ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดตรังอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่รวม 4,941.4 ตารางกิโลเมตร ชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทรอินเดีย มีความยาวรวม 119 กิโลเมตร มีพื้นที่เกาะจำนวน 46 เกาะ มีประชากร ทั้งสิ้น 587,930 คน รายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2539 เท่ากับ 46,584 บาท เป็นอันดับที่ 10 ของภาคใต้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) ในปี 2539 มีมูลค่ารวม 18,682.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ โครงสร้างการผลิตในภาคเศรษฐกิจสำคัญประกอบด้วยภาคเกษตรกรรมร้อยละ 50.7 รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 13.6 และสาขาบริการร้อยละ 7.0
สำหรับในภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 1.6 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพาะปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 71 และไม้ผลร้อยละ 19 ขณะเดียวกันการทำประมงมีบทบาทสำคัญในบริเวณอำเภอที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ อำเภอกันตัง ปะเหลียน และสิเกา นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำตามแนวป่าชายเลน
ในภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น แปรรูปไม้ยางพารา สกัดน้ำมันปาล์มดิบ มีโรงงานรวมกันกว่า 50 โรง ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาป่น อาหารทะเลกระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็ง มีโรงงานรวมกัน 16 โรง
นอกจากนี้ในภาคการท่องเที่ยวขยายตัวมากในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากภาคเอกชนและราชการร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ โดยมีจุดเด่นคืองานเทศกาลต่าง ๆ และความงดงามของหมู่เกาะ ชายหาด และปะการัง กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวไทยจากภูมิภาคอื่น ๆ
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
ความพร้อมทางด้านคุณภาพชีวิต จังหวัดตรังเปิดโอกาสในการลงทุนและสร้างชีวิตในสภาพความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพในสิ่งแวดล้อมและความงามตามธรรมชาติที่ดี และยังเป็นศูนย์รวมของสถาบันศึกษาที่สำคัญของภาคใต้ทั้งระดับอาชีวศึกษาจนถึงอุดมศึกษา มีโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ส่งผลให้ผู้ลงทุนและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค บนพื้นที่ 4,9000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็น 8 อำเภอและ2 กิ่งอำเภอนั้นมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สูงมากทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปัจจัยพร้อมทางด้านคมนาคมทั้งทางรถยนต์ รถไฟ ทางเรือและทางอากาศ และความพร้อมทางด้านไฟฟ้า ประปาตลอดจนโทรศัพท์ติดต่อสื่อสาร
ความพร้อมทางด้านศักยภาพการลงทุน จังหวัดตรังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงสม่ำเสมอ ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรที่เหมาะสำหรับการลงทุนทั้งทางด้านการเกษตร การประมง และการท่องเที่ยวและบริการ
นอกจากความพร้อมทางด้านต่างๆแล้ว จังหวัดตรังยังมีการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบร่วมกันทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการลงทุน โดยเฉพาะหอการค้าจังหวัดตรังซึ่งมีบทบาทและให้ความร่วมมืออย่างจริงจังจนได้รับการยกย่องให้เป็นหอการค้าอันดับหนึ่งของประเทศถึง 4 ปีซ้อน
จังหวัดตรังจึงเป็นจังหวัดที่พร้อมในทุกๆด้านสำหรับการลงทุนเพื่อก้าวไปสู่ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างมั่นคงต่อไป
ข้อเสนอการลงทุน
อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตจากยางพารา
โรงงานที่ใช้น้ำยางหรือผลิตภัณฑ์จากน้ำยางเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตถุงมือยาง ยางรถยนต์ เพราะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ การคมนาคมขนส่งสะดวก มีตลาดทั้งในและต่างประเทศ พื้นที่เหมาะสมจะตั้งโรงงาน คือ อำเภอเมือง กันตังและห้วยยอด โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา เช่น โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ของเด็กเล่นที่ทำจากไม้ พื้นที่ที่เหมาะสม คือ อำเภอปะเหลียน ย่านตาขาว ห้วยยอด เมือง กันตังและวังวิเศษ
อุตสาหกรรมประมง
ห้องเย็น สามารถทำได้ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและหมู่บ้าน เพราะมีชายฝั่งด้านทะเลอันดามันยาวถึง 119 กิโลเมตร ซึ่งเปิดโอกาสในการทำประมง มีท่าเรือและแพปลาหลายแห่ง พื้นที่เหมาะสม คือ เขตอำเภอใกล้ชายฝั่งและย่านที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล ได้แก่ อำเภอสิเกา กันตัง ปะเหลียน และเมือง ตลาดมีทั้งตลาดดท้องถิ่น โรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูปในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง
อาหารทะเลกระป๋อง ใกล้แหล่งวัตถุดิบ มีโรงงานผลิตกระป๋องและห้องเย็นเปิดดำเนินการอยู่แล้ว พื้นที่เหมาะสมได้แก่ อำเภอเมืองและกันตัง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
จังหวัดตรังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความงดงามและบริสุทธิ์ ทั้งทางบกและทะเล ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาได้ การลงทุนทางด้านที่พักและบริการจึงสามารถทำได้ การลงทุนควรเน้นขนาดเล็ก พื้นที่เหมาะสมอยู่ในเขตที่ติดกับชายหาดและเกาะต่างๆ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดตรังอยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศ มีพื้นที่รวม 4,941.4 ตารางกิโลเมตร ชายฝั่งทะเลติดกับมหาสมุทรอินเดีย มีความยาวรวม 119 กิโลเมตร มีพื้นที่เกาะจำนวน 46 เกาะ มีประชากร ทั้งสิ้น 587,930 คน รายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2539 เท่ากับ 46,584 บาท เป็นอันดับที่ 10 ของภาคใต้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) ในปี 2539 มีมูลค่ารวม 18,682.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ โครงสร้างการผลิตในภาคเศรษฐกิจสำคัญประกอบด้วยภาคเกษตรกรรมร้อยละ 50.7 รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 13.6 และสาขาบริการร้อยละ 7.0
สำหรับในภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 1.6 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพาะปลูกยางพาราประมาณร้อยละ 71 และไม้ผลร้อยละ 19 ขณะเดียวกันการทำประมงมีบทบาทสำคัญในบริเวณอำเภอที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ อำเภอกันตัง ปะเหลียน และสิเกา นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำตามแนวป่าชายเลน
ในภาคอุตสาหกรรมมีการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น แปรรูปไม้ยางพารา สกัดน้ำมันปาล์มดิบ มีโรงงานรวมกันกว่า 50 โรง ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาป่น อาหารทะเลกระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็ง มีโรงงานรวมกัน 16 โรง
นอกจากนี้ในภาคการท่องเที่ยวขยายตัวมากในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากภาคเอกชนและราชการร่วมมือกันประชาสัมพันธ์ โดยมีจุดเด่นคืองานเทศกาลต่าง ๆ และความงดงามของหมู่เกาะ ชายหาด และปะการัง กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวไทยจากภูมิภาคอื่น ๆ
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
ความพร้อมทางด้านคุณภาพชีวิต จังหวัดตรังเปิดโอกาสในการลงทุนและสร้างชีวิตในสภาพความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพในสิ่งแวดล้อมและความงามตามธรรมชาติที่ดี และยังเป็นศูนย์รวมของสถาบันศึกษาที่สำคัญของภาคใต้ทั้งระดับอาชีวศึกษาจนถึงอุดมศึกษา มีโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ส่งผลให้ผู้ลงทุนและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค บนพื้นที่ 4,9000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็น 8 อำเภอและ2 กิ่งอำเภอนั้นมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สูงมากทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปัจจัยพร้อมทางด้านคมนาคมทั้งทางรถยนต์ รถไฟ ทางเรือและทางอากาศ และความพร้อมทางด้านไฟฟ้า ประปาตลอดจนโทรศัพท์ติดต่อสื่อสาร
ความพร้อมทางด้านศักยภาพการลงทุน จังหวัดตรังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงสม่ำเสมอ ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรที่เหมาะสำหรับการลงทุนทั้งทางด้านการเกษตร การประมง และการท่องเที่ยวและบริการ
นอกจากความพร้อมทางด้านต่างๆแล้ว จังหวัดตรังยังมีการวางแผนพัฒนาอย่างเป็นระบบร่วมกันทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการลงทุน โดยเฉพาะหอการค้าจังหวัดตรังซึ่งมีบทบาทและให้ความร่วมมืออย่างจริงจังจนได้รับการยกย่องให้เป็นหอการค้าอันดับหนึ่งของประเทศถึง 4 ปีซ้อน
จังหวัดตรังจึงเป็นจังหวัดที่พร้อมในทุกๆด้านสำหรับการลงทุนเพื่อก้าวไปสู่ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างมั่นคงต่อไป
ข้อเสนอการลงทุน
อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตจากยางพารา
โรงงานที่ใช้น้ำยางหรือผลิตภัณฑ์จากน้ำยางเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตถุงมือยาง ยางรถยนต์ เพราะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ การคมนาคมขนส่งสะดวก มีตลาดทั้งในและต่างประเทศ พื้นที่เหมาะสมจะตั้งโรงงาน คือ อำเภอเมือง กันตังและห้วยยอด โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา เช่น โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ของเด็กเล่นที่ทำจากไม้ พื้นที่ที่เหมาะสม คือ อำเภอปะเหลียน ย่านตาขาว ห้วยยอด เมือง กันตังและวังวิเศษ
อุตสาหกรรมประมง
ห้องเย็น สามารถทำได้ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและหมู่บ้าน เพราะมีชายฝั่งด้านทะเลอันดามันยาวถึง 119 กิโลเมตร ซึ่งเปิดโอกาสในการทำประมง มีท่าเรือและแพปลาหลายแห่ง พื้นที่เหมาะสม คือ เขตอำเภอใกล้ชายฝั่งและย่านที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเล ได้แก่ อำเภอสิเกา กันตัง ปะเหลียน และเมือง ตลาดมีทั้งตลาดดท้องถิ่น โรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูปในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง
อาหารทะเลกระป๋อง ใกล้แหล่งวัตถุดิบ มีโรงงานผลิตกระป๋องและห้องเย็นเปิดดำเนินการอยู่แล้ว พื้นที่เหมาะสมได้แก่ อำเภอเมืองและกันตัง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
จังหวัดตรังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความงดงามและบริสุทธิ์ ทั้งทางบกและทะเล ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาได้ การลงทุนทางด้านที่พักและบริการจึงสามารถทำได้ การลงทุนควรเน้นขนาดเล็ก พื้นที่เหมาะสมอยู่ในเขตที่ติดกับชายหาดและเกาะต่างๆ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-