แท็ก
สหรัฐ
การค้าระหว่างไทย-สาธารณรัฐนามิเบีย
ปริมาณการค้าและดุลการค้า ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับนามิเบียยังมีมูลค่าค่อนข้างน้อย โดยในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539 - 2542) การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าเฉลี่ย 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.01 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลมาตลอด สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 96.8 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 0.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) การส่งออกสินค้าไปนามิเบียมีมูลค่าเฉลี่ย 1.02 ล้านเหรียญ- สหรัฐฯ และในปี 2542 ไทยส่งสินค้าออกไปนามิเบียมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 188.5 โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) การนำเข้าสินค้าจากนามิเบียมีมูลค่าเฉลี่ย 0.5 ล้านเหรียญ-สหรัฐฯ และในปี 2542 ไทยนำเข้าจากนามิเบียมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543
การนำเข้ามีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 13.3 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ผลิตภัณฑ์นม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงิน และทองแท่ง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทย-นามิเบีย
ไทยและนามิเบียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่งกันเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2533 (1990) โดยไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้มีขอบเขตอาณาครอบคลุมนามิเบีย และให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำนามิเบีย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังแต่งตั้งให้นาย Timothy David Parkhouse เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงวินดุกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2539 ส่วนนามิเบียยังไม่มีการมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตนามิเบียที่ใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
ประเทศไทยสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งประชาชาติที่ 435 ปี 2521 (1978) ในการให้เอกราชแก่นามิเบียมาโดยตลอด
สหประชาชาติได้จัดตั้งกองกำลังสังเกตการณ์และควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงสันติภาพและเพื่อเอก-ราช ซึ่งค่าใช้จ่ายได้มากจากประเทศสมาชิก UN รวมทั้งประเทศไทยด้วย ประมาณ 81,324 เหรียญสหรัฐฯ
ไทยเป็นประเทศหนึ่งในจำนวน 27 ประเทศที่ได้จัดส่งผู้ควบคุมการเลือกตั้งเพื่อช่วยควบคุมดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของนามิเบียที่มีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2532 จากการขอความร่วมมือขององค์การสหประ-ชาชาติ ซึ่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนไปร่วม
ในโอกาสที่นามิเบียฉลองเอกราชเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2533 ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทน จำนวน 4 คน ไปร่วมพิธีดังกล่าวที่กรุงวินดุกด้วย
Dr. Mose Tjitendero ประธานสภาแห่งชาตินามิเบียและที่ปรึกษาเดินทางจากกัมพูชาผ่านประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2536 เพื่อไปอินเดีย และได้หารือกับนายสุวิทย์ สิมะสกุล อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา (ในขณะนั้น) เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน และการฝึกอบรมด้านเกษตรกรรมจากไทย รวมทั้งความร่วมมือด้านการประมง
คณะสำรวจข้อมูล (Fact-Finding Mission) ของกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนนามิเบียระหว่างวันที่ 5-14 กันยายน 2537 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและหาลู่ทางพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
คณะนักธุรกิจค้าเพชรนามิเบียเดินทางมาเยือนไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2538 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการตัดและเจียระไนเพชรของไทย
นาย Stan Webster รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร น้ำ และการพัฒนาชนบาท นามิเบีย และคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 13 - 19 ตุลาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลู่ทางในการร่วมลงทุนและผลประโยชน์อื่น ๆ ระหว่างกัน
ปัญหาการค้าทวิภาคี
นักธุรกิจไทยและนามิเบียยังไม่มีความคุ้นเคยกันและมีข้อมูลข่าวสารการค้ากันน้อยมาก เนื่องจากนามิเบียเป็นประเทศที่แยกตัวจากแอฟริกาใต้มาไม่กี่ปี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับนามิเบียจึงอยู่ในขั้นเริ่มต้น
ประเทศนามิเบียยังพึ่งพาทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนจากแอฟริกาใต้ในฐานะที่เคยเป็นเมืองขึ้นอยู่มาก ทำให้พื้นฐานทางธุรกิจการค้าตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักธุรกิจแอฟริกาใต้
โอกาสและลู่ทางการค้า
