ข่าวในประเทศ
1. สถานการณ์ค่าเงินบาทและข้อเสนอแนะต่อทางการ นักค้าเงินจาก ธ.ซิตี้แบงก์กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 27 ก.ค.43 ว่า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 40.98 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเปิดตลาด แข็งขึ้นจากระดับ 41.15 บาท/ดอลลาร์ จากการซื้อขายเมื่อวันที่ 26 ก.ค. และแข็งค่ามากที่สุดที่ระดับ 40.83 บาท/ดอลลาร์ ในการซื้อขายระหว่างวัน ซึ่งค่าเงินโดยรวมถือว่าปรับตัวแข็งขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการขายเงินดอลลาร์ออกมาทำกำไรในช่วงสั้น และการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ประธานมูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนเกินความเป็นจริง ทางการควรเข้าไปดูแล และหาวิธีการเพื่อให้เป็นความผันผวนระยะสั้น และไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทอ่อนลงเป็นผลมาจากเงินรูเปี๊ยห์ของอินโดนีเซียอ่อนตัวลงมาก สำหรับไทยหากรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปได้ จะช่วยรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเงินเฟ้อที่ต่ำช่วยสนับสนุนการส่งออกได้ดี ทำให้เงินไหลเข้าและดุลการค้าขยายตัว..(กรุงเทพธุรกิจ 28)
2. คณะกรรมการ ธปท.เห็นชอบหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อแก่เอสเอ็มอี คณะกรรมการ ธปท.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาวแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ที่เป็นเอ็นพีแอล โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ 1.เอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอลต้องมีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล.บาท 2.เป็นกิจการที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไป 3.ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือดำเนินการควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อใหม่ 4.สินเชื่อใหม่ต้องนำไปใช้เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือขยายงาน 5.วงเงินสินเชื่อใหม่ สถาบันการเงินจะให้ไม่เกินร้อยละ 25 ของสินทรัพย์ถาวรสุทธิของผู้ประกอบการแต่ละราย และไม่เกินรายละ 50 ล.บาท โดยสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินอัตราเอ็มแอลอาร์ต่อปี 6.กรณีเอสเอ็มอีที่ต้องการสินเชื่อจาก ธปท.นั้น ธปท.จะให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 60 หรือไม่เกินรายละ 30 ล.บาท โดย ธปท.คิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี 7.อายุเงินกู้ที่สถาบันการเงินให้แก่เอสเอ็มอีแต่ละรายไม่เกิน 5 ปี โดยในส่วนของ ธปท.จะให้ความช่วยเหลือเป็นเงินทุนระยะยาวเฉพาะแก่เอสเอ็มอีที่เป็นกิจการผลิตที่มีอายุการชำระเงินไม่เกิน 5 ปี และ 8.บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)จะเป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อในสัดส่วนร้อยละ 75 ของสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกัน ทั้งนี้ ธปท.จะให้สินเชื่อตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวผ่านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม และธนาคารพาณิชย์ สำหรับเงินทุนระยะยาวที่จะให้ความช่วยเหลือ จะใช้วงเงินเอสเอ็มอีที่คณะกรรมการ ธปท.ได้อนุมัติไว้แล้ว 51,000 ล.บาท ซึ่งขณะนี้ยังคงเหลือวงเงินอยู่อีก 23,000 ล.บาท..(กรุงเทพธุรกิจ,ผู้จัดการรายวัน 28)
3. ภาระหนี้ต่างประเทศทางบัญชีสูงขึ้นเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่ต่ำลงในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อภาระหนี้ต่างประเทศทางบัญชีสูงขึ้น 1.8 แสน ล.บาท เพราะทุก 1 บาทที่อ่อนค่าลง ภาระหนี้เพิ่มขึ้น 8.95 หมื่น ล.บาท สำหรับภาระหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน เม.ย.43 มียอดรวม 8.95 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ..(ไทยโพสต์ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.ค.43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.43 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 อยู่ที่มูลค่า 243.16 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในเดือน พ.ค. 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี ตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ในเดือน ก.ค. 34 และเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 คำสั่งซื้อฯที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่คำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 อยู่ที่มูลค่า 69.1 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือน พ.ค. 43 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อเครื่องบินและชิ้นส่วน ซึ่งจากรายงานดังกล่าวแสดงว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาจจะขยายตัวขึ้นแทนที่จะชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน ก.แรงงาน เปิดเผยว่าไตรมาสที่2 ปี 43 ดัชนีต้นทุนการจ้างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปี 43 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 แสดงให้เห็นว่า แรงกดดันของต้นทุนแรงงานโดยรวมยังคงไม่รุนแรง...(รอยเตอร์ 27)
2. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ค. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลง 4 0,000 คน เหลือจำนวน 272,000 คน จากจำนวน 312,000 คนในสัปดาห์ก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลงเหลือจำนวน 299,250 คน จาก 308,000 คนในสัปดาห์ก่อน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะตลาดแรงงานของ สรอ. ยังคงตึงตัว.(รอยเตอร์ 27)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เทียบต่อเดือน ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.ค. 43 ก.การค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม (MITI) รายงานว่า เดือน มิ.ย. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ปรับตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งดีกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 จากเดือน พ.ค. 43 และดีกว่าที่รัฐบาลคาดไว้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นแกนของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 รวมทั้งประเมินว่าผลผลิตฯโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย..(รอยเตอร์ 28)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคในแถบโตเกียวลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.ค. 43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ค. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภคในแถบโตเกียว ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบต่อปี และลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน ส่วนดัชนีราคาฯ โดยรวมทั่วไป ในเดือน มิ.ย. 43 ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบต่อปี และลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน.. (รอยเตอร์ 28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ค. 43 40.985 (41.219)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ค.43 ซื้อ 40.8634 (40.9902) ขาย 41.1553 (41.2994)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.45 (25.73)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สถานการณ์ค่าเงินบาทและข้อเสนอแนะต่อทางการ นักค้าเงินจาก ธ.ซิตี้แบงก์กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 27 ก.ค.43 ว่า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 40.98 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเปิดตลาด แข็งขึ้นจากระดับ 41.15 บาท/ดอลลาร์ จากการซื้อขายเมื่อวันที่ 26 ก.ค. และแข็งค่ามากที่สุดที่ระดับ 40.83 บาท/ดอลลาร์ ในการซื้อขายระหว่างวัน ซึ่งค่าเงินโดยรวมถือว่าปรับตัวแข็งขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการขายเงินดอลลาร์ออกมาทำกำไรในช่วงสั้น และการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค ขณะเดียวกัน ประธานมูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนเกินความเป็นจริง ทางการควรเข้าไปดูแล และหาวิธีการเพื่อให้เป็นความผันผวนระยะสั้น และไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทอ่อนลงเป็นผลมาจากเงินรูเปี๊ยห์ของอินโดนีเซียอ่อนตัวลงมาก สำหรับไทยหากรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ต่อไปได้ จะช่วยรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะเงินเฟ้อที่ต่ำช่วยสนับสนุนการส่งออกได้ดี ทำให้เงินไหลเข้าและดุลการค้าขยายตัว..(กรุงเทพธุรกิจ 28)
2. คณะกรรมการ ธปท.เห็นชอบหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อแก่เอสเอ็มอี คณะกรรมการ ธปท.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาวแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ที่เป็นเอ็นพีแอล โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ 1.เอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอลต้องมีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล.บาท 2.เป็นกิจการที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไป 3.ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือดำเนินการควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อใหม่ 4.สินเชื่อใหม่ต้องนำไปใช้เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือขยายงาน 5.วงเงินสินเชื่อใหม่ สถาบันการเงินจะให้ไม่เกินร้อยละ 25 ของสินทรัพย์ถาวรสุทธิของผู้ประกอบการแต่ละราย และไม่เกินรายละ 50 ล.บาท โดยสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินอัตราเอ็มแอลอาร์ต่อปี 6.กรณีเอสเอ็มอีที่ต้องการสินเชื่อจาก ธปท.นั้น ธปท.จะให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 60 หรือไม่เกินรายละ 30 ล.บาท โดย ธปท.คิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี 7.อายุเงินกู้ที่สถาบันการเงินให้แก่เอสเอ็มอีแต่ละรายไม่เกิน 5 ปี โดยในส่วนของ ธปท.จะให้ความช่วยเหลือเป็นเงินทุนระยะยาวเฉพาะแก่เอสเอ็มอีที่เป็นกิจการผลิตที่มีอายุการชำระเงินไม่เกิน 5 ปี และ 8.บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)จะเป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อในสัดส่วนร้อยละ 75 ของสินเชื่อในส่วนที่ขาดหลักประกัน ทั้งนี้ ธปท.จะให้สินเชื่อตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวผ่านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม และธนาคารพาณิชย์ สำหรับเงินทุนระยะยาวที่จะให้ความช่วยเหลือ จะใช้วงเงินเอสเอ็มอีที่คณะกรรมการ ธปท.ได้อนุมัติไว้แล้ว 51,000 ล.บาท ซึ่งขณะนี้ยังคงเหลือวงเงินอยู่อีก 23,000 ล.บาท..(กรุงเทพธุรกิจ,ผู้จัดการรายวัน 28)
3. ภาระหนี้ต่างประเทศทางบัญชีสูงขึ้นเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท แหล่งข่าวจาก ธปท.เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่ต่ำลงในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อภาระหนี้ต่างประเทศทางบัญชีสูงขึ้น 1.8 แสน ล.บาท เพราะทุก 1 บาทที่อ่อนค่าลง ภาระหนี้เพิ่มขึ้น 8.95 หมื่น ล.บาท สำหรับภาระหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน เม.ย.43 มียอดรวม 8.95 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ..(ไทยโพสต์ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.ค.43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.43 คำสั่งซื้อสินค้าคงทน ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 อยู่ที่มูลค่า 243.16 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในเดือน พ.ค. 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี ตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ในเดือน ก.ค. 34 และเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 คำสั่งซื้อฯที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่คำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 อยู่ที่มูลค่า 69.1 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือน พ.ค. 43 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อเครื่องบินและชิ้นส่วน ซึ่งจากรายงานดังกล่าวแสดงว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาจจะขยายตัวขึ้นแทนที่จะชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน ก.แรงงาน เปิดเผยว่าไตรมาสที่2 ปี 43 ดัชนีต้นทุนการจ้างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกปี 43 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 แสดงให้เห็นว่า แรงกดดันของต้นทุนแรงงานโดยรวมยังคงไม่รุนแรง...(รอยเตอร์ 27)
2. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ก.ค. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลง 4 0,000 คน เหลือจำนวน 272,000 คน จากจำนวน 312,000 คนในสัปดาห์ก่อน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลงเหลือจำนวน 299,250 คน จาก 308,000 คนในสัปดาห์ก่อน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะตลาดแรงงานของ สรอ. ยังคงตึงตัว.(รอยเตอร์ 27)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เทียบต่อเดือน ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.ค. 43 ก.การค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม (MITI) รายงานว่า เดือน มิ.ย. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่ปรับตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งดีกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 จากเดือน พ.ค. 43 และดีกว่าที่รัฐบาลคาดไว้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นแกนของผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 รวมทั้งประเมินว่าผลผลิตฯโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย..(รอยเตอร์ 28)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคในแถบโตเกียวลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.ค. 43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ค. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภคในแถบโตเกียว ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบต่อปี และลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน ส่วนดัชนีราคาฯ โดยรวมทั่วไป ในเดือน มิ.ย. 43 ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบต่อปี และลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน.. (รอยเตอร์ 28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ค. 43 40.985 (41.219)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.ค.43 ซื้อ 40.8634 (40.9902) ขาย 41.1553 (41.2994)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.45 (25.73)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-