ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ยังไม่ปรับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นายธีระชัย ธีรนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.จะยังไม่ปรับตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องรอดูผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 5 ก.ย.43 ว่ามีนโยบายอย่างไร สำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 8 ส.ค.43 เป็นการประชุมวาระพิเศษในเชิงวิชาการ มีการศึกษารายละเอียดของแบบจำลองเงินเฟ้อ คณะกรรมการฯ ยังมิได้เปลี่ยนแปลงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 5-5.5 ขณะเดียวกัน นางอัจนา ไวความดี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า การปรับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่นำมาใช้ในแบบจำลอง ซึ่งการขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5 หรือร้อยละ 4.7 ไม่แตกต่างกันมาก สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนให้การขยายตัวเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภาคเศรษฐกิจ (วัฏจักร,ผู้จัดการรายวัน 11)
2. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงินในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ผู้ว่าการ ธปท. ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวดาวโจนส์ เมื่อ 10 ส.ค.43 ว่า ภาระความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะการผลักดันนโยบายการเงินในภาวะที่เศรษฐกิจถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหนี้เสีย ท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง มิใช่เรื่องง่ายที่จะรับมือ แต่ ธปท. ยังคงต้องผลักดันให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและการปรับโครงสร้างเดินหน้าต่อไป ขณะเดียวกันก็ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาแต่อย่างใด โดยเห็นว่าเป็นระดับที่ยอมรับได้ และยังช่วยให้การส่งออกขยายตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธปท.ไม่มีแผนเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปตลอดปีนี้ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ 11)
3. เอสแอนด์พีระบุ ธพ.ไทยต้องเพิ่มทุนอีก 25,000-35,000 ล.ดอลลาร์ รายงานข่าวจากรอยเตอร์แจ้งว่า บริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวส์ (เอสแอนด์พี) ได้ออกรายงานประเมินภาวะระบบ ธพ.ไทยว่า ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอีก 25,000-35,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 1-1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขสูงกว่าที่เอสแอนด์พีประเมินไว้ เนื่องจากการตัดหนี้สูญซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยตัวเลขการเพิ่มทุนดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ระบบ ธพ. มีผลขาดทุนจากการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลถึงร้อยละ 60-70 จึงจำเป็นต้องเพิ่มทุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอรองรับการทำธุรกิจภายใต้สภาวะแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ยังคงเปราะบาง(มคิชน 11)
4. ความเห็นของ ธพ.กรณี ธปท.สั่งห้ามเก็งกำไรซ้ำเติมค่าเงินบาท นักค้าเงินจาก ธพ.รายหนึ่งกล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ธปท.ได้เตือนไม่ให้ ธพ.เก็งกำไรซื้อขายเงินบาท เนื่องจากจะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น รวมทั้งทำให้การควบคุมของ ธปท.ทำได้ยากมากขึ้นด้วย หากฝ่าฝืน ธปท.จะตัดสิทธิ์การทำธุรกรรมในตลาดอาร์พี ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ธพ.เห็นว่า ตามปกติ ธพ.จะซื้อขายเงินบาทตามคำสั่งของลูกค้าเท่านั้น แต่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ ธพ.ต้องซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้ เพราะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าและถือว่าเป็นการบริหารเงินทางหนึ่ง(วัฏจักร 11)
ข่าวต่างประเทศ
1. ราคานำเข้าสินค้าโดยรวมของ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค. 43 ราคานำเข้าสินค้าโดยรวมของ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลง จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ค. 43 เนื่องจากราคาสินค้าผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ถูกชดเชยกับราคานำเข้าปิโตรเลียมที่ลดลงร้อยละ 2.4 และถ้าหากไม่รวมราคาปิโตรเลียม ราคานำเข้าฯ ในเดือน ก.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะเดียวกัน ราคานำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะที่ราคานำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมและวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 0.3 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าเงินเฟ้อของสรอ.ในขณะนี้ สามารถควบคุมได้ และเป็นที่คาดกันอย่างกว้างขวางว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมของ ธ. กลาง เพื่อตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 22 ส.ค.นี้(รอยเตอร์10)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 5.5 เทียบปีต่อปีในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 10 ส.ค.43 ก.คลังญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.42 อยู่ที่มูลค่า 1.08 ล้านล้านเยน (10 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.43 ที่เกินดุลฯ 1.12 ล้านล้านเยน โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลฯ ลดลงในเดือน มิ.