บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Monday October 22, 2001 10:33 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ในคราวประชุม
สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไข
เพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. …. จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติ
ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว และในคราวประชุมเดียวกัน ที่ประชุมได้ลงมติ
ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. …. และ
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. …. ซึ่งวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม
และกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ดังกล่าว จำนวนสภาละ ๑๒ คน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า
พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๒. นายประเกียรติ นาสิมมา
๓. นายประสงค์ โฆษิตานนท์ ๔. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๕. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ ๖. นายรส มะลิผล
๗. นายวิเชียร เปาอินทร์ ๘. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๙. นายสมพงษ์ สระกวี ๑๐. นายสัก กอแสงเรือง
๑๑. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๑๒. นายอุดร ตันติสุนทร
๒. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ
ข้อมูลเครดิต พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน
ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประกอบด้วย
๑. นายกำพล ภู่มณี ๒. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์
๓. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ๔. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๕. นายพากเพียร วิริยะพันธุ์ ๖. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
๗. นายสันติ์ เทพมณี ๘. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล
๙. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๑๐. นายอนันต์ ผลอำนวย
๑๑. นางอรัญญา สุจนิล ๑๒. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง คณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ขอขยายเวลาการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๔
นับแต่วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้
ขยายเวลาได้ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ร้องขอ
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว เมื่อสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายกมล มั่นภักดี ๒. นายจำเจน จิตรธร
๓. นายวิกรม อัยศิริ ๔. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
๕. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี ๖. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๗. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๘. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๙. นายสมพร คำชื่น ๑๐. นายอมร นิลเปรม
๑๑. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์ ๑๒. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช
๑๓. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๑๔. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๑๕. นายสมควร จิตแสง ๑๖. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๑๗. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ ๑๘. นายพิชัย ขำเพชร
๑๙. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๒๐. นายลำพอง พิลาสมบัติ
๒๑. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ๒๒. นายไสว พราหมณี
๒๓. นายอภัย จันทนจุลกะ ๒๔. นายพีรพล ไตรทศาวิทย์
๒๕. นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
ต่อมา รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วนลำดับที่ ๖ และลำดับที่ ๕ ขึ้นมาให้ที่ประชุม
พิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณายกร่างเสร็จแล้ว เมื่อคณะกรรมาธิการเสนอ
ร่างข้อบังคับฯ และมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างข้อบังคับฯ
ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา ๒. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ
๓. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ๔. นายสันติ์ เทพมณี
๕. นายธวัชชัย เมืองนาง ๖. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๗. พลโท โอภาส รัตนบุรี ๘. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๙. นายประยุทธ ศรีมีชัย ๑๐. นายวิชิต พูลลาภ
๑๑. นายมนตรี สินทวิชัย ๑๒. นายระวี กิ่งคำวงศ์
๑๓. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๑๔. นายสมพร คำชื่น
๑๕. นายลำพอง พิลาสมบัติ ๑๖. นายสม ต๊ะยศ
๑๗. นายวิจิตร มโนสิทธิศักดิ์ ๑๘. นายชงค์ วงษ์ขันธ์
๑๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๒๐. นายบุญยืน ศุภสารสาทร
๒๑. นายพนัส ทัศนียานนท์ ๒๒. พลตรี สาคร กิจวิริยะ
๒๓. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล ๒๔. นายณรงค์ นุ่นทอง
๒๕. นายเสรี สุวรรณภานนท์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว เมื่อสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายกระแส ชนะวงศ์) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้
พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๒. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
๓. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๔. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี
๕. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ ๖. นายสมควร จิตแสง
๗. นายวีระพล วัชรประทีป ๘. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช
๙. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์ ๑๐. พลเอก มนัส อร่ามศรี
๑๑. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ๑๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๓. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ ๑๔. นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์
๑๕. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ๑๖. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๑๗. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ๑๘. นายทวีป ขวัญบุรี
๑๙. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒๐. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช
๒๑. นายจรูญ ยังประภากร ๒๒. นายมนู วณิชชานนท์
๒๓. นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ๒๔. นายอนุวัฒน์ ธรมธัช
๒๕. นายธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายจำนงค์ สวมประคำ)
รองเลขาธิการวุฒิสภา รักษาราชการแทน
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