นามิเบียมีประชากร 1.6 ล้านคน มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอาหารและผลผลิตเกษตร นอกจากนั้น ไทยอาจใช้นามิเบียเป็นทางผ่านสำหรับสินค้าไทยไปยังประเทศใกล้เคียงได้ เนื่องจากนามิเบียเป็นสมาชิก SOUTHERN AFRICAN CUSTOM UNION-SACU ซึ่งประกอบด้วย แอฟริกาใต้ นามิเบีย สวาซีแลนด์ บอสวานา และเลโซโท รวมทั้งเป็นสมาชิกกลุ่มสนธิสัญญา LOME' Convention ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีในการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศสมาชิกและยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่จะใช้ประเทศนามิเบียเป็นฐานทางอุตสากรรมส่งออกไปยังตลาดแอฟริกาและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง
นามิเบียนับว่าเป็นประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่ง การเงิน การธนาคาร สิ่งสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการลงทุนค่อนข้างทันสมัยและสมบูรณ์ เนื่องจากแอฟริกาใต้ได้วางรากฐานไว้สมัยที่ยังเป็นเมืองขึ้น นอกจากนี้ ยังมีท่าเรือน้ำลึกทันสมัยที่ WALVIS BAY มีถนนเชื่อมโยงเมืองสำคัญ ๆ และประเทศใกล้เคียง เช่น แอฟริกาใต้ บอสวานา และอังโกลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทาง Tran-Kalahari, Tran-Caprivi ที่เชื่อมโยงเมืองกับท่าสำคัญชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียของประเทศโมซัมบิก คือ MAPUTO และเชื่อมโยงกับเมืองธุรกิจสำคัญของแอฟริกาใต้ คือ โจฮันเนสเบอร์ก ทำให้การคมนาคมขนส่งระหว่างนามิเบียและประเทศใกล้เคียงเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้มีการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้าในระดับสูงทั้งภาคราชการและเอกชนอย่างเป็นทางการ และต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและขยายผลในการทำธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนระหว่างไทยและนามิเบียให้มากขึ้น
2. ผู้ส่งออกของไทยควรไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศนามิเบีย ซึ่งจัดแสดงสินค้าทั่วไป และเฉพาะประ-เภทสินค้าตามโอกาสที่เหมาะสม เพื่อให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักของตลาดนามิเบียมากขึ้น
3. นักธุรกิจไทยควรใช้ข้อได้เปรียบในด้านแรงงาน ปัจจัยพื้นฐานด้านการลงทุน รวมทั้งสิทธิพิเศษทางการค้าของนามิเบีย เพื่อเป็นประตูการค้าสู่ประเทศในทวีปแอฟริกาและยุโรป โดยเฉพาะประเทศใกล้เคียง เช่น อังโกลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม การผลิตของไทยได้เป็นอย่างดีในอนาคต
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-
ปริมาณการค้าและดุลการค้า ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับนามิเบียยังมีมูลค่าค่อนข้างน้อย โดยในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539 - 2542) การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าเฉลี่ย 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.01 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลมาตลอด สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 96.8 และไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 0.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) การส่งออกสินค้าไปนามิเบียมีมูลค่าเฉลี่ย 1.02 ล้านเหรียญ- สหรัฐฯ และในปี 2542 ไทยส่งสินค้าออกไปนามิเบียมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 188.5 โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผ้าผืน เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2539-2542) การนำเข้าสินค้าจากนามิเบียมีมูลค่าเฉลี่ย 0.5 ล้านเหรียญ-สหรัฐฯ และในปี 2542 ไทยนำเข้าจากนามิเบียมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543
การนำเข้ามีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 13.3 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ผลิตภัณฑ์นม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่น ๆ เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงิน และทองแท่ง เป็นต้น
ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทย-นามิเบีย
ไทยและนามิเบียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่งกันเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2533 (1990) โดยไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย แอฟริกาใต้มีขอบเขตอาณาครอบคลุมนามิเบีย และให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำนามิเบีย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังแต่งตั้งให้นาย Timothy David Parkhouse เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงวินดุกเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2539 ส่วนนามิเบียยังไม่มีการมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตนามิเบียที่ใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
ประเทศไทยสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งประชาชาติที่ 435 ปี 2521 (1978) ในการให้เอกราชแก่นามิเบียมาโดยตลอด
สหประชาชาติได้จัดตั้งกองกำลังสังเกตการณ์และควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงสันติภาพและเพื่อเอก-ราช ซึ่งค่าใช้จ่ายได้มากจากประเทศสมาชิก UN รวมทั้งประเทศไทยด้วย ประมาณ 81,324 เหรียญสหรัฐฯ