ย.43 คือ การเกินดุลรายได้ที่ลดลง อยู่ที่มูลค่า 397.2 พัน ล.เยน จากที่เกินดุลฯ 632.7 พัน ล.เยน ในเดือน พ.ค.43 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการเกินดุลรายได้ที่ลดลงมีสาเหตุมาจากนักลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนในหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมาส่งผลตอบแทนจากการลงทุนกลับประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิ.ย.นี้ ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.42 หรือเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 1,130.0 พัน ล.เยน จากมูลค่า 989.9 พัน ล.เยนในเดือน พ.ค.43 โดยการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 4,193.8 พัน ล.เยน ขณะที่การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 3,063.7 พัน ล.เยน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขอื่น ๆ มีดังนี้ ขาดดุลบริการมูลค่า 413.1 พัน ล.เยน ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุลฯ 417.7 พัน ล.เยน ในเดือน พ.ค.43 และขาดดุลบัญชีเงินโอน 30.3 พัน ล.เยน ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุลฯ 88.8 พัน ล.เยนในเดือน พ.ค.43 (รอยเตอร์ 10)
3. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 อัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวเลขใหม่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปี และร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อเดือน จากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 1.8 และ 0.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ เนื่องจากราคานำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยราคาน้ำมัน สูงกว่า 30 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรลในช่วงครึ่งแรกของเดือน ก.ค. 43 แต่ลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน และขณะนี้อยู่ที่ประมาณบาร์เรลละ 28.40 ดอลลาร์ จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า แรงกดดันด้านราคาในเยอรมนีกำลังสูงขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง(รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 ส.ค. 43
40.732 (41.082) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 10 ส.ค.43
ซื้อ 40.5436 (40.9042) ขาย 40.8393 (41.2131)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.64 (26.84)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.59 (13.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. ธปท.ยังไม่ปรับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นายธีระชัย ธีรนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.จะยังไม่ปรับตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจ เนื่องจากต้องรอดูผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 5 ก.ย.43 ว่ามีนโยบายอย่างไร สำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 8 ส.ค.43 เป็นการประชุมวาระพิเศษในเชิงวิชาการ มีการศึกษารายละเอียดของแบบจำลองเงินเฟ้อ คณะกรรมการฯ ยังมิได้เปลี่ยนแปลงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 0-3.5 การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 5-5.5 ขณะเดียวกัน นางอัจนา ไวความดี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.กล่าวว่า การปรับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยงาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่นำมาใช้ในแบบจำลอง ซึ่งการขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5 หรือร้อยละ 4.7 ไม่แตกต่างกันมาก สิ่งสำคัญคือ ต้องวางแผนให้การขยายตัวเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภาคเศรษฐกิจ (วัฏจักร,ผู้จัดการรายวัน 11)
2. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการเงินในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ผู้ว่าการ ธปท. ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวดาวโจนส์ เมื่อ 10 ส.ค.43 ว่า ภาระความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะการผลักดันนโยบายการเงินในภาวะที่เศรษฐกิจถูกรุมเร้าด้วยปัญหาหนี้เสีย ท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง มิใช่เรื่องง่ายที่จะรับมือ แต่ ธปท. ยังคงต้องผลักดันให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและการปรับโครงสร้างเดินหน้าต่อไป ขณะเดียวกันก็ไม่ได้กังวลเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาแต่อย่างใด โดยเห็นว่าเป็นระดับที่ยอมรับได้ และยังช่วยให้การส่งออกขยายตัวยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธปท.ไม่มีแผนเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปตลอดปีนี้ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ 11)
