,898.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากปีก่อน เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2532-
2541 มูลค่าการค้าลาวผ่านแดนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ต่อปี
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว ปี 2534-2541
หน่วย : ล้านบาท
2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1670.50 2352.80 2888.10 3418.00 5271.50 7697.60 9873.20 10820.80 14388.00 15898.90
(-12.9) -40.80 -22.40 -18.30 -54.20 -46.00 -28.30 -9.60 -33.00 -10.50
จากลาวไปประเทศที่สาม 532.00 590.60 880.00 1153.30 1693.80 2286.70 3053.30 2752.20 4122.20 6125.10
(-35.5) -11.00 -49.00 -31.10 -46.90 -35.00 -33.50 (-9.9) -49.80 -48.60
จากประเทศที่สามไปลาว 1638.50 1762.20 2008.10 2264.10 3577.70 5410.90 6819.90 8070.60 10265.80 9773.80
-49.80 -7.50 -13.90 -12.80 -58.00 -51.20 -26.00 -18.50 -27.20 (-4.8)
-ยังมีต่อ-
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