ไทยเป็นประเทศหนึ่งในจำนวน 27 ประเทศที่ได้จัดส่งผู้ควบคุมการเลือกตั้งเพื่อช่วยควบคุมดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของนามิเบียที่มีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2532 จากการขอความร่วมมือขององค์การสหประ-ชาชาติ ซึ่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนไปร่วม
ในโอกาสที่นามิเบียฉลองเอกราชเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2533 ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทน จำนวน 4 คน ไปร่วมพิธีดังกล่าวที่กรุงวินดุกด้วย
Dr. Mose Tjitendero ประธานสภาแห่งชาตินามิเบียและที่ปรึกษาเดินทางจากกัมพูชาผ่านประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2536 เพื่อไปอินเดีย และได้หารือกับนายสุวิทย์ สิมะสกุล อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา (ในขณะนั้น) เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน และการฝึกอบรมด้านเกษตรกรรมจากไทย รวมทั้งความร่วมมือด้านการประมง
คณะสำรวจข้อมูล (Fact-Finding Mission) ของกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนนามิเบียระหว่างวันที่ 5-14 กันยายน 2537 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและหาลู่ทางพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
คณะนักธุรกิจค้าเพชรนามิเบียเดินทางมาเยือนไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2538 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการตัดและเจียระไนเพชรของไทย
นาย Stan Webster รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร น้ำ และการพัฒนาชนบาท นามิเบีย และคณะเดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 13 - 19 ตุลาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลู่ทางในการร่วมลงทุนและผลประโยชน์อื่น ๆ ระหว่างกัน
ปัญหาการค้าทวิภาคี
นักธุรกิจไทยและนามิเบียยังไม่มีความคุ้นเคยกันและมีข้อมูลข่าวสารการค้ากันน้อยมาก เนื่องจากนามิเบียเป็นประเทศที่แยกตัวจากแอฟริกาใต้มาไม่กี่ปี ความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับนามิเบียจึงอยู่ในขั้นเริ่มต้น
ประเทศนามิเบียยังพึ่งพาทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนจากแอฟริกาใต้ในฐานะที่เคยเป็นเมืองขึ้นอยู่มาก ทำให้พื้นฐานทางธุรกิจการค้าตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักธุรกิจแอฟริกาใต้
โอกาสและลู่ทางการค้า
นามิเบียมีประชากร 1.6 ล้านคน มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอาหารและผลผลิตเกษตร นอกจากนั้น ไทยอาจใช้นามิเบียเป็นทางผ่านสำหรับสินค้าไทยไปยังประเทศใกล้เคียงได้ เนื่องจากนามิเบียเป็นสมาชิก SOUTHERN AFRICAN CUSTOM UNION-SACU ซึ่งประกอบด้วย แอฟริกาใต้ นามิเบีย สวาซีแลนด์ บอสวานา และเลโซโท รวมทั้งเป็นสมาชิกกลุ่มสนธิสัญญา LOME' Convention ที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีในการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศสมาชิกและยุโรป ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่จะใช้ประเทศนามิเบียเป็นฐานทางอุตสากรรมส่งออกไปยังตลาดแอฟริกาและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง
นามิเบียนับว่าเป็นประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่ง การเงิน การธนาคาร สิ่งสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการลงทุนค่อนข้างทันสมัยและสมบูรณ์ เนื่องจากแอฟริกาใต้ได้วางรากฐานไว้สมัยที่ยังเป็นเมืองขึ้น นอกจากนี้ ยังมีท่าเรือน้ำลึกทันสมัยที่ WALVIS BAY มีถนนเชื่อมโยงเมืองสำคัญ ๆ และประเทศใกล้เคียง เช่น แอฟริกาใต้ บอสวานา และอังโกลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นทาง Tran-Kalahari, Tran-Caprivi ที่เชื่อมโยงเมืองกับท่าสำคัญชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียของประเทศโมซัมบิก คือ MAPUTO และเชื่อมโยงกับเมืองธุรกิจสำคัญของแอฟริกาใต้ คือ โจฮันเนสเบอร์ก ทำให้การคมนาคมขนส่งระหว่างนามิเบียและประเทศใกล้เคียงเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้มีการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้าในระดับสูงทั้งภาคราชการและเอกชนอย่างเป็นทางการ และต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและขยายผลในการทำธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนระหว่างไทยและนามิเบียให้มากขึ้น
2. ผู้ส่งออกของไทยควรไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศนามิเบีย ซึ่งจัดแสดงสินค้าทั่วไป และเฉพาะประ-เภทสินค้าตามโอกาสที่เหมาะสม เพื่อให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักของตลาดนามิเบียมากขึ้น
3. นักธุรกิจไทยควรใช้ข้อได้เปรียบในด้านแรงงาน ปัจจัยพื้นฐานด้านการลงทุน รวมทั้งสิทธิพิเศษทางการค้าของนามิเบีย เพื่อเป็นประตูการค้าสู่ประเทศในทวีปแอฟริกาและยุโรป โดยเฉพาะประเทศใกล้เคียง เช่น อังโกลา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม การผลิตของไทยได้เป็นอย่างดีในอนาคต
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
-วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 22/2543 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543--
-อน-