3. เอสแอนด์พีระบุ ธพ.ไทยต้องเพิ่มทุนอีก 25,000-35,000 ล.ดอลลาร์ รายงานข่าวจากรอยเตอร์แจ้งว่า บริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวส์ (เอสแอนด์พี) ได้ออกรายงานประเมินภาวะระบบ ธพ.ไทยว่า ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนอีก 25,000-35,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 1-1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขสูงกว่าที่เอสแอนด์พีประเมินไว้ เนื่องจากการตัดหนี้สูญซึ่งเป็นผลจากการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยตัวเลขการเพิ่มทุนดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ระบบ ธพ. มีผลขาดทุนจากการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลถึงร้อยละ 60-70 จึงจำเป็นต้องเพิ่มทุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอรองรับการทำธุรกิจภายใต้สภาวะแวดล้อมการปฏิบัติงานที่ยังคงเปราะบาง(มคิชน 11)
4. ความเห็นของ ธพ.กรณี ธปท.สั่งห้ามเก็งกำไรซ้ำเติมค่าเงินบาท นักค้าเงินจาก ธพ.รายหนึ่งกล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ธปท.ได้เตือนไม่ให้ ธพ.เก็งกำไรซื้อขายเงินบาท เนื่องจากจะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น รวมทั้งทำให้การควบคุมของ ธปท.ทำได้ยากมากขึ้นด้วย หากฝ่าฝืน ธปท.จะตัดสิทธิ์การทำธุรกรรมในตลาดอาร์พี ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ธพ.เห็นว่า ตามปกติ ธพ.จะซื้อขายเงินบาทตามคำสั่งของลูกค้าเท่านั้น แต่ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ ธพ.ต้องซื้อดอลลาร์มาเก็บไว้ เพราะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าและถือว่าเป็นการบริหารเงินทางหนึ่ง(วัฏจักร 11)
ข่าวต่างประเทศ
1. ราคานำเข้าสินค้าโดยรวมของ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค. 43 ราคานำเข้าสินค้าโดยรวมของ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลง จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ค. 43 เนื่องจากราคาสินค้าผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ถูกชดเชยกับราคานำเข้าปิโตรเลียมที่ลดลงร้อยละ 2.4 และถ้าหากไม่รวมราคาปิโตรเลียม ราคานำเข้าฯ ในเดือน ก.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะเดียวกัน ราคานำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะที่ราคานำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมและวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 0.3 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าเงินเฟ้อของสรอ.ในขณะนี้ สามารถควบคุมได้ และเป็นที่คาดกันอย่างกว้างขวางว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมของ ธ. กลาง เพื่อตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 22 ส.ค.นี้(รอยเตอร์10)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 5.5 เทียบปีต่อปีในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 10 ส.ค.43 ก.คลังญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.42 อยู่ที่มูลค่า 1.08 ล้านล้านเยน (10 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.43 ที่เกินดุลฯ 1.12 ล้านล้านเยน โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลฯ ลดลงในเดือน มิ.ย.43 คือ การเกินดุลรายได้ที่ลดลง อยู่ที่มูลค่า 397.2 พัน ล.เยน จากที่เกินดุลฯ 632.7 พัน ล.เยน ในเดือน พ.ค.43 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการเกินดุลรายได้ที่ลดลงมีสาเหตุมาจากนักลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนในหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมาส่งผลตอบแทนจากการลงทุนกลับประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิ.ย.นี้ ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.42 หรือเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 1,130.0 พัน ล.เยน จากมูลค่า 989.9 พัน ล.เยนในเดือน พ.ค.43 โดยการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 4,193.8 พัน ล.เยน ขณะที่การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 3,063.7 พัน ล.เยน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขอื่น ๆ มีดังนี้ ขาดดุลบริการมูลค่า 413.1 พัน ล.เยน ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุลฯ 417.7 พัน ล.เยน ในเดือน พ.ค.43 และขาดดุลบัญชีเงินโอน 30.3 พัน ล.เยน ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขาดดุลฯ 88.8 พัน ล.เยนในเดือน พ.ค.43 (รอยเตอร์ 10)
3. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 อัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวเลขใหม่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปี และร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อเดือน จากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ 1.8 และ 0.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ เนื่องจากราคานำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยราคาน้ำมัน สูงกว่า 30 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรลในช่วงครึ่งแรกของเดือน ก.ค. 43 แต่ลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน และขณะนี้อยู่ที่ประมาณบาร์เรลละ 28.40 ดอลลาร์ จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า แรงกดดันด้านราคาในเยอรมนีกำลังสูงขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง(รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 ส.ค. 43
40.732 (41.082) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 10 ส.ค.43
ซื้อ 40.5436 (40.9042) ขาย 40.8393 (41.2131)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.64 (26.84)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.59 (13.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-